X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

7 ความเชื่อหลังคลอดลูก เกี่ยวกับอาการหลังคลอด เข้าใจผิดแบบนี้ไม่ดีแน่!!

บทความ 5 นาที
7 ความเชื่อหลังคลอดลูก เกี่ยวกับอาการหลังคลอด เข้าใจผิดแบบนี้ไม่ดีแน่!!

โดยส่วนใหญ่แล้วอาการหลังคลอดโดยทั่วไปมักไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ให้เป็นที่น่ากังวลใจ หรือจะเกิดขึ้นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น แต่สำหรับคุณแม่บางรายก็อาจมีอาการผิดปกติหลังคลอดได้

7 ความเชื่อหลังคลอดลูก เกี่ยวกับอาการหลังคลอด เข้าใจผิดแบบนี้ไม่ดีแน่!!

ความเชื่อหลังคลอดลูก

7 ความเชื่อหลังคลอดลูก เกี่ยวกับอาการหลังคลอด เข้าใจผิดแบบนี้ไม่ดีแน่!!

ความเชื่อหลังคลอดลูก ว่าอาการหลังคลอดที่เกิดขึ้นแบบนี้อาจไม่เป็นไร  ปล่อยไว้ไม่นานก็หายเอง  เรื่องบางเรื่องอาจไม่ใช่แบบที่คุณแม่คิด ปล่อยผ่านไปไม่ได้ อย่ารอช้าต้องไปหาหมอ!!

#1 เชื่อว่าอาการริดสีดวงทวารที่เป็นในระหว่างตั้งครรภ์จะสามารถหายเองได้หลังคลอด

อาการริดสีดวงทวารในขณะตั้งครรภ์ สามารถเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะในช่วงท้องแก่ใกล้คลอด เนื่องจากมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไปกดทับเส้นเลือดดำบริเวณด้านขวาของร่างกายทำให้ระบบไหลเวียนเลือดบริเวณนั้นทำงานไม่ปกติ ส่งผลให้เส้นเลือดดำบริเวณทวารหนักปูดออกมา เวลาขับถ่ายจึงเกิดการเสียดสีและเกิดเลือดออกบริเวณทวารหนัก สร้างความระคายเคืองและความเจ็บปวด ริดสีดวงทวารเป็นภาวะที่พบได้บ่อยทั้งคนปกติและแม่ที่ตั้งครรภ์ แม้หากไม่เคยเป็นมาก่อนก็อาจจะมาเป็นเอาตอนท้องก็ได้

สำหรับคุณแม่ท้องที่พบว่าตัวเองมีอาการริดสีดวงทวารเกิดขึ้น โดยปล่อยไว้อาการก็เหมือนจะเป็น ๆ หาย ๆ หรือความรุนแรงจะลดลงได้หลังคลอด แต่สำหรับคนที่เป็นมาก อย่างแรกแนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการก่อน  และดูแลตัวเองด้วยการปรับพฤติกรรมการกินเน้นผัก ผลไม้ ดื่มน้ำเยอะ ๆ เมื่อปวดต้องไม่กลั้นอุจจาระ เพราะจะยิ่งส่งผลให้เกิดอาการท้องผูก เวลาถ่ายทีต้องเบ่งแรง ยิ่งทำให้ไปกระตุ้นการเกิดริดสีดวงทวารเข้าไปอีก

Advertisement
7 ความเชื่อหลังคลอดลูก เกี่ยวกับอาการหลังคลอด เข้าใจผิดแบบนี้ไม่ดีแน่!!

เชื่อว่าเจ็บปวดแผลฝีเย็บอยู่ตลอด 2 – 3 สัปดาห์หลังคลอดเป็นเรื่องปกติ

#2 เชื่อว่าเจ็บปวดแผลฝีเย็บอยู่ตลอด 2 – 3 สัปดาห์หลังคลอดเป็นเรื่องปกติ

อาการเจ็บแผลฝีเย็บหลังคลอดเกิดขึ้นได้ในคุณแม่ที่คลอดแบบธรรมชาติทุกคน โดยมากมักเป็นมากใน 2-3 วันแรก และจะหายไปจนไม่รู้สึกเจ็บใน 1 สัปดาห์ ซึ่งโดยปกติแล้วการเจ็บปวดแผลฝีเย็บหลังคลอดเป็นอาการที่ปกติ แต่ในช่วง 2-3 สัปดาห์หลังคลอดที่ควรจะหาย หรือถ้าอยู่เฉย ๆ เดินเหินในภาวะปกติก็ไม่ควรจะมีอาการเจ็บปวด หากเคลื่อนไหวมากก็อาจจะมีอาการบ้าง แต่ในกรณีที่ยังเจ็บปวดอยู่ตลอดเวลาถือเป็นความผิดปกติ หากมีอาการเจ็บปวดมาก ๆ แผลบวมมากขึ้น และมีไข้ แสดงว่าอาจจะมีอาการอักเสบและติดเชื้อได้ อาการดังกล่าวคุณแม่ควรรีบไปพบคุณหมอทันที

#3 เชื่อว่าท้องผูกหลังคลอดห้ามใช้ยาระบายเด็ดขาด

ความเชื่อหลังคลอดลูก

เชื่อว่าท้องผูกหลังคลอดห้ามใช้ยาระบายเด็ดขาด

ผลพ่วงหลังการคลอดลูกทำให้คุณแม่มีอาการท้องผูกตามมาได้ ทำให้การถ่ายอุจจาระในช่วงนี้ยากลำบาก คุณแม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีกากใยให้เยอะขึ้น กินน้ำให้เยอะ หมั่นขมิบ ลุกเดินบ่อย ๆ หากวิธีดังกล่าวช่วยแก้ปัญหาอาการท้องผูกของแม่หลังคลอดไม่ได้ผล ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำหรือขอรับยาถ่าย หรือใช้ยาระบายที่เป็นสมุนไพร เพื่อช่วยทำให้อุจจาระนิ่มลง ถ่ายได้ง่ายขึ้น ปลดล็อคอาการท้องผูกให้กับคุณแม่หลังคลอดได้ค่ะ

#4 เชื่อว่าหลังคลอดกินยาขับน้ำคาวปลาเพื่อให้น้ำคาวปลาหมดไวและมดลูกเข้าอู่ได้ดี

น้ำคาวปลาของแม่หลังคลอด จะถูกขับออกมาคล้ายกับการมีประจำเดือน หยุดเองภายใน 4-6 สัปดาห์หลังคลอด ด้วยความที่ร่างกายของคุณแม่เสียเลือดไปมากอยู่แล้ว จึงไม่ต้องพยายามขับน้ำคาวปลาให้ออกมาเยอะ ๆ โดยไม่จำเป็น ซึ่งโดยปกติแล้วการรับประทานยาสตรี มักจะใช้กับผู้หญิงที่มีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ คุณแม่บางท่านเข้าใจว่า หลังคลอดกินยาขับน้ำคาวปลาแทนการอยู่ไฟ ซึ่งเรื่องนี้แพทย์ก็มักจะไม่แนะนำให้ซื้อยาเหล่านี้มาทานเอง และการกินที่มากเกินไปในบางครั้งก็อาจจะทำให้เสียเลือดเพิ่มโดยไม่จำเป็น วิธีที่จะช่วยให้น้ำคาวปลาหมดเร็วและมดลูกเข้าอู่ได้ดีคือการให้นมแม่ เพราะขณะที่ลูกดูดนม มดลูกจะรัดตัวอย่างรุนแรงทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วและน้ำคาวปลาหมดไวไปด้วย นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอหลังคลอดก็ช่วยได้

#5 เชื่อว่าอยู่ไฟทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ไม่หนาวใน เป็นไข้

การอยู่ไฟหลังคลอด เป็นวิถีการดูแลสุขภาพสำหรับแม่หลังคลอดของคนสมัยก่อน โดยใช้ความร้อนเข้าช่วยในการฟื้นสุขภาพร่างกาย และมีความเชื่อว่าการอยู่ไฟหลังคลอดจะช่วยลดภาวะความรู้สึกหนาวในร่างกาย ลดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ปวดเมื่อย ช่วยปรับสมดุลภายในร่างกายให้เข้าที่เป็นปกติเร็ว ทำให้ให้หน้าท้องยุบเร็ว และมดลูกเข้าอู่เร็ว อย่างไรก็ตามเนื่องจากเทคโนโลยีด้านการแพทย์ในปัจจุบันนั้นดีขึ้น โอกาสที่จะติดเชื้อหรือไม่สบายรุนแรงหลังคลอดนั้นน้อยลงมาก รวมถึงอาหารการกินที่คุณแม่สามารถฟื้นพลังหลังคลอดได้ การตัดสินใจของคุณแม่ว่าจะอยู่ไฟหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความสบายใจของแต่ละบุคคลที่จะทำคะ

อ่านเพิ่มเติม : ผลดี-vs-ผลเสียของการอยู่ไฟ

#6 เชื่อว่าการเดินบ่อย ออกกำลังกายหลังคลอดจะทำให้แผลฝีเย็บฉีกขาดหรืออักเสบได้ง่าย

หนึ่งในวิธีการที่ทำให้แผลฝีเย็บหายเร็วนั้นคือการเดินและการออกกำลังกาย การเดินคือท่าที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นปกติ ไม่มีผลต่อการทำให้แผลฝีเย็บฉีกขาด สำหรับวิธีการเดินเพื่อรักษาแผลฝีเย็บในช่วงหลังคลอดคือ เดินให้ขาแยกออกจากกันเล็กน้อย หากเดินหนีบแผลจะเสียดสีกัน ส่วนการออกกำลังกายเพื่อกระชับฝีเย็บ ควรทำหลัง 8 สัปดาห์ เพื่อรอให้แผลบริเวณนี้หายดีเสียก่อน หากมีเลือดไหลควรหยุดออกกำลังกายทันที

ความเชื่อหลังคลอดลูก

เชื่อว่าหลังคลอดห้ามนอนกลางวันจะทำให้ตัวบวม

#7 เชื่อว่าหลังคลอดห้ามนอนกลางวันจะทำให้ตัวบวม

หลังคลอดนั้นการได้มีเวลานอนพักผ่อนถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับคุณแม่มาก เพราะการเลี้ยงดูและการให้นมทารกแรกเกิดนั้นทำให้คุณแม่ต้องใช้พลังงานเป็นอย่างมาก ยิ่งหากคุณแม่นอนไม่พอ ก็จะส่งผลให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด เครียดง่าย ไม่มีสมาธิ ร่างกายฟื้นตัวได้ช้า ส่งผลต่อช่วงเวลาดี ๆ ที่จะใช้ระหว่างคุณแม่กับลูกน้อยด้วย การพักผ่อนที่เพียงพอของแม่ก็สำคัญไม่แพ้การกินนมของลูกเลยทีเดียว ไม่มีเหตุผลอะไรหากคุณแม่จะมีโอกาสได้นอนงีบในตอนกลางวันไปพร้อมกับลูกที่กำลังหลับไปด้วยกัน

อ่านเพิ่มเติม : 5 เคล็ดลับการนอน ช่วยแม่ลูกอ่อนไม่ต้องอดหลับอดนอนหลังคลอด

สุขภาพหลังคลอดของคุณแม่เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจพอ ๆ กับช่วงเวลาของการตั้งครรภ์เลยนะคะ สุขภาพที่ดีก็จะส่งผลดีต่อตัวเองและลูกน้อยด้วย อย่างไรก็ตามอย่าปล่อยให้ความ “เชื่อว่า” มาทำให้คุณแม่นิ่งนอนใจ หากเกิดภาวะผิดปกติควรปรึกษาคุณหมอก่อนที่อาการจะรุนแรงหากทางแก้ไขได้ยากไปกว่านี้นะคะ.

7 ความเชื่อหลังคลอดลูก เกี่ยวกับอาการหลังคลอด เข้าใจผิดแบบนี้ไม่ดีแน่!!

เชื่อว่าอยู่ไฟทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ไม่หนาวใน เป็นไข้

The Asianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย


ที่มา : www.haijai.com

บทความใกล้เคียงที่น่าสนใจ :

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอด 11 เรื่องที่แม่เตรียมตัวเจอได้เลยจ้า

เตรียมรับมือ 11 เรื่องจริงของร่างกาย หลังคลอดลูก ที่แม่ต้องเผชิญ

อารมณ์แปรปรวนคุณแม่หลังคลอด คุณแม่คนไหนให้นมลูกแล้วร้องไห้ต้องอ่าน!

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 7 ความเชื่อหลังคลอดลูก เกี่ยวกับอาการหลังคลอด เข้าใจผิดแบบนี้ไม่ดีแน่!!
แชร์ :
  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว