X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูก ๆ ติดทีวี แก้ปัญหานี้ยังไงดี มาดูวิธีรับมือก่อนที่จะสายเกินไป

บทความ 5 นาที
ลูก ๆ ติดทีวี แก้ปัญหานี้ยังไงดี มาดูวิธีรับมือก่อนที่จะสายเกินไป

หากเด็ก ๆ ติดทีวี จะทำยังไงดี เรามาดูวิธีรับมือกับปัญหานี้กัน (ภาพโดย tirachardz จาก freepik.com)

พ่อแม่หลาย ๆ คนไม่ค่อยมีเวลาอยู่กับลูก ๆ เพราะต้องทำงาน ก็เลยมีบางครั้ง ที่อาจจะปล่อยให้เด็กอยู่กับทีวีเพียงลำพัง เพื่อให้เด็กไม่รู้สึกเหงา แต่รู้หรือไม่ ว่าการปล่อยให้เด็กอยู่กับทีวีนานไปไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะอาจจะทำให้เด็กเสพติดการดูทีวี จนไม่อยากสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัว หากเด็ก ๆ ติดทีวี จะทำยังไงได้บ้าง เรามาดูวิธีรับมือกับปัญหานี้กัน

 

รายการทีวีในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน รายการทีวีหลาย ๆ ช่องได้ย้ายไปอยู่ในระบบดิจิตอลกัน ในขณะที่บางช่องก็ปิดตัวไปหลังจากเปิดมาหลายปี รายการทีวีในช่องหลักส่วนใหญ่ ก็ยังคงเป็นรายการที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่อยู่ อย่างไรก็ตาม หากอยากให้เด็ก ๆ ได้ดูการ์ตูน หรือรายการที่เหมาะกับวัย ก็อาจจะให้เด็ก ๆ ดูรายการ เช่น มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ ซูเปอร์เท็น ดาวินชี่ เด็กถอดรหัส ตัวเล็กโชว์ใหญ่ ฟ้าแลบเด็ก หรือสอนศิลป์ เป็นต้น หรือหากติดจานดาวเทียมของทรูวิชั่น ก็อาจจะเปิดช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ค หรือทรูสปาร์คให้เด็กดูได้ นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถสมัครเน็ตฟลิกซ์เป็นรายเดือน เพื่อเปิดใช้โหมดรายการสำหรับเด็ก เอาไว้ให้น้อง ๆ ดูยามว่าง ซึ่งโหมดรายการสำหรับเด็กของเน็ตฟลิกซ์นี้ จะเป็นโหมดที่รวบรวมการ์ตูน ซีรีส์ หรือหนังที่มีเนื้อหาสำหรับเด็กไว้มากมาย สามารถให้น้อง ๆ เลือกดูได้ตามใจชอบ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ที่สุดของอันตราย! โทรศัพท์ระงับพัฒนาการเด็ก ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ 

 

ลูกดูทีวีมากไป เป็นอะไรไหม

เด็ก ๆ สมัยนี้ เริ่มดูทีวี และเริ่มใช้โซเชียลกันตั้งแต่อายุยังน้อย และพ่อแม่หลาย ๆ คน ก็มักจะเปิดรายการทีวีให้ลูกดูทางโทรศัพท์เวลาที่ไม่มีอะไรให้เด็กทำ เพราะคิดว่าการดูรายการทีวีหรือคลิปนั้น จะช่วยให้ความบันเทิงแก่เด็กได้ อย่างไรก็ตาม การปล่อยให้เด็กอยู่กับรายการทีวีหรือดูอะไรนาน ๆ ไปไม่ใช่เรื่องดี เพราะมีงานวิจัยชี้ว่า เด็กที่ดูทีวีมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน เป็นประจำทุกวัน มีแนวโน้มที่จะน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ เมื่อเทียบกับเด็กที่ดูทีวีน้อยกว่า นอกจากนี้ เด็กที่ดูทีวีบ่อย ๆ ยังอาจมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อคนรอบตัว หรือเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอย่างการสูบบุหรี่ หรือดื่มสุราตั้งแต่อายุยังน้อยได้อีกด้วย ซึ่งนี่ ก็เป็นเหตุผลที่คุณแม่ควรจำกัดเวลาในการดูทีวีของเด็ก และคอยสอดส่องรายการที่เด็กดู ว่าเหมาะสมหรือไม่ หากรายการไหนสอดแทรกเนื้อหาที่ไม่ดี คุณแม่ก็ควรอธิบายให้เด็กเข้าใจ หรือไม่อย่างนั้น ก็ควรเปลี่ยนช่อง เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ดูอะไรอย่างอื่นแทน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกดูทีวีดูมือถือทั้งวัน จอจนตาอักเสบรุนแรง! พ่อโพสต์เตือนอย่าปล่อยลูกดู ทีวี มือถือ ยิ่งนานยิ่งอันตราย

 

ลูกติดทีวี ทำไงดี 1

เด็กอายุ 5-18 ปี ควรดูทีวี หรือเล่นเกมอย่างเหมาะสม คุณพ่อคุณแม่ควรดูแล คอยสังเกตพฤติกรรมลูก ๆ (ภาพจาก shutterstock.com)

 

จะแก้ปัญหาเด็กติดทีวียังไงดี

อะไรที่มากไป ย่อมไม่ดีอยู่แล้ว เช่นเดียวกับการดูทีวี หากลูก ๆ ติดทีวี ชอบดูทีวีจนไม่เป็นอันกินอันนอน แนะนำให้คุณแม่ปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

 

1. จำกัดช่วงอายุของเด็ก

คุณพ่อคุณแม่ควรควบคุมการดูรายการทีวีของเด็กตามอายุเด็ก ดังนี้

  • เด็กที่อายุต่ำกว่า 18 เดือน ไม่ควรดูทีวีเด็ดขาด แต่ยังสามารถวิดีโอคอลหรือมีปฏิสัมพันธ์กับญาติ ๆ ผ่านโทรศัพท์ได้
  • เด็กที่อายุระหว่าง 18-24 เดือน อาจเริ่มให้เด็กดูทีวีได้ โดยคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ดูแล ควรคอยประกบเด็ก เพื่อคอยควบคุมสอดส่องเนื้อหาในรายการทีวีที่เด็กดู
  • เด็กวัยอนุบาล ให้เด็กดูรายการทีวีได้วันละไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง โดยควรมีคนในบ้านคอยแนะนำอย่างใกล้ชิด
  • เด็กที่อายุระหว่าง 5-18 ปี ควรให้เด็กดูรายการทีวี หรือเล่นโซเชียลได้ตามความเหมาะสม แต่ไม่ควรให้เด็ก ๆ อยู่กับสิ่งเหล่านี้นานเกินไป เพราะอาจทำให้เด็กติดทีวีหรือโซเชียล จนไม่ยอมหลับไม่ยอมนอน

 

2. เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็ก

คุณพ่อคุณแม่และคนในบ้านควรเป็นตัวอย่างที่ดี และทำให้เด็กเห็น ว่าการดูทีวีที่เหมาะสมเป็นแบบไหน เพราะเด็กอยู่ในวัยที่ชอบเลียนแบบพฤติกรรมคนรอบ ๆ ตัว หากเด็ก ๆ เห็นคนในบ้านอ่านหนังสือ เด็กก็จะชอบอ่านหนังสือ หากเด็กเห็นว่าพ่อแม่ชอบดูทีวี ติดทีวีงอมแงม เด็กก็มีแนวโน้มที่จะซึมซับ และลอกเลียนแบบพฤติกรรมดังกล่าวเช่นเดียวกัน

 

3. ชวนเด็กทำกิจกรรมอย่างอื่น

คุณแม่ควรหากิจกรรมสนุก ๆ กิจกรรมเสริมทักษะ หรือกิจกรรมเสริมพัฒนาการให้น้อง ๆ ทำเวลาว่าง เพื่อที่เด็กจะได้ไม่อยากดูทีวี หรือดูทีวีน้อยลง เช่น เล่นกีฬา อ่านหนังสือ หรือเล่นบอร์ดเกม เป็นต้น ซึ่งนอกจากกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้เด็กได้ฝึกทักษะต่าง ๆ แล้ว ก็ยังทำให้คุณแม่ได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับน้อง ๆ อีกด้วย

 

4.ใช้เวลาว่างกับเด็ก

เด็กบางคนชอบดูทีวี เพราะรู้สึกว่าทีวีคอยอยู่เป็นเพื่อนเวลาเหงา หากคุณพ่อคุณแม่ไม่มีเวลาให้น้อง ๆ หรือไม่ได้อยู่ทำกิจกรรมอื่น ๆ กับเด็ก ๆ ก็อาจทำให้เด็กรู้สึกเหงา และเลือกที่จะดูทีวีแทน จนสุดท้ายกลายเป็นเด็กติดทีวี และไม่อยากสร้างปฏิสัมพันธ์กับใครอีก ฉะนั้น ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่จะยุ่งแค่ไหน ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลยน้อง ๆ จนเขารู้สึกว่าไม่มีใครอยู่ข้างกาย คุณพ่อคุณแม่ควรจัดตารางชีวิต หาเวลาว่างมาอยู่กับเขา ก่อนที่อะไร ๆ จะสายไป

 

5. ไม่ติดตั้งทีวีไว้ที่บ้าน

หากว่าเด็กติดทีวีจนไม่อยากทำอะไรเลย หรือหากคุณแม่พยายามทำทุกวิถีทางแต่เด็กก็ยังติดทีวีอยู่ ก็อาจจะต้องยกทีวีออกจากบ้าน หรือเอาทีวีไปซ่อนไว้ในที่ที่เด็กไม่เห็น เพื่อไม่ให้เด็กได้ดูทีวี ซึ่งดูจะเป็นการหักดิบไปสักหน่อย แต่ลองค่อย ๆ ให้เด็ก ๆ ได้ปรับตัว และหากิจกรรมอื่นให้เด็กทำแทน หากว่าในอนาคต เด็กอยากจะดูอะไร ก็ให้เขาดูผ่านหน้าจอโทรศัพท์ของคุณพ่อคุณแม่ได้ เพื่อที่จะได้คอยสอดส่องสิ่งที่เด็กดูไปด้วย อย่างไรก็ตาม หากเด็กโตพอที่จะเข้าใจได้ว่าอะไรควรไม่ควร ดูทีวีอย่างไรให้เหมาะสม ก็ค่อยนำทีวีกลับมาภายหลังได้

 

คุณแม่สามารถป้องกันไม่ให้ลูกติดทีวีได้ โดยเริ่มจากการจำกัดเวลาหรือเนื้อหาในการดูทีวีของเด็ก และคอยสร้างนิสัยในการดูทีวีที่เหมาะสมให้กับเด็ก ให้เด็กดูทีวีอย่างเหมาะสมและไม่นานจนเกินไป ซึ่งก็อย่างที่ได้บอกไปแล้ว ว่าเด็กเป็นวัยที่ชอบเลียนแบบ แถมยังขี้สงสัย และอยากรู้อยากเห็น หากรายการทีวีที่เด็กดูมีเนื้อหาไม่เหมาะสม เด็กก็อาจจะซึมซับ และเลียนแบบได้ในที่สุด คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก ๆ อย่างใกล้ชิด ว่าเด็กเปลี่ยนไป หรือก้าวร้าวมากขึ้นไหม เพื่อที่จะได้ไหวตัวทันหรือป้องกันได้ทันท่วงที หากเด็กไปเลียนแบบพฤติกรรมไม่ดีจากรายการทีวีมา

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องเล่นคอมได้หรือไม่? แม่ท้องเจอจอสีฟ้าของคอมและทีวีอันตรายต่อลูกมั๊ย?

 

ลูกติดทีวี ทำไงดี

เด็กติดทีวี ให้เด็กดูทีวีบ่อยไปไม่ดี (ภาพโดย ijeab จาก freepik.com)

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

 

ดูทีวีมีประโยชน์ไหม

ความจริงแล้ว การดูทีวีนั้นก็มีประโยชน์ต่อเด็กเช่นกันหากให้เด็ก ๆ ดูแต่พอดี ไม่ดูเยอะพร่ำเพรื่อจนเกินไป เพราะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากรายการทีวีที่เด็กดูนั้น เป็นรายการสอนเกี่ยวกับภาษา หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งเด็ก ๆ จะสามารถนำเอาทักษะที่เรียนรู้จากรายการทีวีไปใช้ในห้องเรียน หรือนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และจะยิ่งดีกว่านี้ หากคุณพ่อคุณแม่สามารถนั่งดูทีวีกับน้อง ๆ เพื่อคอยให้คำแนะนำเวลาที่มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมปรากฏบนทีวี ทั้งนี้ การนั่งดูทีวีกันเป็นครอบครัว ก็ยังช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ได้สานความสัมพันธ์กับน้อง ๆ ด้วยการถกประเด็นในรายการทีวี หรือได้ร่วมพูดคุยสิ่งที่น้อง ๆ สงสัยได้ด้วย

 

หากเด็ก ๆ อยากดูทีวี ก็ควรให้เขาดูรายการที่เหมาะสำหรับเด็กและให้ความรู้ แทนที่จะให้เขาดูละครที่ไม่มีประโยชน์ รายการที่ไม่มีสาระ หรือรายการที่ไม่ได้ให้ข้อคิดใด ๆ ซึ่งเนื้อหาของรายการทีวี ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากสามารถชักจูง หรือปลูกฝังแนวคิดต่าง ๆ ให้เด็กได้ นอกจากนี้ คุณแม่ไม่ควรให้น้อง ๆ ดูทีวีเป็นเวลานานเกินไป เพราะอาจทำให้น้อง ๆ ติดทีวีงอมแงม จนไม่ยอมกินข้าวกินปลา ไม่สนใจคนในครอบครัว หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว

 

บทความที่เกี่ยวข้อง :
15 พฤติกรรมเสี่ยงออทิสติกเทียม เจ้าตัวเล็กบ้านไหน ดูทีวี เล่นเกม ต้องอ่าน!
ผู้เชี่ยวชาญ: การดูทีวี ไม่ใช่ต้นเหตุทำให้เด็กพฤติกรรมแย่
9 สัญญาณอันตรายเมื่อเจ้าตัวเล็กเป็น “โรคติดทีวี”

ที่มา : 1 , 2 , 3 , 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • ลูก ๆ ติดทีวี แก้ปัญหานี้ยังไงดี มาดูวิธีรับมือก่อนที่จะสายเกินไป
แชร์ :
  • น้ำนมเยอะ ปัญหาที่คุณแม่ต้องเจอ พร้อมแชร์เคล็ดลับในการรับมือ

    น้ำนมเยอะ ปัญหาที่คุณแม่ต้องเจอ พร้อมแชร์เคล็ดลับในการรับมือ

  • ลูกขี้โมโห ! เลี้ยงยังไงดี จะรับมือกับลูกขี้โมโหได้ยังไงบ้าง

    ลูกขี้โมโห ! เลี้ยงยังไงดี จะรับมือกับลูกขี้โมโหได้ยังไงบ้าง

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • น้ำนมเยอะ ปัญหาที่คุณแม่ต้องเจอ พร้อมแชร์เคล็ดลับในการรับมือ

    น้ำนมเยอะ ปัญหาที่คุณแม่ต้องเจอ พร้อมแชร์เคล็ดลับในการรับมือ

  • ลูกขี้โมโห ! เลี้ยงยังไงดี จะรับมือกับลูกขี้โมโหได้ยังไงบ้าง

    ลูกขี้โมโห ! เลี้ยงยังไงดี จะรับมือกับลูกขี้โมโหได้ยังไงบ้าง

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ