X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิด ที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม

บทความ 5 นาที
10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิด ที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิด ที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม

ยังคงมีหลายคนที่ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการรับประทานยาคุมกำเนิด หรืออาจจะเข้าใจผิดเกี่ยวการทานยาคุมกำเนิด ส่งผลให้เกิดผลกระทบกับร่างกายในระยะยาว หรือไม่สามารถคุมกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นก่อนที่คุณจะเริ่มทานยาคุมกำเนิด ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ของการป้องกันการตั้งครรภ์ หรือการปรับฮอร์โมน หรือเพื่อการดูแลผิวพรรณ คุณควรจะเรียนรู้ 10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิด กันก่อน เพื่อความปลอดภัย และสามารถทานยาคุมกำเนิดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิด ที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม

1. คุณสมบัติยาคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดทำให้เยี่อบุโพรงมดลูกบางลง

ยาคุมกำเนิด คือ เม็ดฮอร์โมน ที่ประกอบไปด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งมีความสำคัญในการป้องกันการท้อง เพราะฮอร์โมนสองชนิดนี้ จะไปยับยั้งกระบวนการตกไข่ในผู้หญิง เนื่องจากจะไปสร้างเมือกบริเวณปากมดลูก ทำให้อสุจิเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ ในรังไข่ได้ยากขึ้น และยังทำให้ผนังมดลูกมีความบาง ป็นสาเหตุทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวได้

 

2. ยาคุมกำเนิดมีหลายชนิด

ยาคุมกำเนิด (Birth Control Pill) แบ่งตามชนิดของฮอร์โมน จะมีด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ 

  • ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม ซึ่งประกอบไปด้วย ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งมีความสำคัญต่อการคุมกำเนิด เพราะเมื่อกินเข้าไปแล้ว จะทำให้เยื่อบุมดลูกบางลง จนตัวอ่อนไม่สามารถไปฝังตัวได้ 
  • ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนเดี่ยว จะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูง

ยาคุมกำเนิด ยิ่งมีปริมาณของฮอร์โมนมาก ก็ยิ่งมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้ดีตามไปด้วย แต่จะทำให้มีผลข้างเคียงสูงตามไปด้วยเช่นกัน ส่วนยาคุมกำเนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนน้อย ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดก็จะต่ำลง แต่จะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ต่ำกว่า

 

3. ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด มีแบบ 21 เม็ด และ 28 เม็ด

ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดตามท้องตลาด จะมีจำนวน 21 เม็ด และ 28 เม็ด ดังนี้

  • ยาคุมกำเนิดชนิด 21 เม็ด ซึ่งชนิด 21 เม็ด เมื่อทานจนหมดแผงแล้ว จำเป็นจะต้องเว้นช่วงไปอีก 7 วัน เพื่อให้ประจำเดือนมา จึงจะสามารถเริ่มทานแผงใหม่ได้
  • ยาคุมกำเนิดชนิด 28 เม็ด ชนิด 28 เม็ด จะมียาจริงเพียงแค่ 21 เท่านั้น อีก 7 เม็ดที่เหลือจะเป็นเม็ดแป้ง (หรือเสมือนยาหลอก) ชนิดนี้จะเหมาะกับผู้ที่กลัวลืม หรือกลัวนับวันผิด ซึ่งเมื่อทานจนหมดแผง ก็จะสามารถเริ่มแผงใหม่ได้ทันที

ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็แล้วแต่ วัตถุประสงค์ของการคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดทั้งสองแบบ จะมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากัน เพียงแค่กินยาสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : กินยาคุมกำเนิดมานานจะท้องได้หรือไม่ หยุดกินยาคุมจะท้องไหม กับความเชื่อผิดๆ

 

ข้อควรรู้ก่อนกินยาคุม

 

4. ควรทานยาอย่างสม่ำเสมอ กำหนดเวลาชัดเจน

การทานยาคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นจะต้องทานในเวลาเดิมทุก ๆ วัน อย่างสม่ำเสมอ ในกรณีที่คุณลืมทานยาคุมกำเนิดมากกว่า 3 ชั่วโมงขึ้นไป ให้รีบรับประทานยาทันทีที่นึกขึ้นได้ และให้ทานเม็ดถัดไปในเวลาเดิมอย่างต่อเนื่อง

 

5. การทานยาคุมกำเนิดครั้งแรก ควรเริ่มกินช่วงมีประจำเดือน

สำหรับผู้ที่ต้องการทานยาคุมกำเนิดครั้งแรก หรือการหยุดใช้ไปนาน แล้วต้องการกลับมาเริ่มทานใหม่ ควรจะเริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดภายในวันที่ 1-5 ของช่วงที่มีประจำเดือน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า คุณไม่ได้ตั้งครรภ์อยู่ เพราะหากมีการตั้งครรภ์โดยที่คุณไม่ทราบมาก่อน การทานยาคุมกำเนิดจะเข้าไปทำอันตรายต่อตัวอ่อนทารก ทำให้เกิดภาวะพิการได้

 

6. ผลข้างเคียงจากยาคุมกำเนิด

เนื่องจากร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้น ในบางคนจะเกิดอาการข้างเคียงเมื่อรับประทานยาคุมกำเนิดเข้าไป โดยอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นนั้น จะมีทั้ง คลื่นไส้ อาเจียน คัดเต้านม มีอารมณ์แปรปรวน หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไป หากเกิดอาการดังนั้น ให้รีบปรึกษาแพทย์โดยทันที

 

7. กำหนดวันทานยาคุมกำเนิดให้ชัดเจน และถูกต้อง

วิธีการทานยาคุมกำเนิดให้ถูกต้อง ควรจะระบุวันที่ทานบนแผงยาให้ชัดเจน ซึ่งแต่ละยี่ห้อ จะมีสติ๊กเกอร์เพื่อระบุวันที่เริ่มทาน ตั้งแต่วันจันทร์ ถึง อาทิตย์ หากคุณเริ่มทานยาเม็ดแรกในวันอังคาร ก็ให้ติดสติ๊กเกอร์ หรือแกะยาเม็ดแรกของวันอังคาร แล้วจึงรับประทานยาคุมกำเนิดต่อไปเรื่อย ๆ ตามลูกศร จนกว่าจะหมดแผง เพื่อกันการหลงลืมในวันนั้น ๆ นั่นเอง

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : กินยาคุมฉุกเฉินบ่อย มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง กินบ่อยไปแล้วควรทำอย่างไร ?

 

ข้อควรรู้ก่อนกินยาคุม

 

8. การรับประทานยาคุมฉุกเฉิน

การรับประทานยาคุมฉุกเฉินนั้น เป็นไปตามชื่อที่กำหนดเอาไว้คือ เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ถูกข่มขืน หรือการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้นยาชนิดนี้จะมีตัวยาที่แตกต่างจากยาคุมปกติทั่วไป ทำให้ไม่เหมาะสมกับการทานเป็นประจำ หรือทานทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพราะอาจส่งผลต่อร่างกายในระยะยาวได้

 

9. วิธีการทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

สำหรับผู้ที่จำเป็นจะต้องทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินนั้น ในแผงยาคุมฉุกเฉินจะมียาด้วยกัน 2 เม็ด ให้ทานเม็ดแรกทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่พึงประสงค์ ส่วนเม็ดที่ 2 ให้รับประทานยาหลังจากเม็ดแรก 12 ชั่วโมง สำหรับยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินนั้น ตัวยาจะมีประสิทธิภาพต่ำกว่ายาคุมกำเนิดชนิดรายเดือน ดังนั้นแม้ว่าจะทานเข้าไปแล้ว โอกาสที่จะคุมกำเนิดไม่ได้ ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม : ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ปลอดภัยหรือไม่ และกินอย่างไรให้ปลอดภัย

 

10. ตรวจดูวันหมดอายุก่อนใช้ยาทุกครั้ง

ก่อนรับประทานยาคุมกำเนิดแผงใหม่ คุณจำเป็นจะต้องตรวจสอบ เช็คดูวันหมดอายุของยาแผงนั้น ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง

 

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับ 10 ข้อ ที่คุณควรรู้ หากคุณคิดจะรับประทานยาคุมกำเนิด เป็น 10 ข้อ ง่าย ๆ ที่ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ตัวยาคุมกำเนิดสามารถคุมการกำเนิดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และยังปลอดภัยกับสุขภาพของตัวคุณอีกด้วย

 

 

บทความที่น่าสนใจ

ยาคุมกินตอนไหน วิธีกินยาคุมกำเนิดที่ถูกต้อง ที่คุณไม่ควรพลาด

ยาคุมกินแล้วไม่อ้วน มีจริงไหม? กินยาคุมอย่างไรถึงไม่อ้วน?

กินยาคุมตอนท้อง ท้องแล้วกินยาคุม จะอันตรายต่อลูกในท้องไหม

ลืมกินยาคุม 2 วัน จะทำอย่างไรดี มีผลกระทบหรือไม่?

ที่มาข้อมูล 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Waristha Chaithongdee

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • 10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิด ที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม
แชร์ :
  • ยาขับเลือดประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกติ ยาสตรี แก้ปัญหาเหล่านี้ได้จริงหรือ?

    ยาขับเลือดประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกติ ยาสตรี แก้ปัญหาเหล่านี้ได้จริงหรือ?

  • โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    บทความจากพันธมิตร

    โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

    ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

app info
get app banner
  • ยาขับเลือดประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกติ ยาสตรี แก้ปัญหาเหล่านี้ได้จริงหรือ?

    ยาขับเลือดประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกติ ยาสตรี แก้ปัญหาเหล่านี้ได้จริงหรือ?

  • โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    บทความจากพันธมิตร

    โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

    ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ