โรคเบาหวาน คืออะไร โรค เบาหวาน เป็นภาวะของร่างกายที่มีน้ำตาลในเลือดสูง อันเกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือเกิดจากการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้เกิดกระบวนการดูดซึมของน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติ หรือทำงานที่ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนทำให้น้ำตาลสะสมในเลือดมีปริมาณที่มากจนเกินไป
บทความนี้ได้รับการตรวจสอบโดย นพ. วรณัฐ ปกรณ์รัตน์ (แพทย์จาก Good Doctor Technology แอปพลิเคชัน) | ตุลาคม 2565
หากว่าเราปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนั้นเป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของเราเสื่อมลง ทำให้เกิดโรคอื่น ๆ และมีอาการเกิดขึ้นได้ แนะนำให้ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เช่นการตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจสุขภาพเข้าใจร่างกายของเรามากที่สุดค่ะ
สาเหตุของโรคเบาหวานเกิดจากอะไร?
โรคเบาหวานนั้นมีอยู่หลายประเภท และสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
- เบาหวาน ประเภทที่ 1 : เกิดจากที่ตับอ่อนไม่สามารถที่จะผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้
- เบาหวานประเภทที่ 2 : เกิดจากที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน หรืออาจจะเกิดการดื้ออินซูลินก็เป็นได้
- เบาหวานประเภทที่ 3 : เป็นโรคเบาหวานที่ไม่ค่อยพบบ่อยสักเท่าไหร่นั้นก็คือ โรคเบาหวานที่เกิดจากกรรมพันธุ์ หรือแบบโมโนเจนิก และยังมีโรคเบาหวานที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน
หากคุณแม่ยังสงสัยเกี่ยวกับโรคเบาหวาน สามารถเลือกอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความเหล่านี้ คลิก
อาการของโรคเบาหวาน
-
ปัสสาวะบ่อย และมีปริมาณมาก
เมื่อร่างกายของเรา ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้อย่างเพียงพอ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และไตของเรา ก็จะไม่สามารถกรองน้ำตาลส่วนเกินได้ จึงส่งผลให้น้ำตาลส่วนเกิน ตีกลับเข้าสู่เส้นเลือด จึงมีความจำเป็นที่ต้องปล่อยออกมา พร้อมกับน้ำปัสสาวะ
เมื่อร่างกายเราขับน้ำออกบ่อย จากการปัสสาวะ ทำให้ร่างกายจำเป็นต้องชดเชยน้ำที่เสียไป จึงทำให้เกิดอาการอยากดื่มน้ำ กระหายน้ำ บ่อยกว่าปกตินั่นเอง
เมื่อฮอร์โมนอินซูลินในร่างกาย ทำงานได้ไม่ปกติ ทำให้ร่างกายขาดฮอร์โมนตัวนี้ เซลล์ต่าง ๆ ของเรา จึงไม่ได้รับพลังงาน ทำให้ร่างกาย พยายามหาแหล่งอาหารจากที่อื่น ด้วยการส่งสัญญาณว่าต้องการอาหาร ทำให้เกิดอาการหิวบ่อย
เมื่อน้ำตาลในเลือดของเรา ไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ร่างกาย เพื่อทำการเผาผลาญเป็นพลังงานได้ ผู้ที่เป็นเบาหวานจึงมีความอ่อนเพลียได้ง่าย
การขาดฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงาน เพื่อให้ร่างกายได้นำเอาไปใช้ได้ จึ่งทำให้ร่างกายดึงเอาโปรตีน และไขมันมาใช้แทน
การที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เกิดการคั่งของน้ำตาลในจอตา เกิดอาการผิดปกติ หรือมีระดับน้ำตาลสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดความผิดปกติที่จอตา อาจส่งผลรุนแรงถึงปัญหาสายตาในระยะยาว และอาจส่งผลให้ตาบอดได้
การรักษา โรค เบาหวาน
การรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในประเภทที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลิน เข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หากเป็นในระยะแรก ๆ สามารถที่จะรักษาด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม และการออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักของตนเอง แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้นนั้น แพทย์อาจจะให้ยาควบคู่ไปเช่นเดียวกับโรคเบาหวานประเภทที่ 1 การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็น
สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานในขณะที่ตั้งครรภ์ ควรที่จะเข้าฝากครรภ์ในช่วงระยะแรก ๆ พร้อมทั้งการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายตามที่แพทย์สั่ง
ภาวะแทรกซ้อนของการเป็นโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าบุคคลธรรมดา หากไม่มีการควบคุมของเรื่องการรับประทานอาหาร และการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเรา และจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ทั้งโรคแทรกซ้อนที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก เช่น เบาหวานขึ้นตา เป็นต้น หรือโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับเส้นเลือดที่มีขนาดใหญ่ เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น การตรวจสุขภาพอาจรวมไปถึงการแฟ้นหา โรคแทรกซ้อนในระบบประสาทส่วนต่าง ๆ อีกด้วย นอกจากนี้ผู้ที่ตั้งครรภ์ก็อาจก่อให้เกิดครรภ์เป็นพิษได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : 13 อาหารลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนท้อง ลดความเสี่ยงเบาหวาน
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานคืออะไร?
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมีอยู่ 5 ปัจจัย ดังนี้
1. ประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้โดยที่ลูกที่มีพ่อหรือแม่ที่เป็นเบาหวาน ก็จะมีโอกาสเป็นเบาหวานได้มากถึงร้อยละ 30 หากพ่อและแม่เป็นเบาหวานลูกมีโอกาสสูงที่จะเป็นเบาหวานมากถึงร้อยละ 60 ทั้งนี้ระดับความรุนแรงในการถ่ายทอดของโรคเบาหวานทางพันธุกรรมมักจะแตกต่างกันออกไป การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญ
2. ไขมันในเส้นเลือดสูง
ความดื้อต่ออินซูลินทำให้เป็นไขมันในเส้นเลือดสูง หากตรวจพบว่าไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น และไขมันที่เป็นเอชดีแอลลดลง จะเป็นสัญญาณเตือนของร่างกายว่า ร่างกายมีความดื้ออินซูลินมากขึ้น
3. มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
ความอ้วนเป็นตัวร้ายที่กระตุ้นให้ยีนดื้อต่ออินซูลินให้ปรากฏออกมา ในปัจจุบันพบว่าจำนวนของคนอ้วนนั้นมีมากขึ้น และคาดการณ์ว่าจะมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมเรื่องอาหารการกิน การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยไขมัน ตลอดไปจนถึงการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ทำให้ร่างกายใช่พลังงานลดลง และเมื่อเราให้พลังงานของร่างกายลดลงแต่เราก็ยังรับประทานอาหารในปริมาณเท่าเดิม จึงก่อให้เกิดความไม่สมดุล และกระตุ้นให้เกิดการดื้อของอินซูลิน
4. ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงนับเป็นปัจจัยหลักเลยสำหรับการเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานนั้น เริ่มต้นจากความผิดปกติที่เกิดจากไต หรือจากตะกรันที่หลอดเลือดซึ่งทำให้หลอดเลือดนั้นเกิดการต้านทานมากยิ่งขึ้น หัวใจจึงต้องสูบฉีดเลือดให้แรงขึ้น ส่งผลทำให้ความดันโลหิตตามมา ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงจึงควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาล และไขมันในเลือดอยู่อย่างสม่ำเสมอ
5. อายุที่เพิ่มขึ้น
เป็นธรรมชาติของร่างกายที่มีความดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้นเมื่อมีอายุที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจรักษาระดับน้ำตาลในเลือดอยู่สม่ำเสมอ
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคเบาหวาน ภัยเงียบที่คุกคามคนไทย วิธีการดูแลคนท้องเป็นโรคเบาหวาน
เบาหวานกับโรคไตมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
ไตเป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วแดง เพราะมี 2 ข้าง ตำแหน่งของไตอยู่บริเวณสีข้างของร่างกาย ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถทำให้ไตเสื่อมได้ใน 2 สาเหตุคือ
1. การเป็นเบาหวานทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายขาดพลังงานที่สูงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนั้นก็รวมไปถึงเซลล์ของไตด้วย จึงทำให้เซลล์เสื่อมสภาพในการทำงานต่าง ๆ ไตก็จะทำงานได้ไม่เหมือนเดิมจึงทำให้กลไกของไตเสื่อมลง
2. การที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ไตของเราทำงานหนักจนทำให้เสื่อมสภาพลง เพราะไตมีหน้าที่กรองสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้ยังคงไว้ในร่างกายได้มากที่สุด และน้ำตาลก็เป็นสารอาหารที่ดี ดังนั้นไตจึงทำงานหนักอยู่ตลอดเวลาหากมีน้ำตาลในเลือดสูง
ความผิดปกติในการทำงานของไต
1. ไตวายเฉียบพลัน เกิดขึ้นเพียงระยะเวลาหนึ่ง แต่เมื่อเราสามารถที่จะแก้ไขปัญหาของโรคนี้ได้ที่ต้นเหตุอาการของโรคนี้ก็จะหายไป หากเหตุเกิดจากน้ำและเลือดไปเลี้ยงไตลดลง การที่ได้รับยาหรือสารพิษก็เป็นพิษต่อไตเรา การตรวจสุขภาพเป็นประจำเป็นสิ่งที่ทำให้รู้ถึงการทำงานในระบบร่างกายของเราค่ะ
2. ไตวายเรื้อรัง ถึงแม้เราจะทำการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุแล้วก็ตาม ก็ยังมีการเสื่อมของไตมากขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยสาเหตุที่มักจะพบได้บ่อยคือ โรคเบาหวาน การอักเสบเรื้อรังของตัวกรองของไต โรคไตจากความดันโลหิต โรคเกาต์ เป็นต้น
อาการของการเป็นไตเสื่อม
อาการเป็นไตเสื่อม ภาวะไตเสื่อมในระยะเริ่มต้น จะยังไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่เมื่อไหร่ที่สารพิษเหล่านี้สะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจจะเกิดอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้
คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร : เนื่องจากสารพิษสะสมในร่างกายไม่สามารถที่จะขับถ่ายออกจากร่างกายได้
อ่อนเพลีย : เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง รวมไปถึงสารพิษที่สะสมในร่างกายจะกดการทำงานของไขกระดูกทำให้ไม่สามารถที่จะสร้างเม็ดเลือดแดงได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้เมื่อท่านไม่สามารถที่จะรับประทานอาหารได้ จึงทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย
บวม : เป็นผลอันเนื่องมาจากการสูญเสียไข่ขาว หรือที่เรียกว่าอัลบูมินในปัสสาวะ ทำให้อัลบูมินในเลือดลดลง นอกจากนี้แล้วภาวะไตเสื่อมในระยะสุดท้ายทำให้ไม่สามารถที่จะขับน้ำ และเกลือออกจากร่างกายได้ เกิดภาวะน้ำและเกลือคั่งในร่างกาย
ซึม : เป็นผลที่สารพิษสะสมในร่างกายจะกดการทำงานของระบบประสาท โดยเฉพาะส่วนของสมองจึงทำให้มีอาการซึม
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
น้ำตาลเทียม ปลอดภัยสำหรับคนท้องหรือไม่? สารให้ความหวานเทียม คืออะไร?
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ รับมืออย่างไรดี มีผลกับลูกในท้องหรือไม่
วันเบาหวานโลก 14 พฤศจิกายนของทุกปี โรคที่ผู้สูงอายุป่วยเป็นอันดับที่ 2
ที่มา : pobpad, theptarin, paolohospital
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!