กินถั่วตอนท้อง คนท้อง / แม่ให้นม ไม่ควรกินถั่ว เพราะทำให้ลูกแพ้ถั่วได้จริง ๆ หรือ?
กินถั่วตอนท้อง ว่ากันว่าคนท้อง / แม่ให้นม ไม่ควรกินถั่ว ทำให้ลูกแพ้ถั่ว ได้จริง ๆ หรือ?
เมื่อราว 16 ปีที่แล้ว American Academy of Pediatrics ได้มีคำแนะนำออกมาว่า แม่ที่ตั้งครรภ์นั้นไม่ควร กินถั่วตอนท้อง รวมถึงแม่ลูกอ่อนที่กำลังเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่นั้น ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้สูง โดยเฉพาะถั่วลิสง หรือจำพวกถั่วยืนต้น เด็กเล็กควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วใน 3 ปีแรก เพื่อลดโอกาสเกิดอาการแพ้ถั่วขึ้นมา
ควรหลีกเลี่ยงอาหาร ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้สูง โดยเฉพาะถั่วลิสง หรือจำพวกถั่วยืนต้น
มีผลการวิจัยล่าสุด จากนักวิจัยที่โรงพยาบาลเด็ก ในนคร Boston ได้วิเคราะห์สุขภาพของเด็กกว่า 8,000 คน โดยให้คุณแม่รายงาน เกี่ยวกับอาหารที่กินในระหว่าง หรือไม่นาน ก่อนหรือหลังการตั้งครรภ์ พบว่า แม่ที่ไม่มีอาการแพ้ถั่ว และรับประทานถั่วลิสง 5 ครั้ง หรือมากกว่านั้นในช่วงเวลาหนึ่งสัปดาห์ จะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการแพ้ถั่วได้ต่ำ
ทั้งนี้ การที่แม่ทานถั่วแล้ว จะทำให้ลูกไม่แพ้ถั่วหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ด้วย ยกตัวอย่างเช่น แม่ตั้งครรภ์ที่ทานถั่ว ก็อาจทานอาหารที่มีประโยชน์อื่น ๆ ควบคู่ด้วย อย่างผักหรือผลไม้ ก็จะทำให้ลูกเกิดมา มีสุขภาพที่ดีได้ตามไปด้วย
16 ปีที่แล้ว มีคำแนะนำออกมาว่า แม่ท้องไม่ควรกินถั่ว รวมถึงแม่ที่กำลังเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่
แพทย์ชี้ กินถั่วตอนท้องได้ ไม่มีปัญหา
นายแพทย์ไมเคิล ยัง แห่งโรงพยาบาลเด็กบอสตัน เผยว่า การกินถั่วสำหรับกลุ่มคุณแม่ ที่ไม่เคยมีอาการแพ้ถั่ว จะส่งผลต่อความเสี่ยงที่ลูกจะแพ้ถั่วน้อยมาก ดังนั้นถ้าหากคุณแม่ไม่ได้แพ้ถั่วอยู่แล้ว สามารถรับประทานถั่ว ในช่วงตั้งครรภ์ได้ปกติ แต่ถ้าแม่แพ้ถั่วอยู่แล้ว ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่ควรทานถั่วอยู่ดี
การกินถั่วสำหรับกลุ่ม ที่ไม่เคยมีอาการแพ้ถั่ว จะส่งผลต่อความเสี่ยง ที่ลูกจะแพ้ถั่วน้อยมาก
จากการหาความสัมพันธ์ ระหว่างอาหารที่แม่รับประทาน กับการแพ้ของลูกนั้น นายแพทย์ยัง และทีมงานได้ศึกษาข้อมูลจาก Growing Up Today Study (GUTS) โดยได้ดูประวัติของเด็ก 8,205 คน พบว่ามีเด็ก ๆ 140 คนที่มีอาการแพ้ถั่ว จากการที่แม่ได้กินถั่ว ในช่วงตั้งครรภ์ โดยเปรียบเทียบกับพฤติกรรมการบริโภคของแม่ตั้งครรภ์ ที่ไม่เคยมีอาการแพ้ถั่ว นักวิจัยพบว่า อัตราการแพ้ถั่วของลูกนั้นต่ำมาก
อีกด้านหนึ่ง จากงานเขียนในวารสารการแพทย์ด้านกุมารเวชศาสตร์ JAMA Pediatrics มีการสนับสนุนสมมุติฐานที่ว่า การได้สัมผัสกับอาหารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ตั้งแต่อายุยังน้อย จะช่วยลดความเสี่ยงที่ต่อการแพ้อาหารชนิดนั้น ๆ ไปโดยธรรมชาติ
ยังไม่สามารถสรุปชี้ชัดได้ว่า ผลการศึกษาดังกล่าวนั้น เป็นจริงหรือไม่
ซึ่ง Dr Adam Fox ที่ปรึกษาด้านอาการแพ้ของเด็กจาก Guy’s and St Thomas’s NHS Foundation Trust ได้กล่าวว่า ยังไม่สามารถสรุปชี้ชัดได้ว่า ผลการศึกษาดังกล่าวนั้น เป็นจริงหรือไม่ “จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่ซับซ้อน เพราะมีหลักฐานบอกชัดเจนเหมือนกันว่าอาการแพ้ถั่วจะไม่เกิดขึ้นจนกระทั่งเด็กคลอดออกมาแล้ว และการที่ผิวหนังของเด็กไปสัมผัสกับโปรตีนจากถั่วก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการแพ้ถั่วได้ จากผลการศึกษาที่ต่างกันไป ตอนนี้จึงยังเป็นไปไม่ได้ ที่จะให้คำแนะนำกับคุณแม่ตั้งครรภ์แบบชี้ชัดไปเลยว่าควรทานถั่วขณะตั้งครรภ์หรือไม่ แต่ผลการศึกษาต่าง ๆ ก็ระบุว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องเลี่ยงการทานถั่วขณะตั้งครรภ์และในขณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องทานถั่วมากเกินไปด้วย”
The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
ขอบคุณข้อมูลจาก :
www.vcharkarn.com
www.voathai.com
www.bbc.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
จริงหรือ? … ลูกเกิดมา จะไม่แพ้ถั่ว ถ้าแม่กินถั่วตอนท้อง
15 ผักที่มี โฟเลตสูง กินผักที่มีโฟเลต สำคัญ และจำเป็นตอนท้อง และตอนให้นม
คนท้องห้ามกินอะไรบ้าง 10 อาหาร คนท้องห้ามกิน อาหารคนท้อง ไม่ควรกิน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!