TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เด็กขี้ลืม ความจำสั้น รับมืออย่างไร มีวิธีไหนช่วยให้ลูกความจำดีขึ้นบ้าง?

บทความ 5 นาที
เด็กขี้ลืม ความจำสั้น รับมืออย่างไร มีวิธีไหนช่วยให้ลูกความจำดีขึ้นบ้าง?

บ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้ว่าลูกมีอาการขี้ลืม ความจำไม่ค่อยดี ลืมทำการบ้าน หรือลืมเรื่องที่เคยสอน ซึ่งบางครั้งอาจส่งผลกระทบต่อการเรียน และการใช้ชีวิตประจำวันได้ วันนี้ theAsianparent Thailand จะพาคุณพ่อคุณแม่ทุกคนมาดูกันว่าอาการ เด็กขี้ลืม เกิดจากสาเหตุอะไร และมีวิธีใดที่จะช่วยให้ลูกความจำดีขึ้นบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว เรามาดูกันเลยค่ะ

 

เด็กขี้ลืม เกิดจากอะไร

อาการขี้ลืมของเด็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่นั้นอาจมาจากสมอง และความจำยังพัฒนาได้อย่างไม่เต็มที่ ทำให้บางครั้งลูกจึงเกิดอาการหลงลืมขึ้นได้ โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ลูกขี้ลืมนั้น เกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้

  • สมองยังพัฒนาไม่เต็มที่

เวลาที่ผู้ใหญ่สอนสิ่งใหม่ ๆ ให้แก่ลูก เขาก็จะเริ่มจดจำสิ่งสิ่งนั้นไว้ในสมองแทนการจำเรื่องเดิม ๆ ทำให้บางครั้งลูกจึงเกิดอาการหลงลืม เนื่องจากเด็กเล็กมีความรู้ในคลังสมองน้อย การเรียนรู้เรื่องราวใหม่ ๆ อาจเป็นเรื่องที่ยากสำหรับเขา เช่น คุณแม่สอนลูกใส่รองเท้าอย่างถูกต้อง วันต่อมาเด็กก็อาจจะลืมไปแล้วก็ได้ ดังนั้นคุณแม่สามารถสอนพวกเขาบ่อย ๆ เพื่อให้เขาจำได้ค่ะ

 

  • ไม่ใส่ใจ

อย่างที่รู้กันดีว่าเด็ก ๆ อาจสนใจสิ่งต่าง ๆ เป็นครั้งคราว แต่เมื่อเขาโตขึ้น เขาก็พร้อมจะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เสมอ อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนอาจไม่ค่อยสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ส่งผลให้เด็กเกิดอาการหลงลืมได้ แต่คุณแม่ก็สามารถช่วยลูกแก้ปัญหานี้ โดยการให้ลูกทวนสิ่งที่เขาพูด หรือสิ่งที่เขาได้เรียนรู้ ก็จะเป็นการย้ำเตือนให้ลูกเกิดอาการจำได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 สัญญาณบอกว่า “ลูกความจำดี” สามารถสังเกตจากอะไรได้บ้าง

 

เด็กขี้ลืม

 

  • ความจำไม่ดี

เด็กยังมีความจำไม่ดีเท่ากับผู้ใหญ่ ทำให้ลูกอาจจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้ไม่ดี จนเกิดอาการหลงลืม คุณพ่อคุณแม่อาจต้องรอให้เขาโตขึ้นหน่อย แล้วค่อย ๆ สอนลูกโดยใช้การท่องจำ หรือการร้องเพลงง่าย ๆ ก็จะช่วยให้ลูกรู้สึกคุ้นเคย และมีความจำดีขึ้น

 

  • ได้รับบาดเจ็บที่สมอง

สำหรับเด็กที่ได้รับบาดเจ็บที่สมอง อาจมีอาการหลงลืมมากกว่าเด็กคนอื่น ๆ หากลูกเกิดอาการบาดเจ็บทางสมองที่เกิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือการหกล้มอย่างรุนแรง ก็อาจส่งผลกระทบต่อสมอง และความจำของลูกนั้น ดังนั้นหากลูกมีอาการบาดเจ็บที่หัว หรือสมอง ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับตรวจหาการกระทบกระเทือนทางสมอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : 12 กิจกรรมเด็ก หลากหลายไอเดียทำสนุกๆ กับลูกได้ไม่ซ้ำ 

 

เด็กขี้ลืม มีวิธีไหนช่วยลูกได้บ้าง

การที่ลูกขี้ลืมสิ่งต่าง ๆ อาจเกิดการที่ลูกไม่ค่อยใส่ใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เพราะเด็กวัยนี้มักสนใจแค่เรื่องตัวเองเท่านั้น เรามาดูวิธีที่ช่วยให้ลูกความจำดีขึ้นกันดีกว่าค่ะ

  • ใช้ของกระตุ้นความจำ

คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีการติดโน้ตไว้รอบ ๆ สิ่งของทั่วบ้าน หรือใช้ของกระตุ้นความจำให้แก่เด็ก เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว และเป็นการเตือนให้ลูกรู้ว่ามีสิ่งที่ต้องทำ เช่น การให้ลูกถือแฟ้มงาน คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกแฟ้มที่มีสีสันที่ลูกชอบ และให้เขานำการบ้านใส่ไว้ในนั้น เมื่อกลับมาบ้าน ลูกก็จะจำได้ว่ามีการบ้านที่ต้องทำอยู่ในแฟ้ม ก็จะเป็นการช่วยให้ลูกหายจากอาการขี้ลืมได้ค่ะ

 

  • สร้างกิจวัตรให้ลูก

คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างกิจวัตรให้ลูกง่าย ๆ ด้วยการให้จัดตารางกิจวัตรให้แก่ลูก ซึ่งกิจวัตรแต่ละอย่างนั้น ได้แก่ การอ่านหนังสือ การทำการบ้าน การทำงานบ้าน หรือการพักผ่อนได้ นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถฝึกให้เด็ก ๆ จัดตารางเรียนก่อนนอน หรืออ่านนิทานก่อนนอน ก็จะทำให้ลูกสร้างนิสัยกิจวัตรเป็นประจำ จนในที่สุดอาการหลงลืมก็หายไปได้

 

  • ไม่ทำกิจกรรมหลายอย่าง

การทำกิจกรรมหลายอย่างพร้อมกัน หรือทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างในวันเดียวกัน อาจทำให้ลูกเกิดอาการสับสน และหลงลืมขึ้นได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ลูกทำกิจกรรมอย่างเดียว เพื่อฝึกสมาธิให้แก่เขา หากคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกทำหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน ก็จะส่งผลให้ลูกไม่มีสมาธิ จนจำอะไรไม่ได้เลย

 

 

เด็กขี้ลืม

 

  • พาลูกทำกิจกรรมฝึกสมอง

การทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางสมอง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กเป็นอย่างมาก เนื่องจากเด็กวัยนี้ กำลังอยู่ในช่วงพัฒนา คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องสนับสนุนให้ลูกทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาสมอง และความจำของเขา โดยกิจกรรมที่ดีแก่การกระตุ้นความจำนั้น ได้แก่ การอ่านหนังสือ การเล่นเกม การเล่นดนตรี และการประดิษฐ์ของ เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้สามารถช่วยให้เด็ก ๆ พัฒนาทักษะทางความคิด และสามารถแก้อาการขี้ลืมของลูกได้

 

  • พาลูกออกกำลังกาย

การออกกำลังกายนอกจากจะดีต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังดีต่อสมองอีกด้วย เนื่องจากเวลาเด็กออกกำลังกาย จะส่งผลให้เลือดไปหล่อเลี้ยงสมองเพิ่มมากขึ้น ทำให้สมองมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ อีกทั้งยังส่งผลให้จดจำได้ดีขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นการพาลูกออกกำลังกาย และกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ฟุตบอล วิ่งผลัด โหนบาร์ หรือว่ายน้ำ ก็จะช่วยกระตุ้นให้สมองได้พัฒนาจนส่งผลต่อความจำได้ดีค่ะ

 

  • ดูแลสุขภาพการกิน

นอกจากการออกกำลังกายแล้ว เรื่องอาหารการกินก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญมาก โดยคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์ให้แก่ลูกรับประทาน เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ นม และอาหารอื่น ๆ ให้ครบ 5 หมู่ ก็จะช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารสำคัญ ที่สามารถไปพัฒนาความจำ และสมองของเขาได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : กินอะไรแล้วลูกไม่โง่ 5 สุดยอดอาหารบำรุงสมองกินแล้วฉล๊าด ฉลาด

 

เด็กขี้ลืม

 

บทความจากพันธมิตร
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
  • อ่านนิทานหรือร้องเพลงกับลูก

อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ลูกมีความจำที่ดีขึ้น คือการพาลูกอ่านนิทาน หรือร้องเพลงกับลูกบ่อย ๆ เนื่องจากกิจกรรมทั้งสองอย่าง สามารถกระตุ้นความจำแก่ลูกได้เป็นอย่างดี โดยคุณพ่อคุณแม่อาจอ่านนิทานให้ลูกฟังซ้ำ ๆ ลูกก็จะสามารถจำตัวละคร หรือจำเรื่องราวได้ นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถร้องเพลงกับลูกบ่อย ๆ โดยอาจเป็นเพลงเด็กง่าย ๆ และมีความคล้องจอง ก็ช่วยให้ลูกจดจำได้ดียิ่งขึ้น

 

  • ให้ลูกทบทวนในสิ่งที่เรียนบ่อย ๆ

หลังจากที่ลูกได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มาแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกได้ทบทวนในสิ่งที่เรียนบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำการบ้าน การอ่านหนังสือ หรือการทบทวนบทเรียนเป็นประจำ ก็ช่วยให้ลูกมีความจำที่ดี โดยคุณพ่อคุณแม่อาจให้ลูกได้ทบทวนในสิ่งที่เรียนหลังจากกลับมาจากโรงเรียน เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ลูกได้เรียนรู้มา การทำแบบนี้บ่อย ๆ ก็จะส่งผลให้ความจำของเขาพัฒนาได้เองค่ะ

 

หากลูกมีอาการขี้ลืม ความจำไม่ค่อยดี คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจก่อนนะคะ ว่าเป็นเรื่องปกติของเด็กวัยนี้ เมื่อลูกโตขึ้นอาการขี้ลืมของเขาก็จะค่อย ๆ หายไปเองค่ะ แต่หากคุณแม่พบว่าลูกมีอาการหลงลืมจนถึงวัยประถมปลาย ควรพาลูกไปพบแพทย์ และปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการ เพื่อที่จะได้ตรวจหาสาเหตุ และช่วยให้ลูกสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขี้ลืมนี้ได้ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ไดโนเสาร์ ดีสำหรับเด็กอย่างไร ? พัฒนาสมอง เสริมสร้างความจำ

วิตามินเด็ก ต้องเสริมอะไรบ้าง? ทำไมเด็กถึงต้องกิน มีความจำเป็นอย่างไร?

เรียนยังไงให้เกรดพุ่ง แนะนำ 13 วิธีบริหารสมอง ให้มีความจำดี ไม่ยากต้องลองทำ

ที่มา : parenting.firstcry, TruePlookpanya, Phyathai

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sittikorn Klanarong

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เด็กขี้ลืม ความจำสั้น รับมืออย่างไร มีวิธีไหนช่วยให้ลูกความจำดีขึ้นบ้าง?
แชร์ :
  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

  • วิจัยเผย! วิธีรักษาดาวน์ซินโดรมแบบใหม่ ช่วยตัดโครโมโซมที่เกินออกได้

    วิจัยเผย! วิธีรักษาดาวน์ซินโดรมแบบใหม่ ช่วยตัดโครโมโซมที่เกินออกได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

  • วิจัยเผย! วิธีรักษาดาวน์ซินโดรมแบบใหม่ ช่วยตัดโครโมโซมที่เกินออกได้

    วิจัยเผย! วิธีรักษาดาวน์ซินโดรมแบบใหม่ ช่วยตัดโครโมโซมที่เกินออกได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว