ทำอย่างไรดี อยากเรียนเก่ง อยากได้เกรด 4 อยากเข้าใจในบทเรียน และนำมาใช้ประยุกต์ใช้ในการเรียนกับวิชาอื่นๆ ได้ ก่อนอื่นๆเลย เราต้องรู้ วิธีบริหารสมอง ซึ่งก็แน่นอนว่าสิ่งสำคัญก็คือ ตัวเราเอง ที่จะต้องมีระเบียบวินัย ขยัน ตั้งใจเรียน และทบทวนในเนื้อหาที่ได้เรียนไปทุกครั้ง เรามาดูกันดีกว่าว่า วิธีบริหารสมอง ง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเองจะมีอะไรบ้าง เริ่มกันเลย
13 วิธีบริหารสมอง ให้มีความจำดี
exercise your brain 1
1. ฝึกเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในชีวิตประจําวัน เช่น เปลี่ยนสถานที่ซื้อของ ที่กินอาหารกลางวัน ฟังวิทยุรายการใหม่ๆ หรือเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ที่ไม่เคยไป
2. ทํางานอดิเรกที่ไม่เคยทํา เช่น งานฝีมือ เย็บปักถักร้อย เรียนดนตรี เต้นรํา เล่นกีฬา หรือฝึกโยคะ
3. เล่นเกมฝึกสมอง เช่น ปริศนาอักษรไขว้ ปัญหาเชาวน์ หมากฮอส และหมากล้อม หรือฝึกฝนความจําโดยพยายามจําหน้าและชื่อของบุคคลสําคัญ หรือเปิดพจนานุกรมท่องคําศัพท์ใหม่ๆ
4. ทําสมาธิและฝึกตั้งสติ โดยกําหนดจิตให้รู้เท่าทันตนเองว่าขณะนี้มีอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร กําลังทําอะไร หรือจะไปที่ไหน
5. นัดพบเพื่อนฝูง พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือข่าวสารที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวัน เพื่อฝึกสมองให้รู้จักคิดวิเคราะห์
6. สมัครเข้าชมรมต่างๆ ทํากิจกรรมแปลกใหม่และทําความรู้จักกับเพื่อนใหม่
7. เปลี่ยนการใช้ประสาทสัมผัสที่เคยใช้เป็นประจํา เช่น ใช้มือข้างไม่ถนัดหยิบของ เขียนหนังสือวาดรูป ปั้นดินน้ํามัน หรือ กวาดบ้าน
8. ฟังเพลงคลาสสิก ช่วยกระตุ้นการทํางานของสมอง ทําให้มีสมาธิและความจําดี
9. ฝึกผ่อนคลายสมองด้วยการมองโลกในแง่ดี มีเมตตา หมั่นนึกถึงแต่ประสบการณ์ดีๆ หัดเป็นคนยิ้มง่ายและมีอารมณ์ขัน
10. สร้างสมาธิก่อนเรียนหรือทำงาน สร้างสมาธิก่อนเรียนหรือทำงาน โดยนั่งบนเก้าอี้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องหลับตา เพียงให้มีสติรู้ลมหายใจเข้า-ออก กำหนดจุดเพ่งมอง ปฏิบัติประมาณ 5-10 นาที ช่วยขจัดความยุ่งเหยิงทางใจ สมองคลายเครียด พร้อมใช้ความคิด ทั้งยังรับรู้ และเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
11. ลดความเร็วในการเดิน ให้จิตใจจดจ่ออยู่กับการก้าว สลับกับพิจารณาสิ่งแวดล้อมรอบตัว ช่วยผ่อนคลายความเครียด และกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต สามารถประยุกต์ใช้เมื่อเดินเล่น เดินไปเรียน และทำงานได้
12. รับประทานช้าลง โดยค่อย ๆ ตักอาหาร และเคี้ยวให้ละเอียด ไม่เพียงลดอาการท้องอืด และลดการทำงานหนักของกระเพาะอาหาร ยังเป็นการฝึกรวบรวมสมาธิให้จดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำด้วย
13. เลี่ยงคาเฟอีนเข้มข้น แม้คาเฟอีนจัดเป็นสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ลดความง่วง เหนื่อยล้า เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า ทำให้กลไกการคิดรวดเร็ว และมีสมาธิขึ้น แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับในปริมาณไม่มากเกินไป โดยเฉพาะวัยเรียน อาจลดความเข้มข้นจากการดื่มกาแฟเป็นชาแทน
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : การเรียนรู้และการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ ของเด็กวัยหัดเดินมีความสำคัญอย่างไร
และนี่คือ 5 วิธีที่จะทำให้น้อง ๆ มีผลการเรียนที่ดีขึ้น เกรดพุ่งทุกวิชา
exercise your brain 2
1. แปลงข้อความให้เป็นภาพ อ่านง่ายขึ้น
สมองของคนเราสามารถจดจำภาพได้ดีกว่าข้อความ ดังนั้น วิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยทำให้เราอ่านหนังสือได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นก็คือ การแปลงข้อความต่าง ๆ ให้เป็นภาพ ซึ่งจะช่วยทำให้เราเข้าใจและจดจำข้อมูลต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม เราอาจจะแปลงเป็นแผนภูมิแท่ง แผนภูมิวงกลม และแผนที่ความคิด ก็ได้ หรืออาจจะเปลี่ยนวิธีการจดแลคเชอร์ที่มีแต่ตัวอักษรอย่างเดียวให้มีภาพประกอบด้วยก็ช่วยทำให้เราเข้าใจได้ดีเหมือนกัน
2. จับความรู้มาเชื่อมโยงกัน (เก่า+ใหม่)
สำหรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ให้เราพยายามเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้มาใหม่เข้ากับความรู้พื้นฐานที่มีอยู่แล้ว จะช่วยทำให้เข้าใจข้อมูลใหม่ ๆ ที่เราได้เรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น เช่น การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ คำว่า sue ที่แปลว่า ฟ้องร้อง ซึ่งจะมีการออกเสียงคล้าย ๆ กับคำว่า สู้ ในภาษาไทย เราก็สามารถนำคำมาเชื่อมโยงได้ว่า sue คือการสู้กันในศาล เท่ากับคำว่า ฟ้องร้อง เป็นต้น (แบบนี้ก็จะช่วยทำให้เราจดจำได้ดียิ่งขึ้น)
3. ติวให้เพื่อน ๆ
การติวให้กับเพื่อน ๆ นอกจากจะเป็นการทบทวนความรู้ให้กับตนเองไปในตัวแล้ว ยังช่วยทำให้สมองของเราได้มีการพัฒนา ปรับปรุง ในสิ่งที่เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันด้วย ทำให้มีการจัดวางระเบียบความรู้ได้ดียิ่งขึ้น เข้าใจสิ่งที่เรียนมากขึ้น และเกิดเป็นความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : 5 ทริคพัฒนาสมอง ลูกเล่นคนเดียว ไม่ต้องเสียว วิจัยเผยเล่นคนเดียวก็ฉลาดได้
4. ตั้งใจเรียน ไม่นั่งจดอย่างเดียว
น้อง ๆ บางคนเวลาเรียนในห้องมักจะชอบก้มหน้าก้มตาจดตามสไลด์ ที่อาจารย์สอนอย่างเดียว เพราะกลัวจะจดไม่ทัน โดยที่ไม่ได้คิดเลยว่าในขณะที่เรากำลังก้มหน้าจดอยู่นั้น เราได้ฟังอาจารย์อธิบายหรือเปล่า เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอนหรือไม่ ซึ่งเราก็ไม่ได้บอกนะว่าการจดเป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่เพียงแค่อย่าลืมว่าเราจะต้องมีสมาธิในการฟังและคิดวิเคราะห์ตามที่อาจารย์กำลังสอนตามไปด้วย เพื่อที่จะทำให้เราเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนมากขึ้น และจะได้รู้ว่าตรงไหนที่อาจารย์เน้น หรือจะออกสอบ เพราะถ้าเราไม่ตั้งใจฟังอาจจะพลาดในสิ่งที่สำคัญไปได้
5. ฝึกจับประเด็นให้เป็น
การจับประเด็นไม่ใช่แค่การย่อความหรือสรุปความ แต่เป็นการคิดวิเคราะห์ให้เกิดความแตกฉานว่าอะไรคือหัวใจหลักในการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ หรือหัวใจหลักที่อาจารย์ต้องการจะสอน ดังนั้นเวลาที่อ่านหนังสือจบบทแล้วก็อย่าลืมตั้งคำถามกับตัวเองด้วยว่า เรื่องที่ได้อ่านไปนั้นมีประเด็นสำคัญอยู่ตรงไหน หรือต้องการสื่อถึงเรื่องอะไรเป็นพิเศษ
exercise your brain 3
เวลาที่เหมาะสมในการอ่านหนังสือ
แล้วจะอ่านหนังสือตอนไหนถึงจะมีสมาธิและเข้าใจมากที่สุด แน่นอนว่าช่วงเวลาในการอ่านหนังสือ เป็นอีกปัจจัยที่มีผลค่อนข้างมากต่อการอ่านหนังสือ ดังนั้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการอ่านหนังสือคือ
1. ตอนกลางคืน
เวลาอ่านหนังสือในตอนกลางคืน คือ 20.00 น. – 23.00 น. และเวลาที่เราควรจะเข้านอนก็คือ 23.00 น. ด้วยบรรยากาศที่เงียบสงบจะช่วยทำให้เรามีจิตใจที่สงบ มีสมาธิ เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการความเงียบสงบ เวลาในตอนกลางคืนจึงเหมาะสมที่สุดในการอ่านหนังสือ
โดยให้เริ่มอ่านหนังสือจากวิชาที่เราถนัดเสียก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดในการอ่านวิชาต่อไป นอกจากนี้เรายังสามารถที่จะใช้เสียงดนตรีเข้ามาช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายเวลาอ่านหนังสือได้อีกด้วย และที่สำคัญอย่าลืม!! ปิดโทรศัพท์มือถือกันด้วยนะ (กันการรบกวนและทำให้เสียสมาธิในการอ่าน)
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : 5 สถานที่เสริมพัฒนาการเด็ก พัฒนาสมองผ่านการเล่นกิจกรรม
2. ตอนเช้า
เวลาในการอ่านหนังสือในตอนเช้า คือ 03.00 น.- 06.00 น. ส่วนเวลานอนที่ดีก็คือ เวลา 20.00 น. การอ่านหนังสือในเวลานี้จะทำให้สมองของเรามีประสิทธิภาพในการอ่านมากขึ้น เพราะได้รับการพักผ่อนก่อนอ่านหนังสือมาแล้ว เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการกระตุ้นความจำจากการอ่านหนังสือในตอนเช้า
โดยให้เราตั้งนาฬิกาปลุกแบ่งออกเป็นช่วง ๆ เพื่อกันไม่ให้เผลอหลับระหว่างการอ่านหนังสือ หรือถ้ารู้สึกง่วงก็ให้ยืดเส้นยืดสาย เพื่อเป็นการกระตุ้นร่างกายให้รู้สึกตื่น หรือจะลุกไปล้างหน้า ก็จะช่วยทำให้รู้สึกสดชื่นได้เหมือนกัน
ที่มา : health.campus-star
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
แจกเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณลูกไม่ปวดตา
เทคนิค ทำอย่างไรให้ลูกรักการอ่านหนังสือ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!