X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่ท้องกินเมล็ดทานตะวัน ได้ไหม? มีความเสี่ยง หรือมีผลกับลูกในครรภ์หรือไม่?

บทความ 5 นาที
แม่ท้องกินเมล็ดทานตะวัน ได้ไหม? มีความเสี่ยง หรือมีผลกับลูกในครรภ์หรือไม่?

คุณแม่ท้องหลายคนมักจะมีปัญหาในเรื่องของการทานจุกจิก จนบางครั้งอาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งหลายครั้งคุณแม่ก็แยกไม่ออกว่า ที่กินเข้าไปนั้นเป็นเพราะหิว หรือความเหงาปากกันแน่ คุณแม่หลายคนบ้างก็เลือกทานเมล็ดแตงโม หรือเมล็ดทานตะวัน เพราะเชื่อกันว่า ไม่เสี่ยงเบาหวาน แต่จะมีประโยชน์กับคนท้องอย่างเราหรือไม่? แม่ท้องกินเมล็ดทานตะวัน ได้ไหม? เรามีคำตอบค่ะ

 

แม่ท้องกินเมล็ดทานตะวัน ได้ไหม? มีความเสี่ยง หรือมีผลกับลูกในครรภ์หรือไม่?

 

เมล็ดทานตะวัน ของกินเล่น เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ

ของทานเล่นที่เป็นธัญพืช กินอร่อย เคี้ยวเพลิน คงหนีไม่พ้นเมล็ดทานตะวัน หรือเม็ดทานตะวัน ที่เรานำมาคั่ว อบ แล้วนำมากะเทาะเปลือกทานเปล่า ๆ หรือนำไปเป็นส่วนประกอบอื่น ๆ ให้ได้ทานกันแบบเพลิน ๆ แล้วคุณหรือไม่ว่า เมล็ดน้อย ๆ อย่างเมล็ดทานตะวัน นั้น มีสรรพคุณทางโภชนาการมากมาย และยังมีประโยชน์กันสุขภาพของคนเรามากอีกด้วย

เมล็ดทานตะวันเป็นของทานเล่นที่อุดมไปด้วย วิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด และสารอาหารที่มีอยู่ในเมล็ดทานตะวันนี้ยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน หัวใจ และช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาสุขภาพทั่วไปได้อีกด้วย

เมล็ดทานตะวัน เป็นอาหารที่มีไขมันสูง ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดกลิ่นเหม็นหืน จึงง่ายกว่าอาหารประเภทอื่น ๆ คุณควรเก็บเอาไว้ในภาชนะที่มีอากาศถ่ายเท ในตู้เย็น หรือช่องแช่แข็ง เพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์

 

 

ประโยชน์ของเมล็ดทานตะวัน

เมล็ดทานตะวันเป็นเมล็ดที่เราจะเก็บเกี่ยวมาจากหัวดอกไม้ของต้นทานตะวัน ตัวเมล็ดจะมีลักษณะเป็นลายขาวสลับดำและแข็ง แต่เมื่อเรากะเทาะออกมา เราจะพบเมล็ดทานตะวันที่มีสีขาวขุ่น และเป็นเมล็ดที่อ่อนนุ่ม ซึ่งเราสามารถนำมารับประทานทั้งแบบดิบ หรือคั่ว หรือนำไปประกอบกับอาหารอื่น ๆ ได้

เมล็ดทานตะวันมีสารอาหารที่จำเป็นมากมายจำพวกกรดไขมันไม่อิ่มตัว (Linoleic Acid) ซึ่งเป็นสารอาหารที่ร่างกายเราไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ รวมถึงอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ประเภทโปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ อี เค บี2 วิตามินดี นอกจากนี้ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการรับประทานเมล็ดทานตะวันได้แก่

 

  • ป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด
  • ป้องกันและต่อต้านสารเคมีที่เป็นพิษ อันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งในปาก
  • เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น
  • ช่วยต่อต้านริ้วรอย ชะลออายุของเซลล์ผิว ทำให้ผิวสดใส เต่งตึง ดูอ่อนวัย
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  • ส่งเสริม และบำรุงสุขภาพหัวใจ เช่น ยับยั้งการเกิดภาวะหลอดเลือดตีบตัน เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 อาหารแหล่ง ไขมันดี อร่อยได้ เป็นมิตรต่อสุขภาพด้วย สายเฮลตี้ห้ามพลาด !!

 

แม่ท้องกินเมล็ดทานตะวัน ได้ไหม? มีความเสี่ยง หรือมีผลกับลูกในครรภ์หรือไม่?

 

แม่ท้องกินเมล็ดทานตะวัน ได้ไหม?

สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้น ก็ต้องบอกว่า เมล็ดทานตะวันเป็นอาหารทานเล่นที่เหมาะกับคุณเป็นอย่างมาก เพราะเมล็ดทานตะวันนั้นเป็นแหล่งของสังกะสี และโฟเลต ที่เหล่าคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้นมีความต้องการอย่างสูง ในขณะที่วิตามินอีที่มีอยู่ในเมล็ดทานตะวัน ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพของคุณแม่ก่อนคลอดอีกด้วย

สารอาหารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเมล็ดทานตะวันนั้น มีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดง และกล้ามเนื้อ อีกทั้ง โฟเลตยังช่วยป้องกันภาวะบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida) ที่มักจะเป็นปัญหาสำหรับคนท้อง สังกะสีจะช่วยสร้างอินซูลิน และเอนไซม์ ทำให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ จะได้รับการปกป้องจากภาวะเบาหวาน หรือน้ำตาลได้เลือดสูงอีกด้วย

 

แม่ท้องกินเมล็ดทานตะวัน ได้ไหม? มีความเสี่ยง หรือมีผลกับลูกในครรภ์หรือไม่?

 

ข้อเสียของการทานเมล็ดทานตะวัน

เช่นเดียวกันกับอาหารทุกประเภท แม้ว่าจะมีประโยชน์มากมายเพียงใดก็ตาม ย่อมมีข้อเสียในตัวของมันเองอีกด้วย เรามาดูกันว่า ข้อเสียของการทานเมล็ดทานตะวันนั้นมีอะไรบ้าง

 

  • มีปริมาณแคลอรี่ที่สูง

เมล็ดทานตะวันที่อุดมไปด้วยสารอาหารชนิดต่าง ๆ ในขณะเดียวกัน ก็มีแคลอรี่ที่สูงมากอีกด้วย คุณเชื่อหรือไม่ว่า เมล็ดทานตะวันอบเพียงแค่ 30 กรัมนั้น กลับให้พลังงานที่มากถึง 175 แคลอรี่ ซึ่งเทียบเท่า หรือมากกว่าไข่ดาว 1 ฟองเลยทีเดียว ดังนั้นการกินเมล็ดทานตะวันที่เราจำเป็นจะต้องแกะเปลือก หรือกะเทาะเปลือกออกในแต่ละเม็ด ก็เป็นการช่วยชะลอจังหวะการกิน และช่วยลดปริมาณแคลอรี่ได้อีกทางหนึ่ง ถึงอย่างไรก็ตาม เราก็ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป

 

  • มีปริมาณโซเดียมสูง

แม้ว่าขั้นตอนการแปรรูป จะไม่มีการใส่ส่วนผสมใด ๆ เข้าไป แต่เมล็ดทานตะวันบางชนิด จะคายความเค็มออกมาในช่วงระหว่างการแปรรูปอาหาร หรือบางครั้งผู้ผลิตต้องการให้เมล็ดทานตะวันมีรสชาติกลมกล่อม ก็มักจะนำไปอบกับเกลือ จึงทำให้ปริมาณโซเดียมจากการทานเมล็ดทานตะวันนั้นมีสูงพอสมควร

คาดว่าจากปริมาณเมล็ดทานตะวัน 30 กรัม จะมีปริมาณโซเดียมสูงถึง 174 มิลลิกรัม ซึ่งในแต่ละวัน ร่างกายคนเราควรรับปริมาณของโซเดียมไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้นหากคุณเลือกทานเมล็ดทานตะวัน ควรหลีกเลี่ยงจากแปรรูปที่มีการใส่เกลือเข้าไปเพิ่ม เพราะตัวของเมล็ด มีโซเดียมมากเพียงพอกับความต้องการแล้วนั่นเอง

 

  • แคดเมียมหรือโลหะหนัก

ในเมล็ดทานตะวันนั้น จะมีปริมาณของแคดเมียม หรือโลหะหนักที่มีอันตรายต่อไต ซึ่งสารตัวนี้ถูกดูดซึมมาจากดินที่ปลูก โดยทานตะวันจะนำสารที่เป็นโลหะหนักมาเก็บสะสมเอาไว้ที่เมล็ดของมัน ทำให้มีปริมาณที่ค่อนข้างสูงกว่าอาหารประเภทอื่น ๆ ซึ่งองค์กร WHO ได้แนะนำให้จำกัดปริมาณของแคดเมียมเอาไว้ที่ 490 ไมโครกรัม ต่อสัปดาห์ สำหรับผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม ดังนั้น หากคุณมีน้ำหนักที่ต่อกว่า ปริมาณแคดเมียมที่จำกัด ก็จะต้องลดลงตามไปด้วยเช่นกัน

การทานเมล็ดทานตะวันอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ร่างกายของเราได้รับสารแคดเมียมในปริมาณที่มาก เนื่องจากเกิดการสะสมที่ไต ดังนั้น นอกจากเราจะต้องจำกัดปริมาณที่ควรรับประทานต่อวันแล้ว เราก็ยังไม่ควรที่จะทานอย่างต่อเนื่องอีกเช่นกัน

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

 

อย่างไรก็ตาม แม่ว่าเมล็ดทานตะวันจะมีประโยชน์มากเพียงใดก็ตาม แต่การรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ นั่นก็คือไม่ควรเกินวันละ 30 กรัม หรือประมาณ 1 อุ้งมือ และไม่ควรทานติดต่อกันยาวนานมากจนเกินไป เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณนั่นเองค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เมนูต้นอ่อนทานตะวัน ทำง่ายหลายเมนู ประโยชน์เยอะ เด็กทานได้ ดีต่อสุขภาพ

น้ำมันดอกทานตะวัน ทำมาจากอะไรและดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่? 

ธัญพืช อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารสำหรับคนท้อง ที่ไม่ควรมองข้าม

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Arunsri Karnmana

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • แม่ท้องกินเมล็ดทานตะวัน ได้ไหม? มีความเสี่ยง หรือมีผลกับลูกในครรภ์หรือไม่?
แชร์ :
  • คนท้องกินข้าวเหนียวมะม่วงได้ไหม กินเพลิน ๆ ระวังเสี่ยงเบาหวาน !

    คนท้องกินข้าวเหนียวมะม่วงได้ไหม กินเพลิน ๆ ระวังเสี่ยงเบาหวาน !

  • นม UHT สำหรับแม่ท้อง สำคัญกว่าที่คิด เลือกแบบไหนให้ได้ประโยชน์ที่สุด

    นม UHT สำหรับแม่ท้อง สำคัญกว่าที่คิด เลือกแบบไหนให้ได้ประโยชน์ที่สุด

  • คนท้องกินปีโป้ เยลลี่ได้ไหม ของหวานยอดฮิต แต่โทษยอดฮอต

    คนท้องกินปีโป้ เยลลี่ได้ไหม ของหวานยอดฮิต แต่โทษยอดฮอต

  • คนท้องกินข้าวเหนียวมะม่วงได้ไหม กินเพลิน ๆ ระวังเสี่ยงเบาหวาน !

    คนท้องกินข้าวเหนียวมะม่วงได้ไหม กินเพลิน ๆ ระวังเสี่ยงเบาหวาน !

  • นม UHT สำหรับแม่ท้อง สำคัญกว่าที่คิด เลือกแบบไหนให้ได้ประโยชน์ที่สุด

    นม UHT สำหรับแม่ท้อง สำคัญกว่าที่คิด เลือกแบบไหนให้ได้ประโยชน์ที่สุด

  • คนท้องกินปีโป้ เยลลี่ได้ไหม ของหวานยอดฮิต แต่โทษยอดฮอต

    คนท้องกินปีโป้ เยลลี่ได้ไหม ของหวานยอดฮิต แต่โทษยอดฮอต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ