ใครหลาย ๆ คนกำลังสับสัยอยู่ใชไหมว่า โรคซึมเศร้า คืออะไร หรือภาวะซึมเศร้าคืออะไร โรคซึมเศร้าอาการเป็นอย่างไร โรคซึมเศร้ามีกี่ระดับ ก่อนที่จะเป็นโรคซึมเศร้าจะมีอาการอย่างไรบ้าง แล้วเมื่อเป็นโรคซึมเศร้าแล้วจะมีการรักษาอย่างไร มาดูพร้อม ๆ กันเลย
โรคซึมเศร้า คืออะไร
ภาวะซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้า ( depression ) คือ เป็นภาวะความผิดปกติของทางด้านอารมณ์ของผู้ที่ป่วย ผู้ป่วยอาจจะรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือรู้สึกว่าตัวเองนั้นด้อยค่า แม้ว่าความรู้สึก และอารมณ์เหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนเป็นครั้งคราว แต่ว่าอาการของภาวะซึมเศร้านั้นมีความรุนแรงและยาวนานกว่ามากจนถึงขุ้นส่งผลกระทบต่อด้านต่าง ๆ ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวันนั้นเอง โรคซึมเศร้าสามารถที่จะเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่โรคซึมเศร้ามักจะเกิดขึ้นตั่งแต่ช่วงอายุ 20 – 30 ปี เป็นโรคความผิดปกติทางอารมณ์ ส่วนใหญ่จะเริ่มพัฒนามาจากช่วงวัยรุ่นที่มีความเครียดและความวิตกกังวลสูง ดังนั้น ยิ่งในช่วงวัยรุ่นประสบกับความกังวลมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าในวัยผู้ใหญ่มากขึ้นเท่านั้น
ขอขอบคุณวีดีโอจาก : https://www.youtube.com , Mahidol Channel มหิดล แชนแนล
อาการโรคซึมเศร้า
หากว่าตัวของคุณนั้นกำลังสงสัยว่าตัวเอง หรือคนใกล้ชิดกำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือเปล่า ให้สังเกตอาการดังต่อไปนี้ หากมีอย่างน้อย 5 อย่าง หรือมีมากกว่านั้นติอต่อกันอย่างน้อย 14 วัน และมีอาการเหล่านี้อยู่เกือบทั้งวัน ถือว่าเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้า ควรลองไปปรึกษาแพทย์ อาการของโรคซึมเศร้า มีดังนี้
- มีอารมณ์ซึมเศร้า (เด็กหรือวัยรุ่นอาจจะมีอาการหงุดหงิด โกรธง่าย)
- นอนไม่หลับ หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ
- เหนื่อยง่าย หรือไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลียตลอดเวลา
- เบื่อง่าย หมดความสนใจ หรือความสุขในการทำกิจกรรมต่างๆ
- รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง
- เบื่ออาหารง่าย กินอะไรก็ไม่อร่อย
- พูดช้า ทำอะไรช้าลง
- กระวนกระวาย ไม่อยู่นิ่ง
- ไม่มีสมาธิหรือลังเลใจไปหมด
- มีความคิดอยากตาย คิดทำร้ายตัวเอง
โรคซึมเศร้าเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง ?
โรคซึมเศร้านั้น อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ และหลายปัจจัยประกอบกันจนพัฒนาไปเป็นภาวะซึมเศร้า ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละรายและอาจเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันได้ โดยปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้ามีดังนี้
1. การทำงานของสมอง
โรคซึมเศร้าอาจจะเกิดจากการทำงานผิดปกติของสมอง และความไม่สมดุลของปริมาณสารสื่อประสาทในสมองบางชนิดอย่าง เซโรโทนิน โดพามีน หรือนอร์พีพิน ซึ่งเป็นสารที่มีผลต่อความสุข โดยทางผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจจะมีปริมาณสารเคมีในสมองมาก หรือน้อยเกินไป
2. ลักษณะนิสัย และบุคลิกภาพ
โรคซึมเศร้าอาจจะเกิดจากบุคลิกภาพ และลักษณะนิสัยของแต่ละคน โดยผู้ที่มีความมั่นใจในตัวเองต่ำ มองโลกในแง่ร้ายอยู่เสมอ หรือผู้ที่ชอบตำหนิและว่าตัวเอง อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึงเศร้าได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ซึ่งลักษณะนิสัยดังกล่าว อาจจะเกิดจากพันธุกรรมที่ได้มาจากบิดามารดา หรือประสบการณ์การใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล หรืออาจจะทั้งสองอย่างเลยก็ได้
3. ความเครียด
โรคซึมเศร้าอาจจะเกิดจากการที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ตึงเครียด หรือกระทบกระเทือนจิตใจ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงเรื่องต่าง ๆ ที่ยิ่งใหญ่ เช่น การสูญเสียคนอันเป็นที่รัก การบาดเจ็บ การถูกคุกคามทางเพศ ปัญหาเรื่องการเงิน การหย่าร้าง การตกงาน การคลอดบุตร หรือการเกษียณอายุ เป็นต้น
4. พันธุกรรม
โรคซึมเศร้าอาจจะถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ดังนั้น ผู้ที่มีคนในครอบครัวที่เคยป่วยด้วยโรคซึมเศร้า อาจจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่ทรายแน่ชัดว่ายีนนั้นมีผลต่อการเกิดโรคซึมเศร้าคือยีนใด
5. การเป็นโรค หรือการเจ็บป่วย
การที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่มีความรุนแรง และเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน หรือโรคที่มีอันตรายถึงชีวิต อาจจะสามารถนำไปสู่การเกิดโรคซึมเศร้าได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะขาดไทรอยด์ อาการปวดเรื้อรัง กาเจ็บที่ศีรษะ เป็นต้น
6. การใช้ยา
ตัวยาบางชนิด อาจจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคซึมเศร้าได้ เช่น ยาไอโซเตรทติโนอิน ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยานอนหลับ ยาเม็ดคุมกำเนิด ยารักษาความดันโลหิตสูง และยาในกลุ่มสแตติน เป็นต้น
นอกจากนี้ โรคซึมเศร้ายังอาจเกิดจากปัญหาอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การเกิดความขัดแย้งกับเพื่อนหรือคนในครอบครัว ความเหงาหรือความโดดเดี่ยวทางสังคมที่อาจเกิดจากการแยกตัวจากครอบครัวหรือเพื่อนฝูง การดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ยาเสพติด เป็นต้น
วิธีป้องกัน โรคซึมเศร้า?
ในทางปัจจุบันยังไม่ได้มีวิธีป้องกันโรคซึมเศร้าที่แน่นอน เนื่องจากอาจจะเกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถที่จะควบคุมได้ อย่างเเช่น การทำงานผิดปกติของสมอง หรือปัจจัยทางพันธุกรรม อย่างไรก็ตาม คนทั่วไปอาจจะป้องกันโรคซึมเศร้า ได้ดังนี้
- เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีรับมือเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่อาจจะก่อให้เกิดความเครียด รวมทั้งหาวิธีสร้างความมั่นใจให้กับตนเองอยู่เสมอ เพื่อป้องกันกับโรคซึมเศร้า
- ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ และควรพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังอย่างเหมาะสม รวมทั้งหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้สารเสพติด
- พูดคุยเปิดใจในเรื่องต่าง ๆ กับครอบครัว หรือเพื่อสนิท เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ยากลำบาก หรือต้องการคนช่วยเหลือ
- พิจารณาวิธีรักษาในระยะยาวเพื่อป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าขึ้นอีกครั้ง
การรักษาโรคซึมเศร้า
การรักษาโรคซึมเศร้าในปัจจุบันนั้น หลัก ๆ จะมีด้วยกันอยู่ 3 วิธีคือ การพูดคุยบำบัดทางจิต (Psychotherapy) การใช้ยาต้านซึมเศร้า (Antidepressants) และการกระตุ้นเซลล์สมองและประสาท (Brain Stimulation Therapies) โดยส่วนมากทางแพทย์จะรักษาด้วยการใช้ยาต้านซึมเศร้า และการพูดคุยบำบัดกับผู้ป่วยควบคู่กันไป ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรงมาก มีพฤติกรรมมุ่งทำร้ายตัวเอง หรือคิดฆ่าตัวตาย ทางแพทย์จึงจะเลือกใช้การกระตุ้นเซลล์สมอง และประสาทเพื่อที่จะรักษาได้ทันท่วงที ทั้งนี้ ทางแพทย์ยังต้องพิจารณาอีกด้วยว่าจะใช้ยาตัวใด การพูดคุุยบำบัด และการกระตุ้นเซลล์สมองรูปแบบใดจึงจะปลอดภัย และเหมาะสมกับผู้ป่วยรายนั้น ๆ มากที่สุด
รักษาโรคซึมเศร้าด้วยตัวเอง ได้หรือไม่?
ไม่แนะนำไม่ให้รักษาหรือบำบัดโรคซึมเศร้าได้ด้วยตัวเอง หากเริ่มรู้สึกกว่าตนเองนั้นไม่ปกติ ขาดความสมดุล มีความเครียดสูง การพบจิตแพทย์ก็เหมือนกับการตรวจหัวใจให้เรานั้นเจ้าใจสภาพจิตใจของตนเองในขณะนั้น ทางแพทย์จะแนะนำวิธีป้องกันและปรับสภาพจิตใจให้ดีขึ้นด้วยการปรับวิธีคิด หรือรักษาด้วยการใช้ยา เพราะปัญหาทางด้านจิต ไม่ใช้มีสาเหตุมาจากโรคซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว การพบจิตแพทย์ถึงจะดีที่สุด และจะได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
7 กิจกรรมต้านซึมเศร้า ในเด็ก เติมสุข พัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัว
อาการโรคซึมเศร้า ในกลุ่มคนท้อง เกิดขึ้นได้อย่างไร เสี่ยงต่อเด็กในครรภ์หรือไม่
โรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม โรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรคทางพันธุกรรมที่พบในเด็ก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : pobpad , pobpad , bumrungrad
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!