X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิตามินเค ดีต่อคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อย่างไร ? สำคัญต่อทารกอย่างไรบ้าง?

บทความ 5 นาที
วิตามินเค ดีต่อคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อย่างไร ? สำคัญต่อทารกอย่างไรบ้าง?

วิตามินเค เป็นวิตามินชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารก ที่มีส่วนช่วยให้ร่างกายแข็งแรงป้องกันโรคต่าง ๆ มากมาย วันนี้เราได้รวบรวมประโยชน์ของวิตามินเคมาให้เรียบร้อยแล้ว ไปดูพร้อมกันเลยว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง

 

วิตามินเค หรือ Vitamin K คือ ?

วิตามินที่สามารถละลายในไขมันได้อีกตัวหนึ่งที่สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกนั่นคือ วิตามินเค ซึ่งมีบทบาทในการช่วยเรื่องการแข็งตัวของเลือด เมแทบอลิซึมของกระดูก และควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด โดยร่างกายของมนุษย์เรานั้นต้องการวิตามินเคเพื่อผลิตโปรทรอมบิน (Prothrombin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ส่งผลทำให้เลือดแข็งตัวนั่นเอง ทั้งนี้วิตามินเคสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังต่อไปนี้

  • วิตามินเค 1 หรือ Phylloquinone เป็นวิตามินเคที่ได้มาจากพืช ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่พบวิตามินเคมากที่สุด
  • วิตามินเค 2 หรือ Menaquinone พบในอาหารที่ทำจากสัตว์ และการหมักดอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิตามินอี ดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร? อันตรายต่อทารกในครรภ์หรือไม่?

 

ปริมาณของวิตามินเคที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน

ความต้องการของร่างกายมนุษย์ในการต้องการวิตามินเคนั้นแตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับเพศ และอายุ โดยมีปริมาณที่ต้องการในแต่ละวันของแต่ละช่วงวัย และเพศ ดังต่อไปนี้

  • ทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน ต้องการวิตามินเค 2 ไมโครกรัม
  • ทารกอายุ 7-12 เดือน ต้องการวิตามินเค 5 ไมโครกรัม
  • เด็กอายุ 1-3 ปี ต้องการวิตามินเค 30 ไมโครกรัม
  • เด็กอายุ 4-8 ปี ต้องการวิตามินเค 55 ไมโครกรัม
  • เด็กวัย 9-13 ปี ต้องการวิตามินเค 60 ไมโครกรัม
  • วัยรุ่นอายุ 14-18 ต้องการวิตามินเค 75 ไมโครกรัม
  • เพศชายที่มีอายุ 19 ปีขึ้นไป ต้องการวิตามินเค 120 ไมโครกรัม
  • เพศหญิงที่มีอายุ 19 ปีขึ้นไป ต้องการวิตามินเค 90 ไมโครกรัม
  • หญิงตั้งครรภ์ หรือคุณแม่ให้นมบุตร ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องการวิตามินเค 75 ไมโครกรัม
  • หญิงตั้งครรภ์ หรือคุณแม่ให้นมบุตร ที่มีอายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป ต้องการวิตามินเค 90 ไมโครกรัม

 

วิตามิน K2

 

ประโยชน์ของวิตามินเค มีอะไรบ้าง?

นอกจากวิตามินเคจะมีส่วนช่วยในเรื่องของการแข็งตัวของเลือดแล้วยังมีประโยชน์อย่างอื่นอีกมากมาย โดยประโยชน์เหล่านั้นได้มาจากการทานอาหารที่มีส่วนประกอบของวิตามินเค โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

  • สุขภาพกระดูกแข็งแรง

หากคุณมีภาวะขาดวิตามินเค หรือมีการบริโภควิตามินเคในปริมาณที่ร่างกายต้องอย่างไม่เพียงพอก็อาจส่งผลทำให้เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนได้ จากการศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า วิตามินเคช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก และลดความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักได้

  • ช่วยเรื่องความจำ

ผลการวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไปที่มีระดับวิตามินเคในเลือดสูงนั้นมีประสิทธิภาพในการจดจำที่สูงกว่าผู้สูงอายุทั่วไป ดังนั้นจึงทำให้เห็นว่าวิตามินเคนั้นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการช่วยในการจดของผู้สูงอายุ

  • หัวใจแข็งแรง

วิตามินเคมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิตได้ โดยการป้องกันไม่ให้เกิดการสะสมและอุดตันของเส้นเลือดแดง ซึ่งทำให้หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้การอุดตันของเส้นเลือดนั้นอาจพบมากขึ้น เมื่อมีอายุมากขึ้น ดังนั้นการบริโภควิตามินเคอย่างเหมาะสมเพียงพอนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย

  • ความเสี่ยงของการได้รับวิตามินเค

การรับประทานวิตามินเคผ่านอาหารต่าง ๆ ไม่มีข้อจำกัดสำหรับการรับประทาน เพราะว่าการวิตามินเคนั้นส่งผลกระทบด้านลบต่อร่างกายมนุษย์เราได้น้อยมาก อย่างไรก็ตามหากเป็นการทานอาหารเสริมวิตามินเคอาจส่งผลอันตรายมากกว่า โดยวิตามินเคนั้นสามารถไปยับยั้งการออกฤทธิ์ของตัวยาทั่วไปได้หลายชนิด รวมถึงยาที่เกี่ยวกับการสลายตัวของเลือด ยากันชัก ยาปฏิชีวนะ และยาลดคอเลสเตอรอล ดังนั้นหากคุณต้องการที่จะทานอาหารเสริมวิตามินเคควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง

 

ทำไมวิตามินเคถึงสำคัญกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์?

นอกจากการช่วยให้เลือดแข็งตัวแล้ว วิตามินเคยังจำเป็นสำหรับการพัฒนากระดูกที่แข็งแรงและการสร้างโปรตีนในตับได้ด้วย ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ และหลังการคลอดบุตร โดยจะทำให้คุณแม่นั้นฟื้นตัวได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีระดับวิตามินเคในเลือดที่เพียงพอส่งผลต่อทารกหลังคลอดโดยตรง เพราะว่าหากทารกนั้นขาดวิตามินเค เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดได้

 

วิตามิน K

 

คุณแม่สามารถรับวิตามินเคได้จากที่ไหน?

คนท้องและทารกในครรภ์สามารถรับวิตามินเคได้ง่าย ๆ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีความสมดุลและดีต่อสุขภาพ โดยปริมาณของวิตามินเคที่อยู่ในอาหารนั้นไม่ได้รับผลกระทบจากการปรุงอาหารมากนัก คุณแม่จึงสามารถคิดเมนูได้ตามที่ต้องการ นอกจากนี้ด้วยความที่วิตามินเคเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันได้ เมื่อทานเข้าไปแล้วจึงถูกสะสมไว้ในตับเราได้ และร่างกายสามารถเอาออกมาใช้ได้เมื่อถึงเวลาที่เราต้องการ โดยอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเค มีดังต่อไปนี้

 

1. ถั่วเหลืองหมัก หรือนัตโตะ

นัตโตะ หรือถั่วเหลืองหมัก เป็นที่นิยมรับประทานมากในประเทศญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเค โดยนัตโตะ 85 กรัม มีประมาณวิตามินเคมากกว่า 708 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่ต้องการต่อวัน ซึ่งในนัตโตะนั้นจะพบวิตามินเค 2 หรือเมนาควิโนนมากที่สุด

2. ผักคะน้า

จัดอยู่ในผักใบเขียวชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยวิตามินเค โดยผักคะน้าต้มครึ่งถ้วยก็มีประมาณวิตามินเคมากถึง 442 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวันแล้ว แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะนำผักคะน้ามาทำอาหารควรล้างให้สะอาดก่อนทุกครั้ง

3. ผักโขม

เป็นอีกหนึ่งผักใบเขียวที่หาง่าย และนำมาประกอบอาหารได้ง่าย ๆ ถึงแม้ว่าผักโขมจะไม่มีปริมาณของวิตามินเคเทียบเท่ากับถั่วเหลืองหมัก และผักคะน้า แต่การทานผักโขมในมื้ออาหารอย่างน้อย 1 มื้อนั้นก็เป็นปริมาณที่เพียงต่อความต้องการหนึ่งวันแล้ว

4. น้ำมันถั่วเหลือง

เป็นแหล่งของวิตามินเคที่คุณเองก็น่าจะตกใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วคุณสามารถได้รับปริมาณได้มากถึง 1 ใน 5 ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวันเพียงแค่รับประทานน้ำมันถั่วเหลืองเพียงแค่ 1 ช้อนโต๊ะเท่านั้น

5. เครื่องในสัตว์

นอกจากนัตโตะแล้ว วิตามินเค 2 ที่สามารถได้รับจากการรับประทานนั้นยังสามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์อีกด้วย โดยเครื่องในสัตว์นั้นก็เป็นอีกหนึ่งแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเคเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : สารอาหารที่จำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทานสิ่งนี้

 

วิตามินเค 2

 

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
อยากให้ลูกสมองไว ทำไมต้องรอให้ถึงอนุบาล
อยากให้ลูกสมองไว ทำไมต้องรอให้ถึงอนุบาล
วิธีดูแลผิวลูกหน้าร้อน ดูแลอย่างไรให้ห่างไกลปัญหาผดผื่น
วิธีดูแลผิวลูกหน้าร้อน ดูแลอย่างไรให้ห่างไกลปัญหาผดผื่น
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้

ทำไมวิตามินเคถึงสำคัญต่อทารกในครรภ์อย่างไร?

วิตามินเคมีคุณสมบัติช่วยให้เลือดจับตัวเป็นลิ่ม ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยป้องกันการตกเลือดอย่างรุนแรง หากทารกไม่ได้รับวิตามินเคที่เพียงพอจากมารดาระหว่างตั้งครรภ์ หรือขณะให้นมบุตร พวกเขาอาจเสี่ยงเป็นโรคภาวะพร่องวิตามินเค (Vitamin K Deficiency : VKDB) อาจทำให้เลือดออกในสมอง และอาจส่งผลทำให้สมองถูกทำลาย หรือถึงแก่ชีวิตได้

 

ทารกสามารถรับวิตามินได้จากที่ไหนหลังจากคลอด?

วิธีที่ง่าย และปลอดภัยมากที่สุดสำหรับการให้วิตามินเคแก่ทารกหลังคลอดคือ การฉีดวิตามิน โดยการฉีดเพียงครั้งเดียวหลังคลอดจะช่วยปกป้องทารกได้นานหลายเดือน นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งวิธีคือการให้เด็กรับประทานวิตามินทางปาก แต่ผลจะไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการฉีด ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ โดยส่วนใหญ่แล้วทารกที่ต้องให้วิตามินเพิ่มเติมหลังคลอดนั้นคือทารกที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรือทารกที่ทำการคลอดก่อนกำหนด

 

วิตามินเค 1

 

เป็นอย่างไรกันบ้างกับวิตามินเค คุณประโยชน์ และสรรพคุณที่มีความสำคัญต่อร่างกายของเราเพียบเลย แต่ถึงอย่างไรก็ตามคุณแม่ตั้งครรภ์นอกจากจะใส่ในเรื่องของการทานวิตามินเคแล้ว ก็ต้องใส่ใจในเรื่องของวิตามิน หรือสารอาหารอย่างอื่นด้วยนะ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับตนเอง และลูกน้อย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิตามินบี 12 มีประโยชน์อย่างไร จำเป็นสำหรับคนท้องหรือไม่?

วิตามินซี ควรกินอย่างไร ให้ลูกรักได้ประโยชน์เต็มร้อย

วิตามินบำรุงก่อนคลอด วิตามินเสริมคนท้องมีอะไรบ้าง วิตามินเสริมจำเป็นไหม

ที่มา : 1, 2, 3, 4, 5

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • วิตามินเค ดีต่อคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อย่างไร ? สำคัญต่อทารกอย่างไรบ้าง?
แชร์ :
  • คนท้องใช้ลิปอะไรได้บ้าง ? ท้องอยู่ก็สวยได้ ! ปลอดภัยทั้งแม่และลูกน้อยในครรภ์

    คนท้องใช้ลิปอะไรได้บ้าง ? ท้องอยู่ก็สวยได้ ! ปลอดภัยทั้งแม่และลูกน้อยในครรภ์

  • 5 เมนูเฟรนช์โทสต์ สำหรับเด็ก 1 ปีขึ้นไป ออกแบบไส้ได้หลากหลาย

    5 เมนูเฟรนช์โทสต์ สำหรับเด็ก 1 ปีขึ้นไป ออกแบบไส้ได้หลากหลาย

  • คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

    คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

  • คนท้องใช้ลิปอะไรได้บ้าง ? ท้องอยู่ก็สวยได้ ! ปลอดภัยทั้งแม่และลูกน้อยในครรภ์

    คนท้องใช้ลิปอะไรได้บ้าง ? ท้องอยู่ก็สวยได้ ! ปลอดภัยทั้งแม่และลูกน้อยในครรภ์

  • 5 เมนูเฟรนช์โทสต์ สำหรับเด็ก 1 ปีขึ้นไป ออกแบบไส้ได้หลากหลาย

    5 เมนูเฟรนช์โทสต์ สำหรับเด็ก 1 ปีขึ้นไป ออกแบบไส้ได้หลากหลาย

  • คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

    คนท้องกินต้มอึ่งได้ไหม กินเมนูอึ่งได้หรือเปล่า อะไรบ้างที่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ