X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย เกณฑ์น้ําหนักทารกแรกเกิด น้ำหนักลูกน้อยเกินไปหรือไม่

บทความ 5 นาที
การดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย เกณฑ์น้ําหนักทารกแรกเกิด น้ำหนักลูกน้อยเกินไปหรือไม่การดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย เกณฑ์น้ําหนักทารกแรกเกิด น้ำหนักลูกน้อยเกินไปหรือไม่

การดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ เกณฑ์น้ําหนักทารกแรกเกิดต้องเท่าไร น้ำหนักแรกเกิดลูกน้อยไปไหม

การดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย

การดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย เกณฑ์น้ําหนักทารกแรกเกิด ลูกต้องหนักเท่าใด สาเหตุที่ทำให้ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย แม่ต้องรู้ตั้งแต่ยังไม่คลอด

 

ปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย

ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อย เป็นปัญหาสำคัญ เพราะอาจเสี่ยงต่อการตายในระยะปริกำเนิดหรือแรกคลอด รวมถึงขวบปีแรกของชีวิต นอกจากนี้้ ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยยังเสี่ยง ต่อการเจ็บป่วย ภาวะทุพโภชนาการ และการมีพัฒนาการล่าช้าในทุกด้านมากกว่าเด็กที่มีน้ำหนักแรกคลอดปกติ ที่สำคัญ ยังส่งผลต่อสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก เนื่องจากทารกต้องอยู่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน การป้องกันทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยกระทรวงสาธารณสุขมีเป้าหมายการคลอดทารกน้ำหนักน้อยไม่เกินร้อยละ 7 ต่อปี

 

สถิติทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยยังสูง

สถิติภาพรวมของปี พ.ศ. 2558 อยู่ที่ร้อยละ 10.60 (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560) ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากกลุ่มภารกิจด้านข่าวสารสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ที่พบว่าในช่วงปี พ.ศ. 2554-2557 มารดามีอัตราการคลอดทารกน้ำหนักน้อย ร้อยละ 10.28, 10.23, 10.68 และ 10.44 ตามลำดับ (ธราธิป โคละทัต และจันทิมา จรัสทอง, 2559)

 

สาเหตุหลักของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย

สาเหตุหลักของการคลอดทารกน้ำหนักน้อยคือ การคลอดก่อนกำหนด และการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์

 

การดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย เกณฑ์น้ําหนักทารกแรกเกิด น้ำหนักลูกน้อยเกินไปหรือไม่ วิธีดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ เกณฑ์น้ําหนักทารกแรกเกิด

วิธีการดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย

ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย สาเหตุจากมารดา อาทิ

  • แม่ท้องอายุน้อยกว่า 16 ปี หรือแม่ท้องอายุมากกว่า 35 ปี
  • การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ อาทิ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส เริม
  • เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์
  • ภาวะเจ็บป่วย เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน
  • ภาวะทุพโภชนาการ
  • ตั้งครรภ์แฝด
  • น้ำหนักแรกเกิดของมารดาน้อย
  • เป็นบุตรคนแรก ประวัติมีบุตรน้ำหนักน้อย หรือมีบุตรมาแล้วมากกว่า 5 คน
  • ตั้งครรภ์หลังคลอดบุตรคนก่อนไม่ถึง 6 เดือน
  • ความผิดปกติของมดลูกหรือปากมดลูก น้ำเดินก่อนคลอด
  • มีภาวะเลือดข้นขณะตั้งครรภ์

 

ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย สาเหตุจากตัวเด็ก อาทิ

  • การติดเชื้อในครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน ซิฟิลิส
  • ความผิดปกติของโครโมโซม
  • ความพิการแต่กำเนิด

 

วิธีป้องกันทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย

  1. คนท้องต้องรับประทานอาหารที่เหมาะสมในปริมาณที่เพียงพอ
  2. คนท้องต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เป็นเหตุให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
  3. คนท้องต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด
  4. คนท้องต้องหลีกเลี่ยงการทำงานหนัก
  5. คนท้องต้องพักผ่อนอย่างเพียงพอ

การมีภาวะเครียด ภาวะซีด การติดเชื้อ การใช้ยาหรือสารเสพติด ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุทำให้ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยได้ อย่างไรก็ตาม คนท้องต้องเฝ้าระวังน้ำหนักตัวให้เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์และสัมพันธ์กับอายุครรภ์ มาฝากครรภ์ให้ครบตามมาตรฐาน เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการประเมินสุขภาพอนามัยของตนเองและทารกในครรภ์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังต้องรับประทานวิตามินบำรุงครรภ์ตามแพทย์สั่ง และหมั่นไปพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง ตลอดการตั้งครรภ์

 

ปัญหาที่พบเมื่อทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย

  • ระบบทางเดินหายใจของทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย ยังควบคุมการหายใจได้ไม่เต็มที่ อาจทำให้ทารกหยุดหายใจได้
  • การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เนื่องจากทารกมีผิวหนังค่อนข้างบาง ไขมันใต้ผิวหนังน้อย ทำให้สูญเสียความร้อนได้ง่าย ร่างกายจึงมีอุณหภูมิต่ำได้ง่าย
  • ระบบทางเดินอาหารยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้การย่อยและการดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ยังไม่ดีพอ ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
  • ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทารกที่น้ำหนักน้อยยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันเลือดต่ำ เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อย จึงเสี่ยงต่อหัวใจล้มเหลวได้ง่าย

 

วิธีดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย

  1. ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย หมายถึงทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2500 กรัม รวมถึงทารกที่เกิดก่อนกำหนด คือ อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ และทารกที่เกิดครบกำหนด คือมีอายุครรภ์ระหว่าง 37 – 42 สัปดาห์
  2. การดูแลด้านการหายใจ ดูแลให้ทางเดินหายใจโล่งอยู่เสมอ ดูดเสมหะที่ค้างในปากและคออยู่เสมอ หากมีอาเจียนระหว่างหรือหลังให้นม ต้องดูดเสมหะในปากก่อนจมูกเพื่อป้องกันสำลักเข้าหลอดลม
  3. ดูแลควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้ทารกอบอุ่นอยู่เสมอ เช่น ใช้ผ้าขนหนูที่หนาและแห้งห่อตัวทารก สวมหมวกร่วมกับปรับอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมห้องให้เหมาะสมกับทารก
  4. ระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากระบบน้ำย่อยและการดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ยังไม่ดีพอ ดังนั้น หลังจากให้นมแล้ว ควรจับไล่ลมทุกครั้งเพื่อป้องกันการสำลัก จัดท่านอนตะแคงขวาหลังให้นม ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงเพื่อเพิ่มการดูดซึมสารอาหาร
  5. ระบบภูมิต้านทาน ดูแลป้องกันการติดเชื้อ เช่น ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสทารก และดูแลความสะอาดทั่วไป เช่น ของใช้ทารก ขวดนม เสื้อผ้า
  6. การดูแลพัฒนาการของทารก ควรให้ทารกอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่สงบ มีเสียงรบกวนน้อยที่สุด ส่งเสริมให้ทารกนอนหลับอย่างเต็มที่ ส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมโดยการกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ การได้ยิน การมองเห็น การสัมผัส การทรงตัว การดมกลิ่น และการรับรส

 

การดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย เกณฑ์น้ําหนักทารกแรกเกิด น้ำหนักลูกน้อยเกินไปหรือไม่ วิธีดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ เกณฑ์น้ําหนักทารกแรกเกิด

วิธีการดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย

การดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยไม่ใช่เรื่องยากเกินไป เพียงแค่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้น้ำหนักทารกแรกเกิดค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ ที่สำคัญ ควรปรึกษากุมารแพทย์ที่ดูแลทารก เพื่อจะได้ทราบความเปลี่ยนแปลงของร่างกายลูกน้อย แต่คงจะดีกว่า หากคุณแม่ดูแลตัวเองเสียแต่วันนี้ ก่อนที่จะคลอดลูก ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเบา ๆ หมั่นไปพบแพทย์ตามนัด เพื่อควบคุมน้ำหนักทารกแรกเกิดให้ตามเกณฑ์

 

ที่มา : https://www.ped.si.mahidol.ac.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

น้ำหนักแม่น้อยไปไหม กลัวลูกในท้องโตช้า แต่ขุนมากไปน้ำหนักเยอะ ความเสี่ยงก็แยะ

14 สารอาหารจำเป็นสำหรับคนท้อง แม่ท้องควรกินวิตามินอะไรบำรุงลูกในท้องบ้าง

สภาพแม่ตั้งครรภ์ 8 สภาพเเย่ๆ เมื่อคุณเเม่ตั้งครรภ์ ร่างกายคนท้องเปลี่ยนไปมากมาย แต่แม่ยอม

ทารกในครรภ์กินอาหารทางไหน และคนท้องควรกินอะไรให้แข็งแรงไปถึงลูกในท้อง

 

บทความจากพันธมิตร
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • การดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย เกณฑ์น้ําหนักทารกแรกเกิด น้ำหนักลูกน้อยเกินไปหรือไม่
แชร์ :
  • เกณฑ์น้ำหนักทารกแรกเกิด น้ำหนักของทารกแรกเกิด ควรหนักเท่าไหร่ เพิ่มขึ้นแค่ไหน

    เกณฑ์น้ำหนักทารกแรกเกิด น้ำหนักของทารกแรกเกิด ควรหนักเท่าไหร่ เพิ่มขึ้นแค่ไหน

  • เช็คไปพร้อมกัน! นำ้หนักทารก 1-10 สัปดาห์ น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก

    เช็คไปพร้อมกัน! นำ้หนักทารก 1-10 สัปดาห์ น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

app info
get app banner
  • เกณฑ์น้ำหนักทารกแรกเกิด น้ำหนักของทารกแรกเกิด ควรหนักเท่าไหร่ เพิ่มขึ้นแค่ไหน

    เกณฑ์น้ำหนักทารกแรกเกิด น้ำหนักของทารกแรกเกิด ควรหนักเท่าไหร่ เพิ่มขึ้นแค่ไหน

  • เช็คไปพร้อมกัน! นำ้หนักทารก 1-10 สัปดาห์ น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก

    เช็คไปพร้อมกัน! นำ้หนักทารก 1-10 สัปดาห์ น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ