สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์ในเดือนที่ 2 นั้นถือเป็นช่วงเวลาที่บอบบางมาก โดยคุณแม่ในช่วง 2 เดือน อาจจะต้องระมัดระวังเรื่องกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม และ เลือกอาหาร ที่กินแล้วจะดีต่อตัวแม่ท้องและลูกในครรภ์ วันนี้ theAsianparent พามาดู 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 25 เช็คลิสต์แม่ท้อง ควรทำอายุครรภ์ 2 เดือน
เช็คลิสต์แม่ท้อง ควรทำอายุครรภ์ 2 เดือน
100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 25 เช็คลิสต์แม่ท้อง ควรทำอายุครรภ์ 2 เดือน
วันนี้เรามาดูอาการเมื่อแม่ท้องตั้งครรภ์ในเวลา 2 เดือน
- แพ้ท้องหรือคลื่นไส้ในระหว่างวัน
- อาเจียน
- ท้องอืด
- จุกเสียดและอยากกินอาหารแปลกๆ
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น
- อารมณ์แปรปรวน ร้องไห้ และ อ่อนเพลียง่าย
- มีอาการเปลี่ยนแปลงขนาดหน้าอกของแม่
- ท้องผูก
- ตัวบวม
- กรดไหลย้อน
- นอนไม่ค่อยหลับ
การตั้งครรภ์เดือนที่ 2 ร่างกายของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
แม่ท้อง 2 เดือนต้องรู้อะไร?
- ระดับฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จะส่งผลทำให้แม่ท้องมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ บางครั้งก็หงุดหงิด รำคาญกับคนรอบข้างบ่อยๆ โดยไม่มีสาเหตุ ซึ่งอาการหงุดหงิดแปรปรวนนี้ถือเป็นเรื่องปกติของคนท้องค่ะ
- เต้านมขยายมากขึ้นจนเห็นเป็นเส้นเลือด หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าช่วงบริเวณฐานของหัวนมจะกว้าง และนุ่มขึ้น
- อุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในคนท้อง
- น้ำหนักตัวในช่วงเดือนที่สองอาจจะเพิ่มขึ้นไม่มาก ซึ่งเกณฑ์ของน้ำหนักตัวคนท้องในช่วงไตรมาสแรกจะอยู่ที่ 1-2 กิโลกรัม(รวมทั้ง 3 เดือน)
- อาการแพ้ท้องยังคงมีอยู่ ซึ่งคนท้องบางรายอาจจะแค่เวียนศีรษะ อาเจียนตอนเช้าๆ เล็กน้อย หรือไม่ก็เหม็นกลิ่นอาหาร ซึ่งอาการแพ้ท้องในช่วงการตั้งครรภ์ ก็เป็นผลให้น้ำหนักตัวของแม่ท้องไม่ค่อยเพิ่มขึ้น เนื่องจากทานข้าวได้น้อย
- ในช่วงการตั้งครรภ์ช่วง 1-3 เดือนแรก แม่ท้องจะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย นั่นเป็นเพราะมดลูกเริ่มขยายใหญ่ขึ้น จึงเบียดกับกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งถือเป็นอาการปกติของคนท้อง และทุกครั้งที่รู้สึกปวดปัสสาวะไม่ควรอั้นปัสสาวะ เพราะอาจทำให้เกิดอาการท่อปัสสาวะอักเสบขึ้นได้ ดังนั้นควรเข้าห้องน้ำทุกครั้งที่ปวดปัสสาวะนะคะ
- ถึงแม้ว่าร่างกายของแม่ท้องจะไม่ค่อยอยากรับประทานอาหารมากซะเท่าไหร่ในช่วงนี้ แต่ก็ต้องทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ(จะทานได้น้อยก็ไม่เป็นไร) เพราะร่างกายต้องการสารอาหารเพื่อใช้ในการเสริมสร้างบำรุงอวัยวะต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เพราะหลังจากสามเดือนไปแล้วแม่ท้องจะรู้สึกอยากทานอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ
สารอาหารที่ควรเน้นของบำรุงคนท้อง 2 เดือน
แม่ท้อง 2 เดือนต้องรู้อะไร?
กรดโฟลิก (Folic Acid)
กรดโฟลิก ยังต้องกินต่อเนื่อง ในเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่กำลังวางแผนมีลูก พยายามตั้งครรภ์ และหญิงตั้งครรภ์ ควรกินกรดโฟลิก 5 มก. ทุกวัน กรดโฟลิกจะช่วยป้องกันทารกพิการได้ เพราะกรดโฟลิก ช่วยให้การสร้างหลอดประสาทของตัวอ่อนภายใน 28 วันแรกหลังปฏิสนธิอย่างมีประสิทธิภาพ โฟเลต หรือ กรดโฟลิกตามธรรมชาติ คือ ของบำรุงคนท้อง 2 เดือนที่ห้ามขาด มีในผักใบเขียว ไข่ ผลไม้ ผลไม้แห้ง และถั่ว (อัลมอนด์ และวอลนัท)
ธาตุเหล็ก (Iron)
ธาตุเหล็กเป็นสารอาหารที่จำเป็นในช่วงสัปดาห์ที่ 5 หรือ เดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่หญิงตั้งครรภ์ต้องการการไหลเวียนเลือดที่ดี เพื่อรับมือกับอาการแพ้ท้องและความเหนื่อยล้า ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนที่ 2 ควร บำรุงอาหารธาตุเหล็กสูง เช่น ผลไม้ ผลไม้อบแห้ง ผักโขม บีทรูท เนื้อไก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ ตับ
แคลเซียม (Calcium)
แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่สำคัญสำหรับหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์ การบริโภคแคลเซียมให้ได้ ประมาณ 1,000-1,200 มก.ต่อวัน เป็นสิ่งจำเป็นในระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากกระดูกของทารกในครรภ์จะเริ่มสร้างกระดูกในระยะนี้ ร่างกายจึงต้องการแคลเซียมมากขึ้น และหากร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ต้องการ แคลเซียมก็จะถูกดึงจากแม่ท้อง ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคกระดูกพรุนในอนาคต เพื่อให้ได้แคลเซียมปริมาณที่ต้องการ ไม่จำเป็นต้องดื่มแต่นมอย่างเดียว สามารถเสริมได้ด้วยผักต่าง ๆ ได้เช่นกัน เช่น หัวผักกาด กะหล่ำปลี และผักใบเขียว
โปรตีน (Proteins)
ของบำรุงคนท้อง 2 เดือน ควรเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไก่ ไข่ นม เนื้อปลา และถั่ว ให้โปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกาย คนท้องต้องการโปรตีนอย่างน้อย 75 กรัมในระยะนี้ อย่างไรก็ตามต้องระวังอาหารโปรตีนสูงบางชนิด ไม่ควรกินมากเกินไป อาจทำให้ลูกแพ้โปรตีนได้ เช่น ไข่ นม ถั่ว ควรกินให้หลากหลาย และสำหรับเนื้อปลา ควรเลี่ยงปลาทะเลน้ำลึกบางชนิด ที่มีสารปรอทสูง เช่น ปลาอินทรี ปลาฉลาม ปลาโอ
ไฟเบอร์ (Fiber)
ไฟเบอร์ ช่วยเรื่องการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก จึงเหมาะสำหรับคนท้อง หญิงตั้งครรภ์ ควรกินอาหารที่มีใยอาหาร เส้นใยสูง เพื่อป้องกัน ลดอาการท้องผูก อาหารเส้นใยสูง ส่วนใหญ่ คือ ผักผลไม้ เช่น แครอท กะหล่ำปลี ธัญพืช และผลไม้ เช่น ส้ม กล้วย จะช่วยรักษาระดับความดันโลหิตและป้องกันอาการท้องผูกในระหว่างตั้งครรภ์ ปริมาณไฟเบอร์ที่แนะนำให้รับประทาน คือ อย่างน้อย 28 กรัมต่อวัน ในระหว่างตั้งครรภ์
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
น้องพอลเข้าโรงพยาบาล ทำเอาคนเป็นพ่ออั๋น ภูวนาทใจสลาย ร้องไห้สงสารลูก
พาส่องความน่ารัก น้องเวทย์มน ลูกสาวใบเตยและดีเจแมน ถ่ายแบบในตีมแม่มด
Sex แบบไหนที่ผู้ชายชอบ ท่าเซ็กส์ท่าไหน ผู้ติดใจไม่ออกไปมีกิ๊ก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!