X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไม่อยากเป็น เบาหวานตอนตั้งครรภ์ ภัยร้ายที่รุนแรงกว่าที่คิด ต้องทำอย่างไร ?

บทความ 5 นาที
ไม่อยากเป็น เบาหวานตอนตั้งครรภ์ ภัยร้ายที่รุนแรงกว่าที่คิด ต้องทำอย่างไร ?

คุณแม่ไม่ว่าจะเป็นท้องแรก หรือเคยมีประสบการณ์ตั้งครรภ์มาแล้ว อาจมีความกังวลเกี่ยวกับ เบาหวานตอนตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ หากมีปัจจัยที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยง อีกทั้งยังเป็นภาวะที่สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อคุณแม่ และทารกในครรภ์ได้ด้วย

 

สาเหตุของเบาหวานตอนตั้งครรภ์

ในช่วงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ส่งผลต่อร่างกาย หรือสภาพอารมณ์หลายอย่าง รวมถึงทำให้ร่างกายของคุณแม่ท้องเกิดการต่อต้านอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีส่วนสำคัญ ในการทำหน้าที่ย่อยสารอาหารประเภทน้ำตาลอย่างกลูโคส เมื่อคุณแม่ท้องมีปริมาณอินซูลินน้อยลง จึงทำให้กลูโคสในร่างกายมีจำนวนมากขึ้น ไม่สามารถถูกย่อยสลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเกิด เบาหวานตอนท้อง ในที่สุด นอกจากสาเหตุนี้แล้วสำหรับคุณแม่อาจมีความเสี่ยงมาจากปัจจัยอื่นได้ด้วย ได้แก่

 

  • ประสบการณ์คลอดทารก : หากเคยคลอดทารกที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์สูง หรือ 4 กิโลกรัมขึ้นไป หรือคลอดทารกที่ไม่สมบูรณ์ หรือทารกเสียชีวิตมาก่อน จะทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
  • ปัจจัยเรื่องสุขภาพ : คุณแม่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคที่เพิ่มความเสี่ยงเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคอ้วน หรือเคยเป็นโรคเป็นโรคเบาหวานช่วงท้องมาก่อน เป็นต้น
  • ความเสี่ยงจากเชื้อชาติ : จากสถิติพบว่าชาวเอเชีย, อเมริกันอินเดียน, ลาตินอเมริกัน และแอฟริกัน มีโอกาสเกิดเบาหวานตอนท้องได้มากกว่าคนเชื้อชาติอื่น

 

นอกจากนี้หญิงวัย 30 ปีขึ้นไป, มีความดันโลหิตสูง หรือมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นภาวะนี้มาก่อน จะทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์ ควรมีค่าเท่าไหร่ มีวิธีตรวจวัดยังไง ระดับไหนอันตราย

 

วิดีโอจาก : Thai PBS

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวานตอนตั้งครรภ์

ภาวะนี้ไม่มีอาการที่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้อาการโดยรวมยังคล้ายคลึงกับการอาการของคนท้องทั่วไป เช่น ปัสสาวะบ่อย, กระหายน้ำ, ปากแห้ง และรู้สึกเหนื่อย เป็นต้น โดยส่วนมากการตรวจพบภาวะนี้ จะมาจากการเข้ารับการตรวจตามแพทย์นัดจากการฝากครรภ์ หรือการตรวจสุขภาพของคุณแม่เอง ทำให้การเฝ้าระวัง และมาตามแพทย์นัด เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะสามารถตรวจพบภาวะเบาหวานขณะท้องได้

 

ผลกระทบของภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ภาวะเบาหวานในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อตัวของคุณแม่เท่านั้น แต่ยังสามารถส่งผลต่อทารกน้อยในครรภ์ได้ด้วย ดังนี้

  • ผลกระทบต่อคุณแม่ : ทำให้ปริมาณของน้ำคร่ำเพิ่มมากขึ้นทำให้คลอดก่อนกำหนดได้, ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงครรภ์เป็นพิษเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นภาวะอันตรายที่คุณแม่ท้องต้องระวังอย่างมาก และความต่อเนื่องหลังคลอด ที่อาจเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
  • ผลกระทบต่อทารกในครรภ์ : ทารกจะผลิตอินซูลินออกมาจากตับอ่อนมากขึ้น ส่งผลให้มีน้ำหนักมากขึ้น จนมีอุปสรรคต่อการคลอด, หลังจากคลอดแล้วทารกอาจเสี่ยงภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จนมีอาการชัก และทารกอาจคลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้ทารกที่คลอดจากคุณแม่ที่มีภาวะเบาหวาน จะทำให้มีความเสี่ยงภาวะหายใจลำบาก

 

เบาหวานตอนตั้งครรภ์ เมื่อคลอดแล้วจะหายไหม ?

โดยปกติแล้วเมื่อคุณแม่คลอด ภาวะเบาหวานจะหายไปได้เอง แต่อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรเข้ารับการตรวจหลังจากคุณแม่คลอดแล้ว สามารถเข้าพบแพทย์ตามนัดหมาย เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพื่อความมั่นใจ โดยจะเป็นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดว่ายังสูงหรือไม่ หากพบว่ายังสูงอยู่ จะทำให้เสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 แพทย์จะทำการรักษาต่อไป หากคุณแม่มีการตั้งครรภ์อีกครั้งโอกาสที่จะเป็นเบาหวานตอนตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นกว่า 30 % จึงต้องดูแลตนเองให้ดีด้วยทั้งก่อน ระหว่าง และหลังตั้งครรภ์

บทความที่เกี่ยวข้อง : เบาหวานประเภท 2 สัญญาณเริ่มต้นของโรคเบาหวานประเภท 2 คืออะไร ?

 

เบาหวานตอนตั้งครรภ์

 

ดูแลคุณแม่ท้องที่เป็นเบาหวานอย่างไร ?

อย่างแรกที่คุณแม่ควรทำ คือ ปรึกษาแพทย์ทันที สอบถามสิ่งที่ต้องการรู้ โดยเฉพาะการปรับมื้ออาหาร สิ่งที่ควรทาน และสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง หรือทานให้น้อยลง จากนั้นให้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ได้อย่างเคร่งครัด ร่วมกับเพิ่มวิธีการดูแลรักษาร่างกายที่บ้าน ด้วยการออกกำลังกาย, ห้ามปล่อยให้ตนเองทานอาหารตามใจอยาก, มาตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง หากพบอาการผิดปกติ เช่น ลูกไม่ดิ้น, น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นไม่หยุด หรือท้องหยุดโต รวมไปถึงอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพ ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยทันที

 

จะป้องกันภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์อย่างไร ?

หากคุณแม่ไม่ต้องการเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลร่างกายของตนเอง โดยให้โฟกัสเรื่องน้ำหนัก ที่ต้องมีน้ำหนักพอดี ไม่เกินมาตรฐาน วิธีที่จะทำให้น้ำหนักของคุณแม่ไม่มาก มีอยู่หลายวิธี ได้แก่

 

  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น เพิ่มการทานผัก, ธัญพืช และผลไม้ เพราะกากใยอาหารที่สูง เน้นการรับสารอาหารให้ครบ 5 หมู่ พยายามเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาล หรือไขมัน
  • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติมากที่สุด ไม่ควรปล่อยให้น้ำหนักขึ้นไม่หยุด เช่น ออกกำลังกายที่มีความเหมาะสมวันละ 30 นาที ทั้งการปั่นจักรยาน, เล่นโยคะ หรือว่ายน้ำ เป็นต้น แต่ต้องศึกษาข้อควรระวังให้ดีก่อน
  • ทำการฝากครรภ์เพื่อรับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแพทย์จะทำการตรวจหาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ช่วงอายุครรภ์ 24 – 28 สัปดาห์ และมีการตรวจครั้งต่อ ๆ ไปตามที่แพทย์นัด

 

อาการโดยรวมของภาวะเบาหวานช่วงคุณแม่กำลังท้อง อาจดูเหมือนมีอาการที่ไม่ได้รุนแรง แต่ด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยในครรภ์ รวมถึงการเพิ่มความเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ คนรอบตัว และคุณแม่จึงควรใส่ใจในเรื่องนี้มากขึ้นด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เมนูอาหารคนท้องเป็นเบาหวาน สำหรับคุณแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

คุมน้ำหนักตอนท้อง อย่างไร ให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์พอดี

“ลดการเป็นเบาหวาน” ประโยชน์ของการให้นมลูก ของคุณแม่มือหลังคลอด

ที่มาข้อมูล : 1 2 3 4

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ไม่อยากเป็น เบาหวานตอนตั้งครรภ์ ภัยร้ายที่รุนแรงกว่าที่คิด ต้องทำอย่างไร ?
แชร์ :
  • คนท้องกินไส้อั่วได้ไหม ไขมันเยอะ พลังงานสูง จะกินอย่างไรให้ปลอดภัย

    คนท้องกินไส้อั่วได้ไหม ไขมันเยอะ พลังงานสูง จะกินอย่างไรให้ปลอดภัย

  • 50 ชื่อลูกจากตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทย โดดเด่นระฟ้า

    50 ชื่อลูกจากตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทย โดดเด่นระฟ้า

  • การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

    การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

  • คนท้องกินไส้อั่วได้ไหม ไขมันเยอะ พลังงานสูง จะกินอย่างไรให้ปลอดภัย

    คนท้องกินไส้อั่วได้ไหม ไขมันเยอะ พลังงานสูง จะกินอย่างไรให้ปลอดภัย

  • 50 ชื่อลูกจากตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทย โดดเด่นระฟ้า

    50 ชื่อลูกจากตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทย โดดเด่นระฟ้า

  • การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

    การตรวจเลือดเพื่อหาความพิการแต่กำเนิด คืออะไร จำเป็นต้องตรวจหรือไม่ ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ