X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

5 วิธีรักษาอาการปวดหัว ให้กับคุณแม่ที่ทำได้เอง

บทความ 3 นาที
5 วิธีรักษาอาการปวดหัว ให้กับคุณแม่ที่ทำได้เอง

ความเครียดจากการทำงานและการเลี้ยงลูกสามารถทำให้คุณแม่ปวดหัวเอาได้ง่าย ๆ เมื่อปวดหัว คนมักจะกินยาแก้ปวด เรามีวิธีช่วยรักษาอาการแก้ปวดหัวแบบไม่ใช้ยา ดังนี้

คนท้องปวดหัวกับ 5 วิธีรักษาอาการปวดหัว

คนท้องปวดหัว คนท้องปวดหัวแบบไหนอันตราย ปวดหัวแทบจะระเบิด คนท้องปวดหัวแบบไหนอันตราย คนท้องปวดหัวกินยาอะไรได้บ้าง เรามาดูสาเหตุและ วิธีการรักษาอาการปวดหัว กันเถอะ

วิธีรักษาอาการปวดหัว

วิธีรักษาอาการปวดหัว

คนท้องปวดหัวบ่อย ๆ อันตรายไหม

ระหว่างการตั้งครรภ์ แม่ท้องหลายคนมักมีอาการปวดหัวอยู่บ่อยครั้ง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะร่างกายที่เปลี่ยนแปลง ด้วยระดับฮอร์โมน ความดัน โดยเฉพาะคนท้องไตรมาสแรก ที่ทำให้แม่ท้องรู้สึกปวดหัว ซึ่งจริง ๆ แล้ว การที่คนท้องปวดหัวบ่อย ๆ เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป ทั้งยังสามารถเป็นต่อเนื่องไปตลอดระยะเวลาที่ตั้งครรภ์

การปวดหัวในระหว่างตั้งครรภ์

สาเหตุอาการปวดหัวของคนท้อง
  • การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างภายในร่างกายคนท้อง เป็นสาเหตุของอาการปวดหัว เช่น ปริมาณเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น เลือดไหลเวียนในร่างกายคนท้องมากขึ้น
  • ฮอร์โมนที่เริ่มทำงานกันอย่างเมามัน ฮอร์โมนเหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้แม่มีขนเยอะ อารมณ์แปรปรวน
  • การขาดวิตามินบางชนิดก็อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวได้เช่นกัน
  • การเลิกกาแฟ คาเฟอีน นี่ก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปวดหัว
  • ความหิวก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนท้องปวดหัว แม่ท้องต้องทานอาหารทุก 4 ชั่วโมง แต่แบ่งเป็นอาหารมื้อย่อย ๆ หรือหาของว่างรับประทานเสมอ อย่าให้ท้องหิว
  • นอนไม่พอ แม่ท้องนอนไม่หลับ หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็ทำให้คนท้องปวดหัวได้
การปวดหัว
Advertisement
วิธีแก้อาการปวดหัวของคนท้อง
  1. นั่งตัวตรงเสมอ โดยเฉพาะในช่วงสามเดือนสุดท้าย นี่จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
  2. ปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ โดยเฉพาะช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เพราะอาการปวดหัว อาจเกิดจากการยืน นั่ง นอนนาน ๆ หรือท่าทางที่ไม่เหมาะสม เพราะกล้ามเนื้อต้องแบกรับน้ำหนักจากแม่ท้องและทารกในครรภ์
  3. นอนเยอะ ๆ หรือนอนกลางวัน การนอนจะทำให้สมองถูกรบกวนน้อยลง
  4. ออกกำลังกายโดยการเคลื่อนไหวช้า ๆ เช่น โยคะหรือพิลาเต้ เอ็นดอร์ฟินจะช่วยทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้นด้วย
  5. ผ่อนคลาย หากิจกรรมที่ทำให้คุณผ่อนคลายทำสักวันละชั่วโมง คนท้องมักชอบเครียดกับสิ่งต่าง ๆ มากเกินไปจนทำให้ปวดหัว
  6. คนท้องควรดื่มน้ำบ่อย ๆ เพราะอาจปวดหัวจากภาวะขาดน้ำได้
  7. นวดขมับเบา ๆ และหายใจเข้าออกลึก ๆ นวดกดจุดหรือการฝังเข็มก็สามารถช่วยลดอาการปวดหัวในระหว่างตั้งครรภ์ได้เช่นกัน
  8. คนท้องควรพักสายตา อย่าเล่นมือถือติดต่อกัน หรือจ้องจอสีฟ้าในที่มืดบ่อย ๆ เพราะอาจปวดหัวจากภาวะตาล้าได้
  9. มีเซ็กซ์! ผลการวิจัยชี้ว่าการถึงจุดสุดยอดสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้

อาการปวดหัว

คนท้องปวดหัวแบบไหน อันตราย

นอกจากอาการปวดหัวทั่วไปของคนท้องแล้ว ยังมีอาการปวดหัว จากความเจ็บป่วย เช่น ปวดหัวไมเกรน ปวดหัวจากความเครียด หรือโรคอื่น ๆ

  • คนท้องเป็นโรคภูมิแพ้
  • คนท้องเป็นภาวะซึมเศร้า
  • คนท้องไตรมาสที่ 3 อาจปวดหัวจากความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะครรภ์เป็นพิษ

 

ครรภ์เป็นพิษมีอาการอย่างไร

อาการทั่วไปที่พบได้ในครรภ์เป็นพิษ คือ จะมีอาการปวดศีรษะ ตามัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดตรงใต้ลิ้นปี่ บวมตามมือตามเท้า และใบหน้า ในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการครรภ์เป็นพิษที่รุนแรงมาก(Severe Preeclampsia) คือ จะมีความดันขึ้นสูงกว่า 160/100 มิลลิเมตรปรอท ตรวจพบโปรตีนมากในปัสสาวะ มีอาการบวมที่รุนแรง และอาจมีอาการปวดศีรษะ ตามัว จุกแน่นหน้าอกอย่างมากร่วมด้วย หรือในคุณแม่บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นมีน้ำคั่งในปอด หรือมีเลือดออกในสมอง

วิธีรักษาอาการปวดหัว

หากคนท้องปวดหัวนิด ๆ หน่อย ๆ สามารถกินยาพาราเซตามอลได้ แต่ถ้าคนท้องเคยมีอาการปวดหัวไมเกรน หรือมีอาการป่วยอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อย่าซื้อยามากินเองนะคะ

 

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

สิ่งที่คุณต้องรู้ การปวดหัวในระหว่างตั้งครรภ์ สาเหตุของการปวดหัวและวิธีป้องกัน

อาการปวดหัวของคนท้อง ปวดหัวบ่อยตอนตั้งครรภ์ อันตรายไหม คนท้องปวดหัวแบบไหนต้องหาหมอ

ฮวงจุ้ยโรค ทำให้เจ็บป่วยบ่อย เจ้าของบ้านอายุสั้น บ้านไหนมีระวังให้ดี!!

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • 5 วิธีรักษาอาการปวดหัว ให้กับคุณแม่ที่ทำได้เอง
แชร์ :
  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว