X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม ชอบรสเค็มเสี่ยงอันตรายจากโซเดียมรู้หรือเปล่า ?

บทความ 5 นาที
คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม ชอบรสเค็มเสี่ยงอันตรายจากโซเดียมรู้หรือเปล่า ?

ของรสจัดนอกจากรสเปรี้ยว รสเผ็ด คนไทยยังชอบกินเค็ม เช่น ไข่เค็ม เป็นต้น แต่สำหรับคนท้องอาจต้องระวังกว่าที่คิด คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม ความจริงแล้วสามารถทานไข่เค็มได้ แต่ต้องระวังโซเดียม ที่แฝงอยู่ในเมนูอาหารรสจัด ที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

 

คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม ทานของเค็มอันตรายหรือเปล่า

มื้ออาหารที่มีรสเค็ม คุณแม่อาจต้องการหลีกเลี่ยงเหมือนกับที่เลี่ยงอาหารรสหวาน เพราะกลัวว่าการทานเค็มจะทำให้เกิดอันตรายต่อทารกน้อยในครรภ์ แต่ในความเป็นจริง คือ คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทานอาหารรสเค็มได้ เพราะโซเดียม (Sodium) มีส่วนช่วยให้คุณแม่แข็งแรงช่วยให้ระบบประสาท และระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดียิ่งขึ้น แต่คุณแม่จะต้องระมัดระวังปริมาณในการทานให้ดี เนื่องจากหากทานมากเกินไป จากที่ได้ประโยชน์ จะกลายเป็นโทษแทนได้ เนื่องจากโซเดียมที่พบได้ในอาหารรสเค็ม ซึ่งไข่เค็มเองก็มีส่วนผสมของโซเดียมค่อนข้างมาก จะทำให้คุณแม่เสี่ยงภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : กินเผ็ดมีผลต่อลูกในท้องไหม คนท้องกินเผ็ดได้ไหม และอันตรายกับลูกหรือเปล่า ?

 

วิดีโอจาก : PRAEW

Advertisement

 

แม่ท้องทานไข่เค็มได้มากแค่ไหน

ไข่เค็มมีปริมาณของโซเดียมประมาณ 300 – 500 มิลลิกรัม / ฟอง หรือเท่ากับว่าคุณแม่สามารถทานไข่เค็มได้ประมาณ 1.5 ฟองต่อวัน ขึ้นอยู่กับสูตรการปรุง และอายุของคุณแม่ด้วย โดยอิงจากปริมาณโซเดียมที่คุณแม่ท้องต้องการต่อ 1 วัน ตามตารางด้านล่างนี้

 

ตารางแสดงความต้องการแคลเซียม / วัน

อายุเพศหญิง ปริมาณโซเดียม / วัน
16 – 18 ปี 425 – 1,275 มิลลิกรัม
19 – 30 ปี 400 – 1,200 มิลลิกรัม
31 – 70 ปี 400 – 1,200 มิลลิกรัม
70 ขึ้นไป 350 – 1050 มิลลิกรัม
คุณแม่ตั้งครรภ์ เพิ่มจากเดิม 50 – 200 มิลลิกรัม
คุณแม่ให้นมบุตร เพิ่มจากเดิม 125 – 350 มิลลิกรัม

 ข้อมูลจาก : สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

รู้หรือไม่ไข่เจียวมีโซเดียมมากกว่าไข่เค็ม

หากอ้างอิงข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ค่าเฉลี่ยของสารอาหารที่มีโซเดียมในเมนูไข่ทั่วไปที่คนไทยมักรับประทาน ไข่เค็มที่มีรสเค็มกว่าไข่สูตรอื่นกลับไม่ได้มีปริมาณโซเดียมสูงที่สุด โดยสามารถจัดเรียงจากน้อยไปมากได้ คือ ไข่ต้ม โซเดียม 90 มิลลิกรัม / ฟอง, ไข่เค็ม โซเดียม 300-500 มิลลิกรัม / ฟอง และไข่เจียว โซเดียม 300-800 มิลลิกรัม / ฟอง ดังนั้นเมื่อคุณแม่จะทานข้าว อาจต้องคำนึงหากจะสั่งไข่เจียวเพิ่ม นับว่าเป็นข่าวร้ายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ชอบทานไข่เจียว

ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มสูงขึ้น 2 – 3 เท่า หากวัดจากปริมาณที่ร่างกายต้องการ ทำให้คนไทยมีแนวโน้มต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง,  โรคหัวใจ และโรคอัมพฤกษ์ – อัมพาต เป็นต้น คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์จึงต้องระมัดระวังพฤติกรรมการทานอาหารรสเค็มให้ดี โดยเฉพาะไข่เค็ม ที่สามารถพบเจอได้ในหลายเมนู

 

โซเดียมไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในไข่เค็มเท่านั้น

  • อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป : อาหารที่หาทานได้ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, ปลากระป๋อง, อาหารหมักดองต่าง ๆ , เนื้อเค็ม, ปลาร้า และไข่เค็ม เป็นต้น
  • อาหารตามธรรมชาติ : อาหารที่สามารถทานได้ โดยไม่ต้องปรุงรสชาติเพิ่มเติม เช่น ผลไม้บางชนิด หรือธัญพืช เป็นต้น อาหารเหล่านี้มีส่วนประกอบของโซเดียมในปริมาณที่แตกต่างกัน
  • ขนมที่ฟูนิ่ม : ขนมเมนูไหนก็ตามที่มีการใช้ผงฟูในการประกอบอาหาร ไม่ว่าจะเป็นแพนเค้ก, ขนมปัง หรือคุกกี้ เป็นต้น มักจะมีส่วนประกอบของโซเดียมเสมอ
  • น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มเกลือแร่ : น้ำผลไม้บางชนิดอาจมีการใช้สารโซเดียมเบนโซเอต (Sodium benzoate) เพื่อกันบูด ส่วนน้ำเกลือแร่มักใช้โซเดียมเพื่อให้พลังงานกับร่างกายของนักกีฬา

 

คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม

 

นอกจากนี้การทานอาหารทั่วไปในชีวิตประจำวัน ก็สามารถทำให้แม่ท้องรับโซเดียมในปริมาณสูงได้ และคุณแม่อาจไม่รู้ตัว เนื่องจากโซเดียมเป็นหนึ่งในส่วนประกอบ ที่สามารถพบเจอได้เป็นปกติ ในเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ในห้องครัว โดยเครื่องปรุงรสยอดฮิตแต่ละอย่างนั้น ต่างให้ปริมาณโซเดียม / ช้อนชา ดังนี้

 

  • เกลือ ปริมาณโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม
  • น้ำปลา ปริมาณโซเดียม 400 มิลลิกรัม
  • ผงปรุงรส ปริมาณโซเดียม 500 มิลลิกรัม
  • ผงชูรส ปริมาณโซเดียม 490 มิลลิกรัม
  • กะปิ ปริมาณโซเดียม 400-500 มิลลิกรัม

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารที่มีโซเดียมสูง แม่ท้องอย่ากิน ต้องระวังให้มากกินแล้วไม่ดี

 

แม่ท้องกินไข่เค็มมากเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น ?

การบริโภคโซเดียมมากเกินไป มีผลเสียต่อการทำงานของไตอย่างชัดเจน หากไตทำงานได้น้อยลง จะทำให้ร่างกายสามารถขับโซเดียมได้น้อยลงตามไปด้วย เมื่อเกิดการสะสมของโซเดียมในร่างกาย จะส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ได้แก่ โรคไต, ไตวายเรื้อรัง, ความดันโลหิตสูง, อัมพฤกษ์ – อัมพาต, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคกระดูกพรุน และโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงการรับปริมาณของโซเดียมมากเกินไปในแต่ละวัน คุณแม่จะต้องปรับพฤติกรรมการทานอาหารให้ปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิม

 

ทำอย่างไรให้คุณแม่ปลอดภัยจากอาหารรสเค็ม

  • เลี่ยงการทานอาหารรสจัด ไม่ใช่แค่เลี่ยงอาหารรสเค็มเท่านั้น แต่อาหารรสจัดส่วนมากจะต้องผ่านการปรุง ทำให้มีโอกาสรับสารโซเดียมมากขึ้นได้
  • เลี่ยงการทารกลุ่มอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารที่ผ่านการนำไปแปรรูป เนื่องจากมีโซเดียมอยู่มาก
  • อย่าไว้ใจน้ำจิ้ม เนื่องจากน้ำจิ้มสูตรต่าง ๆ ก็มีส่วนประกอบของโซเดียมด้วยเช่นกัน
  • ทานอาหารให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพิ่มการทานผัก ผลไม้นานาชนิดระหว่างวัน
  • ทำอาหารทานเอง เพื่อควบคุมปริมาณของเครื่องปรุง หรือปรึกษานักโภชนาการก็ได้

 

ไข่เค็ม เมนูที่พบได้ในหลายจานตามร้านอาหาร ถึงคุณแม่จะจำกัดการทานไข่เค็มในช่วงตั้งครรภ์ได้ แต่หากไม่ระวังเมนูอาหารอื่น ๆ คุณแม่ก็อาจจะยังเสี่ยงอยู่เช่นเดิม

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องกินผักกาดดองได้ไหม ? ผักมีประโยชน์อยู่ไหม ถ้ามาในรูปแบบของดอง

คนท้องกินมะม่วงสุก จะเป็นอะไรไหม หวานปากอยากกินไม่ไหวแล้ว

คนท้องกินน้ำผึ้งได้ไหม ? มีหลายเรื่องที่ต้องระวัง คุณแม่รู้แล้วหรือยัง ?

ที่มา : thaihealth, si.mahidol.,  thaihealth

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม ชอบรสเค็มเสี่ยงอันตรายจากโซเดียมรู้หรือเปล่า ?
แชร์ :
  • ต้องเบ่งกี่ครั้งกว่าลูกจะคลอด? เคล็ดลับ "เบ่งคลอด" ให้ราบรื่นและปลอดภัย

    ต้องเบ่งกี่ครั้งกว่าลูกจะคลอด? เคล็ดลับ "เบ่งคลอด" ให้ราบรื่นและปลอดภัย

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

  • ต้องเบ่งกี่ครั้งกว่าลูกจะคลอด? เคล็ดลับ "เบ่งคลอด" ให้ราบรื่นและปลอดภัย

    ต้องเบ่งกี่ครั้งกว่าลูกจะคลอด? เคล็ดลับ "เบ่งคลอด" ให้ราบรื่นและปลอดภัย

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว