X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

กินยาคุมฉุกเฉินบ่อย มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง กินบ่อยไปแล้วควรทำอย่างไร ?

บทความ 5 นาที
กินยาคุมฉุกเฉินบ่อย มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง กินบ่อยไปแล้วควรทำอย่างไร ?

กินยาคุมฉุกเฉินบ่อย หรือทานมาเป็นประจำแล้วจนเกิดความเคยชินจะสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้มากแค่ไหน ? การทานยาคุมฉุกเฉินนั้นเป็นวิธีเร่งด่วนสำหรับผู้ที่เกิดความผิดพลาดจากการมีเพศสัมพันธ์จนเกิดความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ ที่ถือว่ามีประสิทธิภาพสูง และมีผลข้างเคียงค่อนข้างรุนแรงตามมา จึงไม่ถูกส่งเสริมให้ทานบ่อย ๆ และควรหันไปใช้วิธีการป้องกันในรูปแบบอื่น ๆ มากกว่า หรือควรใช้เมื่อยาม “จำเป็น” ้เท่านั้น

 

ยาคุมฉุกเฉินคืออะไร ทำไมต้องกิน

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน (emergency contraceptive pills, morning-after pills) เป็นหนึ่งในวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์สำหรับผู้หญิง หลังผ่านการมีเพศสัมพันธ์มา โดยมักจะถูกใช้งานก็ต่อเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นจนทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์อย่างมาก เช่น ไม่ได้ใส่ถุงยางและเกิดการหลั่งใน ,ใช้ถุงยางแต่ถุงยางรั่ว หรือแตก หรือการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอม เป็นต้น โดยตัวยานี้ถือเป็นทางเลือกอันดับต้น ๆ เพราะได้ผลที่ชัดเจน

ภายในตัวยาประกอบไปด้วยฮอร์โมนเพศโปรเจสตินชนิดเดียว (Progestin-only) และยาคุมกำเนิดฉุกเฉินแบบฮอร์โมนคู่ การทานยาคุมฉุกเฉินนั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์กว่า 80-90 % แต่ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อใด ๆ ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ปลอดภัยหรือไม่ และกินอย่างไรให้ปลอดภัย

 

วิดีโอจาก : churakchuros

 

ควรทานยาคุมฉุกเฉินเมื่อไหร่

หากต้องการใช้ยาคุมฉุกเฉิน ต้องใช้เฉพาะการเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้เท่านั้น ไม่สามารถใช้ทานจนเป็นปกติได้ เนื่องจากจะส่งผลเสียต่อร่างกายของฝ่ายหญิง ตัวอย่างของปัจจัยที่ทำให้ใช้ยาประเภทนี้มีหลายประการ ได้แก่

 

  • มีเพศสัมพันธ์โดยฝ่ายชายไม่ได้ป้องกัน
  • ถุงยางอนามัยที่ใช้เกิดการชำรุด เช่น ฉีก, ขาด, รั่ว หรือใส่ไม่ถูกต้อง
  • การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอม (Sexual assault)
  • ลืมทานยาคุมกำเนิดที่ทานเป็นประจำตามกำหนด หรือไม่ได้รับการฉีดยาคุมตามกำหนด
  • อุปกรณ์ป้องกันสำหรับผู้หญิง เช่น diaphragm หรือ cervical cap เกิดการชำรุด หรือขาด หรือแตกออกก่อนดึงออกมา
  • คำนวณวันมีเพศสัมพันธ์ผิดพลาด

 

ผู้ที่ไม่ควรใช้ยาคุมฉุกเฉิน

นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ไม่สามารถใช้ยาคุมชนิดนี้ได้ เนื่องจากร่างกายอาจไม่พร้อมสำหรับผลข้างเคียง และจะก่อให้เกิดอันตรายตามมาได้ในภายหลัง โดยมากมักจะเป็นผู้ที่มีโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น มะเร็งในผู้หญิง, โรคเกี่ยวกับตับ, โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด และหัวใจ, โรคลมชัก, โรคอ้วน และโรคเบาหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผู้ที่สูบบุหรี่จัด, มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีอาการไมเกรนชนิด Migraine with aura

 

กินยาคุมฉุกเฉินบ่อย จะเป็นอันตรายหรือไม่

จากที่เราได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า การทานยาคุมประเภทฉุกเฉินนั้นไม่ควรทานบ่อย เพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้ ควรทานไม่เกิน 2 กล่องต่อเดือน เพราะการทานมากเกินไปจะยิ่งเพิ่มผลข้างเคียงให้รุนแรงมากยิ่งขึ้นได้ ดังนี้

 

  • อาการคลื่นไส้ อาเจียน หลังทานยา
  • ร่างกายปรับฮอร์โมนจากการใช้ยา ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ หรือปวดท้อง
  • อาจทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ
  • อาจทำให้ร่างกายขาดแคลเซียม จนเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน
  • มีความเสี่ยงการตั้งครรภ์นอกมดลูก

 

หลังทานไปแล้วยังมีอาการข้างเคียงที่รุนแรง และต้องรีบเข้าพบแพทย์ในทันที ได้แก่ มีเลือดไหลออกทางช่องคลอด, ประจำเดือนเกิดการขาดหายไป หรือมีอาการที่รู้สึกว่าตนเองตั้งครรภ์ ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินจะทำให้เกิดการ “แท้ง” นั้นไม่ใช่เรื่องจริง เพราะเป็นเพียงการลดโอกาสตั้งครรภ์เท่านั้น หากไข่กับเชื้ออสุจิเกิดการผสมกันแล้วก็จะตั้งครรภ์อยู่ดี

บทความที่เกี่ยวข้อง : เพศสัมพันธ์ระหว่างใช้ยาคุม กินยาคุมแล้วมีเซ็กส์ได้ไหม? ปลอดภัยรึเปล่า?

 

กินยาคุมฉุกเฉินบ่อย 2

 

กินยาคุมฉุกเฉินบ่อยจะลดโอกาสตั้งครรภ์ให้น้อยลงกว่าไหม

การทานมากเกินไปนอกจากจะมีความเสี่ยงจากผลข้างเคียงแล้ว หากหลายคนต้องการมองข้ามความเสี่ยงเหล่านั้น และต้องการรู้ถึงประสิทธิภาพที่แท้จริงของยาคุมฉุกเฉินว่าจะช่วยป้องกันได้มากขึ้นหรือเปล่าหากทานบ่อย ๆ เนื่องจากอาจคิดว่าเป็นประสิทธิภาพที่เหนือกว่ายาคุมทั่วไปจึงอาจจะสามารถช่วยได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การทานยาคุมประเภทฉุกเฉินต่อเนื่องไม่ได้มีส่วนช่วยให้โอกาสในการตั้งครรภ์จากการไม่ป้องกันน้อยลงแต่อย่างใดเลย แถมยังเป็นการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกายมากกว่ายาคุมกำเนิดแบบทั่วไปอยู่มากกว่าถึง 2 เท่า และด้วยโรคต่าง ๆ ที่ตามมาภายหลังอาจบอกได้ว่า เป็นสิ่งที่ไม่ควรทานบ่อยเป็นอย่างยิ่ง

 

ทานยาคุมฉุกเฉินมากเกินไป ควรทำอย่างไรดี ?

เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้วพบว่าตนเองมีพฤติกรรมการทานยาคุมฉุกเฉินที่บ่อยเกินไป และเกรงว่าตนเองจะเป็นอันตราย ให้ทำการหยุดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนและเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจร่างกายที่จำเป็นตามความเสี่ยง หลังตรวจแล้วให้ฟังผลจากแพทย์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และปรับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ใหม่ เช่น การหันมาใช้ยาคุมกำเนิดแบบปกติอย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง, การใช้ถุงยางอนามัยจากฝ่ายชาย, การใช้ diaphragm หรือ cervical cap ของฝ่ายหญิง หรือการฉีดยาคุมกำเนิด เป็นต้น วิธีเหล่านี้มีความปลอดภัยจากการใช้งานอยู่มากหลายเท่า เมื่อเทียบกับยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

 

ถึงแม้ว่าประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉินจะดูเป็นที่น่าพอใจ แต่ก็มีผลเสียในตัวของยา ที่สามารถส่งผลร้ายให้เกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ที่ทานได้ อีกทั้งยังเป็นเพียงตัวช่วยในการป้องกันเท่านั้นไม่ได้ป้องกันได้ 100% และยังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการมีเพศสัมพันธ์อยู่หากไม่สวมถุงยางอนามัย

 

บทความจากพันธมิตร
การมีเพศสัมพันธ์ทุกวัน มีเซ็กส์ช่วงไหนท้องง่ายสุด วิธีมีเซ็กส์เพิ่มปั๊มลูก
การมีเพศสัมพันธ์ทุกวัน มีเซ็กส์ช่วงไหนท้องง่ายสุด วิธีมีเซ็กส์เพิ่มปั๊มลูก
สราญสิริ…บ้านคือพื้นที่แห่งความรักของทุกคน
สราญสิริ…บ้านคือพื้นที่แห่งความรักของทุกคน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ยาคุมกำเนิด กินยังไง ลืมกินยาคุม 2 วัน ทำไงดี คุมกำเนิดแบบไหนดีที่สุด

กินยาคุมกำเนิดมานานจะท้องได้หรือไม่ หยุดกินยาคุมจะท้องไหม กับความเชื่อผิดๆ

ฝังยาคุม กับ กินยาคุม ต่างกันอย่างไร ? มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

 

ที่มาข้อมูล : 1 2 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • ความรัก และ เซ็กส์
  • /
  • กินยาคุมฉุกเฉินบ่อย มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง กินบ่อยไปแล้วควรทำอย่างไร ?
แชร์ :
  • นานแค่ไหน? จึงจะปลอดภัยสำหรับการ มีเพศสัมพันธ์หลังทำแท้ง !

    นานแค่ไหน? จึงจะปลอดภัยสำหรับการ มีเพศสัมพันธ์หลังทำแท้ง !

  • ท่าเซ็กส์มัดใจสามี พร้อมวิธีจัดการจุดเสียวที่ภรรยาต้องรู้

    ท่าเซ็กส์มัดใจสามี พร้อมวิธีจัดการจุดเสียวที่ภรรยาต้องรู้

  • เรื่องต้องรู้ Oral Sex สร้างรักอย่างไรไม่ให้เจ็บ พร้อมเทคนิคเพิ่มความฟิน

    เรื่องต้องรู้ Oral Sex สร้างรักอย่างไรไม่ให้เจ็บ พร้อมเทคนิคเพิ่มความฟิน

  • นานแค่ไหน? จึงจะปลอดภัยสำหรับการ มีเพศสัมพันธ์หลังทำแท้ง !

    นานแค่ไหน? จึงจะปลอดภัยสำหรับการ มีเพศสัมพันธ์หลังทำแท้ง !

  • ท่าเซ็กส์มัดใจสามี พร้อมวิธีจัดการจุดเสียวที่ภรรยาต้องรู้

    ท่าเซ็กส์มัดใจสามี พร้อมวิธีจัดการจุดเสียวที่ภรรยาต้องรู้

  • เรื่องต้องรู้ Oral Sex สร้างรักอย่างไรไม่ให้เจ็บ พร้อมเทคนิคเพิ่มความฟิน

    เรื่องต้องรู้ Oral Sex สร้างรักอย่างไรไม่ให้เจ็บ พร้อมเทคนิคเพิ่มความฟิน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ