X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกตัวซีด เซื่องซึม มือเท้าเย็น ต้องรีบเสริมธาตุเหล็กด่วน ก่อนที่ลูกจะโง่

บทความ 5 นาที
ทารกตัวซีด เซื่องซึม มือเท้าเย็น ต้องรีบเสริมธาตุเหล็กด่วน ก่อนที่ลูกจะโง่ทารกตัวซีด เซื่องซึม มือเท้าเย็น ต้องรีบเสริมธาตุเหล็กด่วน ก่อนที่ลูกจะโง่

ทารกตัวซีด อาการน่าเป็นห่วงเพราะจะทำให้เด็กมีพัฒนาการช้า สมองไม่ดี เซืองซึม กินข้าวไม่ได้ เหนื่อยง่าย และเป็นเด็กอารมณ์ร้าย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากลูกที่ได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ แล้วสาเหตุเกิดจากอะไร จะป้องกันได้อย่างไร

ทารกตัวซีด ภาวะซีดในเด็กคืออะไร ทำไมถึงทำให้ลูกโง่ จริงๆ แล้วภาวะซีดมีหลายสาเหตุ เช่น โรคธาลัสซีเมีย และจากการขาดธาตุเหล็กที่ทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ช้าตามมา ซึ่งจากงานวิจัยของกรมอนามัย โดยการสุ่มตรวจเลือดเด็กนักเรียนชั้น ป.1 ทั่วประเทศจำนวนกว่า 5,000 คน พบว่าเด็กไทยทุก 100 คน จะมีผู้ที่โลหิตจางสูงถึง 30 คน เด็ก  1 ใน 3 มีภาวะซีด 2 ใน 3 ของคนที่ซีดเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก พอขาดธาตุเหล็กเด็กก็โง่ลง

 

ภาวะซีดในเด็ก ลูกตัวซีดเกิดจากอะไรได้บ้าง

  1. เด็กคลอดก่อนกำหนด
  2. แม่ได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอขณะตั้งครรภ์
  3. กินนมที่ไม่ผสมธาตุเหล็ก
  4. กินอาหารที่ให้ธาตุเหล็กน้อย ไม่เพียงพอต่อร่างกาย
  5. ภาวะเสียเลือดซ่อนเร้น เช่น แผลในลำไส้เนื่องจากแพ้อาหารกลุ่มเสี่ยง เป็นโรคพยาธิปากขอ

 

รู้ได้ยังไงว่าลูกเราเป็นภาวะซีด

  • เริ่มแรกอาจจะมีอาการเบื่ออาหาร ซึม เหนื่อยง่าย ตัวเย็น ใจสั่น ทั้งๆ ที่มีรูปร่างอ้วนท้วมสมบูรณ์ สำหรับเด็กที่เป็นเพียงเล็กน้อย
  • หากเด็กที่เป็นมากๆ จะสังเกตได้จากผิวหนังซีดทั้งตัวแม้แต่เยื่อบุตา เล็บมือ ฝ่ามือ เหงือก ริมฝีปาก มุมปากอักเสบ ใบหูก็ซีดไปหมด และลิ้นก็เรียบไม่มีผิวขรุขระเหมือนปกติ ให้กินอะไรก็กินไม่ได้ คลื่นไส้อาเจียนออกมาหมด เล็บบางปลายเล็บงอนคล้ายช้อน ชีพจรเต้นเร็ว ปลายมือปลายเท้าเย็น หนักสุดอาจถึงขั้นหัวใจล้มเหลวกันได้เลยทีเดียว 

    ลูก หกเดือน

    ลูกอ้วนท่วมสมบูรณ์

 

ทำไมลูกถึงขาดธาตุเหล็กทั้งๆ ที่ร่างกายสมบูรณ์

ปกติเวลาเด็กในท้องจะมีฮีโมโกลบินที่อยู่ในเม็ดเลือดแดงของแม่โดยมีธาตุเหล็กรวมอยู่ด้วย เจ้าตัวนี้จะเป็นตัวช่วยให้นำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่พอร่างกายมีเม็ดเลือดแดงน้อย(เลือดจาง) จึงไม่มีออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้มากพอ ลูกน้อยจึงตัวซีดนั่นเอง

สาเหตุที่ลูกมีเลือดน้อยก็เพราะว่า หลังจากที่ทารกคลอดออกมาลืมตาดูโลกฮีโมโกลบินที่ได้จากแม่จะติดตัวมาด้วย และมันไปสะสมอยู่ที่ตับและม้ามของเด็ก  เนื่องจากร่างกายของเด็กจะหยุดสร้างฮีโมโกบินเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ แล้วจึงเริ่มสร้างใหม่ ทำให้เด็กที่มีอายุประมาณ 4-6 เดือน บางคนเริ่มขาดธาตุเหล็ก ดังนั้นวิธีการเดียวที่ทำให้ลูกได้ธาตุเหล็กจึงต้องหาสิ่งอื่นเข้าไปทดแทน เช่น นมแม่ เพราะเด็กเล็กจะถูกดูดซึมธาตุเหล็กจากนมแม่ได้ดีกว่าธาตุเหล็กในนมวัว 2-3 เท่า ส่วนอาหารอื่นๆ จะได้เพียง 1 ใน 10 ส่วนนั้นเท่านั้น ถ้าแม่คนไหนให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนแรก ธาตุเหล็กไม่ขาดแน่ๆ แต่จะขาดหลังจาก 6 เดือน มาแล้ว เพราะว่าเป็นช่วงที่แม่เริ่มให้ลูกกินอาหารอื่นที่นอกเหนือนมแม่

สำหรับสาเหตุที่ลูกตัวซีด ทั้งๆ ที่ดูอ้วน เพราะว่าเด็กๆ มักจะเล่นซุกซน เล่นมาก ใช้พลังงานเยอะ แยะต้องเอาไปเสริมสร้างการเติบโตด้วย โดยเฉพาะเด็กขวบปีแรกยิ่งไปกันใหญ่ ทำให้ลูกกินเท่าไร ก็ยังได้ธาตุเหล็กไม่เพียงพอกับการเจริญเติบโตอยู่ดี จนทำให้เกิดภาวะขาดธาตุเหล็กได้ง่ายนั่นเอง

 

ลูกโง่เพราะขาดธาตุเหล็กจริงหรอ?

เพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ ได้อธิบายว่า เด็กคนไหนก็ตามที่ขาดธาตุเหล็ก จะมีแนวโน้มที่มี IQ ต่ำกว่าเด็กที่ไม่เคยซีดมาก่อน (IQ คือ ความฉลาด การใช้ความคิด  การใช้เหตุผล การคำนวณต่างๆ) เกือบ 10 จุด พูดง่ายๆ คือ ความฉลาดของลูกจะลดลงเกือบ 10 จุดเมื่อขาดธาตุเหล็ก และถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาภาวะซีดแล้ว IQ หรือความฉลาดของลูกก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นแต่ก็ยังไม่เท่าเด็กที่ไม่มีซีดอยู่ดี ถ้าพูดแบบชาวบ้านคือ เด็กคนไหนขาดธาตุเหล็กแล้วจะโง่ลง หรือเด็กคนไหนที่เรียนไม่ค่อยทัน ไม่ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ ก็จะหนักลงไปอีก สรุปคือ ขาดธาตุเหล็กแล้วโง่จริง!

 

จะป้องกันยังไงไม่ให้ลูกโง่เพราะขาดธาตุเหล็ก

วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การพาลูกไปตรวจร่างกาย ซึ่งคุณหมอจะดูค่าฮีโมโกลบินในเลือดของลูกน้อย โดยการเจาะเลือด ซึ่งค่าปกติของฮีโมโกลบินตามเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดไว้ว่า อายุ 6 เดือน – 6 ปี จะพบประมาณ 11 กรัมต่อเดซิลิตร และเด็กอายุ 6-14 ปี จะต้องพบประมาณ 12 กรัมต่อเดซิลิตร ถ้าตรวจแล้วพบว่าเด็กมีปริมาณเม็ดเลือดแดงในร่างกายต่ำกว่าปกติ  ก็จะถือได้ว่ามีภาวะซีดหรือโลหิตจาง

ปัจจุบัน ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้แนะนำให้มีการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดเด็กน้อยทั้งชายและหญิง 2 ช่วงด้วยกัน ได้แก่ ในช่วงอายุ 6 – 9 เดือน และช่วงอายุ 3 – 6 ปี สำหรับลูกสาวคุณแม่ต้องพาไปตรวจเป็นครั้งที่ 3 ในช่วงอายุ 11 – 18 ปี นะคะ

 

ทารกตัวซีด

ทารกตัวซีด

 

ต้องทำอย่างไรเมื่อลูกตัวซีด ภาวะซีดในเด็ก

ต้องให้เด็กได้รับธาตุเหล็ก ซึ่งต้องปรึกษาคุณหมอคะ เมื่อลูกเข้ารับการรักษาสิ่งแรกที่คุณแม่สังเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงคืออารมณ์ เพราะน้องจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ซึ่งส่วนใหญ่จะพบว่าเด็กกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ภายใน 1 เดือน แต่จะต้องให้ธาตุเหล็กต่อจนครบเวลาทั้งหมดประมาณ 3 เดือน เพื่อเสริมธาตุเหล็กให้กับอวัยวะสำคัญที่เป็นแหล่งสะสมธาตุเหล็ก เช่น ไขกระดูก ตับ และ ม้าม ส่วนระบบประสาท และความจำจะดีขึ้นตามมาทีหลังค่ะ

 

อาหารเสริมธาตุเหล็กสำหรับทารก

อาหารเสริมที่ดีที่สุดสำหรับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนเป็นต้นไป คือ พวกผักใบเขียว ไข่แดง ตับ เลือด โดยคุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจได้บอกว่าการให้ลูกกินนมผงแทนนมแม่อาจจะไม่ไม่ได้ช่วยมาก เพราะลูกได้รับธาตุเหล็กเข้าสู่ร่างกายน้อยกว่าตอนที่กินนมแม่ และอาจทำให้มีปัญหาท้องผูกตามมา เนื่องจากมีธาตุเหล็กตกค้างอยู่ในลำไส้ นอกจากนี้ หากลูกมีปัญหาแพ้โปรตีนนมวัว พอเริ่มกินนมผง อาจทำให้มีเลือดออกในลำไส้เรื้อรัง สูญเสียเลือดจนซีดมากกว่าเดิม

เพิ่มอาหารที่อุดมด้วยวิตามินซีเพื่อช่วยในการดูดซึมเหล็ก เช่น บรอกโคลี่ ฝรั่ง ลิ้นจี่ เงาะ ส้ม สตรอเบอรี่ มะละกอ สับปะรด หรือการให้ยาธาตุเหล็กแก่ลูกโดยตรงได้เลย และหยุดกินเมื่อลูกกินอาหารได้ดีขึ้น และ แม่ให้นมลูก ก็ควรกินยาธาตุเหล็กต่อเนื่องเหมือนกับตอนตั้งครรภ์

ดังนั้น วิธีที่ป้องกันไม่ให้ลูกพัฒนาการช้า ตัวซีดจาการขาดธาตุเหล็ก แม่ให้นมควรทานธาตุเหล็กเสริมอย่างสม่ำเสมอ และควรพาลูกไปตรวจเลือดตามช่วงอายุ 6 – 9 เดือน และช่วงอายุ 3 – 6 ปี เพื่อที่ลูกจะได้เติบโตแข็งแรง และมีการทำงานของสมองที่ดีค่ะ

 

ที่มา: healthcheckup,

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

วิธีดูแลผิวทารก ทำอย่างไรให้ลูกผิวดี สดใส ไร้ขุย

วิธีแก้อาการคัน ผดผื่น ตุ่มแดง จากโรค ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด อันตรายแค่ไหน

จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกกินนมอิ่มแล้ว ป้องกัน Overfeeding

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ทารกตัวซีด เซื่องซึม มือเท้าเย็น ต้องรีบเสริมธาตุเหล็กด่วน ก่อนที่ลูกจะโง่
แชร์ :
  • ของเล่นสำหรับเด็กพิเศษ เล่นอย่างไรช่วยกระตุ้นพัฒนาการได้ดีที่สุด

    ของเล่นสำหรับเด็กพิเศษ เล่นอย่างไรช่วยกระตุ้นพัฒนาการได้ดีที่สุด

  • ลูกควร “เลิกนอนกลางวัน” ตอนไหน ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมนอนกลางวัน ?

    ลูกควร “เลิกนอนกลางวัน” ตอนไหน ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมนอนกลางวัน ?

  • สอนลูก พูดภาษาอังกฤษ ง่ายๆ ด้วย 7 วิธีนี้ !

    สอนลูก พูดภาษาอังกฤษ ง่ายๆ ด้วย 7 วิธีนี้ !

app info
get app banner
  • ของเล่นสำหรับเด็กพิเศษ เล่นอย่างไรช่วยกระตุ้นพัฒนาการได้ดีที่สุด

    ของเล่นสำหรับเด็กพิเศษ เล่นอย่างไรช่วยกระตุ้นพัฒนาการได้ดีที่สุด

  • ลูกควร “เลิกนอนกลางวัน” ตอนไหน ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมนอนกลางวัน ?

    ลูกควร “เลิกนอนกลางวัน” ตอนไหน ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมนอนกลางวัน ?

  • สอนลูก พูดภาษาอังกฤษ ง่ายๆ ด้วย 7 วิธีนี้ !

    สอนลูก พูดภาษาอังกฤษ ง่ายๆ ด้วย 7 วิธีนี้ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ