คลิปผ่าคลอด …คลิปเหล่านี้อยู่ใน Instagram ของคุณหมอ Jham frank lugo แสดงให้เห็นถึงวินาทีชีวิต คลิปผ่าคลอด ที่ทารกตัวน้อยๆ โผล่มาจากท้องของคุณแม่ บางคลิปทารกเหมือนไม่รู้ตัวเลยว่าออกมาแล้ว บางคลิปเห็นหน้าทารกชัด อดไม่ไหวที่จะลุ้นให้เจ้าตัวน้อยออกมา อย่ารอช้า ไปดู คลิปผ่าคลอด กันเลย!
รวมลิสต์ คลิปผ่าคลอด ซูมชัด ๆ
www.instagram.com/p/BTPvMbDjYdW/?taken-by=fertilugo
คลิปผ่าคลอด สีหน้าทารกวินาทีออกมาจากท้องแม่
www.instagram.com/p/BTOqkXSjrFT/?taken-by=fertilugo
คลิปนี้แสดงให้เห็นตั้งแต่วินาทีที่หัวทารกโผล่ จนออกมาได้อย่างง่ายดาย
www.instagram.com/p/BTGza2DjhwM/?taken-by=fertilugo
เหมือนยังไม่รู้ตัวว่าคลอดออกมาแล้ว
www.instagram.com/p/BSqPZX6DrXR/?taken-by=fertilugo
มหัศจรรย์แห่งการมีชีวิต
เด็กผ่าคลอด กับเด็กคลอดธรรมชาติ มีพัฒนาที่แตกต่างกันจริงหรือ
ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีการแพทย์นั้นมีความทันสมัยและปลอดภัยมากขึ้น จึงทำให้การผ่าคลอดเป็นทางเลือกในการคลอดบุตรที่ได้รับความนิยมจากคุณแม่มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีประเด็นเกี่ยวกับเด็กผ่าคลอดมากมายที่ชวนให้คุณแม่เป็นกังวลและสงสัย เช่น เรื่องความแตกต่างด้านพัฒนาการระหว่างเด็กผ่าคลอด กับเด็กธรรมชาติ ที่เรามักจะได้ยินอยู่บ่อยครั้งว่า เด็กผ่าคลอดนั้นอาจมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กคลอดธรรมชาติ ซึ่งข้อความนี้มีทั้งส่วนที่เป็นจริง และมีบางเรื่องที่คุณแม่ผ่าคลอดยังไม่รู้เหตุผล ในวันนี้เราจึงอยากอธิบายให้คุณแม่ฟัง และได้สบายใจกันมากขึ้นค่ะ พัฒนาการของเด็กผ่าคลอด
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ ผ่าคลอดท้องแรก แต่คลอดธรรมชาติท้องสอง ทำได้หรือ?
เด็กผ่าคลอด เสี่ยงป่วยบ่อย ป่วยง่าย
สิ่งแรกที่คุณแม่ผ่าคลอดควรรู้ นั่นก็คือเด็กผ่าคลอดนั้น มีโอกาสเสี่ยงขาดภูมิต้านทานและมีโอกาสเจ็บป่วยง่ายกว่าเด็กคลอดธรรมชาติมากถึง 20% เพราะพวกเขาไม่มีโอกาสได้รับภูมิต้านทานตั้งต้น ซึ่งก็คือ จุลินทรีย์สุขภาพ โพรไบโอติก ( Probiotic ) ที่อาศัยอยู่ในบริเวณช่องคลอดของแม่ และเด็กคลอดธรรมชาติ จะได้รับจุลินทรีย์เหล่านี้จากช่องคลอดแม่ในระหว่างคลอดออกมานั่นเอง จุลินทรีย์สุขภาพ โพรไบโอติก จะช่วยในการพัฒนาภูมิต้านทานของลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด และเมื่อเด็กผ่าคลอดขาดโอกาสได้รับจุลินทรีย์เหล่านี้ก็อาจมีโอกาสป่วยบ่อย และส่งผลให้พัฒนาการของเขานั้น อาจจะสะดุด หรือล่าช้ากว่าที่ควรได้ แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะคุณแม่ เพราะเราสามารถเร่งคืนภูมิต้านทานให้ลูกน้อยผ่าคลอดได้ค่ะ
คลิปผ่าคลอด คลิป ผ่า คลอด
ดูแลตัวเองหลังการผ่าคลอด
อย่างไรก็ตาม การคลอดด้วยวิธีการผ่านั้น คุณแม่จะฟื้นตัวได้ช้า กว่าการคลอดธรรมชาติ โดยมีวิธีการดูแลรักษาแผลผ่าคลอด ดังนี้
คลิป ผ่า คลอด
วิธีดูแลแผลผ่าคลอด
สำหรับการดูแลแผลผ่าท้องคลอดนั้น มีวิธีการดังนี้
1. หลังผ่าตัดได้ 1 วัน คุณหมอจะเริ่มให้คุณแม่เริ่มลุกนั่งและเดินได้ เพิ่อลดการเกิดพังพืดในช่องท้อง และลดอาการท้องอืด ในวันแรกคุณแม่จะยังเจ็บแผลอยู่ แต่ก็จะต้องพยายามขยับตัวและเดินบ่อย ๆ
2. อาการปวดแผล คุณแม่สามารถทานยาแก้ปวดตามที่คุณหมอส่งได้ และการใช้ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอด จะช่วยลดอาการปวดแผลลงได้ด้วย
3. ทานอาหารตามปกติในปริมาณที่เหมาะสม ไม่จำเป็นต้องงดไข่ งดนม เพราะโปรตีนเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาแผลให้หายเป็นปกติ
4. คุณหมอจะทำความสะอาดแผล และปิดแผลด้วยที่ปิดแผลกันน้ำ คุณแม่ไม่ต้องทำความสะอาดแผล ให้มาพบคุณหมออีกครั้งตามนัด แต่ต้องระวังไม่ให้น้ำซึมเข้าไปในแผลหรือที่ปิดแผล ถ้าพบว่ามีน้ำซึมให้มาพบคุณหมอทันที
5. ถ้ามีเลือด หรือน้ำเหลืองซึมมาที่ปิดแผลมากกว่า 1/3 ของแผ่น หรือปวดแผลมาก ให้มาพบคุณหมอทันที
6. หลังแผลแห้งดีแล้ว คุณแม่สามารถใช้ยาทาหรือแผลเจลกันแผลเป็นได้
7. ในช่วง 1 เดือนแรกหลังผ่าตัด หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก การออกกำลังกายที่ต้องเกร็งหน้าท้อง และอาจต้องระวังในการขับรถ เนื่องจากระหว่างขับรถคุณแม่อาจปวดแผลมาก และอาจเกิดอุบัติเหตุได้
8. หลังผ่าตัด 3-6 เดือน แผลผ่าตัดจะเริ่มแข็งแรงมาก คุณแม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
คุณแม่สามารถอยู่ไฟหลังผ่าท้องคลอดได้ แต่ให้หลีกเลี่ยงการประคบร้อนที่บริเวณแผลผ่าตัด โดยเฉพาะในช่วง 30 วันแรกหลังผ่าตัด โดยการอยู่ไฟนั้น เป็นการพักฟื้นร่างกายหลังคลอด ถือเป็นวิถีการดูแลสุขภาพที่มีมาอย่างยาวนาน และปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีอยู่ แต่รูปแบบการอยู่ไฟอาจถูกปรับเปลี่ยนให้ง่ายต่อแม่หลังคลอดสมัยใหม่มากขึ้น ซึ่งประโยชน์ของการอยู่ไฟหลังคลอด ที่มีความเชื่อกันว่าจะช่วยฟื้นร่างกายหลังคลอดได้ในหลาย ๆ เรื่อง เช่น (บทความ : การอยู่ไฟหลังคลอด )
- ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดภายในร่างกาย
- ช่วยลดภาวะความรู้สึกหนาวภายในร่างกาย ที่บางคนแค่ฝนตั้งเค้าก็หนาวเข้ากระดูกแล้ว
- ช่วยลดอาการอ่อนเพลียจากการเสียเลือดในช่วงคลอดลูก
- ช่วยลดการปวดเมื่อยตามข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย
- ช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพดี
- ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงมีภูมิต้านทานโรค
- ช่วยปรับสมดุลภายในร่างกายให้เข้าที่เป็นปกติ
- ช่วยให้หน้าท้องยุบเร็ว
- ช่วยลดความเจ็บปวดขณะมดลูกหดรัดตัวเข้าสู่ภาวะปกติ หรือที่เรียกว่ามดลูกเข้าอู่
คลิปผ่าคลอด คลิป ผ่า คลอด
คำแนะนำเรื่องการอยู่ไฟหลังคลอด
ข้อแนะนำสำหรับการดูแลสุขภาพด้วยการอยู่ไฟหลังคลอด สำหรับคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติ และคุณแม่ที่ผ่าคลอดลูก มีดังนี้
1. แม่หลังคลอดที่คลอดลูกเองธรรมชาติ สามารถอยู่ไฟได้เลยหลังจากพักฟื้นได้ประมาณ 7 วันขึ้นไปแล้ว
2. แม่หลังคลอดที่ผ่าคลอด ยังไม่สามารถอยู่ไฟได้ทันที เพราะต้องรอให้แผลผ่าตัดหาย และแผลแห้งสนิทเสียก่อน ซึ่งส่วนมากก็จะประมาณ 1 เดือนไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้แผลผ่าตัดเกิดการอักเสบขึ้นมาขณะที่อยู่ไฟหลังคลอด
ขั้นตอนการดูแลสุขภาพด้วยการอยู่ไฟหลังคลอด
- การใช้ลูกประคบสมุนไพร ด้วยการนำลูกประคบร้อนที่ห่อด้วยสมุนไพรต่าง ๆ เช่น ขมิ้น ตะไคร้ ใบส้มป่อย การบูร ฯลฯ มาคลึงตามบริเวณร่างกาย และเต้านม เพื่อช่วยลดการปวดเมื่อย
- การอาบน้ำต้มสมุนไพรอุ่น ๆ ที่ประกอบไปด้วยไพล ขมิ้น ตะไคร้ มะกรูด ใบมะขาม ใบส้มป่อย เพื่อให้สมุนไพรซึมผ่านผิวหนังช่วยให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า
- การทับหม้อเกลือ คือการนำเอาเกลือเม็ดใส่ในหม้อดินยกตั้งไฟจนเกลือสุก แล้วห่อด้วยใบพลับพลึง และผ้า แล้วนำมาประคบตามร่างกาย ซึ่งความร้อนจากหม้อเกลือจะช่วยให้รูขุมขนเปิด สมุนไพรจะซึมผ่านลงผิวหนัง เป็นการขับของเสียออกมาตามรูขุมขน
- การอบตัวด้วยกระโจมสมุนไพร จะช่วยให้รูขุมขนเปิดเพื่อขับของเสียออกมา
เร่งคืนภูมิต้านต้านเด็กผ่าคลอดด้วย โภชนาการที่ดี และรู้จักกับ Synbiotic
การเร่งคืนภูมิต้านทานให้แก่ลูกน้อยผ่าคลอด ให้เขานั้นมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง และมีพัฒนาการที่ต่อเนื่อง ไม่สะดุด สิ่งที่คุณแม่ต้องจำให้ขึ้นใจนั่นก็คือ โภชนาการ คือเรื่องสำคัญที่สุดค่ะ ซึ่งอาหารที่สำคัญที่สุดสำหรับทารกผ่าคลอดนั้นก็คือ นมแม่ นั่นเองค่ะ เพราะนมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดของทารก ด้วยองค์ประกอบสารอาหารที่จำเป็นและเหมาะสมกับความต้องการของลูก และยังอุดมไปด้วย จุลินทรีย์ โพรไบโอติก และ ใยอาหาร พรีไบโอติก ที่ทำงานร่วมกันแบบ ซินไบโอติก (Synbiotic) ส่งผลให้ระบบภูมิต้านทานของลูกผ่าคลอดนั้น แข็งแรงขึ้น
หากคุณแม่มีความกังวลว่า น้ำนมของตนจะไม่พอต่อความต้องการของลูกแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับ โภชนาการที่เหมาะสมที่มีซินไบโอติก เพื่อนำมาให้ลูกน้อยดื่มเสริมควบคู่กับนมแม่ได้เลยค่ะ
ที่มา : parents.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
น่าเอ็นดู..คลิปทารกแฝดคุยกันหลังออกมาได้แค่ชั่วโมงเดียว
เข้าใจพัฒนาการของทารกในครรภ์ด้วยคลิปสั้นเพียง 1.14 นาที!
เช็กด่วน 7 สัญญาณใกล้คลอด พร้อมเคล็ดลับดูแลร่างกายหลังคลอด แข็งแรงไว เบาใจเรื่องแผลเป็นจากการผ่าคลอด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!