คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนมักประสบปัญหาสุขภาพ เช่น ตะคริว เบาหวาน กระดูกพรุน และท้องผูก ซึ่งเป็น อาการคนท้อง ที่แทรกซ้อนขึ้นมาได้ระหว่างตั้งครรภ์ และอาจส่งผลต่อสุขภาพทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ theAsianparent จะพาคุณแม่ไปทำความเข้าใจสาเหตุและวิธีรับมือกับอาการเหล่านี้ เพื่อให้คุณแม่ตั้งครรภ์แข็งแรง พร้อมเคล็ดลับในการบำรุงร่างกายช่วงตั้งครรภ์ด้วยการดื่มนมสำหรับแม่ตั้งครรภ์กันค่ะ
เช็ก 4 อาการคนท้อง เลี่ยงยากแต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้องที่คุณแม่มักเจอได้ในตลอดช่วงการตั้งครรภ์นั่นก็คือ ตะคริว เบาหวาน กระดูกพรุน และท้องผูก อาการเหล่านี้อาจยากที่จะเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้น แต่คุณแม่สามารถป้องกันได้ ดังนี้
1. ตะคริว เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 อาการตะคริวมักเกิดขึ้นที่น่องและเท้า ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดและไม่สบายตัว ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายอย่างในระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน: ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์มีส่วนทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่อาการตะคริว
- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น: น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์จะเพิ่มแรงกดดันต่อเส้นประสาทและหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดีและเกิดตะคริวได้ง่าย
- การขาดแร่ธาตุ: การขาดแคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญในการทำงานของกล้ามเนื้อ อาจทำให้เกิดตะคริวได้
ทริคสำหรับคุณแม่ท้องในการป้องกัน อาการคนท้อง : การเกิดตะคริว
- ยืดกล้ามเนื้อ: การยืดกล้ามเนื้อน่องก่อนนอนจะช่วยลดอาการตะคริวได้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ: การดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยป้องกันการขาดน้ำและลดโอกาสการเกิดตะคริว
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์: การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ ธัญพืช และนม สำหรับการดื่มนมอาจเลือกเป็นนมสำหรับแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะก็ได้เช่นกัน เนื่องจากมีทั้งแคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียม ให้คุณแม่ชงดื่มอุ่น ๆ ก่อนนอน และควรนอนยกขาสูง ใช้หมอนรองขาให้สูงจากเตียงประมาณ 10 เซนติเมตร จะช่วยป้องกันและบรรเทาอาการตะคริวได้
2. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ Gestational Diabetes เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งมักเกิดขึ้นครั้งแรกในระหว่างตั้งครรภ์นี้เอง ภาวะนี้ส่งผลกระทบต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยได้ ดังนั้นการทำความเข้าใจสาเหตุจึงเป็นสิ่งสำคัญ
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน: ในระหว่างตั้งครรภ์ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนหลายชนิดออกมาเพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของทารก ฮอร์โมนเหล่านี้อาจไปขัดขวางการทำงานของอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
- น้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์: คุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วนก่อนตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์สูงกว่าผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวปกติ
- ไม่ควบคุมการกิน: คุณแม่ท้องที่ไม่ได้ใส่ใจควบคุมการกิน เช่น ชอบกินขนมหวาน ผลไม้น้ำตาลสูง และดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ระหว่างตั้งครรภ์มาก ๆ อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูง และเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์แทรกซ้อนขึ้นมาได้
ทริคสำหรับคุณแม่ท้องในการป้องกัน อาการคนท้อง : ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- การตรวจคัดกรอง: การตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อตรวจหาและป้องกัน รักษาภาวะเบาหวานได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
- การควบคุมอาหาร: การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรต อาหารหวาน ๆ มัน ๆ ขนม ผลไม้น้ำตาลสูง และเครื่องดื่มที่มีรสหวานทุกประเภท ในช่วงตั้งครรภ์นอกจากการดื่มน้ำเปล่าซึ่งดีต่อสุขภาพของคุณแม่ท้องแล้วนั้น ยังสามารถเลือกดื่มเป็นนมรสจืด หรือนมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ ที่ไม่เติมน้ำตาลทราย มีสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณแม่สามารถดื่มได้ตลอดการตั้งครรภ์ เป็นการดูแลสุขภาพ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ
3. กระดูกพรุน ในคุณแม่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนได้ง่าย ซึ่งสาเหตุเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน: ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์มีส่วนช่วยในการสร้างและรักษากระดูก แต่หลังคลอด ระดับฮอร์โมนจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้กระดูกสูญเสียแคลเซียมและมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนมากขึ้น
- ความต้องการแคลเซียมที่เพิ่มขึ้น: ทารกในครรภ์ต้องการแคลเซียมเพื่อการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน ทำให้ร่างกายของคุณแม่ต้องดึงแคลเซียมจากกระดูกมาใช้มากขึ้น
- การเปลี่ยนแปลงในการดูดซึมแคลเซียม: ในบางกรณี การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและปัจจัยอื่น ๆ อาจส่งผลให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง
- การขาดวิตามินดี: วิตามินดีมีความสำคัญในการช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น
ทริคสำหรับคุณแม่ท้องในการป้องกันภาวะกระดูกพรุน
- รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง: เช่น นม ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียว ถั่ว และปลาเล็กปลาน้อย
- รับประทานอาหารที่มีวิตามินดี: เช่น ปลาทะเล น้ำมันตับปลา ไข่แดง
- นมสำหรับแม่ตั้งครรภ์: ในระหว่างตั้งครรภ์ การดื่มนมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเสริมแคลเซียม และวิตามินดีให้กับร่างกาย ซึ่งทั้งสองสารจำเป็นต่อการเสริมกระดูกและฟันให้แข็งแรง การดื่มนมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ที่มีแคลเซียมสูง วิตามินดีสูง จะช่วยบำรุงเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก ลดโอกาสการเกิดภาวะกระดูกพรุนในคุณแม่ตั้งครรภ์
4. ท้องผูก เป็นปัญหาที่คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนต้องเผชิญ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพ การเข้าใจสาเหตุของปัญหาจะช่วยให้คุณแม่สามารถรับมือและบรรเทาอาการได้ดียิ่งขึ้น
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน: ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ช่วยให้มดลูกคลายตัว แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าลง ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูก
- การกดทับของมดลูก: เมื่อทารกในครรภ์โตขึ้น มดลูกจะขยายตัวและกดทับลำไส้ ทำให้การเคลื่อนไหวของอุจจาระเป็นไปได้ยากขึ้น
- การรับประทานอาหาร: การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย หรือการดื่มน้ำไม่เพียงพอ ก็อาจเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกได้
ทริคสำหรับคุณแม่ท้องในการป้องกันภาวะท้องผูก
- เพิ่มปริมาณใยอาหาร: รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และเมล็ดพืชให้มากขึ้น
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ: ควรดื่มน้ำเปล่าต่อวันให้มากขึ้น
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ท้องผูก: เช่น ช็อกโกแลต กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- นมสำหรับแม่ตั้งครรภ์: การดื่มนมในช่วงตั้งครรภ์ เพื่อลดการเกิดภาวะท้องผูก แนะนำให้เลือกดื่มเป็นนมสำหรับแม่ให้นมบุตรโดยเฉพาะ เช่น นมโยเกิร์ตพร้อมดื่ม ปราศจากไขมัน จะช่วยให้การทำงานของระบบขับถ่ายดีขึ้น หรือนมผงชงดื่มสำหรับแม่ให้นมบุตร ที่มี DR-10 จุลินทรีย์สุขภาพโพรไบโอติก ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดภาวะท้องผูกในแม่ตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาแสนพิเศษ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพขึ้นในช่วงที่ตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญสุดคือคุณแม่ต้องใส่ใจในการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการดูแลเรื่องโภชนาการ สารอาหาร ทั้งจากการรับประทานอาหาร และการดื่มนม คุณแม่สามารถเลือกดื่มเป็นนมที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร ที่มีสารอาหารจำเป็นครบถ้วนดีต่อสุขภาพคุณแม่และทารกในครรภ์ เช่น แคลเซียม วิตามินดี ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม โฟลิก แกงกลิโอไซต์ ดีเอชเอ โอเมก้า 3, 6, 9 วิตามินบี 12 ใยอาหาร และ DR-10 จุลินทรีย์สุขภาพโพรไบโอติก เป็นต้น นอกจากนี้เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพขณะตั้งครรภ์ ก่อนมีการตั้งครรภ์ควรตรวจเช็กสุขภาพ และเมื่อตั้งครรภ์ควรพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด และปฏิบัติตามคำแนะนำจากสูติแพทย์อย่างเคร่งครัด รวมถึงควรมีการตรวจติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ตามแพทย์นัดทุกครั้ง เพื่อให้การตั้งครรภ์มีคุณภาพตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือนค่ะ
พญ.พนิตนาฏ มงคลสุจริตกุล กุมารแพทย์
อ้างอิง:
-
-
-
-
-
-
-
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!