โรคเด็กโตก่อนวัย เป็นอย่างไร? เมื่อลูกเป็นแบบนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องทำอย่างไร หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังกังวลว่าเมื่อลูกของเรามีพฤติกรรม หรือมีอาการเหล่านี้ เราจะต้องรับมือยังไงบ้าง และถ้าเขาเป็นแบบนี้ลูกของเราจะเข้ากับเด็กคนอื่น ๆ ได้ไหม เอาเป็นว่าอย่าพึ่งกังวลหรือเครียดไปนะคะ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ โรคเด็กโตก่อนวัย และมารู้วิธีการรับมือไปพร้อมกันดีกว่าค่ะ
(รูปจาก shutterstock.com)
โรคเด็กโตก่อนวัยคืออะไร
เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินโรคนี้กันมาบ้างแล้ว นั่นคือ “โรคเด็กโตก่อนวัย” ซึ่งโรคนี้อาจจะเกิดจากการเจริญเติบโตของเด็กที่มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติไปจากเดิมเมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน ซึ่งอาการเหล่านี้ ก็อาจจะรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสรีระนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ลูกอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่รวดเร็วจนเกินไป นั่นเอง
เด็กแบบไหนที่เสี่ยงต่อการเป็น “โรคเด็กโตก่อนวัย”
หากใครที่กำลังสงสัยว่า เราจะต้องดูยังไงเพื่อที่จะรู้ว่าลูกของเราเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ไหม หรือเด็กที่เป็นโรคนี้จะต้องเป็นยังไงบ้าง เรามาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า ส่วนจะมีเด็กกลุ่มไหนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้บ้าง มาดูกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรทำกับลูก หากพ่อแม่ยิ่งทำ พฤติกรรมลูกยิ่งแย่ลง
1. เด็กอ้วน
สำหรับเด็กที่มีลักษณะค่อนข้างอวบ หรือมีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์ แน่นอนว่าปัจจัยเหล่านี้อาจจะทำให้ลูกของเราเป็นเด็กที่โตกว่าวัยได้ เพราะด้วยการเจริญเติบโตในร่างกายของเขาเมื่อเทียบกับเด็กคนอื่นเขาจะมีสรีระร่างกายที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วกว่าคนอื่น เพราะฉะนั้นหากลูกของเรามีลักษณะแบบนี้อยู่คุณพ่อกับคุณแม่ก็อย่าพึ่งตกใจไปนะคะ
2. เด็กที่โตกว่าวัยตามคุณพ่อคุณแม่
มากันที่ข้อนี้บ้าง แน่นอนว่าอีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยงที่ส่งผลให้ลูกของเราเป็นโรคโตกว่าวัยได้ นั่นคือคุณพ่อคุณแม่อาจจะเคยมีประวัติที่เป็นโรคนี้เช่นกัน เพราะการที่ลูกของเราจะเป็นโรคนี้ได้นั้น สิ่งนี้อาจจะเกิดจากพันธุกรรมด้วย เอาเป็นว่าเมื่อไหร่ที่ลูกเรามีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วก่อนวัยอันควร เราก็อาจจะต้องดูประวัติของเราด้วยว่า เราเคยมีประวัติเป็นโรคนี้หรือไม่ เพื่อที่เราจะได้รู้จักวิธีการรับมือกับลูกนั่นเองค่ะ
3. เด็กที่ได้รับอาหารที่มีฮอร์โมนปนเปื้อน
อีกหนึ่งสิ่งที่จะทำให้ลูกของเราเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้บ้าง สิ่งที่จะทำให้ลูกของเราเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้อีกหนึ่งอย่าง เรื่องอาหารการกินก็เรียกได้ว่ามีผลต่อการเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะให้ลูกทานอะไร เราก็อาจจะต้องดูแลและใส่ใจในเรื่องนี้ตามไปด้วย ไม่ควรที่จะให้เขาทานอาหารตามใจตัวเองจนเกินไป เราอาจจะต้องดูแลเรื่องอาหารการกินของลูกตามไปด้วย เพราะฉะนั้นหากใครที่ไม่อยากให้ลูกเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ และอยากให้เขาเป็นเด็กที่โตตามวัย เราอาจจะต้องให้ลูกทานอาหารที่ดีมีประโยชน์
ลักษณะที่บ่งบอกว่าลูกของเราเป็นโรคโตก่อนวัย
หากคุณพ่อคุณแม่กำลังสังเกตพฤติกรรมของลูก เพื่อดูว่าลูกของเราเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ไหม หรือถ้าเราอยากรู้ว่าลูกของเราเมื่อเป็นโรคนี้ เขาจะมีลักษณะอย่างไรบ้าง เข้ามาดูกันเลย
(รูปจาก shutterstock.com)
วิธีการสังเกตเด็กผู้หญิง
สำหรับใครที่มีลูกหญิง เราก็อาจจะมีวิธีการสังเกตดังต่อไปนี้
1. มีส่วนสูงที่เพิ่มขึ้น
สิ่งแรกที่จะสังเกตได้ว่าลูกของเราเป็นเด็กโตก่อนวัยหรือไม่ ส่วนสูงก็ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอาการที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้เหมือนกัน ซึ่งหากลูกของเรามีส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าปกติ หรือเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน ลูกของเราจะโตกว่าเด็กอื่น ๆ นั่นก็อาจจะแสดงว่าเขาโตกว่าวัย
2. เริ่มมีสิว หรือกลิ่นกาย
อย่างที่รู้กันว่าในช่วงวัยเด็ก เขาเหล่านี้จะยังไม่มีสิวหรือกลิ่นกาย เพราะสิ่งเหล่านี้โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบในช่วงที่เข้าสู่วัยรุ่น หากลูกของเรายังเด็กและมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น เราก็อาจจะต้องหันมาดูแลใส่ใจลูกให้มากขึ้น อาจจะต้องให้ลูกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดกลิ่นกาย พร้อมกับดูแลผิวหน้าให้สะอาดอยู่เสมอ
3. มีประจำเดือนเร็ว
สิ่งนี้เป็นอีกหนึ่งอาการที่จะเกิดขึ้นกับเด็กผู้หญิงเพียงเท่านั้น ซึ่งการเป็นประจำเดือนโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดในช่วงอายุตั้งแต่ 9 ปีขึ้นไป เมื่อไหร่ที่ลูกของเราเป็นประจำเดือนก่อน 9 ขวบ นั้นก็อาจจะแสดงว่าร่างกายของเขามีการเจริญเติบโตที่เร็วกว่าปกติ และด้วยความที่เขายังเด็ก และพึ่งเคยเป็นประจำเดือนครั้งแรก คุณแม่ก็อาจจะต้องคอยดูแลและให้คำแนะนำกับลูก เพื่อที่เขาจะได้ไม่กังวลและปรับตัวกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้นั่นเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีนับประจำเดือน นับวันแรกและวันสุดท้ายตอนไหนเรามีคำตอบ
4. มีขนรักแร้
เมื่อไหร่ที่มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น สำหรับเด็กบางคนก็อาจจะยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาบริเวณร่างกายของเรา เพราะฉะนั้นคุณแม่ก็อาจจะต้องคอยบอกและให้คำแนะนำกับลูก ไม่ควรปล่อยปละละเลยเรื่องนี้ไป ด้วยเหตุผลที่ว่าเขายังเด็กอยู่
(รูปจาก shutterstock.com)
วิธีการสังเกตเด็กผู้ชาย
สำหรับใครที่มีลูกชาย แล้วยังไม่รู้ว่าเราจะต้องสังเกตลูกยังไงว่า เขาเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ไหม เรามาดูอาการที่เกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กัน
1. มีส่วนสูงที่เพิ่มขึ้น
ข้อแรกเลยเราอาจจะสังเกตจากการดูส่วนสูงลูกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะโดยปกติแล้วส่วนสูงของเด็กก็ต้องมีการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามช่วงวัยของเขา แต่เมื่อไหร่ที่ลูกของเรามีส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นเร็วจนเกินไป เมื่อเทียบกับเด็กที่เกิดในวัยเดียวกันแล้ว เขากลายเป็นเด็กที่สูงกว่าคนอื่นๆ นั่นก็อาจจะกำลังบ่งบอกว่าลูกของเราเป็นเด็กที่โตกว่าวัยอันควร
2. มีสิว เสียงเริ่มแตก และมีกลิ่นกาย
อีกปัจจัยที่บ่งบอกเราได้ว่าลูกของเริ่มโตก่อนวัยก็คงเป็นเรื่องของเสียง เพราะปกติแล้วหากเขายังเด็กอยู่น้ำเสียงหรือกล่องเสียงของเขาก็ค่อนข้างที่จะเล็กและคล้าย ๆ กับเด็กทั่วไป แต่ถ้าเมื่อไหร่น้ำเสียงของเขาเริ่มแตก พูดเสียงใหญ่มากขึ้นสิ่งนี้ก็อาจจะบอกได้ว่าเขาเริ่มโตขึ้นมาแล้ว นอกจากนี้บางคนก็อาจจะมีสิวและมีกลิ่นกายตามมาด้วย ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะดูแลและให้คำแนะนำเขาเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่เขาจะได้มีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นเวลาอยู่กับเพื่อน ๆ
3. มีขนรักแร้เกิดขึ้น
เมื่อลูกเริ่มเข้าสู่วัยที่โตขึ้น ร่างกายของเขาก็จะมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นตามาด้วย เพราะฉะนั้นหากลูกของเรามีขนเกิดขึ้นบริเวณรักแร้ทั้ง ๆ ที่สิ่งเหล่านี้ยังไม่ถึงวัยของเขา เราก็อาจจะคอยแนะนำและให้คำปรึกษากับลูก ให้เขารู้จักวิธีการรับมือและปรับตัวกับสิ่งเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ให้ได้
ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็ก เมื่อเขาโตก่อนวัย
เชื่อว่าสิ่งนี้อาจเป็นเรื่องกังวลของคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนว่า เมื่อลูกของเราโตก่อนวัย เขาจะรู้สึกยังไงบ้างนะ แล้วสิ่งเหล่านี้มันจะส่งผลกระทบต่อลูกเราในเรื่องไหนบ้าง มาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีแก้ไขเมื่อลูกโกหก พฤติกรรม การโกหก ของลูก เกิดจากอะไร ทำอย่างไรดี
1. ทางด้านจิตใจ
สำหรับเด็กที่เริ่มโตก่อนวัย หารู้ไหมว่าเด็กเหล่านี้เขามักจะกังวลรู้สึกอายเมื่ออยู่ท่ามกลางเพื่อนที่มีช่วงอายุใกล้เคียงกัน และเมื่อไหร่ที่เขารู้สึกกังวลเป็นเวลานานๆ สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เขารู้สึกเครียดด้วยเช่นกัน และถ้าเมื่อไหร่ที่มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วล่ะก็ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องคอยให้คำปรึกษากับเขา ทำให้เขาเข้าใจและรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นให้ได้ เพราะเรื่องสภาพจิตใจของเด็กเป็นอะไรที่เราควรใส่ใจและไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างมาก เมื่อไหร่ที่คุณพ่อคุณแม่ควรบอกและคอยให้คำแนะนำกับเขา เขาจะมีความมั่นใจในการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้นแน่นอน
2. ทางด้านร่างกาย
ผลกระทบที่จะตามมาอีกหนึ่งอย่างที่หลายคนมักกังวลนั่นคือทางด้านร่างกาย หลายคนอาจจะคิดว่าเมื่อลูกของเรามีส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือมีส่วนสูงที่มากกว่าคนอื่นเมื่อเทียบกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เขาดูโตกว่าเด็กคนอื่น ๆ บอกเลยว่าไม่เสมอไป เพราะการที่ลูกเราสูงกว่าเด็กคนอื่น ๆ สิ่งนี้จะทำให้กระดูกของลูกปิดเร็วและเมื่อเขาโตขึ้นก็อาจจะทำให้เขาเตี้ยกว่าคนอื่น ๆ ได้เหมือนกัน
เราควรทำยังไงเมื่อลูกของเราโตก่อนวัย
สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่ยังไม่รู้ว่าเราจะต้องรับมือกับลูกยังไง เมื่อรู้ว่าลูกของเราโตก่อนวัย หรือมีวิธีอะไรบ้างเพื่อที่จะทำให้เขาไม่ควรและยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เข้ามาอ่านกันเลย
1. ควบคุมน้ำหนักของลูกให้เป็นไปตามเกณฑ์
มากันที่ข้อแรก สำหรับใครที่รู้ว่าลูกของเราโตก่อนวัย สิ่งแรกที่ทำเลยคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องควบคุมน้ำหนักของลูก และไม่ควรปล่อยให้ลูกกินอะไรตามใจตัวเองจนเกินไป แน่นอนว่าในช่วงที่เขาเป็นเด็ก ช่วงนี้เป็นวัยที่เจริญเติบโตและมันก็น่าจะยากหากเราจะให้ลูกงดทานอะไรที่มันอร่อย เพราะฉะนั้นเราก็อาจจะพยายามให้เขาทานอาหารที่ดีมีประโยชน์และงดการทานอาหารที่เสี่ยงต่อการทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น นอกจากนี้เราก็อาจจะพาเขาออกกำลังกายตามไปด้วย สิ่งนี้นอกจากจะทำให้น้ำหนักลูกลดลงแล้ว สิ่งนี้ยังส่งผลทำให้ลูกของเรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงตามไปด้วย
2. อธิบายให้ลูกเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้
คิดว่าข้อนี้เป็นอะไรที่สำคัญมาก ๆ เพราะฉะนั้นหากลูกของเราเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องอธิบายโรคนี้ให้ลูกเข้าใจด้วยเหตุผล เพื่อไม่ให้เขารู้สึกด้อยกว่าคนอื่น ๆ เพราะเมื่อไหร่ที่เราไม่ทำการอธิบายและปล่อยปละละเลยเรื่องนี้ไป สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เขารู้สึกเครียดและกังวลใจขึ้นมาได้เลย
3. ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศของลูก
อีกหนึ่งปัจจัยที่เราต้องคำนึงถึงและอธิบายให้ลูกฟังนั่นคือ เราควรที่จะอธิบายเรื่องเพศให้ลูกฟัง พูดให้เขาเข้าใจเกี่ยวกับเพศของตัวเอง เพราะแน่นอนว่าเมื่อไหร่ที่เราเริ่มโตขึ้น สรีระร่างกายของเราก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่ถ้าเราอธิบายให้ลูกเข้าใจ เขาก็จะยอมรับในการเปลี่ยนแปลง หรือยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นได้ โดยที่ไม่ได้รู้สึกแปลกใจอะไร
4. พาลูกไปรักษา หรือขอคำแนะนำจากแพทย์
ข้อนี้ก็เรียกได้ว่าสำคัญมาก ๆ เพราะฉะนั้นหากคุณพ่อคุณแม่จะพาลูกไปทำรักษา เราอาจจะต้องพูดและอธิบายถึงเหตุผลที่ต้องพาเขาไปทำการรักษาเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อที่เขาจะได้รู้จักความเป็นมาของโรคนี้ และปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องและรู้จักวิธีการรับมือกับมันนั่นเอง
หลังจากที่เรานำข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับโรคนี้มาฝากทุกคนแล้ว เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่อาจจะรู้สึกโล่งใจขึ้นมาไม่น้อยเลยใช่ไหม เอาเป็นว่าไม่ต้องเครียดนะคะ เพราะเราได้นำเทคนิคและวิธีการรับมือเกี่ยวกับโรคนี้มาฝากคุณพ่อคุณแม่แล้วค่ะ
บทความที่น่าสนใจ :
โรคไข้เลือดออกในเด็ก อาการเป็นอย่างไร เป็นแล้วเป็นอีกได้ไหม ?
โรคร้ายในเด็กที่มากับหน้าหนาว โรคที่ทำให้เด็กป่วย มีอะไรบ้าง พ่อแม่ควรทำอย่างไร!
ลูกกลัวเข็ม เห็นกี่ทีก็ร้องไห้งอแง แก้ปัญหาเรื่องนี้ยังไงดี?
ที่มา : nonthavej.co.th, parentsone.com
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!