X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

9 สัญญาณอันตรายเมื่อเจ้าตัวเล็กติดทีวี ลูกติดทีวี ควรทำยังไงดี?

บทความ 5 นาที
9 สัญญาณอันตรายเมื่อเจ้าตัวเล็กติดทีวี ลูกติดทีวี ควรทำยังไงดี?

แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ไม่เว้นแม้แต่การปล่อยให้ลูกดูทีวี ก็จะได้ผลเสียที่ตามมาพอ ๆ กัน พ่อแม่นั้นจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อพัฒนาการทั้งในด้านความคิดและจิตใจของลูกให้ดี สำหรับใครที่อยากรู้ว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกติดทีวี วันนี้มีคำตอบค่ะ

 

9 สัญญาณอันตรายที่เจ้าตัวเล็กเป็น “โรคติดทีวี” มากเกินไปแล้ว

หากจะพูดไปแล้ว เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกของเราเริ่มที่จะติดการดูทีวี สิ่งนี้ก็เป็นอะไรที่ทำให้คุณแม่หลายคนเป็นกังวลใจอยู่เหมือนกัน หรือหากคุณแม่คนไหนที่ยังสงสัยว่า หากลูกมีพฤติกรรมแบบนี้ สิ่งนี้กำลังบ่งบอกว่าลูกของเรากำลังกลายเป็นโรคติดทีวีอยู่หรือไม่ เอาเป็นว่าเรามาดูสัญญาณอันตรายของการติดทีวีไปพร้อมกันเลยดีกว่าค่ะ

ทีวีก็เหมือนกับเครื่องมืออื่น ๆ ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งได้มีบางงานวิจัยที่ออกมาสนับสนุนถึงผลดีของรายการต่าง ๆ ในทีวีที่มีต่อเด็ก เช่น รายการเด็กที่สอดแทรก หรือช่วยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ สำหรับเด็กอายุระหว่าง 3 – 5 ขวบ ซึ่งก็จะช่วยในเรื่องของการศึกษา พัฒนาการด้านสังคม และการเติบโตทางด้านอารมณ์ ของศึกษาของเด็ก ๆ ได้แต่ก็อย่าลืมว่าบางรายการสำหรับผู้ใหญ่ที่เด็กนั่งดูอยู่ก็อาจจะมีภาพและความรุนแรงที่ไม่ดีต่าง ๆ อันจะส่งผลต่อพฤติกรรมลูกได้เช่นกัน และนี่คือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกได้หากนั่งดูทีวีมากเกินไป เอาเป็นว่าเรามาดูสัญญาณอันตรายที่อาจจะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยของเรากันได้เลยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูก ๆ ติดทีวี แก้ปัญหานี้ยังไงดี มาดูวิธีรับมือก่อนที่จะสายเกินไป

 

ลูกติดทีวี

Advertisement

1. มีปัญหาในการนอน

มีผลการศึกษาเรื่องการนอนของเด็ก ๆ จากมหาวิทยาลัยโอ๊กแลนด์ได้ค้นพบว่า หากใช้เวลาในการดูทีวี 1 ชม.ครึ่ง ก่อนเข้านอน นอกจากทำให้ลูกใช้เวลาในการเข้านอนนานขึ้นแล้ว แสงและกิจกรรมต่าง ๆ ในทีวีอาจไปกระตุ้นสมองของลูกมากเกินไปซึ่งจะส่งผลให้เด็ก ๆ หลับยากขึ้นด้วย

 

2. มีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า

ตามผลการศึกษาในปี 2015 จาก PLOS ONE เด็ก 2 ขวบที่ดูทีวีมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวันนั้น มีโอกาสอย่างมากที่จะมีพัฒนาการทางภาษาที่ช้า เห็นได้ชัดว่าการดูทีวีนั้นไม่ได้มีซับไตเติ้ลหรือการพูดจริง ๆ สำหรับการใช้ชีวิตจริง ๆ ของเจ้าตัวเล็ก

 

3. มีการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว

การมีอาการไม่เป็นมิตรในบางครั้งนั้นถือเป็นเรื่องปกติโดยทั่วไปของเด็ก ๆ แต่ถ้าหากเจ้าตัวเล็กของคุณอยู่ ๆ ก็แสดงอาการก้าวร้าวอย่างรุนแรงในสนามเด็กเล่น นั้นอาจเป็นผลมาจากการดูทีวี ผลการศึกษาในปี 2007 ของ Ambulatory Pediatrics พบว่า เด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 21 – 33 เดือน ที่ได้สัมผัสกับสื่อมากเกินไปนั้น แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและต่อต้าน ดังนั้นพ่อแม่ควรลองหาวิธีลดการดูทีวีของลูกลงเพื่อจะช่วยให้เจ้าตัวเล็กนั้นได้ผ่อนคลาย

 

4. หยาบคายกับพ่อแม่

อยู่ ๆ เจ้าตัวเล็กที่น่ารักของคุณกลายเป็นเด็กที่พูดจากหยาบคายหรือเปล่า ? เด็ก ๆ ในช่วงนี้ยังอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ และยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่าพฤติกรรมแบบไหนที่เป็นที่ยอมรับ การตอบสนองอย่างก้าวร้าวนั้นเป็นเรื่องไม่เป็นไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตัวละครที่เขาชื่นชอบได้แสดงถึงลักษณะเหล่านี้ ซึ่งพ่อแม่ควรสังเกตจากรายการที่ลูกดูและชวนให้ดูรายการอื่นที่อ่อนโยนกว่านี้ หรือหากิจกรรมอื่นให้ลูกได้ทำนอกจากการดูทีวีดีกว่า

 

5. มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่น้อยลง

เด็กเล็ก ๆ ที่นั่งดูทีวีมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวันนั้น มีแนวโน้มที่จะมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่น้อยลง ต่างหากเด็กโดยทั่วไปที่จะไม่นั่งนิ่ง ๆ ได้นาน ๆ ซึ่งเมื่อลูกเป็นแบบนี้มันไม่ใช่เรื่องที่ดีต่อลูกเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กควรดูทีวีนานแค่ไหน ดูนานเกินไปอันตรายกว่าที่คิด!

 

ลูกติดทีวี

6. มีความกลัวมากมาย

ลองคิดดูว่ารายการทีวีที่มีเรื่องราวน่ากลัวนั้นจะส่งผลกระทบมากมายแค่ไหนกับลูก ๆ ของคุณ หรือแม้แต่รายการที่ดูเหมือนว่าไม่มีอะไรสำหรับพ่อแม่ แต่ก็ทำให้เด็กในวัยเตาะแตะนั้นเกิดความกลัวที่กลายเป็นภาพจำกับลูกได้

 

7. ร้องขอสิ่งต่าง ๆ

โฆษณาในทีวีบางตัวกลายเป็นสิ่งดึงดูดที่ลูกชอบ และสำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ขวบนั้น ไม่สามารถที่จะแยกความแตกต่างระหว่างรายการทีวีและโฆษณาได้อย่างสิ้นเชิง เมื่อเขาต้องการของเล่นเหมือนในทีวีเขาก็จะร้องขอ งอแง และคอยก่อกวนพวกคุณทุกครั้งที่เห็นโฆษณาหรือจนกว่าที่เขาจะได้มันมานั้นแหละ

 

8. ไม่ให้ความสนใจกับสิ่งอื่น ๆ รอบตัว

เด็กเล็ก ๆ โดยส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาของความสนใจสิ่งต่าง ๆ ที่เขาชอบยาวนาน แต่เมื่อทีวีเข้ามาสู่พัฒนาการในชีวิต ได้มีบันทึกจากการศึกษาพัฒนาการของเด็กในปี 2008 ว่า แม้แต่การเปิดทีวีไว้เฉย ๆ นั้นก็สามารถที่จะรบกวนช่วงเวลาเล่นของเด็ก ๆ ได้ และยังขัดขวางความสามารถในการรวบรวมสมาธิของเด็ก ๆ อีกด้วย

 

ลูกติดทีวี

9. ไม่ได้ใช้พัฒนาการตามวัยอย่างเหมาะสม

เด็กเล็กนั้นเมื่อได้ทำกิจกรรมหรือมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ หรือได้มีส่วนร่วมในการเล่นที่ใช้จินตนาการ จะทำให้สมองของพวกเขาได้รับการพัฒนาและเรียนรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคมได้ แต่การที่ปล่อยให้ลูกใช้เวลาไปในการดูทีวีมากเกินไป สมองของเด็กจะไม่ได้รับโอกาสในการเรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว และเริ่มกลายเป็นคนคิดเองเออเอง ซึ่งผลลัพธ์ของมันอาจทำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่ไม่มีแรงกระตุ้น ไม่ได้ใช้พัฒนาการตามวัยได้มากกว่าที่ควรจะเป็น

 

เมื่อลูกติดทีวีมากจนเกินไป ควรทำยังไงดี?

สำหรับคุณแม่คนไหนที่อยากรู้ว่า หากลูกของเราเริ่มมีนิสัยติดทีวีมากจนเกินไป เราควรต้องจัดการหรือทำยังไงดี เพื่อให้ลูกของเราได้มีเวลาในการทำอย่างอื่นมากขึ้น ซึ่งการที่คุณแม่จะทำให้เด็ก ๆ เลิกดูทีวีนั้นเป็นอะไรที่ทำได้ไม่ยากเลย หากใครทำได้ตามนี้เชื่อเลยว่าเด็ก ๆ จะไม่ติดการดูทีวีแล้วแน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 รายการทีวีสำหรับเด็ก ดูได้ความสนุกควบความรู้ หลากหลายแนว

 

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

ลูกติดทีวี

1. กำหนดเวลาอย่างชัดเจน

คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องกำหนดเวลาในการดูทีวีของลูกไว้อย่างชัดเจน ซึ่งไม่ควรปล่อยให้ลูกดูตลอดเวลา หรือปล่อยให้ลูกทั้งวันทั้งคืน เพราะการที่เราปล่อยให้ลูกดูแบบนั้น สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เขาดูกลายเป็นคนติดการดูทีวีตั้งแต่เด็ก ๆ ไปเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นใครที่อยากจะฝึกให้ลูก ๆ ติดการดูทีวีสักที เราก็ควรที่จะกำหนดเวลาการดูทีวีไว้อย่างชัดเจนเลยนะคะ

 

2. ไม่ควรวางทีวีไว้ในที่ที่มองเห็นง่าย

สิ่งต่อมาที่จะช่วยไม่ให้ลูกของเราติดการดูทีวีได้นั้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเปลี่ยนการวางทีวีไว้ในสถานที่ใหม่ ๆ ภายในบ้าน โดยเราอาจจะวางทีวีไว้ในที่ที่ไม่ค่อยโดดเด่น หรือสามารถเข้าถึงได้ยาก เพราะหากเมื่อไหร่ที่เราวางทีวีไว้ในห้องนั่งเล่น หรือที่ที่มองเห็นได้ง่าย สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ อยากดูสิ่งนี้ซ้ำขึ้นมาอยู่เรื่อย ๆ

 

3. นั่งดูไปพร้อมกับลูกน้อย

ทุกครั้งที่ลูกของเรากำลังนั่งดูทีวีนั้น คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะนั่งดูกับลูกไปด้วย คอยบอกและแนะนำเขาไปด้วย เพราะบางทีหากลูกของเราดูในช่องที่ไม่ค่อยเหมาะสมกับวัยของเขา สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ เกิดการเลียนแบบในสิ่งที่ไม่ได้ขึ้นมาได้เหมือนกัน เราจะต้องระวังในเรื่องนี้กันด้วยนะคะ

 

จากที่เราได้พาคุณพ่อคุณแม่มารู้ถึงพฤติกรรมของโรคติดทีวีแล้วนั้น ต้องบอกเลยนะคะว่าสิ่งนี้เป็นอะไรที่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องดูแลเอาใจใส่ลูกมาก ๆ เพราะเมื่อไหร่ที่เราปล่อยปละละเลยเรื่องนี้ไป สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เราทำร้ายลูกในทางอ้อมได้เลยค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

มุมมองการเลี้ยงลูกแบบหมอ ๆ จากคุณแม่นุ่น เป็นหมอทั้งบ้าน จัดสรรเวลาให้ลูกยังไง

วิธีการเลี้ยงลูกให้โตไปประสบความสำเร็จ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งผลอย่างไร

เลี้ยงลูกกับสัตว์เลี้ยง ต้องทำอะไรบ้าง? เลี้ยงลูกพร้อมสัตว์เลี้ยงได้จริงหรือ?

ที่มา : pobpad, mamaexpert

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • 9 สัญญาณอันตรายเมื่อเจ้าตัวเล็กติดทีวี ลูกติดทีวี ควรทำยังไงดี?
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว