ลูกหกล้ม เป็นเหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะกับเด็กวัยหัดเดิน และเด็กประถมซึ่งเป็นช่วงวัยที่ซุกซนเป็นอย่างมาก ซึ่งบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจไม่ทันสังเกตว่ามีลูกมีอาการบาดเจ็บที่ร้ายแรงจนถึงขั้นกระทบกระเทือนศีรษะ หรือกระดูกหัก วันนี้ theAsianparent Thailand จะพาคุณพ่อคุณแม่ทุกคนไปเรียนรู้วิธีการรับมือเมื่อลูกหกล้มค่ะ พร้อมแล้ว ไปดูกันเลย
ลูกหกล้ม เกิดจากอะไร?
ลูกหกล้มอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยจะขึ้นอยู่กับอายุของลูก และสถานการณ์ต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว สำหรับเด็กทารก และเด็กโตอาจมีสาเหตุแตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้
- วิ่งเล่น
- ตกจากเตียง
- ล้มเพราะเปลี่ยนโต๊ะ
- ปีนป่ายบนที่สูงแล้วล้มลงมา
- พ่อแม่สะดุดจนปล่อยลูกหลุดมือ
- พ่อแม่หลับหรือโยกตัวจนลูกหลุดมือ
- ตกบันได เพราะชอบสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
สัญญาณเตือนก่อนลูกหกล้ม
แม้ว่าการหกล้ม จะเป็นอาการบาดเจ็บที่ไม่ร้ายแรง แต่จากสถิติแล้ว มีเด็กประมาณ 8,000 คนทั่วโลก ได้รับการรักษาจากการหกล้มทุกวัน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรให้สำคัญ และระมัดระวัง สภาพแวดล้อมต่าง ๆ อยู่เสมอ โดยส่วนใหญ่แล้ว หากลูกน้อยหกล้ม พวกเขาจะร้องไห้ทันที แม้ว่าจะไม่มีเลือดออก หรืออาการบาดเจ็บใด ๆ ก็ตาม แต่หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีอาการบาดเจ็บร้ายแรง ควรพาลูกน้อยไปหาหมอทันที โดยอาการบาดเจ็บที่ร้ายแรงนั้น มีดังนี้
- ลูกหมดสติ
- ลูกเริ่มอาเจียน
- ลูกมีอาการชัก
- แขน ขา คอหัก
- เลือดออกจากจมูก หรือหู
- มีรอยซ้ำ เลือดออก บวมที่ศีรษะ
- กระหม่อม หรือกะโหลกศีรษะบวม
- ลูกมีอาการเซื่องซึม ไม่อยากอาหาร
หากลูกมีอาการชัก บาดเจ็บที่ศีรษะ คอ และกระดูกสันหลัง คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรตกใจจนเกินไป ให้รีบปลอบลูก แล้วอย่าพึ่งอุ้มพวกเขา เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ จึงควรโทรหาโรงพยาบาล เพื่อให้รถพยาบาล มารับตัวลูกไปรักษาต่อไป
บทความที่เกี่ยวข้อง : แค่ลูกหกล้มเป็นแผล อาจติดเชื้อรุนแรงกลายเป็น โรค ไฟลามทุ่ง
รับมืออย่างไรเมื่อลูกหกล้ม?
หากลูกไม่ได้เป็นอะไรมากนัก คุณพ่อคุณแม่ควรปลอบใจเขาก่อนเป็นอันดับแรก แล้วอาจอุ้มเขาขึ้นมาเพื่อปลอบใจ ก็จะช่วยให้ลูกรู้สึกสบายใจได้ นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปทำแผล รวมถึงตรวจเช็กร่างกายลูกต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ประคบเย็นบริเวณที่ลูกบาดเจ็บ
- โทรหาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ
- ทาครีมป้องกัน และใช้ผ้าพันแผลปิดแผล
- ทำความสะอาดบาดแผล ด้วยสบู่ และน้ำสะอาด
- เฝ้าระวังลูกน้อย หากลูกมีอาการบาดเจ็บผิดปกติ
- หากลูกง่วงนอน คุณพ่อคุณแม่อาจปล่อยให้ลูกน้อย แต่ควรตรวจดูเขาครั้งละ 2 ชั่วโมง เพื่อให้แน่ใจว่าลูกปลอดภัยดี
ลูกหกล้ม ควรปล่อยให้ลุกด้วยตัวเองดีไหม?
ถ้าลูกหกล้มเบา ๆ ไม่หนักมาก คุณพ่อคุณแม่อาจมองลูกอยู่ห่าง ๆ แล้วให้กำลังใจ เช่น “เป็นอะไรไหมลูก” ถ้าลูกลุกเองได้ ให้ชื่นชมเขาว่า “เก่งจังลูก หนูลุกเองได้ เก่งมาก” แต่ถ้าลูกเจ็บจนร้องไห้ คุณพ่อคุณแม่อาจเดินไปกอด พร้อมบอกว่า “เจ็บตรงไหนลูก กอดแม่ไว้นะ ไม่เป็นไร เดี๋ยวมันก็หาย” ลองชวนลูกพูดคุย แล้วเป่าแผลให้ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้กับความเจ็บปวด เพราะเมื่อลูกได้รู้ว่านี่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ พวกเขาก็จะรู้สึกแข็งแรงขึ้นเอง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่อย่ากลัวลูกจะล้มนะคะ เพราะทุกครั้งที่เขาล้ม ลูกจะรู้สึกภูมิใจที่พวกเขาลุกขึ้นเองได้ แต่หากเกิดอาการบาดเจ็บที่ร้ายแรง คุณพ่อคุณแม่ก็ควรเป็นคนแรก ที่เขาไปปลอบลูก และดูแลค่ะ
เมื่อไหร่ที่ควรพาลูกไปหาหมอ?
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น หากคุณพ่อคุณแม่ประเมินว่าลูกมีอาการบาดเจ็บที่ร้ายแรง ก็ควรเรียกรถพยาบาล หรือรีบพาลูกไปโรงพยาบาลทันที แต่ก็ควรระมัดระวังในกรณีที่ลูกกระดูกหัก เพราะกระดูก และกะโหลกของเด็กเล็ก เปราะบางมากกว่าเด็กโตนั้นเอง โดยคุณพ่อคุณแม่อาจโทรไปปรึกษาหมอได้ในระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากลูกหกล้ม เพื่อที่จะได้อยู่ในช่วงดูแลความปลอดภัยของลูกได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงอาจปรึกษากับแพทย์ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- อธิบายว่าลูกหกล้มอย่างไร และได้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไรแล้วบ้าง
- บอกส่วนที่บาดเจ็บอื่น ๆ หรือสัญญาณของการถูกบาดเจ็บ
- ถามแพทย์ว่าจำเป็นต้องตรวจดูลูกน้อยในตอนที่เขาหลับหรือไม่
- แพทย์อาจแจ้งให้คุณพ่อคุณแม่มีการติดตามผล และต้องทำอย่างไร เพื่อวางแผนความปลอดภัยในบ้าน และป้องกันการหกล้มของลูกน้อยในอนาคต
บทความที่เกี่ยวข้อง : ป้องกันลูกน้อยจากโรงรถ ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องซักรีด ป้องกันอย่างไรจึงปลอดภัย
วิธีป้องกันลูกหกล้ม บาดเจ็บ
อย่างที่รู้กันว่าอาการหกล้มนั้น ส่วนใหญ่สามารถรักษา และป้องกันได้ โดยวิธีการป้องกันการหกล้มนั้น สามารถทำได้ด้วยวิธี ดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการใช้รถหัดเดิน
- วางประตูกั้นเด็กบนบันไดทั้งหมดในบ้าน
- อย่าทิ้งลูกน้อยอยู่คนเดียว หรือเล่นคนเดียว
- ใช้เข็มขัดนิรภัยบนเบาะรถ และเก้าอี้เด็กเสมอ
- ยกเปลของลูกน้อยสูงขึ้น และตรวจสอบความมั่นคงของเปล
- อย่าทิ้งคาร์ซีต หรือเบาะนั่งของเด็กไว้ยกระดับ เมื่อลูกนั่งอยู่ในนั้น
- หากลูกน้อยคลาน หรือเดิน คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าดูพวกเขาอยู่ตลอดเวลา
- วางเฟอร์นิเจอร์ให้ห่างจากหน้าต่าง และตรวจสอบตู้ ลิ้นชิ้น และทีวีที่ติดผนังอยู่เสมอ
เมื่อลูกหกล้ม คุณพ่อคุณแม่อาจตกใจจนทำอะไรทำไม่ถูก สิ่งสำคัญคือ อย่าพึ่งดุว่าลูก ให้ปลอบใจพวกเขาเพื่อให้ลูกรู้สึกสบายใจ และรีบตรวจสอบอาการ หากลูกไม่เป็นอะไรมาก ให้รีบพาเขาไปทำแผล แต่หากลูกมีอาการบาดเจ็บที่ร้ายแรง คุณพ่อคุณแม่ควรโทรหาโรงพยาบาล หรือรีบพาลูกไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
การห้ามเลือด หากลูกบาดเจ็บ หรือเป็นแผลต้องทำอย่างไร
ลูกซน ลูกดื้อ ลูกอยู่ไม่นิ่งชอบการปีนป่าย ต้องทำอย่างไรดี ?
ลูกเดินเซ ทรงตัวไม่อยู่ เป็นสัญญาณของอันตรายหรือไม่? เกิดจากอะไร
ที่มา : hellokhunmor, bangkoklife
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!