ต้องยอมรับว่า ยุคสมัยนี้ คนส่วนใหญ่มักจะติดโทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต โดนเฉพาะคนเป็นพ่อเป็นแม่ จนบางครั้งละเลย การทำหน้าที่ของตนไป พอมารู้อีกทีลูกก็กลายเป็นเด็กติดจอไปแล้ว คราวนี้ก็มาหา วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ ติดแท็บเล็ตกันยกใหญ่ จึงต้องเตือน! ผู้ปกครองที่ให้ ลูกดูทีวีดูมือถือทั้งวัน แทนการให้ทำกิจกรรมอย่างอื่น เสี่ยงทั้งปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพใจ พ่อโพสต์เตือนลูกดูทีวีดูมือถือจนตาอักเสบรุนแรง
อุทาหรณ์ลูกดูทีวีดูมือถือทั้งวัน
คุณพ่อ โพสต์เป็นอุทาหรณ์ลูกดูทีวี ดูมือถือทั้งวัน ว่า ฝากเตือนแม่ ๆ ที่ปล่อยลูกดู ทีวี มือถือ เป็นเวลานาน ๆ ด้วย ปกติจะไม่ค่อยให้ลูกดูแต่วันนั้น พ่อก็ไม่สบายแม่ต้องเอาน้อง ปล่อยให้ดูทั้งวัน ผลที่ได้ตาอักเสบรุนแรง อันตรายมาก ๆ จนคุณหมอต้องสั่งนอนดูอาการ
สำหรับการจ้องจอไม่ว่าจะเป็น จอโทรทัศน์ หรือจอมือถือ ล้วนแล้วแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกน้อย ทั้งนี้ ทางทีมงาน theAsianparent ขอให้น้องแข็งแรงเร็ว ๆ นะคะ ส่วนอันตรายของการที่ลูกดูทีวีดูมือถือทั้งวันนั้น มีดังนี้
บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็ก 1 ขวบเด็กเกินไปไหมที่จะเล่นไอแพด อายุเท่าไหร่ถึงจะเล่นได้ ?
วิดีโอจาก : BNH Hospital
อันตรายเมื่อลูกดูทีวีดูมือถือทั้งวัน
- อันตรายต่อสุขภาพร่างกายเมื่อ ลูกดูทีวีดูมือถือทั้งวัน : เด็กจะมีสุขภาพไม่แข็งแรง เพราะใช้เวลานั่งหน้าจอทั้ง ทีวี หรือนอนเล่นมือถือนานเกินไป จนไม่ได้ไป ออกกำลังกายตามวัย เกิดปัญหาการอดนอน ไม่ยอมทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะติดการเล่นหน้าจอ หรืออยากนั่งดูทีวีนาน ๆ นอกจากนี้ การนั่งจ้อง หน้าจออุปกรณ์สื่อสารนาน ๆ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหา สายตาสั้น และปวดล้าตาได้ อีกทั้งมีการศึกษาที่พบว่า สัตว์ทดลองที่ได้สัมผัสกับคลื่นโทรศัพท์ เป็นเวลานานจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในสมอง ถึงแม้ว่าข้อมูลการศึกษาในมนุษย์ยังไม่ชัดเจนนัก แต่ก็เป็นสิ่งที่เราควรระวังไว้
- อันตรายต่อสุขภาพจิต เมื่อลูกดูทีวีดูมือถือทั้งวัน : เด็กจะมีสุขภาพจิตแย่ลง และมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เก็บตัว ซึมเศร้าได้ง่าย และอาจแสดงอาการต่อต้าน ก้าวร้าว หงุดหงิดง่ายหากผู้ปกครอง ไม่ยอมให้ใช้อุปกรณ์สื่อสาร และอาจกลายเป็นเด็กที่รอไม่เป็น ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อทักษะของ EF (executive function) ในด้านการยับยั้งชั่งใจ คิดไตร่ตรอง และควบคุมอารมณ์ อันเป็นรากฐานความสำเร็จของเด็กในอนาคต อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสมาธิสั้น และออทิสติกเทียมในเด็กอีกด้วยนะคะ
ลูกติดมือถือ มีผลเสียอย่างไร
สมาคมกุมารแพทย์แห่งญี่ปุ่นออกโปสเตอร์เตือนอันตรายของการใช้โทรศัพท์ สมาร์ตโฟน ไว้ดังนี้
- ทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ
- ผลการเรียนย่ำแย่ลง
- สมรรถภาพทางกายลดลง
- สายตาแย่ลง
- พัฒนาการทางสมองช้าลง
- ความสามารถในการสื่อสารลดลง
ผลกระทบต่อการต้องมองจอโทรศัพท์ ทำให้สายตาเสีย นอนหลับไม่เพียงพอ และ ขาดการออกกำลังกายจนสุขภาพถดถอยลงนั้นเป็นเรื่องที่ทราบกันดี แต่ผลกระทบต่อสมองและการเรียนก็ได้รับการพิสูจน์โดยผลการสำรวจแล้ว
นอกจากนี้ Dana Suskind รองศาสตราจารย์สาขากุมารแพทย์ศัลยกรรมมหาวิทยาลัยชิคาโกกล่าวว่า ภาษาคืออาหารสำหรับการพัฒนาสมองทารกในช่วง 2-3 ปีแรกของชีวิต หากพ่อแม่ติดมือถือ มัวแต่จดจ่อกับสมาร์ตโฟน และอุปกรณ์อื่น ๆ ก็จะไม่ได้พูดคุยกับลูกมากพอ ซึ่งการพูดคุยนั้นสำคัญต่อพัฒนาการสมองของเด็กอย่างมาก ทารกที่พ่อแม่พูดคุยด้วยจะสามารถสะสมคำศัพท์ในหัวและเรียนรู้ได้เร็วกว่าทารกที่ถูกปล่อยให้นั่งอยู่ท่ามกลางความเงียบค่ะ
วิธีการแก้ลูกน้อยติดมือถือ
1. เป็นตัวอย่างให้ลูกเห็น
คุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มสำรวจตัวเองก่อนเลยว่า คุณพ่อคุณแม่เองมีนิสัยติดมือถือเหมือนกันหรือเปล่า หากลูกเห็นคุณพ่อคุณแม่เล่นมือถือตลอดเวลา แม้แต่เวลาที่ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างตอนกินข้าว เด็ก ๆ ก็จะเลียนแบบ และไม่เชื่อคำสอนของคุณพ่อคุณแม่ได้ จึงแนะนำให้เริ่มแก้ที่พฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่ก่อนเป็นอันดับแรก
2. กำหนดกติกาการเล่นมือถือ
คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกเล่นมือถือเพลินแบบไม่มีกำหนดเวลานะคะ แต่คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นผู้ควบคุมการเล่นของลูก โดยมีการกำหนดกติกากันก่อนว่า จะให้ลูกเล่นได้นานแค่ไหน เช่น ลูกเล่นได้ 1 ชั่วโมงเท่านั้น และควรจริงจังกับเวลาที่ตกลงกันด้วย ไม่ปล่อยให้ลูกเล่นเกินเวลา เพราะจะทำให้ลูกไม่เชื่อถือในคำพูดของคุณได้ค่ะ โดยปกติแล้วสำหรับเด็กเล็ก ๆ ควรให้เวลาเล่นมือถือไม่เกิน 1 ชั่วโมงค่ะ
3. ไม่ซื้อโทรศัพท์มือถือให้ลูกเล็ก
คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือเสมอ ไม่ควรให้ลูกยึดเอาโทรศัพท์มือถือไปเล่นจนคุณพ่อคุณแม่ควบคุมเขาไม่อยู่ หรือไม่ควรซื้อโทรศัพท์มือถือส่วนตัวให้ลูกเล็ก ๆ ค่ะ
4. ชวนลูกทำกิจกรรมร่วมกัน
อันที่จริง เด็ก ๆ เป็นวัยที่สนุกกับกิจกรรมได้หลากหลาย บางครั้งเด็ก ๆ ชอบเล่นโทรศัพท์มือถือเพราะว่าเขาไม่มีกิจกรรมอื่น ๆ ที่สนใจ คุณพ่อคุณแม่จึงควรชวนเด็ก ๆ ให้ไปทำกิจกรรมร่วมกันบ้าง เช่น ชวนไปเที่ยว ชวนประดิษฐ์ของ หรืออาจชวนลูกไปเรียนเสริมทักษะสนุก ๆ เช่นเรียนกีฬาหรือดนตรี อย่าลืมสังเกตว่าลูกชอบอะไร และให้เขาได้ทำสิ่งนั้น เด็ก ๆ อาจสนุกกับกิจกรรมต่าง ๆ จนพักการเล่นมือถือไปเลย
5. คุณพ่อคุณแม่ต้องอยู่ด้วยแล้วมีความสุขกว่ามือถือ
เด็กบางบ้านติดมือถือ เพราะในมือถือมีสิ่งที่ทำให้เขามีความสุขได้มากกว่าการอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ เช่น เวลาอยู่กับคุณพ่อคุณแม่แล้วชอบโดนดุ หรือโดนต่อว่าในทางลบ เขาจึงหนีไปเล่นมือถือที่มีสิ่งที่เขาสนุกและมีความสุข คุณพ่อคุณแม่จึงควรต้องปรับตัวเองให้เป็นคนที่ลูกอยากอยู่ใกล้ โดยให้ความรัก ความเข้าใจ และเอาใจใส่ลูกให้มาก ๆ ค่ะ
มือถือเป็นทางเลือกที่เด็ก ๆ ลูก ๆ สามารถนำมาเป็นสื่อการเรียนรู้ ในช่วงเวลาว่างได้ แต่ต้องอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวลูกน้อยเองด้วย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เลี้ยงลูกด้วยจอ มือถือ แท็บเล็ต เลี้ยงอย่างไรให้เหมาะสม
6 วิธีแก้เด็กติดจอ ดูแลลูกอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์
ลูกอายุเท่าไหร่ให้เล่นมือถือ-แท็บเล็ตได้ ทำอย่างไรไม่ให้ลูกติดจอ
ที่มาข้อมูล : 1 www.pobpad.com .cwww.princsuvarnabhumiom
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!