X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคโลหิตจาง ในคนท้อง หากแม่ท้องขาดธาตุเหล็กเสี่ยงแท้งหรือเปล่า?

บทความ 5 นาที
โรคโลหิตจาง ในคนท้อง หากแม่ท้องขาดธาตุเหล็กเสี่ยงแท้งหรือเปล่า?

โรคโลหิตจาง ในคนท้อง เกิดจากภาวะแม่ท้องขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ ที่ต้องรับประทานให้เพียงพอในทุกวัน เพราะร่างกายแม่ต้องการสารอาหารชนิดนี้ไปช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ทารก และบำรุงรก ที่จะทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารไปสู่ลูกน้อย ทราบหรือไม่ว่า โรคโลหิตจาง นั้นเป็นโรคที่พบมากในเด็กและแม่ตั้งครรภ์ ถึงร้อยละ 50 ของผู้หญิงที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ทั่วโลก วันนี้เรามาดูเกร็ดความรู้เรื่องของโรคโลหิตจาง ทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อยกันเลยค่ะ

 

โรคโลหิตจาง

 

ภาวะ โรคโลหิตจาง เกิดจากที่แม่ท้องขาดธาตุเหล็กอย่างไร?

โรคโลหิตจาง  (Anemia) ที่เกิดจากภาวะที่ร่างกายของคนเราขาดธาตุเหล็ก ส่งผลให้มีการผลิตเม็ดเลือดแดงน้อยลง ส่วนใหญ่แล้วไม่มีอาการป่วยที่ปรากฏได้ชัด แต่สำหรับแม่ท้องขาดธาตุเหล็กนั้น อันตรายอย่างมาก เพราะจะส่งผลต่อการตั้งครรภ์ มีภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น ภาวะน้ำคร่ำลดลง รกไม่แข็งแรง ซึ่งอันตรายถึงแก่ชีวิตเด็กในท้องได้ ซึ่งภาวะโรคโลหิตจางอาจมาจากหลายสาเหตุเช่น

 

Advertisement
  • คุณแม่ท้องอาจเสียเลือดมาก

สิ่งที่สำคัญที่สุดของการตั้งครรภ์คือ การดูแลสุขภาพร่างกายให้ปลอดภัย แข็งแรง สมบูรณ์ แต่หากคุณแม่บังเอิญเกิดอุบัติเหตุ ทำให้เสียเลือดมาก หรือป่วยบางโรคจนต้องเสียเลือด นี่ก็คือ หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ต้องเสี่ยงกับโรคโลหิตจาง เนื่องจากร่างกายสูญเสียเลือดและผลิตเฮโมโกลบินหรือเม็ดเลือดแดงไม่ทัน

 

  • มีแผลในกระเพาะอาหาร

ดูเป็นเรื่องไม่น่าเป็นไปได้ใช่ไหมคะ แต่หากคุณแม่เกิดมีแผลในกระเพาะอาหาร เช่น รับประทานอาหารรสจัดบ่อย หรือกินข้าวไม่ตรงเวลานี่ก็เป็นสาเหตุให้เกิดโรคนี้ได้ อีกทั้ง โรคริดสีดวงทวารหนักที่ทำให้คุณแม่อาจถ่ายเป็นเลือดบ่อย ๆ แม้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อาจส่งผลกระทบไปถึงการสูญเสียเลือดและเกิดภาวะโลหิตจางได้

 

  • ร่างกายไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้

หากคุณแม่พยายามรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง แต่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารเหล่านี้ได้ ก็เหมือนสูญเปล่า ดังนั้น คุณแม่ต้องรับประทานอาหารที่เสริมการดูดซึมธาตุเหล็กเช่น วิตามินซี เช่น ร่างกายได้รับวิตามินซี 250 มิลลิกรัม จะสามารถดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่ร่างกายได้ร้อยละ 10  ดังนั้น คุณแม่สามารถรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กควบคู่กับน้ำส้ม ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงได้จะดีมาก แต่อาหารที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น กาแฟ นม ยาลดกรด ผักผลไม้บางชนิด จะทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กลดลงน้อยกว่า 10 %

 

  • อาการแพ้ท้อง

เชื่อหรือไม่ว่า อาการแพ้ท้องก็สามารถทำให้คุณแม่ขาดธาตุเหล็กได้ นั่นเป็นเพราะคุณแม่อาจจะอาเจียนธาตุเหล็กออกมา แต่อย่างไรก็ตาม คุณแม่ไม่ต้องตกใจค่ะ คนเราสามารถมีภาวะขาดธาตุเหล็กได้ แต่เราจะมีวิธีเสริมบำรุงธาตุเหล็กเข้าสู่ร่างกายเพื่อต่อสู้กับโรคโลหิตจางได้อย่างไร

บทความที่เกี่ยวข้อง:  อาหารเพิ่มเม็ดเลือดแดงคนท้อง คนท้องเลือดจางควรกินอะไร ?

 

โรคโลหิตจาง

 

โรคโลหิตจาง ส่งผลอันตรายต่อแม่ท้องและทารกอย่างไร?

องค์การอนามัยโลกรายงานว่า หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีระดับเฮโมโกลบินน้อยว่า 11 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร มีความเสี่ยงหรืออยู่ในภาวะโลหิตจาง

  • ผลกระทบต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

    • คุณแม่จะมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ ปวดศีรษะ คล้ายกับอาการแพ้ท้อง
    • เบื่ออาหาร อาเจียน เป็นลมง่าย สมองมึนงง
    • มีภาวะหายใจไม่อิ่ม หายใจถี่และเหนื่อยง่าย
    • อาจเกิดภาวะบวมและเป็นความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
    • อาจทำให้ ตกเลือด เกิดภาวะแท้งบุตรเนื่องจากรกและน้ำคร่ำไม่สมบูรณ์
  • ผลกระทบต่อลูกน้อย

    • ลูกน้อยในครรภ์จะเจริญเติบโตช้า ไม่ตามเกณฑ์แบบทารกปกติ
    • อาจอยู่ในภาวะคลอดก่อนกำหนด และเสี่ยงเป็นโรคโลหิตจางร่วมด้วย
    • เมื่อแรกคลอด อาจมีน้ำหนักทารกน้อยกว่าเกณฑ์
    • จากภาวะโลหิตจางของแม่อาจทำให้ลูกมีพัฒนาการช้ามาก
    • หากไม่รักษา ลูกอาจมีพัฒนาทางสติปัญหาช้ากว่าเพื่อนในวัยเรียน เช่น ร่างกายอ่อนแอ สมาธิสั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง: อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ที่คนท้องควรรับประทาน มีอะไรบ้าง ?

 

ทำไมคุณแม่ถึงต้องการธาตุเหล็กเพื่อป้องกันโรคโลหิตจาง

คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการอาหารครบ 5 หมู่ค่ะ เพราะตอนตั้งท้อง คุณแม่จะต้องมีเลือดเพิ่มขึ้นถึง 45 % เพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายและทารกในครรภ์ ที่สำคัญความต้องการธาตุเหล็กก็เพื่อสร้างรก เพื่อเลี้ยงทารกในมดลูก อีกทั้ง คุณแม่ยังต้องการธาตุเหล็กเพื่อเตรียมตัวคลอด เพราะไม่ว่าจะคลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด ย่อมมีการสูญเสียเลือดถึง 600-1,000 มิลลิลิตร ดังนั้น หากคุณแม่มีภาวะโลหิตจาง การทำให้เสียชีวิตขณะคลอดได้ ดังนั้น ปริมาณธาตุเหล็กที่คุณแม่ท้องต้องการคือ

  • หลังไตรมาสแรกหรือ แม่ท้อง 3 เดือนเป็นต้นไป คุณแม่ต้องใส่ใจเรื่องธาตุเหล็ก ต้องได้รับถึง 6-7 มิลลิกรัม เข้าสู่ร่างกาย
  • เมื่อร่างกายต้องได้รับดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่ร่างกาย 6-7 มิลลิกรัม คุณแม่ควรรับประมาณอาหารที่มีธาตุเหล็กให้ได้วันละ 30 มิลลิกรัม สำหรับลูกแฝด คุณแม่ต้องกินมากถึง 60-100 มิลลิกรัม

 

วิตามินเอ

 

วิธีป้องกันโรคโลหิตจาง

ก่อนตั้งครรภ์ หรือ ตอนฝากครรภ์ครั้งแรก ควรตรวจสุขภาพเพื่อทราบถึงความเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง เพื่อระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่จะได้ดูแลร่างกายและเข้าใจในการรับสารอาหารที่จำเป็น

  • ไม่ว่าจะก่อนตั้งครรภ์หรือระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ควรรับประทานอาหารเนื้อสัตว์ที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อวัว เนื้อปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ ตับหมู ตับไก่ เครื่องในสัตว์ แต่อาหาร 3 ชนิดหลังนี้ต้องระวังเรื่องไขมัน
  • ผักที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ผักใบเขียวเข้ม อย่างบล็อกโคลี ตำลึง คะน้า ผักโขม ถั่วฝักยาว พริกหวาน เห็ดฟาง ใบกะเพราแดง หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น
  • ธัญพืชและถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วลิสง อัลมอนด์ ข้าวโอ๊ต ลูกพรุน ซีเรียลต่าง ๆ ที่ไม่มีน้ำตาล
  • หากคุณแม่เกิดอยู่ในภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ คุณหมออาจจ่ายวิตามินเสริม เช่น วิตามินบีรวม ยาบำรุงธาตุเหล็ก บำรุงเลือด แต่ก็ควรรับประทานควบคู่กับอาหารให้เหมาะสมเพื่อการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี

บทความที่เกี่ยวข้อง :  แคลเซียมและยาบํารุงเลือด คุณแม่ตั้งครรภ์กินพร้อมกันได้ไหม มีวิธีกินอย่างไร

 

ไม่ว่าคุณแม่ตั้งครรภ์จะอยู่ในภาวะของโรคแทรกซ้อนใด ๆ ควรไปฝากครรภ์ และไปตามนัดของคุณหมอทุกครั้ง เพื่อเช็กสภาพร่างกาย อัลตร้าซาวด์เป็นระยะ เพื่อดูความแข็งแรงของทารกในครรภ์ หากเกิดอะไรขึ้นจะได้รักษาหรือเตรียมตัวได้ทันค่ะ อย่างไรก็ตามหากคุณแม่สังเกตว่าตัวเองมีอาการอ่อนล้า เพลียง่าย อย่าเพิ่งกังวลไปว่าจะมีอาการขาดธาตุเหล็กหรือเป็นโรคโลหิตจาง อาจเกิดจากการนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือปัจจัยอื่น ๆ ถ้าหากว่ามั่นใจว่าได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ดูแลตัวเองเป็นอย่างดี รับประทานยาเม็ดธาตุเหล็กที่ได้รับจากการตรวจครรภ์ ก็จะทำให้ร่างกายคุณแม่และลูกในท้องมีสุขภาพที่แข็งแรงได้

 

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สงสัยไหม ทำไมคนท้องต้องกิน โฟเลต ไอโอดีน ธาตุเหล็ก ทุกวัน

สังเกตและแก้ไข อย่าให้ลูกซีด เพราะขาดธาตุเหล็ก

ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ของแถมที่เกิดขึ้นได้กับแม่ท้อง(อายุน้อย)

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับโรคโลหิตจางในคุณแม่ตั้งครรภ์ ได้ที่นี่!

โลหิตจาง ในคนท้อง อันตรายไหมคะ จะส่งผลอะไรกับลูกไหมคะ

ที่มา: sanook , kabanghospital

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • โรคโลหิตจาง ในคนท้อง หากแม่ท้องขาดธาตุเหล็กเสี่ยงแท้งหรือเปล่า?
แชร์ :
  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว