X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ปวดหลัง เป็นสัญญาณร้ายบอกโรคหรือไม่ อยากรู้ต้องอ่านบทความนี้ !!

บทความ 5 นาที
ปวดหลัง เป็นสัญญาณร้ายบอกโรคหรือไม่ อยากรู้ต้องอ่านบทความนี้ !!

ปวดหลัง เป็นสัญญาณร้ายบอกโรคหรือไม่ ติดตามอ่านได้จากบทความนี้

ปวดหลัง เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน บางคนปวดมาก บางคนปวดน้อย อาการปวดหลัง เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพหรือเปล่า ติดตามได้จากบทความนี้

 

อาการปวดหลัง คืออะไร เกิดจากอะไร

อาการปวดหลัง คือ อาการปวดที่เกิดขึ้นที่บริเวณหลัง แต่ละคนมีอาการปวดที่แตกต่างกันออกไป โดยบางคนอาจแค่รู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บางคนอาจปวดหลังและรู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มร่วมด้วย หรือบางคนอาจปวดหลังร่วมกับแสบปวดร้อนบริเวณหลัง และถ้าหากเดิน นั่ง ยกของ หรือก้ม ก็อาจทำให้อาการปวดรุนเเรงมากยิ่งขึ้น

อาการปวดหลังนั้น เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ แต่ก็มีบางปัจจัย ที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดมากขึ้น เช่น

1. อายุมากขึ้น

เป็นเรื่องปกติ ที่จะรู้สึกปวดหลังในขณะที่มีอายุมากขึ้น เพราะร่างกายอาจยืดหยุ่นได้ไม่ดีพอเท่ากับคนที่อายุน้อย โดยผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 หรือ 40 ปีขึ้นไป อาจรู้สึกปวดหลังได้ง่าย

2. กล้ามเนื้อตึง

เป็นสาเหตุของอาการปวดหลังของคนทั่วไป ซึ่งอาจจะเกิดจากการยกของหนักซ้ำ ๆ หรือเคลื่อนไหวร่างกายอย่างกะทันหัน และไม่ถูกวิธี ทำให้กล้ามเนื้อที่หลังและกระดูกไขสันหลังตึง

3. หมอนรองกระดูกเกิดความเสียหาย

หมอนรองกระดูก  อาจเกิดความเสียหายจากสาเหตุบางอย่าง จนไปกดทับเส้นประสาท ซึ่งอาจทำให้เรารู้สึกปวดหลังหรือไม่ปวดก็ได้ โดยจะต้องเข้ารับการเอกซเรย์เท่านั้น จึงจะเห็นความเสียหายที่เกิดขึ้น

4. เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก

ปัญหาด้านสุขภาพอย่างโรคไขข้ออักเสบ และโรคกระดูกพรุน ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ปวดหลังได้ โดยหากเป็นโรคไขข้ออักเสบ เราอาจรู้สึกปวดหลังบริเวณด้านล่าง หรือถ้าหากเป็นโรคกระดูกพรุน กระดูกอาจพรุนเเละเปราะมากเกินไป จนทำให้ปวดหลัง

5. ไม่ออกกำลังกาย 

อย่างที่เรารู้กันอยู่แล้ว ว่าการออกกำลังกายส่งผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งหากเราไม่ชอบออกกำลังกาย กล้ามเนื้อหลังอาจทำไม่ได้ทำงานและยืดหยุ่นอย่างเต็มที่ จึงทำให้เกิดอาการปวดหลังได้

6. สูบบุหรี่ 

Advertisement

พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่อาจทำให้รู้สึกปวดหลัง เพราะผู้ที่สูบบุหรี่ อาจมีอาการไอ จนทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อน นอกจากนี้ ยังทำให้เลือดไปเลี้ยงที่กระดูกสันหลังได้น้อยลง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย

7. มีอาการทางจิต

มีงานวิจัยชี้ว่า ผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวล มักมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดหลังมากขึ้น เมื่อเทียบกับคนทั่วไปที่มีสุขภาพดี

บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่เคย ปวดหลัง สามารถ บล็อคหลัง ได้หรือไม่ – 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 62

 

ปวดหลัง เป็นสัญญาณร้ายบอกโรคหรือไม่

ปวดหลัง เกิดจากหลายสาเหตุ คนท้องก็ปวดหลังได้เช่นกัน

 

ปวดหลัง รักษาได้ไหม

หากไม่ได้รู้สึกปวดมาก ก็อาจสามารถบรรเทาอาการปวดได้ด้วยตนเองง่าย ๆ ดังนี้

1. ออกกำลังกายเบา ๆ ง่าย ๆ ใครที่ชอบออกกำลังกายอยู่แล้ว อาจจะลองเต้นแอโรบิคดูได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องออกแรงกระชากกล้ามเนื้อ หรือทำให้กล้ามเนื้อทำงานหนักจนเกินไป นอกจากนี้ การเดิน การเล่นโยคะ และการว่ายน้ำ ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดี ที่จะช่วยยืดกล้ามเนื้อ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า เราควรออกกำลังกายอาทิตย์ละ 150 นาที

2. สร้างความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ อาจทำได้โดยการออกกำลังกายหน้าท้องและบริเวณหลัง ซึ่งจะช่วยปรับสภาพกล้ามเนื้อให้ยืดหยุ่น และทำงานร่วมกับส่วนต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

3. ควบคุมน้ำหนักตัว

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

คนที่มีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ อาจมีความเสี่ยงที่จะปวดหลังได้มากกว่าคนทั่วไป รวมถึงผู้ที่ชอบทิ้งน้ำหนักตัวไปที่ก้นและสะโพก ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดนี้ได้เช่นเดียวกัน

4. เลิกสูบบุหรี่ อย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้า ว่าการสูบบุหรี่อาจทำให้ไอเรื้อรัง จนทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อน ซึ่งการเลิกสูบบุหรี่ จะช่วยลดอาการไอได้

5. รับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ บางคนอาจจะรับประทานยาต้านการอักเสบอย่างไอบูโพรเฟน เพื่อบรรเทาอาการ แต่หากมีโรคประจำตัว หรือมีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการรับประทานยาทุกครั้ง

6. ประคบร้อนหรือประคบเย็น ให้ลองประคบร้อนหรือประคบเย็นในบริเวณที่ปวด เพื่อช่วยบรรเทาอาการ โดยสามารถหาซื้อชุดประคบได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรืออาจใช้ถุงประคบ ขวดใส่น้ำร้อน หรือจะใช้ผ้าเช็ดตัวห่อน้ำแข็งแทนก็ได้

7. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี ที่จำเป็นต่อกระดูก และหมั่นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

8.  ยืนและนั่งอย่างระมัดระวัง

พยายามเดินและยืนให้หลังเป็นเส้นตรง เพื่อให้น้ำหนักกระจายไปยังเท้าทั้งสองข้างอย่างละเท่า ๆ กัน และพยายามให้ขากับศีรษะอยู่แนวเดียวกันกับกระดูกสันหลัง หากต้องนั่งทำงาน ก็ควรใช้หมอนรองไว้ที่หลัง และควรนั่งเก้าอี้ที่มีพนักสำหรับวางแขน วางเท้าให้ราบสนิทกับพื้น หรืออาจจะใช้เก้าอี้รองเท้าหากเก้าอี้สูงเกินไป รวมทั้งไม่ควรนั่งเป็นเวลานาน โดยให้พยายามลุกขึ้นเดิน หรือขยับร่างกายเป็นระยะ ๆ

9. ไม่ยกของหนัก 

ควรหลีกเลี่ยงการยกของ ที่อาจทำให้กล้ามเนื้อที่หลังตึง แต่หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็ควรทำอย่างระมัดระวัง โดยให้วางน้ำหนักไปที่เท้า แทนที่จะวางน้ำหนักไปที่หลัง เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อหลังทำงานหนักจนเกินไป และในขณะที่ยกของ ก็ควรมองตรง ไม่ควรก้มหน้าหรือเงยหน้า หากถ้าต้องยกของที่หนัก ก็ควรให้คนอื่นมาช่วยยก

10. เมื่อต้องขับรถทางไกล ให้จอดพักเป็นระยะ

หากต้องเดินทางไกล ให้จอดเพื่อพักหรือยืดกล้ามเนื้อเป็นระยะ ๆ ไม่ควรขับรถต่อเนื่องกันเป็นเวลานานจนเกินไป และควรใช้เบาะรองหลังขณะนั่งขับรถ เพื่อให้พิงเบาะได้สบาย รวมทั้งควรปรับกระจกให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้ถนัด ไม่ต้องบิดตัวเพื่อมองกระจก

11. จัดเตียงนอนให้ดี

ควรเลือกซื้อเตียงนอนและฟูกที่เรียบ เพื่อให้หลังยืดตรงในเวลาที่นอน และให้ใช้หมอนที่ไม่เป็นเหลี่ยม เพื่อป้องกันไม่ให้ปวดคอ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังตามมาได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : หมอนรองหลัง แก้ปวดหลัง ปวดตัว ตัวช่วยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

ปวดหลัง เป็นสัญญาณร้ายบอกโรคหรือไม่ 3

นั่งทำงานนาน ๆ ทำให้ปวดหลังได้

 

เมื่อไหร่ที่ควรไปหาหมอ

โดยปกติ อาการปวดหลังส่วนใหญ่ สามารถรักษาได้เอง และอาการปวดหลังโดยทั่วไป ก็ไม่ใช่สัญญาณที่ร้ายแรงอะไร โดยอาจรับประทานยาแก้ปวด เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด อย่างไรก็ตาม หากมีอาการต่อไปนี้ ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของอาการปวด

  • ปวดหลังมาแล้วมากกว่า 3 สัปดาห์
  • ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้เพราะอาการปวด
  • อาการปวดรุนแรงขึ้น ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง
  • อาการปวดลามลงไปถึงขาข้างใดข้างหนึ่ง
  • กังวลเกี่ยวกับอาการปวด และไม่สามารถรับมือกับอาการปวดได้
  • มีอาการอ่อนแรง รู้สึกชา เสียวซ่าที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง และมีน้ำหนักตัวลดลงกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ

แต่ในบางกรณี อาการปวดหลังอาจมีสาเหตุมาจากโรคร้ายแรง โดยให้เข้าพบแพทย์ทันทีหากมีอาการ ดังนี้

  • มีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่าย กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่ ฉี่หรืออึรดกางเกงโดยไม่สามารถควบคุมได้
  • อาการปวดทำให้เกิดอุบัติ เช่น หกล้ม หรืออุบัติทางรถยนต์ เป็นต้น
  • อาการปวดรุนแรงขึ้นเมื่อไอ จาม หรือถ่ายอุจจาระ
  • มีอาการปวดบริเวณหลังส่วนบน ที่อยู่ระหว่างไหล่สองข้าง
  • ปวดหลังและมีปัญหาเกี่ยวกับระบบลำไส้
  • ชาหรือเสียวซ่าที่บริเวณอวัยวะเพศหรือก้น
  • ปวดแน่นที่หน้าอก
  • หลังบวมหรือผิดรูป
  • มีไข้สูง

อย่างไรก็ตาม หากกำลังปวดหลังอยู่ แต่ไม่ได้รู้สึกปวดมากหรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยก็ไม่ต้องกังวลไป ให้ทานยาแก้ปวด นอนพักผ่อน ประคบร้อน หรือประคบเย็น และเฝ้าสังเกตอาการตนเองอย่างใกล้ชิด

บทความที่เกี่ยวข้อง : ท่าออกกําลังกายคนท้องแก้ปวดหลัง มาออกกำลังกายเพื่อลดอาการปวดหลังกัน

 

ที่มา : mayoclinic.org, nhs.uk , medicalnewstoday.com

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ปวดหลัง เป็นสัญญาณร้ายบอกโรคหรือไม่ อยากรู้ต้องอ่านบทความนี้ !!
แชร์ :
  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

  • อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

    อุทาหรณ์! ก้างปลาติดคอ กลืนข้าว-น้ำส้มสายชู วันรุ่งขึ้นเสียชีวิต

  • วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

    วิจัยเผย! บรอกโคลี ต้านมะเร็ง ได้!! ด้วย "ซัลโฟราเฟน" สารอาหารที่พบในบรอกโคลี

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว