หลาย ๆ คนคงสงสัยใช่ไหมว่า โรคหัวใจ เกิดจากสาเหตุอะไร โรคหัวใจมีอาการอะไรบ้าง โรคหัวใจมีวิธีรักษาหรือวิธีรับมืออย่างไรบ้าง หลาย ๆ คนคงกังวลใช่ไหมว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า หรือเจ็บตรงหน้าอก แล้วเป็นอะไรหรือเปล่า มาดูกันเลย
โรคหัวใจ คืออะไร
อาการ โรคหัวใจ (Heart Disease) คือ โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยโรคหัวใจสามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะหัวใจ วายทางการแพทย์เรียกว่า หัวใจขาดเลือด (Heart Attack) และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : หัวใจโต อันตรายใกล้ตัว รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคหัวใจโต
อาการของโรคหัวใจ
ความผิดปกติที่ได้เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน จะทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิด ดังต่อไปนี้
-
หัวใจขาดเลือด (Heart Attack)
หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เกิดจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน โรคนี้เกิดจากการอุดตันในเส้นเลือดซึ่งเป็นเส้นเลือด
โรคหลอดเลือด มักจะส่งผลให้มีอาการเจ็บ หรือแน่นหน้าอก ร้าวไปตามกราม ลำคอ แขน ท้อง หรือบริเวณหลัง และบางครั้งอาจจะมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรืออาจจะหมดสติได้
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะมีอาการผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจ อาจจะเต้นเร็วผิดปกติ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ ทำให้รู้สึกใจสั่น แต่บางครั้ง อาจจะแสดงอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก เวียนศีรษะ หรือคล้ายจะเป็นลมได้เช่นกัน
ผู้ป่วยส่วนมากที่จะมาพบทางแพทย์มักจะมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม และมีอาการมากขึ้นเมื่อมีการออกแรงหนัก ๆ ส่วนโรคกล้ามเนื้อหัวใจที่รุนแรงมากขึ้น จะทำให้มีอาการเหนื่อยแม้ขณะที่นั่งอยู่เฉย ๆ มีอาการบวมตามแขน ขา หนังตา ร่วมกับมีอาการอ่อนเพลีย นอนราบไม่ได้ และตื่นขึ้นมาไอในเวลากลางคืน
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นโรคที่เกิดขึ้นตั้งแต่ที่เป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดา โดยอาจจะแสดงอาการทันทีเมื่อแรกคลอด หรือแสดงอาการมากขึ้นในภายหลัง ก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ เลยคือ กลุ่มที่มีอาการเขียง และกลุ่มไม่มีอาการเขียว ในกลุ่มที่มีอาการยังไม่รุนแรงมากอาจจะสังเกตได้ในภายหลัง เช่น เหนื่อยง่าย เวลาออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน แต่ในกลุ่มที่มีอาการมากจะทำให้เลี้ยงไม่โต ทารกมีอาการเหนื่อยขณะให้นม หรือติดเชื้อทางเดินหายใจอยู่บ่อย ๆ เป็นต้น
โรคลิ้นหัวใจ อาการของโรคนี้ขึ้นอยู่กับความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่เกิดขึ้น ในกลุ่มที่มีความเพียงเล็กน้อยอาจจะไม่แสดงอาการใด ๆ หรืออาจจะได้ยินเสียงผิดปกติจากการตรวจร่างกายเท่านั้น แต่ถ้าหากว่ามีความผิดปกติของลิ้นหัวใจมากก็จะมีอาการเหนื่อยง่าย และมีการเกิดภาวะหัวใจวาย หรือน้ำท่วมปอดได้ นั้นเอง
อาการที่แสดงถึงโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ ได้แก่ มีไข้โดยมักจะเป็นไข้เรื้อรัง เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจหอบเหนื่อย ไอเรื้อรังแห้ง ๆ ขาหรือช่องท้องบวม รวมถึงมีผื่น หรือจุดขึ้นตามผิวหนัง
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมทุกเรื่องควรรู้เกี่ยวกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
สาเหตุของโรคหัวใจ
สาเหตุของโรคหัวใจเช่นเดียวกับอาการ สาเหตุของโรคหัวใจแต่ละชนิดมีที่มาต่างกัน มีดังนี้
โรคหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุส่วนมากเกิดจากไขมัน หรือแคลเซียมที่สะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในหลอดเลือดจนไปขัดขวางทางเดินเลือด ทำให้เลือดนั้นไปเลี้ยงเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ นอกจากนี้แล้วยังมักมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมอยู่ด้วย เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในหลอดเลือดสูง ความดันโลหิต น้ำหนักเกิน และการสูบบุหรี่ นั้นเอง
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยบางรายที่เดิมแล้วมีความผิดปกติของหัวใจอยู่แล้ว หรือเกิดกับคนทั่วไปที่มีหัวใจปกติก็ได้เช่นกัน ซึ่งสาเหตุอาจจะเกิดจากการถูกไฟฟ้าช็อต การใช้สารเสพติด ยา อาหารเสริมบางชนิด รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน นอกจากนี้อาจจะเป็นความเสี่ยงจากอาการป่วยโรคหัวใจอื่น ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
โรคกล้ามเนื้อหัวใจนั้น มีสาเหตุที่ต่างกันออกไปตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อของหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม อาจจะเกิดจากการไหลเวียนของเลือดสู่หัวใจน้อยลง การได้รับยา หรือสารพิษบางชนิด การติดเชื้อ และพันธุกรรม ส่วนโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนามักเป็นผลจากพันธุกรรม และอายุที่มากขึ้น และโรคกล้ามเนื้อใจถูกบีบรัด ที่กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง และยืดหยุ่นน้อยลง อาจจะเป็นผลมาจากโรคอื่น ๆ เช่น ภาวะธาตุเหล็กมากเกิน ภาวะธาตุเหล็กมากเกิน หรือการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด รังสีบำบัด เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคหัวใจ เกิดจากสาเหตุอะไร โรคหัวใจมีอาการอะไรบ้าง โรคหัวใจมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด อาจจะเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ของมารดา ที่ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด การใช้ยา หรือสารเสพติดบางชนิดขณะตั้งครรภ์ การติดเชื้อของมารดาระหว่างการตั้งครรภ์ รวมทั้งอาจจะเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมก็ได้เช่นกัน
โรคลิ้นหัวใจ สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่มีลิ้นหัวใจผิดปกติ หรือทำงานบกพร่องมาตั้งแต่กำเนิด หรือเป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น ไข้รูมาติก เยื่อบุหัวใจอักเสบ หรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพันผิดปกติ
โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิต รวมทั้งการทำหัตถการทางการแพทย์ การใช้สารเสพติด และมีการเหนี่ยวนำให้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณหัวใจตามมาอีกด้วย
วิธีการป้องกันโรคหัวใจ
วิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ แบบง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถปฏิบัติตามกันได้เพื่อสุขภาพที่ดีตามธรรมชาติ มีดังนี้
- การรับประทานอาหารที่สมดุล เลือกอาหารเพื่อสุขภาพหัวใจที่อุดมไปด้วยเส้นใย ธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้และผักสด อาหารแนวเมดิเตอร์เรเนียนอาจดีสำหรับสุขภาพของหัวใจ นอกจากนี้ควรจำกัดการบริโภคอาหารแปรรูป อาหารจำพวกไขมัน เกลือ และน้ำตาลปริมาณสูง
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยเหลือนี้สามารถเสริมสร้างหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดลดคอเลสเตอรอลและรักษาความดันโลหิต บุคคลอาจต้องการตั้งเป้าออกกำลังกาย 150 นาทีต่อสัปดาห์
- การรักษาน้ำหนักตัวในระดับปานกลาง ดัชนีมวลกายที่แข็งแรง (BMI) โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 20 ถึง 25 ผู้คนสามารถตรวจสอบค่าดัชนีมวลกายได้ที่นี่
- เลิกหรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด
- การจำกัดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้หญิงควรบริโภคไม่เกินหนึ่งชิ้นเครื่องดื่มมาตรฐานแหล่งที่เชื่อถือได้ ต่อวัน และผู้ชายควรดื่มไม่เกินสองเครื่องดื่มมาตรฐานต่อวัน
- การจัดการกับสภาวะแวดล้อม การรักษาที่ส่งผลต่อสุขภาพของหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และโรคเบาหวาน
การทำตามขั้นตอนเหล่านี้สามารถช่วยเพิ่มสุขภาพโดยรวมและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและภาวะแทรกซ้อนได้
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจ ที่มักพบได้บ่อย อาทิ
- หัวใจล้มเหลว หนึ่งในภาวะแทรกซ้อน ที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นเมื่อหัวใจของคุณไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ภาวะหัวใจล้มเหลวอาจเกิดจากโรคหัวใจหลายรูปแบบ เช่น ความผิดปกติของหัวใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคลิ้นหัวใจ การติดเชื้อในหัวใจ หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
- หัวใจวาย ลิ่มเลือดที่ขวางการไหลเวียนของเลือดผ่านหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจทำให้เกิดอาการหัวใจวาย ซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเสียหายหรือทำลายได้ หลอดเลือดอาจทำให้หัวใจวายได้
- จังหวะ ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจยังสามารถนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองตีบหรืออุดตันเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยเกินไป โรคหลอดเลือดสมองเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ – เนื้อเยื่อสมองเริ่มตายภายในเวลาเพียงไม่กี่นาทีของโรคหลอดเลือดสมอง
- ปากทาง ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในร่างกายของคุณ โป่งพองเป็นโป่งในผนังหลอดเลือดแดงของคุณ หากหลอดเลือดโป่งพอง คุณอาจเผชิญกับภาวะเลือดออกภายในที่คุกคามถึงชีวิต
- โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย เมื่อคุณเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย แขนขา โดยปกติคือขา ไม่ได้รับการไหลเวียนของเลือดเพียงพอ ทำให้เกิดอาการ โดยเฉพาะอาการปวดขาขณะเดิน (claudication) หลอดเลือดยังสามารถนำไปสู่โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
- ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันคือการสูญเสียการทำงานของหัวใจ การหายใจ และสติอย่างกะทันหันโดยไม่คาดคิด ซึ่งมักเกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ หากไม่รีบรักษาจะส่งผลให้หัวใจวายเฉียบพลัน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อาการเส้นเลือดในสมองตีบ ทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคเส้นเลือดในสมอง
โรคไวรัสตับอักเสบบีอันตรายอย่างไร ทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบบี
โรคภูมิแพ้ อาการภูมิแพ้เป็นอย่างไร โรคภูมิแพ้สามารถรักษาได้อย่างไร สาเหตุของโรคภูมิแพ้คืออะไร?
ที่มา : medicalnewstoday , mayoclinic , pobpad
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!