X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะน้ำหนักตัวเพิ่ม สิ่งนี้เป็นอันตรายสำหรับลูกหรือเปล่า?

บทความ 5 นาที
ภาวะน้ำหนักตัวเพิ่ม สิ่งนี้เป็นอันตรายสำหรับลูกหรือเปล่า?

หากเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกของเรามีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นผิดปกติ สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ค่อนข้างเป็นกังวลใจอยู่เหมือนกันว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้จะส่งผลอันตรายต่อลูกของเราหรือไม่ ภาวะน้ำหนักตัวเพิ่ม เกิดจากอะไรกันแน่ หากคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังสงสัยอยู่ในตอนนี้ เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันเลยค่ะ

 

ภาวะน้ำหนักตัวเพิ่ม ในเด็ก เกิดจากอะไร?

สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้น่าจะทำเอาคุณพ่อคุณแม่หลายคนค่อนข้างคิดมากกว่าปกติ เพราะเราไม่ได้รู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงว่า การที่ลูกมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นในตอนนี้ โดยส่วนใหญ่เกิดจากอะไรบ้าง และหากเป็นเช่นนี้จะส่งผลอันตรายต่อลูกของเราหรือไม่ มารู้ถึงสาเหตุไปพร้อมกันได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกนอนดึก เสี่ยงเป็น โรคอ้วนในเด็ก ภัยเงียบจากการนอนดึก

 

ภาวะน้ำหนักตัวเพิ่ม

1. ร่างกายขาดวิตามินดี

เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกของเรามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมามากกว่าปกติ รู้หรือไม่คะสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ก็อาจจะกำลังบ่งบอกเราได้ว่าร่างกายของลูกกำลังขาดวิตามินดีอยู่ก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นเราควรที่จะให้เด็ก ๆ ได้รับวิตามินดีให้เพียงพอต่อร่างกายให้มากที่สุดด้วยนะคะ

 

2. ความดันโลหิตสูง

ในเรื่องของความดัน หากเมื่อไหร่ก็ตามที่เราพบว่าความดันโลหิตของลูกนั้นมีความผิดปกติเกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักของลูกเพิ่มขึ้นผิดปกติขึ้นมาได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นเราก็อาจจะต้องคอยเช็กหรือวัดความดันโลหิตของลูกน้อยตามไปด้วยนะคะ

 

3. หยุดหายใจในขณะนอนหลับ

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกของเรามีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นได้ก็อาจจะเกิดจากการที่ลูกมีภาวะการหยุดหายใจในขณะที่นอนหลับอยู่ เพราะฉะนั้นใครที่พบว่าลูกของเรากำลังมีอาการแบบนี้อยู่แล้วล่ะก็ เราควรที่จะพาลูกไปพบแพทย์โดยด่วนนะคะ เพื่อที่ลูกของเราจะไม่ได้เป็นอันตรายไปมากกว่านี้

 

หากลูกมีน้ำหนักมากจนเกินไป จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

สำหรับคุณพ่อคุณแม่บางคนก็อยากที่จะให้ลูกของเรามีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือไม่อยากให้ลูกผอมมากจนเกินไป จนบางครั้งก็พยายามที่จะปล่อยให้ลูกกินเยอะ ๆ เพื่อที่เขาจะได้มีสุขภาพที่ดีและเป็นเด็กที่ไม่ขาดสารอาหาร แต่หารู้หรือไม่คะว่าการที่เราปล่อยให้ลูกมีน้ำหนักมากจนเกินไป สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลไม่ดี หรือเป็นอันตรายต่อร่างกายของลูกได้เช่นกัน สำหรับใครที่อยากรู้ว่าหากเราปล่อยให้ลูกอ้วนจนเกินไปจะส่งไม่ดียังไงบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : นมแม่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคอ้วนและโรคเบาหวานในอนาคต !!!

 

ภาวะน้ำหนักตัวเพิ่ม

1. ทำให้ลูกขาโก่ง

สิ่งที่เห็นได้ชัดเมื่อลูกของเรามีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจนเกินไปในช่วงวัยเด็กก็จะทำให้เขากลายเป็นเด็กที่มีขาโก่ง เพราะด้วยน้ำหนักตัวที่มากขึ้น ก็อาจจะทำให้ส่วนที่เป็นข้อและกระดูกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามน้ำหนักตัวที่ได้รับ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่ไม่อยากให้ลูกขาโก่งตั้งแต่เด็ก เราก็อาจจะต้องระวังเรื่องนี้กันด้วยนะคะ

 

2. ชอบนอนกรน

เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกของเรามีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทุกครั้งที่เขานอนหลับก็อาจจะทำให้เขานอนกรนหรือหายใจแรงมากขึ้นในขณะที่กำลังนอนหลับขึ้นมาได้ เอาเป็นว่าใครที่อยากให้ลูกนอนหลับสบาย และไม่นอนกรนในช่วงเวลากลางคืน ทางที่ดีเราก็ไม่ควรที่จะปล่อยให้ลูกมีน้ำหนักมากจนเกินไปนะคะ

 

3. เสี่ยงต่อการเป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด

สำหรับเด็ก ๆ คนไหนที่มีน้ำหนักตัวค่อนข้างมาก สิ่งที่น่าเป็นห่วงอีกอย่างเลยก็อาจจะทำให้เขาเสี่ยงต่อการเป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้เลย ซึ่งสิ่งนี้เป็นอะไรที่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องใส่ใจดูแลสุขภาพของลูกให้มากที่สุด และเราอาจจะต้องพาลูกไปพบแพทย์อยู่เรื่อย ๆ ด้วยนะคะ

 

4. ทำให้เขามีภาวะซึมเศร้า

บางครั้งการที่เด็ก ๆ มีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น หรือเมื่อไหร่ก็ตามที่เขาเริ่มรู้สึกว่าเขาตัวใหญ่หรืออ้วนกว่าคนอื่น ๆ สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่ค่อยกล้าเข้าสังคมจนบางครั้งก็อาจจะทำให้เขากลายเป็นโรคซึมเศร้าตั้งแต่เด็ก ๆ ได้เลยเพราะฉะนั้นเราควรที่จะใส่ใจสุขภาพของลูกให้มากขึ้น และไม่ควรปล่อยให้เขาอ้วนจนเกินไปจะดีกว่า

 

5. อาจทำให้มีผิวหนังที่เปลี่ยนแปลงไป

หากเราปล่อยให้ลูกของเรามีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่เด็ก ๆ ผลที่ตามมาอีกอย่างเลย สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ผิวหนังของลูกของเราเกิดการดำคล้ำขึ้นมาได้ง่ายเลย โดยเฉพาะส่วนที่เป็นรักแร้ ขาหนีบ หรือข้อพับ เพราะเกิดจากการเสียดสีของผิวหนังนั่นเอง บอกเลยว่าเราไม่ควรปล่อยให้ลูกอ้วนจนเกินไป

 

6. ทำให้ง่วงอยู่บ่อย ๆ

สิ่งที่เห็นได้ชัดต่อมาอาจจะเป็นเรื่องของความง่วง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วคนที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เขามีอาการง่วงในระหว่างวันได้เหมือนกัน ซึ่งการนอนในช่วงกลางวันอาจจะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นเราควรให้ลูกนอนให้เป็นเวลาให้มากที่สุดนะคะ

 

เคล็ดลับ! ทำอย่างไรให้ลูกมีน้ำหนักลดลงตามปกติ

แน่นอนค่ะว่าเรื่องของสุขภาพก็เป็นอะไรที่ค่อนข้างสำคัญมาก ๆ โดยเฉพาะเรื่องของน้ำหนัก เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังคิดหนักเรื่องความอ้วนของลูก และเรายังไม่รู้ว่าเราควรทำยังไงดี เพื่อที่น้ำหนักลูกของเราจะได้ปกติเหมือนกับเด็กคนอื่น ๆ บอกเลยนะคะว่าทำได้ไม่ยากเลย ส่วนจะมีเคล็ดลับยังไงบ้างนั้น มาดูกันเลยค่ะ

บทความจากพันธมิตร
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารเย็นสำหรับเด็ก ให้ลูกกินแบบไหน? ส่งผลดีต่อสุขภาพ

 

ภาวะน้ำหนักตัวเพิ่ม

1. ควบคุมในเรื่องของอาหาร

จากนั้นเราก็อาจจะต้องควบคุมในเรื่องของเมนูอาหาร ซึ่งเราอาจจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกกินของมันหรือของทอด แต่อาจจะให้ลูกกินผักและผลไม้แทน เพราะสิ่งเหล่านี้มีเส้นใยอาหารค่อนข้างสูง หากเมื่อไหร่ก็ตามที่เด็ก ๆ กินเข้าไป ผลที่ตามมาก็จะช่วยทำให้เขามีระบบขับถ่ายที่ดี อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของระบบเผาผลาญในร่างกายด้วยเช่นเดียวกัน

 

2. พาลูกออกกำลังกาย

ในการออกกำลังกายนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องไม่ต้องกดดันเด็ก ๆ จนเกินไป และที่สำคัญไปกว่านั้นพยายามอย่าออกกำลังกายแบบหักโหม ทางที่ดีเราควรพาเด็ก ๆ ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที หรืออาจจะหากิจกรรมสนุก ๆ ทำเพื่อที่เด็ก ๆ จะได้รู้สึกสนุกกับสิ่งที่ทำมากขึ้น นอกจากจะทำให้เขามีน้ำหนักลดลงแล้วนั้น สิ่งนี้ยังช่วยทำให้เด็ก ๆ มีสุขภาพที่แข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย

 

3. ไม่ตามใจลูกจนเกินไป

คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องพยายามใจแข็งขึ้นมาหน่อย ไม่ควรตามใจลูก ๆ จนเกินไป หรือพูดง่าย ๆ ว่าเราไม่ควรปล่อยให้ลูกกินอะไรตามใจชอบ แต่ควรให้ลูกกินสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกายดีกว่า แน่นอนค่ะว่าหากเราทำแบบนี้ได้ และไม่ตามใจลูกอาจจะชอบเมนูที่เราทำให้กินอยู่บ่อย ๆ ก็เป็นได้

 

4. ไม่ให้ลูกกินขนมหวาน

สิ่งนี้น่าจะเป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงได้ยากอยู่เหมือนกัน นั่นคือเราไม่ควรปล่อยให้ลูกกินขนมหวาน หรืออะไรที่มีรสหวาน ๆ มากจนเกินไป เพราะการกินขนมหวานก็เป็นอะไรที่จะทำให้ลูกของเรามีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาได้ง่ายเหมือนกัน ทางที่ดีคุณแม่ไม่ควรซื้อขนมหวานเข้ามากินในบ้านจะดีกว่าค่ะ

 

5. พาลูกทำกิจกรรม

สิ่งที่จะช่วยทำให้ลูกของเราลดน้ำหนักได้ดีมากขึ้นอีกอย่างเลยคือ เราอาจจะต้องพาเด็ก ๆ ทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อที่เขาจะได้เคลื่อนไหวร่างกายแทนการดูทีวี หรือการนั่งเล่นนิ่ง ๆ เพราะการเคลื่อนไหวจะช่วยทำให้ร่างกายของเด็ก ๆ เผาผลาญได้เป็นอย่างดีนั่นเอง เอาเป็นว่าหากคุณพ่อคุณแม่อยากให้เด็ก ๆ มีน้ำหนักที่ลดลงได้เร็วขึ้น การพาลูกทำกิจกรรมเคลื่อนไหวอะไรที่มันสนุกสิ่งนี้เป็นอะไรที่น่าสนใจมาก ๆ เลยทีเดียว

 

ภาวะน้ำหนักตัวเพิ่มที่เกิดขึ้นในเด็กนั้น ต้องบอกเลยนะคะว่าสิ่งนี้เป็นอะไรที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม และควรดูแลเอาใจใส่ลูกของเราให้มากที่สุด สำหรับใครที่อยากทราบว่าหากลูกของเรากำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ เราควรมีวิธีการป้องกันและวิธีการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกของเรายังไงดี บอกเลยนะคะว่าไม่ยากเลย เพราะเราได้นำรายละเอียดมาฝากคุณพ่อคุณแม่แล้ว

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

6 วิธี อยากให้ลูกผอม ต้องอ่าน ก่อนน้ำหนักลูกจะสูงเสี่ยงโรค !

ลูกน้ำหนักเกิน อ้วนไปแล้ว คุมน้ำหนักลูกยังไง ไม่ให้กลายเป็นข้าวต้มมัด

โรคเด็กโตก่อนวัย เป็นอย่างไร? เมื่อลูกเป็นแบบนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องทำอย่างไร

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tidaluk Sripuga

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ภาวะน้ำหนักตัวเพิ่ม สิ่งนี้เป็นอันตรายสำหรับลูกหรือเปล่า?
แชร์ :
  • การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

    การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

  • มือลอก มือแตกแห้ง เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณของอาการขาดวิตามินจริงไหม?

    มือลอก มือแตกแห้ง เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณของอาการขาดวิตามินจริงไหม?

  • เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

    เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

  • การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

    การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

  • มือลอก มือแตกแห้ง เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณของอาการขาดวิตามินจริงไหม?

    มือลอก มือแตกแห้ง เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณของอาการขาดวิตามินจริงไหม?

  • เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

    เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ