ลูกน้อยกำลังอยู่ในวัยเจริญเติบโต คุณแม่หลาย ๆ ท่านจึงอยากให้ลูกได้ทานอาหารที่ดี และได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน คุณแม่บางราย กำลังคิดว่า ควรจะซื้อวิตามิน หรือ ยาเสริมธาตุเหล็ก ให้ลูกน้อยทานดีไหม เราอยากชวนมาอ่านบทความนี้ก่อนค่ะ
ธาตุเหล็ก คืออะไร
ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อน ว่าธาตุเหล็กคืออะไร ธาตุเหล็กนั้น คือ แร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย ที่ช่วยให้เม็ดเลือดแดงทำงานได้ตามปกติ เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก ธาตุเหล็กจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เพื่อนำไปสร้างเม็ดเลือดแดง ซึ่งเม็ดเลือดแดงเอง ก็จะทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเรา นอกจากนี้ ธาตุเหล็กยังช่วยไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย ช่วยเสริมภูมิต้านทาน และช่วยไม่ให้เป็นโลหิตจางได้ ซึ่งกลุ่มคนที่เสี่ยงขาดธาตุเหล็กมากที่สุดนั้น ได้แก่ ทารก คนท้อง คนให้นมลูก วัยรุ่นหญิง และคนที่ประจำเดือนหมด
เด็กทารก ควรได้รับธาตุเหล็กปริมาณเท่าไหร่ต่อวัน
ปกติแล้ว ทารกที่เพิ่งเกิดใหม่ จะมีธาตุเหล็กอยู่ในร่างกายแล้วส่วนหนึ่ง ซึ่งได้รับมาจากแม่เมื่อตอนอยู่ในท้องแม่ โดยเด็กทารกและเด็กเล็กจะได้รับธาตุเหล็กเพียงพอจากน้ำนมแม่ในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต
แต่หลังจาก 6 เดือน ทารกควรเริ่มทานอาหารเสริมที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ ตับ ไข่แดง ถั่ว ธัญพืช ผักใบเขียว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ และดื่มน้ำส้ม
อย่างไรก็ตาม เด็กบางกลุ่มอาจมีความเสี่ยงขาดธาตุเหล็ก เช่น
หากคุณแม่กังวลว่าลูกน้อยอาจขาดธาตุเหล็ก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความต้องการธาตุเหล็กของลูก แพทย์อาจแนะนำให้ให้ยาเสริมธาตุเหล็กเพิ่มเติม
บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหาร 6 ชนิดที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ
ยาเสริมธาตุเหล็กทารก ควรให้ลูกกินไหม อาหารเสริมธาตุเหล็ก ลูกน้อย อาหารเสริมธาตุเหล็กลูก (ภาพจาก freepik)
เด็กควรได้รับธาตุเหล็กเท่าไรต่อวัน
ปริมาณธาตุเหล็กที่เด็กควรได้รับต่อวัน ขึ้นอยู่กับ อายุ ดังนี้
- ทารก 6-12 เดือน: 7 มิลลิกรัมต่อวัน
- เด็กวัย 1-3 ปี: 8 มิลลิกรัมต่อวัน
- เด็กวัย 4-8 ปี: 10 มิลลิกรัมต่อวัน
- เด็กวัย 9-13 ปี: 8 มิลลิกรัมต่อวัน (สำหรับเด็กหญิง) / 11 มิลลิกรัมต่อวัน (สำหรับเด็กชาย)
- เด็กวัย 14-18 ปี: 15 มิลลิกรัมต่อวัน (สำหรับเด็กหญิง) / 17 มิลลิกรัมต่อวัน (สำหรับเด็กชาย)
|
อายุเด็ก |
ปริมาณธาตุเหล็กที่เด็กควรได้รับใน 1 วัน |
6 – 12 เดือน |
7 มิลลิกรัม |
1 – 3 ปี |
8 มิลลิกรัม |
4 – 8 ปี |
10 มิลลิกรัม |
9 – 13 ปี |
8 มิลลิกรัม (เด็กผู้หญิง)
11 มิลลิกรัม (เด็กผู้ชาย) |
14 – 18 ปี |
11 มิลลิกรัม (เด็กผู้ชาย)
15 มิลลิกรัม (เด็กผู้หญิง) |
ธาตุเหล็ก หาได้จากอาหารประเภทไหนบ้าง
ปกติแล้ว อาหารที่ให้ธาตุเหล็กนั้น ได้แก่ ไข่ เลือดวัว ตับหมู เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ถั่วฝักยาว เห็ดฟาง ผักแว่น ใบแมงลัก ใบกะเพรา บร็อคโคลี่ มะเขือเทศ ฝรั่ง ส้ม ผักใบเขียวชนิดต่าง ๆ และธัญพืช หากเด็ก ๆ อายุได้ประมาณ 6 เดือน และเริ่มทานอาหารอ่อน ๆ ได้แล้ว ก็แนะนำให้คุณแม่หาอาหารที่มีธาตุเหล็กให้เด็ก ๆ ทานได้ โดยอาจจะบดละเอียด และค่อย ๆ ป้อนทีละน้อยก่อนได้ค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกขาดธาตุเหล็ก ทั้งที่กินครบ 5 หมู่! หมอแนะปรับตารางการกินด่วน!
ควรให้ลูกกินยาเสริมธาตุเหล็ก หรือ วิตามินเสริมธาตุเหล็ก หรือไม่
ความจริงแล้ว คุณแม่ไม่จำเป็นที่จะต้องให้น้อง ๆ ทานวิตามินเสริม หรือยาเสริมธาตุเหล็กใด ๆ เนื่องจากว่าธาตุเหล็กนั้น สามารถหาได้จากอาหารทั่ว ๆ ไปที่เด็กรับประทาน อย่างไรก็ตาม หากลูกน้อยมีโรคประจำตัว ที่ทำให้ร่างกายไม่ดูดซึมธาตุเหล็ก หรือไม่สามารถทานอาหารแข็งได้หลังจากอายุ 6 เดือน คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อไม่ให้ร่างกายเด็กขาดสารอาหารที่จำเป็น ถึงแม้ว่านมแม่จะมีธาตุเหล็กอยู่ แต่ก็มีไม่เพียงพอกับวัยของลูก หากให้ลูกดื่มแค่นมแม่อย่างเดียว ร่างกายอาจขาดธาตุเหล็กได้
ยาเสริมธาตุเหล็ก กินตอนไหน
ยาเสริมธาตุเหล็กควรทาน ระหว่างมื้อ หรือ ก่อนนอน ไม่ควรทาน ยาเสริมธาตุเหล็ก พร้อมอาหาร เนื่องจากอาจทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้น้อยลง
ยาธาตุเหล็กเด็กเปิดแล้วอยู่ได้กี่เดือน
โดยทั่วไป ยาธาตุเหล็กเด็กที่เปิดแล้วควรเก็บไว้ได้ ประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้น ยาอาจเสื่อมสภาพและประสิทธิภาพในการรักษาอาจลดลง
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกตัวซีด มือเท้าเย็น เสี่ยง IQ ต่ำ เพราะ ขาดธาตุเหล็ก จริงไหม?
ยาเสริมธาตุเหล็กทารก ควรให้ลูกกินไหม อาหารเสริมธาตุเหล็ก ลูกน้อย อาหารเสริมธาตุเหล็กลูก (ภาพจาก freepik)
หากเด็กขาดธาตุเหล็ก จะเกิดอะไรขึ้น
หากร่างกายเด็ก ๆ ขาดธาตุเหล็ก อาจทำให้เด็กไม่มีเเรง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย น้ำหนักน้อย ผิวซีด สมองทำงานได้ช้า เจริญเติบโตไม่สมวัย เป็นโรคโลหิตจาง และเจ็บป่วยได้ง่าย ๆ
ข้อควรระวังและข้อแนะนำ
เมื่อคุณแม่ต้องการให้ลูกน้อยทานอาหารที่มีสารอาหารที่ดี ควรคำนึงถึงข้อแนะนำต่อไปนี้ด้วยนะคะ
- ควรค่อย ๆ ให้เด็ก ๆ เริ่มทานอาหารทีละอย่าง และคอยสังเกตว่าเด็กมีอาการแพ้อาหารชนิดใดหรือไม่
- คุณแม่ไม่ควรซื้อยาหรืออาหารเสริมชนิดไหนมาให้ลูกทานเองเด็ดขาด ให้ปรึกษาคุณหมอก่อนจะดีที่สุด เพราะหากร่างกายเด็กได้รับสารอาหารประเภทใดประเภทหนึ่งมากไป อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้เช่นเดียวกันค่ะ
- หากคุณหมอให้เด็กทานวิตามินหรือผลิตภัณฑ์เสริมธาตุเหล็ก คุณแม่ควรให้เด็กทานอย่างระมัดระวัง และควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากคุณหมออย่างเคร่งครัด
- ยาเสริมธาตุเหล็กอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หากลูกมีผลข้างเคียงเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์
- ยาเสริมธาตุเหล็กอาจลดการดูดซึมยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาต้านกรด ยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควรทานยาเหล่านี้ห่างจากยาเสริมธาตุเหล็กอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
- เก็บยาเสริมธาตุเหล็กให้พ้นมือเด็ก
บทความที่เกี่ยวข้อง :
เสริมธาตุเหล็กให้ลูกน้อยวัย 6-12 เดือน ด้วยหลากหลาย เมนูตับสำหรับลูกน้อย
สังเกตและแก้ไข อย่าให้ลูกซีด เพราะขาดธาตุเหล็ก
น่าเป็นห่วง! ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก วัยเด็กเล็ก 1-3 ปี ส่งผลไอคิวลดลงเมื่อเข้าสู่วัยเรียน
ที่มา : nestle ,cdc , babycenter , caringforkids , thaihealth , nestlemomandme
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!