X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำตาลในเลือดสูง อันตรายต่อคนท้องอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่

บทความ 5 นาที
น้ำตาลในเลือดสูง อันตรายต่อคนท้องอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่

การดูแลร่างกายในช่วงที่ท้องนั้น ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การเจ็บไข้ได้ป่วยในช่วงที่ตั้งครรภ์ อาจทำให้ร่างกายของคุณแม่อ่อนแอลง หรืออาจทำให้เด็กในท้องป่วยไปด้วยได้ หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่คนท้องต้องระวัง คือ น้ำตาลในเลือดสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อันตรายแค่ไหน เกิดจากอะไร วันนี้ theAsianparent Thailand มีคำตอบมาให้ เรามาดูไปพร้อมกันเลย

 

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง คืออะไร เกิดจากอะไร

น้ำตาลในเลือดสูง คือ ภาวะที่ร่างกายของคนเรา มีระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไป เกิดจากการที่ร่างกายมีอินซูลินน้อย หรือร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ได้ตามปกติ มักจะเกิดกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากปล่อยไว้นานและไม่ได้รับการรักษา เส้นประสาท หลอดเลือด เนื้อเยื่อ ไต และอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย อาจได้รับความเสียหาย รวมทั้งอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย

 

คนที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มักมีอาการอย่างไร

ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลในเลือดสูง อาจมีอาการตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนถึงขั้นโคม่า เช่น

  • มีน้ำตาลในเลือดสูง
  • เหนื่อยง่าย ร่างกายอ่อนแอ
  • ติดเชื้อทางช่องคลอดและผิวหนัง
  • รู้สึกหิวบ่อยกว่าปกติ
  • มีอาการปวดศีรษะ
  • เห็นภาพซ้อน
  • ปวดฉี่บ่อย
  • น้ำหนักลด
  • แผลหายช้า
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดช่องท้อง
  • ปากมีกลิ่นเหมือนผลไม้
  • หายใจถี่
  • ปากแห้ง
  • สับสน งุนงง
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • มีอาการโคม่า

บทความที่เกี่ยวข้อง : เบาหวาน ในเด็ก ภัยเงียบที่ผู้ปกครองต้องระวัง และดูแลอย่างใกล้ชิด

 

น้ำตาลในเลือดสูง

 

คนที่เสี่ยงมีน้ำตาลในเลือดสูง

กลุ่มคนที่เสี่ยงมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ คนที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ทานอาหารอย่างระมัดระวัง คนที่มีน้ำหนักตัวเยอะ คนที่มีญาติหรือคนในครอบครัวที่เคยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 คนที่เป็นโรคความดันโลหิตหรือคอเลสเตอรอลสูง

 

อาการแทรกซ้อนที่เกิดจาก น้ำตาลในเลือดสูง

คุณแม่ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและไม่ได้เข้ารับการรักษา อาจต้องพบเจอกับภาวะแทรกซ้อนระยะยาวอย่างโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด ระบบประสาทได้รับความเสียหาย ไตวาย เหงือกและฟันติดเชื้อ จอประสาทตาเสียหายหรืออาจตาบอด และอาจเป็นแผลติดเชื้ออย่างรุนแรง จนอาจต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นทิ้ง นอกจากนี้ ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น

  • Diabetic Ketoacidosis ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน เกิดจากการที่ร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น จนร่างกายนำไขมันมาใช้เป็นพลังงาน ซึ่งร่างกายจะผลิตกรดที่เรียกว่าคีโตนออกมา หากกรดชนิดนี้ซึมเข้าสู่ปัสสาวะมากเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการโคม่าและเสียชีวิตได้ในที่สุด
  • Hyperosmolar Hyperglycemic State หรือ HHS คือ ภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ได้ตามปกติ โดยคนที่มีภาวะน้ี อาจมีน้ำตาลในเลือดสูงถึง 1,000 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หากปล่อยไว้นานอาจทำให้เสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : 14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) ลดพฤติกรรมเสี่ยง เลี่ยงเบาหวานได้

 

น้ำตาลในเลือดสูง

 

น้ำตาลในเลือดสูง รักษายังไง

ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้ง 2 ชนิด ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง สามารถรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พยายามจัดการกับความเครียด และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เพื่อลดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ แต่ถ้าหากไม่ได้เป็นเบาหวาน แต่มีอาการดังที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ให้เข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจร่างกายและรักษาให้ไวที่สุด

 

วิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

การป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงนั้น ทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • หากกำลังรับประทานยาอินซูลินหรือยารักษาโรคเบาหวานอยู่ ก็ควรรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • เมื่อต้องทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ให้ทำอย่างระมัดระวัง และทำอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์แนะนำ
  • ออกกำลังกาย เพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • งดสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แต่พอประมาณ
  • ควบน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อไม่ให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
  • ดื่มน้ำให้มากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยขับน้ำตาลออกมาทางปัสสาวะ
  • รับประทานอาหารบางชนิดให้น้อยลง เช่น กิมจิ กระเจี๊ยบ คะน้า ผลไม้รสเปรี้ยว โยเกิร์ต แอปเปิ้ล อะโวคาโด เป็นต้น เนื่องจากอาหารเหล่านี้ อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้
  • หมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอาการผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นไหม หากมีอาการท้องเสีย อาเจียนไม่หยุด รวมถึงมีไข้ติดต่อกันนานกว่า 24 ชั่วโมง ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการและทำการรักษา

 

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เรื่อง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ ใครที่อ่านบทความจบแล้วสังเกตตัวเองว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ หากปล่อยไว้นานและไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาและป้องกันต่อไปนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาหารที่ควรเลี่ยง กับเด็กที่เป็นเบาหวานประเภท 1 และ 2

ทารก 18 เดือน เผลอกินยาลดน้ำตาลในเลือด โคม่าหนักเกือบสิบวัน

13 อาหารลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนท้อง ลดความเสี่ยงเบาหวาน

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาลในเลือดสูง ได้ที่นี่!

บทความจากพันธมิตร
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
หมดกังวลเรื่อง ผิวแตกลาย จบทุกปัญหาผิวคุณแม่ตั้งครรภ์ ด้วย EVE'S OIL
หมดกังวลเรื่อง ผิวแตกลาย จบทุกปัญหาผิวคุณแม่ตั้งครรภ์ ด้วย EVE'S OIL
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

น้ำตาลในเลือดสูง ตอนท้อง ส่งผลอะไรบ้าง อันตรายกับลูกไหมคะ

ที่มา : 1 , 2 , 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • น้ำตาลในเลือดสูง อันตรายต่อคนท้องอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่
แชร์ :
  • แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
    บทความจากพันธมิตร

    แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ

  • รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

    รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

  • สาเหตุของกลิ่นปาก เกิดจากอะไร รับมือกับปัญหากลิ่นปากอย่างไรดี?

    สาเหตุของกลิ่นปาก เกิดจากอะไร รับมือกับปัญหากลิ่นปากอย่างไรดี?

  • แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
    บทความจากพันธมิตร

    แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ

  • รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

    รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

  • สาเหตุของกลิ่นปาก เกิดจากอะไร รับมือกับปัญหากลิ่นปากอย่างไรดี?

    สาเหตุของกลิ่นปาก เกิดจากอะไร รับมือกับปัญหากลิ่นปากอย่างไรดี?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ