X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ฮอร์โมนเพศชาย มีอะไรบ้าง และส่งผลต่อร่างกายเราอย่างไรบ้าง?

บทความ 5 นาที
ฮอร์โมนเพศชาย มีอะไรบ้าง และส่งผลต่อร่างกายเราอย่างไรบ้าง?

ขอนำบทความที่เกี่ยวกับ ฮอร์โมนเพศชาย มาฝากเหล่าคุณผู้ชายทั้งหลายเพื่อให้ทราบว่าแต่ละฮอร์โมนมีประโยชน์อย่างไรบ้าง แล้วแต่ละฮอร์โมนส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความที่เกี่ยวกับ ฮอร์โมนเพศชาย มาฝากเหล่าคุณผู้ชาย คุณพ่อ หรือคุณผู้ปกครองที่มีลูกชาย เพื่อให้ทราบว่าแต่ละฮอร์โมนมีประโยชน์อย่างไรบ้าง แล้วแต่ละฮอร์โมนส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

 

ฮอร์โมนเพศชาย

ฮอร์โมนเพศชาย หรือ ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนที่สำคัญมากของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายของเพศชาย ฮอร์โมนเพศชายถูกสร้างขึ้นบริเวณอัณฑะของเพศชาย ทำหน้าที่ควบคุมระบบการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และช่วยให้ลักษณะภายนอกของผู้ชายดูสมชายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อาจพบฮอร์โมนชนิดนี้ในผู้หญิงได้เช่นกัน แต่ก็มีปริมาณน้อยมาก

โดยฮอร์โมนนี้จะมีระดับสูงสุดในช่วงตอนเช้าประมาณ 5-7 โมงเช้า Testosterone มีผลกับการพัฒนาลักษณะรูปร่างของเพศชาย โดยมีลูกอัณฑะทำหน้าที่ผลิต Testosterone

 

ฮอร์โมนเพศชาย

ฮอร์โมน เพศชาย

ระดับฮอร์โมนเพศชายที่ผิดปกติส่งผลอย่างไรบ้าง ?

ระดับปกติของฮอร์โมนเพศชายอยู่ระหว่าง 350 – 1000 นาโนกรัม/เดซิลิตร จากระดับปกติดังกล่าว คือ ร้อยละ 97 – 98 จะอยู่ในรูปของฮอร์โมนที่ไม่อิสระ จำนวนของโปรตีนที่จับกับฮอร์โมนในเลือดจะเพิ่มขึ้นตามอายุ SHBG จะจับกับ testosterone ทำให้มันไม่สามารถไปออกฤทธิ์ส่งต่อร่างกายได้

อย่างที่กล่าวแล้วว่าฮอร์โมนเพศชายจะช่วยในเรื่องความคงทนของกล้ามเนื้อและ รักษาสภาพหรือเพิ่มมวลของกล้ามเนื้อ อารมณ์ทางเพศ และสมรรถภาพทางเพศ ฮอร์โมนตัวนี้ยังทำให้คุณภาพของการนอนหลับดีขึ้น เพิ่มพลังงานของจิตใจและร่างกาย และยังสนับสนุนการพัฒนาทางอารมณ์และความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตอีกด้วย

ปริมาณฮอร์โมนเพศชายที่ลดลง หรือเพิ่มมากขึ้นจนเกินไปจะทำให้เสียสมดุลของฮอร์โมนเพศ และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ในที่สุด โดยนอกจากอายุที่เป็นปัจจัยสำคัญแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเพศชายแปรปรวนได้

 

โดยสาเหตุที่อาจทำให้ปริมาณฮอร์โมนเพศชายลดลงได้ มีดังนี้

  • การได้รับบาดเจ็บที่อัณฑะ
  • การรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงต่อระบบสืบพันธุ์ด้วย เช่น การทำรังสีบำบัด การทำเคมีบำบัด เป็นต้น
  • การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นต้น
  • ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับไต
  • โรคเอดส์
  • โรคตับอักเสบ
  • การติดสุรา
  • ความเครียด
ฮอร์โมนเพศชาย

ฮอร์โมน เพศ ชาย

 

ระดับฮอร์โมนเพศชายที่ลดลงอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา รวมทั้งอาจส่งผลต่อสมรรถภาพร่างกายในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ร่างกายมีพลังงานน้อยลง รวมทั้งมีความแข็งแรงและความทนทานลดลง
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • มีความกระตือรือร้นน้อยลง อาจรู้สึกเศร้าหรือหดหู่ร่วมด้วย
  • มีปัญหาในการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท เป็นต้น
  • ปวดตามกระดูกหรือข้อต่อ และอาจเกิดโรคกระดูกพรุน
  • ความต้องการทางเพศลดลง

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับฮอร์โมนเพศชาย

  • การสูญเสียสถานะสังเคราะห์โฮโมน จีเอ็น อาร์ เอช
  • การผลิต ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลงจากอายุ
  • การเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชายออกหาเวลากลางคืนผิดปกติ
  • ได้รับสารต้านทานการเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย
  • มีการใช้แร่ธาตุสังกะสีในการบำรุงร่างกายบกพร่อง ทำให้ฮอร์โมนเพศชายอยู่ในระดับต่ำ

ผลกระทบระยะสั้นเมื่อขาดฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน

  • ความแข็งแรงลดลง
  • ความอดทนลดลง
  • ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลง
  • อารมณ์ทางเพศลดลง
  • สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • พักผ่อนน้อย
  • เหนื่อยง่าย
  • ความมั่นใจในตนเองลดลง
  • ความวิตกกังวลเพิ่มขึ้น

ผลกระทบระยะยาวเมื่อขาดฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน

  • โรคกระดูกพรุน
  • โรคอ้วน
  • การแข็งตัวของอวัยวะเพศเสื่อมสภาพ

 

ฮอร์โมนเพศชาย

วิธีดูแลตัวเองให้ระดับฮอร์โมนปกติ

วิธีดูแลตัวเองให้ระดับฮอร์โมนปกติ

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • รู้จักผ่อนคลายความเครียด
  • รับประทานอาหารที่มีสังกะสีและแมกนีเซียม
  • เพิ่มไขมันดีในอาหาร
  • รับประทานปลามากขึ้น
  • ลดการบริโภคน้ำตาล
  • หลีกเลี่ยงสารเคมีบีพีเอ (BPA)
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ดื่มแอลกอฮอล์แต่พอดี

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

Source :  pobpad

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เคล็ดลับ เซ็กส์ยาวนาน วิธีการมีเพศสัมพันธ์ให้นาน อึด ถึก ทน เอาใจคนรัก

ทำความรู้จักกับ ฮอร์โมนแต่ละชนิด ตลอดช่วงเวลาการตั้งครรภ์

ฮอร์โมนออกซิโตซิน Oxytocin ฮอร์โมนความรัก ความผูกพัน สำคัญอย่างไรกับคนท้อง แม่ให้นมลูก

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khattiya Patsanan

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ฮอร์โมนเพศชาย มีอะไรบ้าง และส่งผลต่อร่างกายเราอย่างไรบ้าง?
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว