สะตอ ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารที่มีกลิ่นรุนแรงไม่แพ้ทุเรียน แต่บางคนก็ชอบรับประทานมาก ๆ เพราะสะตอมีรสชาติอร่อย เมื่อไหร่ที่ได้ขับรถลงใต้ ก็เป็นอันต้องแวะซื้อทุกครั้ง ว่าแต่ ในช่วงที่เราท้องอยู่ จะยังกินสะตอได้ตามปกติหรือเปล่า คนท้องกินสะตอได้ไหม กินแล้วจะเป็นอะไรไหม มาหาคำตอบกันเลย
สะตอ คืออะไร
สะตอเป็นพืชยืนต้น ฝักแบนยาว มีเมล็ดยาวรี สีเขียวสดใส ออกผลในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม มีลำต้นสูงตั้งแต่ 15 ถึง 45 เมตร และมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น parkia speciosa, sataw, petai หรือคนต่างชาติบางคนอาจจะเรียกว่าถั่วขม หรือถั่วเหม็น มีต้นกำเนิดมาจากประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คนเอเชียนิยมรับประทานกัน โดยเฉพาะคนในประเทศพม่า ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ซึ่งในประเทศไทยเอง ก็มีขายกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดทางภาคใต้ แต่ปัจจุบันหากินได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องลงใต้ก็หาซื้อกินกันได้แล้ว ซึ่งโดยปกติ สะตอสายพันธุ์ไทยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สะตอข้าว และสะตอดาน สะตอข้าวนั้น จะมีกลิ่นฉุนน้อยกว่าสะตอดาน และมีฝักเล็ก เป็นเกลียว ในขณะที่สะตอดานจะมีกลิ่นฉุนและฝักใหญ่กว่า แถมยังให้รสชาติเผ็ดนิด ๆ นิยมนำไปทำแกง และผัดเผ็ดหลายประเภท
บางคนแค่ได้ยินคำว่า สะตอ ก็เบือนหน้าหนีกันแล้ว เพราะสะตอมีกลิ่นเหม็นรุนแรง อย่างไรก็ตาม สะตอนั้นมีประโยชน์ เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น ไฟเบอร์ กรดอะมิโนทริปโตเฟน ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม แคลเซียม ซิงค์ ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี 6 และวิตามินซี เป็นต้น นอกจากนี้ สะตอยังมีน้ำตาลจากธรรมชาติอย่างซูโครส ฟรุกโตส กลูโคส และสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิต โรคโลหิตจาง และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
บทความที่เกี่ยวข้อง : โหระพา ผักที่เด็กกินได้ ผู้ใหญ่กินดี มีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกายบ้าง
คนท้องกินสะตอได้ไหม ?
คำตอบคือ คนท้องสามารถทานสะตอได้ค่ะ เพราะสะตอมีธาตุเหล็ก โปรตีน โฟเลต โพแทสเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อครรภ์ของคุณแม่ นอกจากนี้ สะตอยังเหมาะสำหรับคนที่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพราะมีน้ำตาลน้อย และไขมันต่ำ แต่มีปริมาณโปรตีนที่สูง แถมยังช่วยลดความอยากอาหารได้อีกด้วย
ส่วนวิธีรับประทานสะตอมีอยู่หลายวิธี ตามแต่จะรังสรรค์เมนูสะตอออกมา คุณแม่อาจจะนำเมล็ดไปอบ ต้ม หรือนำไปทำเป็นอาหารจานอร่อยอย่างผัดสะตอก็ได้
หลังจากรับประทานเสร็จ หากคุณแม่รู้สึกว่ากลิ่นปากของตัวเองเหม็นเกินกว่าจะทนไหว ให้ลองดับกลิ่นสะตอด้วยการเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมที่ผสมสมุนไพรอย่างสะระแหน่ ผักชีฝรั่ง หรือแอปเปิ้ล นอกจากนี้ คุณยังสามารถทานถั่วฝักยาวคู่กับสะตอ เพื่อช่วยในการดับกลิ่นไปด้วยก็ได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่เป็นโรคเกาต์อยู่ ก็ไม่ควรทานสะตอ เพราะสะตอนั้น มีกรดยูริกสูง ซึ่งอาจทำให้ข้ออักเสบ หรือปวดบวมตามข้อกระดูกได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : กินถั่วตอนท้อง ว่ากันว่าคนท้อง / แม่ให้นม ไม่ควรกินถั่ว ทำให้ลูกแพ้ถั่ว ได้จริงหรือ?
ประโยชน์ด้านสุขภาพ จากการกินสะตอ
แม้ว่าสะตอจะเป็นอาหารที่มีกลิ่นแรง บางคนไม่กล้าเข้าใกล้ แต่สะตอก็ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากมาย ดังนี้
- กรดอะมิโนทริปโตเฟน ช่วยให้นอนหลับได้สบายมากยิ่งขึ้น และช่วยให้เครียดน้อยลง
- วิตามินบี 6 ในสะตอ ช่วยลดอาการเหวี่ยงวีนช่วงก่อนมีประจำเดือน
- วิตามินบีในสะตอ ช่วยให้ระบบประสาท และสมอง ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
- ทำให้อยากอาหารน้อยลง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
- ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
- ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า
- ช่วยบรรเทาอาการคันที่เกิดจากยุงกัด
- ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน
- ช่วยให้ทางเดินอาหารทำงานได้ดีขึ้น
- ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
- ช่วยปรับอุณหภูมิร่างกายให้เป็นปกติ
- ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโลหิตจาง
- ป้องกันความดันโลหิตสูง
- ลดอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ
- ช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือด
- ช่วยลดความเครียด
- ช่วยลดอาการแสบร้อนกลางอก
- ช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายยิ่งขึ้น
- แก้อาการเมาค้าง
- ลดอาการแพ้ท้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง : มะระ ผักรสชาติขม แต่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย
สะตอ ทานเยอะเกินไป ไม่ดี โทษของสตอ
ถึงสะตอจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่สะตอก็มีกรดอะมิโนกำมะถัน ที่มีความเป็นพิษเล็กน้อย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างโรคเกาต์ ปัสสาวะอุดตัน และไตวายเฉียบพลัน หรือมีอาการปวดเกร็งตามกล้ามเนื้อ ดังนั้น หากอยากรับประทานสะตอ ก็ต้องทานแต่พอดี ทานให้หายอยากก็พอ และให้ดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อช่วยลดการสะสมของกรดอะมิโนชนิดนี้ นอกจากนี้ เนื่องจากว่าสะตอมีโปรตีนค่อนข้างสูง หากรับประทานติดต่อกันในระยะยาว อาจเป็นอันตรายต่อไตได้ด้วยเช่นกัน และหากรับประทานเยอะเกินไป อาจทำให้ปากไม่หายเหม็นสักที แถมฉี่ยังอาจมีกลิ่นเหม็นอีกด้วย
แม้ว่าอาหารหลาย ๆ อย่างจะให้ประโยชน์ต่อตัวเรา แต่การรับประทานมากไปย่อมไม่ดี หากต้องการได้ประโยชน์จากการรับประทานสะตอและอาหารชนิดอื่น ๆ ก็ต้องรับประทานแต่พอดี รวมทั้งต้องหมั่นออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอควบคู่กันไปด้วยนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
กินอะไรหลีกเลี่ยงโรคเกาต์ อาหารที่ดีที่สุดสำหรับโรคเกาต์
ประโยชน์ต่อสุขภาพของถั่วพิสตาชิโอ 9ประโยชน์สุดปัง อร่อยสารอาหารเยอะ
อัลมอนด์ ดีต่อสมองของเด็ก ๆ จริงเหรอ? หรือแค่ถั่วธรรมดา
ที่มา : health-benefits-of-fruit, 2, awakeningstate, healthbenefitstimes, wongnai
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคนท้องกินสะตอได้ไหม ได้ที่นี่!
คนท้องกินสะตอได้ไหม กินแล้วอันตรายกับลูกไหมคะ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!