X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ยาคุมฮอร์โมนต่ำ ช่วยลดผลข้างเคียงได้ดีกว่ายาคุมแบบปกติจริงไหม?

บทความ 5 นาที
ยาคุมฮอร์โมนต่ำ ช่วยลดผลข้างเคียงได้ดีกว่ายาคุมแบบปกติจริงไหม?

ผู้หญิงหลายคนอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาหลาย ๆ อย่างเวลารับประทานยาคุม ไม่ว่าจะเป็นสิวขึ้น น้ำหนักขึ้น และอารมณ์แปรปรวน จนทำให้รู้สึกหงุดหงิด กังวลใจจนไม่อยากรับประทานยาคุมกำเนิด ไม่ต้องกังวลค่ะ วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก ยาคุมฮอร์โมนต่ำ ทางเลือกของสาว ๆ ยุคใหม่ที่ช่วยลดผลข้างเคียงได้ดีกว่ายาคุมแบบปกติ ว่าแต่จะเป็นยังไง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

ยาคุมฮอร์โมนต่ำ คืออะไร?

ยาคุมฮอร์โมนต่ำ คือ ยาคุมกำเนิดที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยกว่ายาคุมกำเนิดแบบปกติ ซึ่งในตัวยาคุมฮอร์โมนต่ำนั้น อาจมีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียง 20 ไมโครกรัม หรือน้อยกว่านั้น โดยเมื่อเทียบกับยาคุมแบบปกติจะมีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจนประมาณ 30-50 ไมโครกรัม นอกจากนี้ยาคุมฮอร์โมนต่ำ ยังสามารถช่วยลดผลข้างเคียงได้ดีกว่ายาคุมกำเนิดแบบปกติ เช่น คลื่นไส้ ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก หรือโอกาสในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่เป็นอันตรายต่อชีวิต

 

ยาคุมฮอร์โมนต่ำให้ประสิทธิภาพเท่ายาคุมแบบปกติไหม?

ยาคุมฮอร์โมนต่ำ มีส่วนประกอบของฮอร์โมนสังเคราะห์โปรเจสเตอโรนตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง และมีการใส่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนน้อยลง เพื่อช่วยในการลดอาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ เจ็บเต้านม รับประทานแล้วไม่อ้วน และยังให้ประสิทธิภาพอื่น ๆ เช่น ช่วยให้ประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ ลดโอกาสในการเกิดมะเร็งไข่ ลดการปวดท้อง และยังให้ประสิทธิภาพเทียบเท่ายาคุมแบบปกติอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ยาคุมลดสิว ยาคุมรักษาสิว ยาปรับฮอร์โมนลดสิว ช่วยได้จริงหรือ?

 

ยาคุมฮอร์โมนต่ำ

 

ข้อดีของยาคุมฮอร์โมนต่ำ

ยาคุมฮอร์โมนต่ำช่วยลดผลข้างเคียงได้ดีกว่ายาคุมแบบปกติ โดยสามารถช่วยลดผลข้างเคียง ได้ดังนี้

  • ช่วยลดผิวมัน
  • ช่วยลดอาการบวมน้ำ
  • ลดโอกาสในการเกิดสิว
  • ลดการแปรปรวนของฮอร์โมนเพศ
  • ช่วยให้ประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ
  • ป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์
  • ให้ผลข้างเคียงที่น้อยกว่ายาคุมแบบปกติ
  • ลดอาการปวดประจำเดือน และอาการอื่น ๆ ก่อนมีประจำเดือน
  • ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ ชีสต์รังไข่ และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

 

ยาคุมฮอร์โมนต่ำมียี่ห้ออะไรบ้าง?

  • Apri
  • Aviane
  • Levlen 21
  • Levora
  • Lo Loestrin Fe
  • Lo/Ovral
  • Ortho-Novum
  • Yasmin
  • Yaz 

 

วิธีการใช้ยาคุมฮอร์โมนต่ำ

ในการรับประทานยาคุมฮอร์โมนต่ำ ผู้ใช้ควรรับประทานยาคุมติดต่อกันเป็นเวลา 21 วัน โดยจะเริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดฮอร์โมนในช่วงวันที่ 1-5 ของรอบเดือน จากนั้นจึงรับประทานวันละ 1 เม็ดในเวลาเดียวกันทุกวัน โดยผู้ใช้ควรรับประทานก่อนนอน โดยกินจนครบ 21 เม็ด แล้วค่อยหยุดยาเป็น 7 วัน ซึ่งในช่วงที่หยุดยานั้น อาจมีอาการประจำเดือน แม้ว่าจะเป็นผู้ที่กำลังมีประจำเดือนอยู่ หรือหมดประจำเดือนแล้วก็ตาม เมื่อครบ 7 วันแล้ว ผู้ใช้สามารถรับประทานยาคุมฮอร์โมนต่ำต่อได้เลยค่ะ

 

ข้อควรระวังในการรับประทานยาคุมฮอร์โมนต่ำ

ในการรับประทานยาคุมฮอร์โมนต่ำ ผู้ใช้ควรระวังอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • คัดเต้านม
  • ความดันโลหิตสูง
  • ท้องอืด
  • ประจำเดือนไม่มาเป็นปกติ
  • เลือดออกจากช่องคลอด
  • อารมณ์แปรปรวน
  • สำหรับแม่ให้นมอาจผลิตน้ำนมได้น้อยลง
  • เวียนหัว ปวดศีรษะ
  • มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และลิ่มเลือดอุดตัน

อย่างไรก็ตาม อาการต่าง ๆ เหล่านี้อาจขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล สำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม โรคตับ โรคไมเกรน โรคเส้นเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน ผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้น และคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาคุมกำเนิดฮอร์โมนแบบรวม

บทความที่เกี่ยวข้อง : กินยาคุมฉุกเฉินบ่อย มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง กินบ่อยไปแล้วควรทำอย่างไร ?

 

ยาคุมฮอร์โมนต่ำ

 

เมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยนไปใช้ยาคุมฮอร์โมนต่ำ?

ผู้หญิงหลายคนอาจลองผิดลองถูกในการเลือกใช้ยาคุมกำเนิด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่จะลองรับประทานยาคุมฮอร์โมนต่ำหลาย ๆ ยี่ห้อ ก่อนจะหาตัวยาที่ใช่ที่สุดค่ะ ผู้ใช้ยาคุมสามารถปรึกษากับแพทย์ และเภสัชกรก่อนเปลี่ยนไปทานยาคุมฮอร์โมนต่ำ เพราะอาจมีผลข้างเคียงต่าง ๆ ตามมาได้ โดยผู้ที่เหมาะสำหรับการใช้ยาคุมฮอร์โมนต่ำ มีดังนี้

  • ผู้ที่มีอาการไมเกรน
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ในช่วงรับประทานยาคุมกำเนิด
  • ผู้ที่มีอาการสิวขึ้น น้ำหนักขึ้น อารมณ์แปรปรวน ขณะรับประทานยาคุมแบบปกติ
  • ผู้ที่มีผลข้างเคียง เช่น อาการปวดท้อง ประจำเดือนมาผิดปกติ และอาการอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

 

ยาคุมฮอร์โมนต่ำ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับสาว ๆ ยุคใหม่ที่กำลังมองหายาคุมกำเนิดที่ส่งผลข้างเคียงน้อย ไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดบวม ช่วยลดสิว หรือช่วยปรับอารมณ์ไม่ให้แปรปรวน และอาการแบบอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม การรับประทานยาคุมชนิดนี้ ผู้ใช้ควรปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรทุกครั้ง เพราะผู้ใช้บางกลุ่ม อาจมีโรคประจำตัว หรืออาการอื่น ๆ ที่หากรับประทานไปแล้วก็เป็นอันตรายต่อร่างกายได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิด ที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม

ยาคุมแบบแปะ สามารถคุมกำเนิดได้จริง หรือแค่ราคาคุย

ยาคุมกำเนิดแบบฉีด อีกหนึ่งทางเลือกป้องกันการตั้งครรภ์ที่ได้ผลดี!

ยาคุม28เม็ด ข้อควรรู้สำหรับสาวๆ ต้องทานอย่างไร ทำไมจึงทานเยอะกว่า?

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sittikorn Klanarong

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ยาคุมฮอร์โมนต่ำ ช่วยลดผลข้างเคียงได้ดีกว่ายาคุมแบบปกติจริงไหม?
แชร์ :
  • โรคธาลัสซีเมียอันตรายมากแค่ไหน ตรวจธาลัสซีเมีย ระหว่างตั้งครรภ์ได้หรือไม่?

    โรคธาลัสซีเมียอันตรายมากแค่ไหน ตรวจธาลัสซีเมีย ระหว่างตั้งครรภ์ได้หรือไม่?

  • ประโยชน์ของกาแฟ มีอะไรบ้าง? และดื่มกาแฟอย่างไร ถึงจะดีต่อสุขภาพ

    ประโยชน์ของกาแฟ มีอะไรบ้าง? และดื่มกาแฟอย่างไร ถึงจะดีต่อสุขภาพ

  • คนท้องแพ้ง่าย ผลิตภัณฑ์สำหรับคนแพ้ง่าย คนท้องใช้ได้หรือไม่?

    คนท้องแพ้ง่าย ผลิตภัณฑ์สำหรับคนแพ้ง่าย คนท้องใช้ได้หรือไม่?

  • โรคธาลัสซีเมียอันตรายมากแค่ไหน ตรวจธาลัสซีเมีย ระหว่างตั้งครรภ์ได้หรือไม่?

    โรคธาลัสซีเมียอันตรายมากแค่ไหน ตรวจธาลัสซีเมีย ระหว่างตั้งครรภ์ได้หรือไม่?

  • ประโยชน์ของกาแฟ มีอะไรบ้าง? และดื่มกาแฟอย่างไร ถึงจะดีต่อสุขภาพ

    ประโยชน์ของกาแฟ มีอะไรบ้าง? และดื่มกาแฟอย่างไร ถึงจะดีต่อสุขภาพ

  • คนท้องแพ้ง่าย ผลิตภัณฑ์สำหรับคนแพ้ง่าย คนท้องใช้ได้หรือไม่?

    คนท้องแพ้ง่าย ผลิตภัณฑ์สำหรับคนแพ้ง่าย คนท้องใช้ได้หรือไม่?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ