แน่ใจได้หรือเปล่า ว่าจานชามในบ้านคุณนั้น ไม่ได้ ปนเปื้อนสารตะกั่ว
เราจะแน่ใจหรือเปล่า ว่าจานชามในบ้านคุณนั้น ไม่ได้ ปนเปื้อนสารตะกั่ว
หนังสือพิมพ์ สเตรทส์ไทมส์ ของสิงคโปร์ลงข่าวเตือนให้ระวังสารพิษ ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในจาน ชาม ถ้วยน้ำ และ ภาชนะเซรามิกที่ใช้ใส่อาหารทุกชนิด ซึ่งอาจจะ ปนเปื้อนสารตะกั่ว ได้
เนื่องจากผลสุ่มตรวจสอบผลิตภัณฑ์ประเภทจานเซรามิก จำนวน 20 ตัวอย่าง พบว่า จานบางใบมีสารตะกั่วเกินเกณฑ์มาตรฐาน ความปลอดภัยถึง 1,700% ในจำนวนนี้ มีจานใบหนึ่งปนเปื้อนตะกั่วสูงเกินค่ากำหนด ถึง 7,500% เลยทีเดียว !
ถ้าบ้านคุณใช้จานชาม ที่ปนเปื้อนสารเหล่านี้ เท่ากับว่า เรากำลังป้อนอาหาร ที่เปื้อนยาพิษให้ลูกด้วยมือตัวเอง อันตรายมาก ๆ ค่ะ
ถ้าบ้านจานชาม ที่ปนเปื้อนเท่ากับว่า เรากำลังป้อนอาหาร ที่เปื้อนยาพิษให้ลูก ๆ
ตะกั่ว คืออะไร
ตะกั่ว เป็นสารโลหะหนักชนิดหนึ่ง นิยมใช้ตกแต่ง และเคลือบภาชนะเซรามิก ให้มีสีสัน และลวดลายที่สดใส สวยงาม มันวาว และเป็นประกาย ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ตะกั่วอาจละลายออกมาได้ง่าย ๆ เพราะผสมไม่ดี หรือไม่ได้เผาในอุณหภูมิที่เหมาะสม ดังนั้น ไม่ควรนำอาหารใส่จานชามเซรามิกคุณภาพต่ำ เพราะมีโอกาสปนเปื้อนสูง
อันตรายจากพิษตะกั่วต่อเด็กเล็ก
พ่อแม่ ผู้ปกครองพึงระวังให้ดี เด็ก ๆ เสี่ยงรับพิษตะกั่วเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ๆ สารตะกั่วปริมาณเพียงเล็กน้อย ก็เป็นอันตรายมากต่อเด็กที่ยังอายุน้อย
สารตะกั่วจะเข้าไปทำลายระบบประสาท และขัดขวางการพัฒนาของสมอง มีงานศึกษามากมายยืนยันว่า ปริมาณสารตะกั่วในเลือดของเด็กมีผลกระทบต่อความสามารถด้านการเรียน เด็กที่มีปริมาณตะกั่วในเลือดสูง มักสอบได้คะแนนต่ำ และมีแนวโน้มเป็นเด็กต่อต้านสังคม
เด็กเล็กยิ่งต้องได้รับการปกป้องเป็นพิเศษอย่างมาก ๆ เพราะสารตะกั่วอาจซึมเข้าไปถึงในกระดูก หากได้รับสารตะกั่วปริมาณมาก อวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ อาจถูกทำลายได้
แม้แต่เด็กทารก ก็ยังเสี่ยงได้รับอันตรายจากสารตะกั่วตั้งแต่ตอนอยู่ในท้องแม่เลยค่ะ
เด็ก ๆ เสี่ยงรับพิษตะกั่วเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ๆ
เลือกจานเซรามิกอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อตัวคุณ และลูก ๆ
หน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยเอง เช่น กระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ก็เคยออกประกาศเตือนประชาชนชาวไทย ให้ระวังสารตะกั่วในจานเซรามิก พร้อมแนะนำวิธีเลือกภาชนะเซรามิกที่มีความเสี่ยงต่ำ ดังนี้ :
- ราคาไม่ถูกจนเกินไป
- ไม่ตกแต่งสีสัน หรือลวดลายมากนัก
- ไม่มีสีสัน หรือลวดลายตรงบริเวณที่สัมผัสกับอาหาร เครื่องดื่ม หรือปากเราโดยตรง เช่น ด้านในจาน ขอบถ้วย
- ถ้ามีลวดลาย ต้องเรียบเนียนไปกับเนื้อภาชนะ ห้ามอยู่บนผิวเคลือบ ลวดลายไม่หยาบ และไม่นูน ลูบแล้วต้องไม่สะดุด
- สารเคลือบไม่เสื่อม หรือหลุดลอก ไม่มีฝุ่นสีเทาขาวตกค้างบนภาชนะ
ไม่ควรใส่อาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น แกงส้ม ยำต่าง ๆ ลงในภาชนะเซรามิกที่มี ลวดลาย
นอกจากนี้ ไม่ควรใส่อาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น แกงส้ม ยำต่าง ๆ ลงในภาชนะเซรามิกที่มีลวดลายด้านใน เพราะกรดอาจละลายสีออกมาได้
รู้อย่างนี้แล้ว ก็สำรวจจานชาม ภาชนะต่าง ๆ ที่บ้านคุณด่วนเลยนะคะ ควรเลือกใช้แต่ภาชนะใส่อาหารที่ปลอดภัย เพื่อสุขอนามัยที่ดีของทุก ๆ คนในครอบครัว ทั้งตัวคุณเอง และลูก ๆ ของคุณนะคะ
ถ้าคิดว่าบทควาามนี้มีประโยชน์ โปรดช่วยกันแชร์ให้ทุกคนที่คุณรักตระหนักถึงอันตรายใกล้ตัวเรื่องนี้ด้วยนะคะ
เด็กเล็ก ควรได้รับการปกป้องเป็นพิเศษอย่างมาก ๆ เพราะสารตะกั่วอาจซึมเข้าไปถึงในกระดูกได้
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา : sg.theasianparent.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ระวัง ! ใช้ตะเกียบคีบเนื้อดิบ เสี่ยงหูหนวกถาวร
10 แหล่งเชื้อโรคที่คุณคาดไม่ถึง ..ใกล้ตัวลูก
ช็อกโกแลตปนเปื้อนแคดเมียม – ตะกั่ว เสี่ยงมะเร็ง สุ่มตรวจพบ 18 ตัวอย่าง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!