วันนี้เราขอเอาใจสายเฮลตี้ มัดรวม 10 อาหารบำรุงไต ที่ช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ เพื่อไตช่วยให้แข็งแรง บอกเลยว่าคนรักสุขภาพห้ามพลาดเด็ดขาด !! มาดูกันเลยดีกว่าว่าจะมีอาหารประเภทไหนบ้าง
อาหารประเภทไหน ที่ดีต่อไต
ต้องเป็นอาหารที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไต ในขณะที่ต้องช่วยป้องกันความเสียหายเพิ่มเติมด้วย แม้ว่าข้อจำกัดด้านอาหารจะแตกต่างกันไป แต่ก็แนะนำว่าผู้ที่เป็นโรคไต ควรจำกัดสารอาหารดังต่อไปนี้
- โซเดียม โซเดียมมีอยู่ในอาหารหลายชนิด และส่วนประกอบสำคัญของเกลือแกง เพราะไตที่เสียหายไม่สามารถกรองโซเดียมปริมาณมากออกได้ หากโซเดียมส่วนเกินทำให้ระดับเลือดสูงขึ้น มักจะแนะนำให้
จำกัดโซเดียมให้น้อยกว่า 2,000 มก. ต่อวัน - โพแทสเซียม โพแทสเซียมมีบทบาทสำคัญหลายอย่าง ในร่างกาย แต่ผู้ที่เป็นโรคไตต้องจำกัดโพแทสเซียม
เพื่อหลีกเลี่ยงระดับเลือดสูงที่เป็นอันตราย มักจะแนะนำให้จำกัด โพแทสเซียมน้อยกว่า 2,000 มก. ต่อวัน - ฟอสฟอรัส ขจัดฟอสฟอรัสส่วนเกินซึ่งเป็นแร่ธาตุในอาหารหลายชนิด ระดับสูงอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกาย ดังนั้น ฟอสฟอรัสในอาหารจึงถูกจำกัดให้น้อยกว่า 800–1,000 มก. ต่อวันในผู้ป่วยส่วนใหญ่
- โปรตีน เป็นสารอาหารอีกชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยโรคไตอาจจำเป็นต้องจำกัด เนื่องจากไตที่เสียหายไม่สามารถล้างของเสียออกจากการเผาผลาญโปรตีนได้
10 อาหารบำรุงไต เพื่อคนรักสุขภาพ
องุ่นแดง
องุ่นแดง ½ ถ้วย ประกอบด้วย โซเดียม 1 มิลลิกรัม , โพแทสเซียม 88 มิลลิกรัม และ ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม
องุ่นแดงมีสารฟลาโวนอยด์หลายชนิดที่ให้สีแดง โดยสารฟลาโวนอยด์ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และมีฟลาโวนอยด์ที่พบในองุ่น ช่วยกระตุ้นการผลิตไนตริกออกไซด์ทำให้ช่วยผ่อนคลายเซลล์กล้ามเนื้อในหลอดเลือดเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ดีขึ้น ฟลาโวนอยด์เหล่านี้ยังช่วยป้องกันมะเร็งและลดการอักเสบ
องุ่นสีแดงหรือสีม่วง มีสารแอนโทไซยานินสูงกว่าประเภทอื่น สามารถทานเป็นของว่าง เพื่อดับกระหายสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดเรื่องของเหลวในการรับประทานอาหารช่วงฟอกไตได้
แอปเปิล
แอปเปิลขนาดกลาง 1 ลูก ประกอบด้วย โพแทสเซียม 158 มิลลิกรัม , ฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม และปราศจากโซเดียม
แอปเปิลช่วยลดคอเลสเตอรอล ป้องกันอาการท้องผูก ป้องกันโรคหัวใจ และลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง แอปเปิลที่มีไฟเบอร์และสารต้านการอักเสบสูง แอปเปิลมีประโยชน์ที่หลากหลาย คุณสามารถปอกกินแอปเปิลดิบได้แบบง่าย ๆ หรือเลือกดื่มเป็นน้ำแอปเปิล แอปเปิลไซเดอร์ ก็จะช่วยให้ดีต่อระบบขับถ่ายและลำไส้
บทความที่เกี่ยวข้อง : กินแอปเปิล วันละ 1 ผล ดีอย่างไร ประโยชน์ของแอปเปิล ที่คุณควรรู้
ราสป์เบอร์รี
ราสป์เบอร์รี ½ ถ้วย ประกอบด้วย โพแทสเซียม 93 มิลลิกรัม , ฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม และปราศจากโซเดียม
ในราสป์เบอร์รีมีไฟโตนิวเทรียนท์ที่เรียกว่า “กรดเอลลาจิก” ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย เพื่อป้องกันความเสียหายของเซลล์ นอกจากนี้ยังมีฟลาโวนอยด์ที่เรียกว่า “แอนโทไซยานิน” สารต้านอนุมูลอิสระซึ่งทำให้ผลราสป์เบอร์รีมีสีแดง เป็นแหล่งแมงกานีส วิตามินซีที่ดี มีไฟเบอร์ และโฟเลต วิตามินบีสูง ซึ่งมีคุณสมบัติที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและการก่อตัวของเนื้องอกได้อีกด้วย
สตรอว์เบอร์รี
สตรอว์เบอร์รีสด ½ ถ้วยตวง (ประมาณ 5 ผลขนาดกลาง) = โซเดียม 1 มก. โพแทสเซียม 120 มก. ฟอสฟอรัส 13 มก.
สตรอว์เบอรรี่ อุดมไปด้วยฟีนอล 2 ประเภท : แอนโทไซยานินและเอลลาจิแทนนิน ซึ่งแอนโทไซยานินเป็นสิ่งที่ทำให้สตรอว์เบอร์รีมีสีแดงและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ช่วยปกป้องโครงสร้างเซลล์ของร่างกายและป้องกันความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน สตรอว์เบอร์รีเป็นแหล่งวิตามินซี และ แมงกานีสที่ดีเยี่ยม อีกทั้งยังเป็นแหล่งใยอาหารชั้นดีอีกด้วย ช่วยป้องกันโรคหัวใจตลอดจน ต่อต้านเซลล์มะเร็งและต้านการอักเสบ
บทความที่เกี่ยวข้อง : 9 ผลไม้สีแดง กินแล้วผิวพรรณเปล่งปลั่ง ดูอ่อนวัย อร่อยต้านมะเร็ง !!
หัวหอม
หัวหอม ½ ถ้วย ประกอบด้วย โซเดียม 3 มิลลิกรัม , โพแทสเซียม 116 มิลลิกรัม และ ฟอสฟอรัส 3 มิลลิกรัม
หัวหอมให้กลิ่นฉุน แต่นอกจากจะทำให้บางคนร้องไห้แล้ว ยังอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เควอซิติน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ป้องกันมะเร็งได้หลายชนิด มีโพแทสเซียมต่ำและเป็นแหล่งโครเมียมที่ดี ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน
กระเทียม
กระเทียม 1 กลีบ ประกอบด้วย โซเดียม 1 มิลลิกรัม , โพแทสเซียม 12 มิลลิกรัม และ ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม
กระเทียมมีคุณสมบัติช่วยต่อต้านจุลชีพ ป้องกันไม่ให้เกิดคราบพลัคบนฟัน ลดคอเลสเตอรอล และลดการอักเสบ สามารถนำมาใส่ในอาหารได้หลายประเภททั้งเนื้อสัตว์ ผัก หรือพาสต้า เพื่อช่วยให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน และเป็นอาหารที่ดีต่อไตอีกด้วยค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : 9 ผัก ผลไม้สีขาว ประโยชน์ดี ๆ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ได้อย่างไรบ้าง ?
กะหล่ำปลี
ผักกะหล่ำปลีเขียว ประกอบด้วย โซเดียม 6 มิลลิกรัม , โพแทสเซียม 60 มิลลิกรัม และฟอสฟอรัส 9 มิลลิกรัม
ผักตระกูลกะหล่ำ อย่างกะหล่ำปลีเต็มไปด้วยสารประกอบทางเคมีในผัก หรือผลไม้ที่มีส่วนช่วยทำลายอนุมูลอิสระก่อนที่จะสร้างความเสียหายต่อเซลล์ร่างกาย เนื่องจากสารเคมีจากพืชหลายชนิด เป็นที่รู้จักกันว่าช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหายที่อาจนำไปสู่โรคมะเร็งได้ เช่นเดียวกับการส่งเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
กะหล่ำปลี อุดมไปด้วยวิตามินเค วิตามินซี และไฟเบอร์สูง นอกจากนี้กะหล่ำปลียังเป็นแหล่งวิตามิน B6 และกรดโฟลิกที่ดีอีกด้วย มีโพแทสเซียมต่ำ เป็นอาหารบำรุงไตแบบหาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง
กะหล่ำปลีดิบเป็นอาหารเสริมที่ดีในการฟอกไต เช่น เมนูโคลสลอว์ หรือสามารถนึ่ง ผ่านความร้อนด้วยไมโครเวฟ ต้ม ใส่เนย ใส่ครีมชีส พริกไทย และเสิร์ฟเป็นเครื่องเคียงที่แสนอร่อย ช่วยเรียกน้ำย่อยได้ดีเยี่ยม เพิ่มความอยากอาหาร เพราะเป็นอาหารที่มีรสชาติดีเยี่ยม และเปี่ยมด้วยคุณค่าทางสารอาหาร
กะหล่ำดอก
กะหล่ำดอกต้ม ในปริมาณ ½ ถ้วย ประกอบด้วย โซเดียม 9 มิลลิกรัม , โพแทสเซียม 88 มิลลิกรัม และ ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม นับเป็นผักที่มีโซเดียมต่ำอีกหนึ่งชนิด โดยกะหล่ำดอก เป็นผักตระกูลกะหล่ำอีกชนิดหนึ่ง ที่มีวิตามินซีสูงและเป็นแหล่งโฟเลต ไฟเบอร์ที่ดี นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยอินโดล กลูโคซิโนเลต และไทโอไซยาเนต ซึ่งเป็นสารประกอบที่ช่วยให้ตับต่อต้านสารพิษที่อาจทำลายเยื่อหุ้มเซลล์และ DNA ได้
กะหล่ำดอกสามารถเสิร์ฟทานแบบดิบ ๆ พร้อมจิ้ม ใส่ในสลัดได้ หรือเป็นเมนูนึ่ง ต้มแล้วปรุงรสด้วยเครื่องเทศ เช่น ขมิ้น ผงกะหรี่ พริกไทย และเครื่องปรุงรสสมุนไพร แม้แต่เมนูกะหล่ำดอกบดซึ่งมีประโยชน์ต่อไตได้ดีกว่า แทนการบริโภคมันฝรั่งบด
พริกหยวกแดง
พริกหยวกแดง อุดมไปด้วยโซเดียม , ฟอสฟอรัสและมีโพแทสเซียมต่ำ มีรสชาติอร่อย เหมาะสำหรับเป็นอาหารบำรุงไต เพราะผักแสนอร่อยเหล่านี้ยังเป็นแหล่งวิตามินซี วิตามินเอที่ดีเยี่ยม เช่นเดียวกับวิตามินบี 6 กรดโฟลิกและไฟเบอร์ เรียกได้ว่ามีคุณค่าสารอาหารที่มีประโยชน์หลากหลาย นอกจากพริกหยวกแดงนั้นดีสำหรับคุณเพราะมีไลโคปีนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย
โดยพริกหยวกแดงสามารถกินดิบ เป็นของว่าง อาหารเรียกน้ำย่อยได้ สามารถผสมลงในจานสลัดทูน่า หรือสามารถนำไปย่าง และใช้เป็นท็อปปิ้งบนแซนด์วิช หั่นเป็นไข่เจียว เพิ่มลงในเคบับ ยัดไส้พริกด้วยไก่งวงหรือเนื้อวัวบด และเมนูอื่น ๆ อีกมากมาย
ไข่ขาว
ไข่ขาว 2 ฟอง ประกอบด้วยโปรตีน 7 กรัม , โซเดียม 110 มิลลิกรัม , โพแทสเซียม 108 มิลลิกรัม และฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นโปรตีนบริสุทธิ์ มีคุณภาพสูงพร้อมกรดอะมิโนที่จำเป็นทั้งหมด เหมาะสำหรับเป็นอาหารบำรุงไต เพราะไข่ขาวให้โปรตีน ที่มีฟอสฟอรัสน้อยกว่าแหล่งโปรตีนอื่น ๆ เช่น ไข่แดงหรือเนื้อสัตว์
ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อการดูแลสุขภาพ แต่โชคดีที่เรามีตัวเลือกสารอาหารที่อร่อยและดีต่อสุขภาพหลายอย่างมีฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และโซเดียมต่ำ ให้เลือกรับประทานตามกันเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
7 สุดยอด ผลไม้หน้าเด็ก กินแล้วหน้าอ่อนวัย จนใคร ๆ ก็เดาอายุไม่ถูก !!
10 สุดยอด อาหารบำรุงสายตา มองไม่ชัด ตาล้า ทานสิ่งนี้
12 อาหารบำรุงผิว เสริมสารอาหารให้ผิวขาว สวย ใส ด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติ
ที่มา : davita , healthline