เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวของ จากประเทศอินโดนีเซียที่คุณแม่ทาเนีย วัย 35 ปี ได้ตัดสินใจต้องการที่จะคลอดลูกแบบธรรมชาติในท้องที่สอง หลังจากที่เธอจะต้อง ผ่าคลอดในท้องแรก ซึ่งหลายคนต่างตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับ ผ่าคลอดท้องแรก แต่คลอดธรรมชาติท้องสอง ทำได้หรือ? แล้วจะส่งผลกระทบอะไรกับตัวแม่หรือเด็ก หรือไม่?
ผ่าคลอดท้องแรก แต่คลอดธรรมชาติท้องสอง ทำได้หรือ?
ย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีก่อน เมื่อคุณแม่ทาเนีย (Tania Ranidhianti) มีความปรารถนาที่จะคลอดลูกน้อย นิโค (Nico) ด้วยการคลอดธรรมชาติ เพื่อหวังที่จะได้รับรู้รสชาติของความเป็นแม่ที่สมบูรณ์ แต่เมื่ออายุครรภ์ 40 สัปดาห์แล้ว ก็ยังไม่สัญญาณของการกลับหัว หรือการเคลื่อนตัวลงของเด็ก ทำให้คุณหมอ ต้องตัดสินใจทำการผ่าคลอด เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่ และตัวเด็กเอง
ทำให้ความฝันของทาเนีย ผู้ที่ต้องการคลอดบุตรของตนเองด้วยวิธีธรรมชาติเป็นอันต้องฝันสลาย แต่อย่างน้อย เธอก็ได้โอบกอดลูกน้อยนิโค ที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ทำให้เธอต้องปล่อยผ่านความฝันในการคลอดลูกแบบธรรมชาติให้ผ่านเลยไป
สี่ปีถัดมา ความหวังของทาเนียได้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเธอได้ตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 และเธอก็ปรารถนาในการคลอดแบบธรรมชาติในครรภ์นี้อีกครั้ง จึงเป็นที่ถกเถียงกันหลายฝ่าย ว่าทำได้หรือไม่ แล้วเพราะสาเหตุอะไร ทำไมการคลอดเองหลังจากที่ ท้องแรกผ่าคลอด จึงเป็นสิ่งที่ไม่นิยมกัน
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : คุณแม่คลอดธรรมชาติ ควรจัดกระเป๋าเตรียมคลอดอย่างไร?
เคยผ่าคลอดมาแล้วจะคลอดแบบธรรมชาติในท้องหลังได้หรือไม่?
หากเคยผ่าคลอดท้องแรกแล้ว ท้องสองจะคลอดธรรมชาติได้หรือไม่?
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยผ่าคลอดมาก่อนแล้ว ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม แต่ครรภ์ถัดมา คุณบอกว่าครรภ์นี้คุณต้องการที่จะคลอดแบบธรรมชาติ (Vaginal Birth after Cesarean หรือ VBAC) ก็ไม่ได้แปลว่าจะทำไม่ได้ซะทีเดียว เพราะการคลอดแบบ VBAC แม้ว่าจะมีความเสี่ยงบ้าง แต่ข้อดีก็มีอยู่ไม่น้อยค่ะ
ข้อดีของการคลอดแบบ VBAC
ข้อดีของการคลอดแบบธรรมชาติหลังจากเคยผ่าคลอดมาแล้ว ก็จะคล้ายคลึงกับการคลอดแบบธรรมชาติค่ะ คือลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการผ่าคลอด เช่นการตกเลือด เสียเลือดมาก การติดเชื้อระหว่างคลอด ยิ่งมีการผ่าคลอดซ้ำหลายครั้ง ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นในแต่ละครั้งอีกด้วย
และการผ่าคลอดหลายครั้ง ยังส่งผลให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเสียเลือดมากขึ้น และการฟื้นตัวของตัวคุณแม่ ก็จะยาวนานกว่าเดิม
ข้อเสียของการคลอดแบบ VBAC
แม้ว่าข้อดีจะมีมากมาย แต่ข้อเสียก็มีไม่ใช่น้อยค่ะ โดยเฉพาะความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะมดลูกฉีกขาด หรือเกิดภาวะมดลูกแตก ที่หลาย ๆ คนต่างก็มีความกังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจากแผลที่เคยผ่าตัดมาก่อนหน้านั้นแล้ว ก็จะเป็นอุปสรรคหลักในการคลอดแบบธรรมชาติในครั้งที่ 2 เพราะหากมีปัญหา แผลที่เคยผ่าเอาไว้ก็จะเกิดการฉีกขาด
แต่กรณีนี้ ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เพียงแค่ 1% หรืออาจจะต่ำกว่านั้น ซึ่งถือว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นคือน้อยมาก แต่หากเกิดขึ้นจริง ก็จะส่งผลให้มีการเสียเลือดมาก และส่งผลทำให้ทารกขาดอากาศหายใจได้
อีกกรณีที่จะเกิดขึ้นได้คือ หากตัวคุณแม่ไม่สามารถเบ่งคลอดได้ ก็อาจจะต้องทำการผ่าคลอดแบบฉุกเฉิน ซึ่งการผ่าคลอดฉุกเฉินนี้ ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการผ่าคลอดได้มากกว่าการวางแผนเพื่อการผ่าคลอดตั้งแต่แรก
ซึ่งความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นมีตั้งแต่การเสียเลือดที่มาก อาจจะเกิดการติดเชื้อ หรือทารกอาจจะมีภาวะแทรกซ้อน เช่น มีผลกระทบทางด้านระบบประสาท และอาจจะเสียชีวิตได้ ทั้งนี้เปอร์เซนต์ที่จะเกิดขึ้นนั้น ก็ต่ำมากอย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ฝึกหายใจเวลาคลอดลูก ช่วยคุณแม่รู้จังหวะการหายใจขณะคลอด
การเตรียมพร้อม คือหัวใจหลัก
การคลอดธรรมชาติผ่านไปด้วยดี ด้วยความพยายามของคุณแม่ทาเนีย
เมื่อตัวคุณแม่ทาเนียตัดสินใจในการคลอดแบบธรรมชาติในครรภ์ที่สอง จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ตัวคุณทาเนีย จะต้องศึกษาหาข้อมูลให้กับตัวเองเป็นอย่างมาก ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการเตรียมพร้อมของเธอนั้นประกอบไปด้วย
- การสืบค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
- การปรึกษาคุณหมอที่ดูแลอย่างใกล้ชิด
- ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
ซึ่งตัวแพทย์ที่ดูแลคุณทาเนียนั้น ได้กล่าวถึงความเป็นไปได้ เนื่องจาก ระยะห่างของท้องแรกที่ทำการผ่าคลอดนั้น ยาวนานพอสมควร คือประมาณ 5 ปี ทำให้แผลที่เคยผ่าคลอดมีการประสานกันสมบูรณ์ แม้ว่าโอกาสในการเกิดการฉีกขาดของแผลก็ยังคงมีอยู่ก็ตาม
โดยคุณหมอพยายามให้คุณแม่ทาเนีย ควบคุม และติดตามน้ำหนัก และการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์อย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้ การทำคลอดแบบธรรมชาติก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกคนจะสามารถทำได้ เนื่องจากยังคงมีความเสี่ยงมากพอควร
บทสรุปของคุณแม่ทาเนีย
ลูกน้อยทั้งสองของคุณแม่ทาเนีย น้องนิโค วัย 5 ขวบ กับน้อง ยุมน่า วัย 8 เดือน
และแน่นอนว่าความตั้งใจของคุณทาเนีย และความพยายามของเธอทำให้เธอสามารถคลอดลูกน้อยคนที่สองด้วยวิธีธรรมชาติได้อย่างปลอดภัย ปัจจุบัน ยุมน่า (Yumnaa) วัย 8 เดือน เธอมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ จากการคลอดด้วยวิธีธรรมชาติตามที่คุณทาเนียตั้งใจเอาไว้
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเคสนี้คือ ความมุ่งมั่น ตั้งใจ ความพยายามในการศึกษาข้อมูล การติดตามผล และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ให้คำปรึกษาอย่างเคร่งครัด ทำให้ทุกอย่างราบรื่นไปด้วยดี ดังนั้นหากคุณแม่คนไหนที่มีความปรารถนาเช่นเดียวกันกับคุณแม่ทาเนียแล้ว การปรึกษาคุณหมอ และการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จึงเป็นปัจจัยหลักที่ไม่ควรละเลยเป็นอันขาด เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณ และลูกน้อยในครรภ์ค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : การเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ คลอดเองเตรียมตัวอย่างไร คลอดธรรมชาติอันตรายไหม
กรณีใดบ้างที่ไม่ควรคลอดแบบธรรมชาติหลังจากเคยผ่าคลอด
- คุณแม่มีอุ้งเชิงกรานแคบจนไม่สามารถคลอดแบบธรรมชาติได้เอง
- เด็กทารกมีตัวใหญ่เกินไป
- เคยผ่าตัดมดลูกมาก่อน หรือผ่าคลอดมามากกว่า 1 ครั้ง
- ครรภ์ที่เคยผ่าคลอดมีระยะห่างไม่ถึง 1 ปี
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของคุณแม่เป็นหลักด้วยค่ะ ดังนั้นการดูแลทั้งอาหารการกิน การพักผ่อนที่เพียงพอ การออกกำลังกายที่ถูกหลัก รวมถึงการปรึกษาแพทย์ที่ดูแล จึงเป็นสิ่งสำคัญ และที่สำคัญมากกว่านั้น คือการปฏิบัติตามที่แพทย์ที่ปรึกษาได้บอกไว้อย่างเคร่งครัด ก็จะทำให้การคลอดแบบธรรมชาติ หลังจากเคยผ่าคลอดมาแล้วนั้น จะเป็นไปได้อย่างราบรื่น ตามที่คุณได้เคยตั้งใจเอาไว้ค่ะ
ที่มา : id.theasianparent
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!