X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 สัญญาณบอกว่า "ลูกความจำดี" สามารถสังเกตจากอะไรได้บ้าง

บทความ 5 นาที
10 สัญญาณบอกว่า "ลูกความจำดี" สามารถสังเกตจากอะไรได้บ้าง

คุณพ่อคุณแม่อยากมีลูกความจำดี ใช่ไหมคะ เราสามารถสังเกตจากพฤติกรรมของลูกที่บ่งบอกว่า พวกเขาเป็นเด็กที่มีไหวพริบ ฉลาดได้ไม่ยาก เพียงแต่ต้องเรียนรู้ไปกับลูกๆ ด้วยค่ะ

ลูกความจำดี พัฒนาการที่คุณพ่อคุณแม่คาดหวังอยากให้ลูกเป็นเด็กฉลาด มีความจำดี เพื่อให้พวกเขาเจริญเติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ ซึ่งเราสามารถสังเกตทักษะและพรสวรรค์ของลูกน้อยได้แต่เดือนแรก ว่าพวกเขามีพัฒนาการอย่างไร เพื่อทราบว่า ลูกของเรานั้นเป็นเด็กที่มีความจำดี สมองไว มีไหวพริบและเรียนรู้จดจำสิ่งต่างๆ ได้รวดเร็ว

 

ลูกความจำดี ดูจากอะไรได้บ้าง

ลูกความจำดี สามารถสังเกตได้จากอะไร

10 สัญญาณและวิธีสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยตั้งแต่เดือนแรกๆ ว่าพวกเขากำลังจะสื่ออะไรและมีพัฒนาการไปอย่างไร

1. ลูกรับรู้การตอบสนอง

เมื่อลูกวัยประมาณ 2-3 เดือน เขาจะเริ่มมีความจำสะสมมาตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา รับรู้การตอบสนองจากคุณพ่อคุณแม่ เช่น หากเขาร้อง แม่ก็จะอุ้มขึ้นอกทันที หรือจะได้ยินเสียงคุณแม่ปลอบใจ เสียงโอ๋ มากไปกว่านั้น เด็กทารกบางคนสามารถจดจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวานได้อีกด้วย

 

2. ลูกจำกลิ่นของแม่ได้

โดยเฉพาะกลิ่นตัวของแม่ กลิ่นน้ำนมของแม่สังเกตได้ว่า หากมีบุคคลอื่นมาป้อนนมหรืออุ้มตอนเวลาเขาร้อง เขาอาจจะปัดป้องไม่เอาด้วย แต่จะเข้าหาคุณแม่เพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งการที่ลูกน้อยจำได้เป็นเพราะกลิ่นตัวของคุณแม่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ต่อให้แม่จะไปอาบน้ำมาแล้ว แต่ลูกสามารถจดจำกลิ่นตัวหรือแม้แต่เสื้อผ้าของคุณแม่พวกเขาเอง

 

3. ลูกเริ่มจำหน้าใครๆ ได้

เมื่อลูกเข้าวัย 3-5 เดือน หากคุณพ่อคุณแม่ใกล้ชิดกับลูกบ่อยๆ เด็กวันนี้จะเริ่มจำหน้าพ่อแม่ได้แล้ว เมื่อร้องไห้หรือรู้สึกไม่มั่นคง เด็กก็จะโผเข้าหาพ่อแม่ทันที ในขณะเดียวกัน หากลูกๆ ใกล้ชิดกับญาติ เช่น พี่น้อง หรือ คุณย่าคุณยาย จนรู้สึกสนิทใกล้ชิดทุกวัน ความคุ้นเคยจะทำให้เขาจดจำคนเหล่านั้นได้เร็ว อาจจะมีคำเรียกพิเศษ ซึ่งกันและกัน พอเรียกทารกน้อย เขาจะหันเพราะจดจำญาติคนนี้ได้ทันที นั่นหมายความว่า ลูกน้อยมีความสามารถในการจดจำหน้าคนได้ดี

 

4. จำชื่อคนอื่นได้แล้ว

หากเลี้ยงลูกด้วยการเรียกชื่อเล่นบ่อยๆ แล้วลองสังเกตดู จะพบว่าในวัย 6 เดือน ลูกสามารถจดจำชื่อตัวเองได้แล้ว อีกทั้งเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่สามารถจดจำชื่อเรียกแต่ละคนได้แล้ว ไม่ว่าจะพี่น้อง ลุง ป้า น้า อา หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงในบ้าน นอกจากจะจำชื่อพ่อแม่ได้ไว เนื่องจากอยู่ด้วยกันตลอดเวลา ถ้าลูกโตขึ้นในวัย 1-2 ปี ก็จะเริ่มจดจำชื่อคน ชื่อตัวการ์ตูน จำชื่อเรียกสิ่งของต่าง ๆ ได้ แม้พวกเขาอาจจะยังออกเสียงเรียกชื่อนั้น ๆ ไม่ได้ แต่ลูกจะรู้ว่าเราเรียกอะไร เรียกใคร

 

5. เด็กๆ รู้ว่าแม่เก็บของเล่นไว้ไหน

ลูกความจำดี อีกหนึ่งเรื่อง คือ เด็กสามารถจดจำได้ว่าของเล่นของพวกเขาเก็บไว้ไหน ถ้าหากบ้านของคุณเก็บข้าวของอย่างเป็นระเบียบ คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้เลยว่า ลูกจะจำที่เก็บของเล่นได้ เช่นถ้าแม่ถามว่าตุ๊กตาอยู่ไหน ลูกอาจจะชี้ไปที่เก็บของ แม้เขาไม่สามารถพูดได้ก็ตาม หรือ หากลูกอยู่ในที่สามารถเดินเตาะแตะได้แล้ว หากคุณแม่ลองให้ลูกไปหยิบ หรือถามหาของเล่นชิ้นโปรด หากเขาหาเจอและจดจำได้ก็เป็นอีกสัญญาณที่บอกได้ว่า ลูกมีความจำดี ฉลาด มีไหวพริบดีอีกด้วย

 

6. ลูกสามารถตอบโต้ได้แล้ว

โดยปกติแล้ว คุณพ่อคุณแม่มักจะเล่นและสื่อสารกับลูกด้วยภาษาพูดและภาษากาย เช่น เมื่อคุณแม่ป้อนข้าว อาจจะบอกว่า “กินข้าว” หรือ “หม่ำๆ” ลูกก็จะจดจำว่าหากคุณแม่พูดหม่ำๆ เด็กก็จะอ้าปาก หรือ “ใช่” คือการพยักหน้า “ไม่ใช่” คือการส่ายหัว บางครอบครัวก็อาจจะเลี้ยงลูกด้วย 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ ซึ่งลูกอาจจะมีการตอบโต้ช้า อย่าเพิ่งตกใจค่ะ เพราะเด็ก 2 ภาษาต้องจัดระบบความคิดของตัวเองช้าสักหน่อย แต่เมื่อคุ้นชิน เด็กๆ จะมีพัฒนาการทางภาษารวดเร็วทีเดียว

 

7. ลูกมีพฤติกรรมเลียนแบบ

แม้ลูกยังไม่ถึง 1 ขวบ แต่การมีพฤติกรรมเลียนแบบของลูกๆ นั่นแสดงถึง ลูกมีความจำดี เช่น เวลาคุณพ่อคุณแม่แสดงวิธีการเล่นของเล่นชิ้นใหม่ให้พวกเขาดู หลังจากนั้น เขาอาจหยิบมาเล่นเอง ทำมือทำไม้แบบเดียวกัน แสดงว่าลูกมีการจดจำสิ่งที่ได้เห็นไปแล้ว แม้จะผ่านไปสัก 1-2 วันก็ตาม

 

8. ลูกอ่านหนังสือออกได้ไว

เด็กที่สามารถอ่านหนังสือได้ไว นั่นหมายความว่า ลูกความจำดี ซึ่งเมื่อถึงตอนนี้คุณพ่อคุณแม่จะดีใจมาก เพราะการอ่านหนังสือออกไว จะสามารถต่อยอดทางการศึกษาลูกได้เร็วขึ้น ทั้งนี้มีการศึกษาของประเทศอังกฤษที่ทดลองจากคู่แฝดทั้งหมด 2,000 คู่ พบว่า แฝดคนที่ 1 อ่านหนังสือได้ก่อนมีไอคิวสูงกว่าแฝดคนที่ 2 ผู้ที่อ่านได้ทีหลัง หมายความว่า การอ่านหนังสือยังเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยพัฒนาสมองของเด็ก  ยิ่งอ่าน ยิ่งฉลาด ยิ่งทำให้ลูกความจำดี

 

ลูกความจำดี ดูจากอะไรได้บ้าง

9. เด็กสามารถจำเป็นภาพ

การท่องจำโดยการออกเสียง เราเข้าว่า ลูกความจำดีเพราะการท่อง การพูดให้ตนเองได้ยิน แต่จริงๆ แล้ว เด็กที่มีพรสวรรค์ในการจำเป็นภาพ หรือมีความจำดี จะดูดซับและเก็บข้อมูลรายละเอียดได้ดีกว่า คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตดูค่ะ เวลาเราพาลุกๆ ไปเที่ยว ลูกไปเที่ยวสวนสัตว์ แล้วสามารถกลับมาวาดภาพนั้นได้ ยิ่งแสดงให้เห็นว่า การจำด้วยภาพ การนึกออกด้วยภาพ ยิ่งทำให้ลูกมีความจำดี

 

10. ลูกความจำดี มักจะโกหกเก่ง

อาจจะฟังแล้วน่ากลัวและคุณพ่อคุณแม่ไม่ชอบใจนัก แต่นักวิจัยด้านจิตวิทยาเด็ก เปิดเผยว่า เด็กที่มีความจำดีจะพูดโกหกได้เก่ง จากการทดสอบเด็กวัยอนุบาล โดยให้พวกเขาลองโกงในการเล่นเกม แล้วโกหกสิ่งที่ตัวเองทำ ซึ่งเด็กที่โกหกเก่งจะทำแบบทดสอบด้านความจำได้ดี ในเรื่องคำพูด เช่น จดจำคำศัพท์ ได้ดีกว่าการจดจำเป็นภาพ อย่างไรก็ตาม หากลูกโกหกย่อมไม่ใช่เรื่องดี คุณพ่อคุณแม่ต้องหาวิธีสอนลูกให้รู้ว่าโกหกไม่ดีอย่างไร

 

บทความที่เกี่ยวข้อง:  7 เคล็ดลับทำให้ลูกความจําดี เรียนเก่ง

อาหารบำรุงสมองช่วยให้ ลูกความจำดี

นอกจากพฤติกรรม พรสวรรค์ที่ติดตัวพวกเด็กมาตั้งแต่เกิด การดูแลสุขภาพร่างกายและสมอง ก็มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตให้พวกเขามีพัฒนาการที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป  ซึ่งหากอยากให้ลูกมีความจำดีมากขึ้นไปอีก ในวัยหลัง 6 เดือน คุณพ่อคุณแม่สามารถเสริมอาหารที่ช่วยลูกเรื่องความจำได้ เช่น

  • ไข่  – มีสารโคลีน ที่ช่วยพัฒนาสมองส่วนความจำ
  • ปลาทะเล – มีโอเมก้า 3 และมีไขมันดี ช่วยเพิ่มสมาธิและความจำของสมอง
  • ถั่วและเมล็ดพืช – มีวิตามิน E ชะลอการเสื่อมของสมองและช่วยเพิ่มสมาธิในการเรียนรู้ของเด็ก
  • อะโวคาโด – เสริมสร้างความจำในสมองให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • กระเทียม –  กระตุ้นให้สมองหลั่งเทโรนิน ชะลอความเสื่อมของเซลล์ประสาท

 บทความที่เกี่ยวข้อง:  วิธีฝึกลูกวัยอนุบาลให้ฉลาด เรียนเก่ง สมองไว พ่อแม่ต้องทำยังไง?

 

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

ลูกความจำดี ดูจากอะไรได้บ้าง

เคล็ดลับฝึกให้ลูกความจำดีแบบง่ายๆ

  • เกมหาของเล่น – คุณแม่ลองเอาของเล่นไปซ่อน แล้วลองบอกลูกว่า ซ่อนไว้ในกล่องเก็บของ เพื่อให้ลูกจดจำว่า ของเล่นมักจะเก็บไว้ที่กล่องเก็บของเล่นเสมอ
  • การจดบันทึก – คุณแม่ลองฝึกให้ลูกเขียนไดอารี่ บันทึกชีวิตประจำวันว่า วันนี้ทำอะไรบ้าง เช่น กินข้าวกับอะไร เล่นอะไรที่โณงเรียน เพื่อนชื่ออะไรบ้าง ซึ่งจะช่วยให้ลูกมีกระบวนการคิดที่ดี
  • หัดให้เล่นเกมพัฒนาความจำ – การต่อจิ๊กซอว์ การหาคำศัพท์ หรือการจับคู่ภาพเหมือน จะช่วยให้ลูกมีสมาธิ รู้จักแก้ปัญหา และทำให้ความจำดีขึ้นได้
  • เล่นเกมทายคำ – เกมทายชื่อคน ชื่อประเทศ ชื่อสถานที่ต่างๆ จะช่วยกระตุ้นความคิดของลูกได้ดี แต่ต้องเลือกเกมให้เหมาะสมกับวัย

เมื่อจับสัญญาณความจำดีของลูกได้แล้ว พ่อแม่ก็ต้องหมั่นฝึกฝนความจำ เพิ่มพูนทักษะให้ลูกน้อยมีความจำดีขึ้นไปอีก แต่สิ่งสำคัญคือต้องปล่อยให้ลูกเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องกดดันว่าลูกต้องจำให้ได้ เพื่อให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย อยากเรียนรู้และจดจำได้ด้วยตัวเอง

 

การรักษาระบบประสาทเพื่อให้ลูกมีความจำที่ดี

  1. ระวังเกิดการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะเพราะว่าหากสมองส่วนซีรีบรัมได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงอาจทำให้ความจำ เสื่อม หรือไม่สามารถจดจำสิ่งใหม่ๆ หรือความจำสั้นได้
  2. ป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมองเช่น พาลูกไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคสมองอักเสบตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด
  3. ให้ลูกผ่อนคลายความเครียดหากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกมีความเครียดสะสมเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อร่างกายและจิตใจ ลองพาเด็กๆ ไปทำกิจกรรมเช่น วิ่งเล่นออกกำลังกาย พาไปเล่นกับเพื่อน ทำให้ลูกสนุกสนานร่าเริง และพักผ่อนให้เพียงพอ
  4. ลูก ๆ ต้องมีการนอนหลับที่ดี เป็นการพักผ่อนสมองและร่างกายให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ เพราะขณะที่ลูกนอนหลับ ประสาททุกส่วนจะได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่
  5. วิตามิน B รวมนั้นสำคัญ นอกจากอาหารที่มีประโยชน์หลักๆ ที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว อย่าลืมให้ลูกรับประทานอาหารหรือวิตามิน B รวม เช่น อาหารที่มีวิตามินบี 1 ซึ่งมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง ทำให้สมองแข็งแรง แล้วยังมีวิตามิน B 5 และวิตามินบี 6 ที่พบได้ในเนื้อสัตว์ และผลไม้ ซึ่งอาหารประเภทนี้สามารถช่วยกระตุ้นและผลิตสารเคมีที่จำเป็นต่อสมองได้เป็นอย่างดีค่ะ

 

 

บทความที่น่าสนใจ

เล่นกับลูก 1-3 ปี กิจกรรมเสริมพัฒนาการ วัย 1-3 ปี วิธีเล่นกับลูกเสริมพัฒนาการตามวัย

ผลวิจัยชี้! ความสัมพันธ์พ่อลูก ยิ่งใกล้ชิดยิ่งเป็นเด็กดี เรียนเก่ง ลูกมีความสุขมากขึ้น

ประสาทสัมผัสทั้ง 5 พัฒนาการที่ดี เพื่อพัฒนาการที่ดีของทารกน้อย

 

ที่มา: 1 , 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • 10 สัญญาณบอกว่า "ลูกความจำดี" สามารถสังเกตจากอะไรได้บ้าง
แชร์ :
  • เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

    เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

  • เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

    เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

  • เด็กเล็กกินปลาหมึกได้ไหม ก่อนให้ลูกลองกินต้องระวังเรื่องไหนบ้าง ?

    เด็กเล็กกินปลาหมึกได้ไหม ก่อนให้ลูกลองกินต้องระวังเรื่องไหนบ้าง ?

  • เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

    เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

  • เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

    เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

  • เด็กเล็กกินปลาหมึกได้ไหม ก่อนให้ลูกลองกินต้องระวังเรื่องไหนบ้าง ?

    เด็กเล็กกินปลาหมึกได้ไหม ก่อนให้ลูกลองกินต้องระวังเรื่องไหนบ้าง ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ