X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีใช้ ยาหยอดหู หยอดอย่างไรให้ถูกต้อง พร้อมวิธีสังเกตความผิดปกติของหู

บทความ 5 นาที
วิธีใช้ ยาหยอดหู หยอดอย่างไรให้ถูกต้อง พร้อมวิธีสังเกตความผิดปกติของหู

ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องหูของทารกมีหลากหลายปัญหา เช่น ปัญหาหูอักเสบ ปัญหาเกี่ยวกับขี้หูอุดตัน สำหรับทารกแล้วจะทำสิ่งใดกับหูก็แล้วแต่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้ยาหยอดหูทารก ติดตามอ่าน วิธีใช้ยาหยอดหูทารกให้ถูกต้อง

วิธีใช้ยาหยอดหูทารกให้ถูกต้อง

ยาหยอดหู  มีประโยชน์ในการรักษาการอักเสบของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง รวมทั้งการอุดตันของขี้หู การที่เราจะสามารถเลือกยาหยอดหูที่เหมาะสมกับโรค จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับชนิดและส่วนประกอบของ ยาหยอดหู รวมทั้งโรคทางหูอย่างถูกต้อง

 

ความผิดปกติของหูที่มักพบในเด็ก

ยาหยอดหู

ยาหยอดหู

1. ขี้หูอุดตัน (Impact cerument) ขี้หู ทำหน้าที่คอยปกป้องหูและจะมีการขจัดออกได้เองตามธรรมชาติ  มีบางครั้งที่ขี้หูจะจับตัวกันมากเกินไป  จนเกิดขี้หูอุดตันจนทำให้ลูกได้ยินไม่ถนัด  ขี้หูอุดตันแบบนี้คุณแม่ห้ามแคะนะคะอันตรายอาจทำให้หูอักเสบได้และที่สำคัญลูกจะเจ็บมากค่ะ

 

การรักษา

ยาหยอดหูที่ทำให้ขี้หูอ่อนนุ่มลง และสามารถกำจัดออกได้ง่าย เช่น  ดอกคิวเสท  โซเดียม (Docusate sodium) 0.5% กลีเซอรีน  (Glycerin) หรืออาจใช้น้ำมันมะกอก (Olive Oil) หยอดหูครั้งละ 5 หยด และใช้สำลีอุดหูไว้อย่างน้อย 1 ชั่วโมงหรือข้ามคืน  ทำซ้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน  ขี้หูที่อัดแน่นอยู่จะอ่อนตัวและไหลออกมา ถ้าขี้หูไม่ออกควรไปพบคุณหมอเพื่อใช้เครื่องมือช่วยดูดขี้หูออกนะคะ  ที่สำคัญห้ามเด็ดขาดคือ การน้ำประปาหยอดหู เพราะจะทำให้อักเสบติดเชื้อได้ค่ะ อันตรายนะคะอย่าทำ !!

บทความแนะนำ  บรรเทาอาการปวดศีรษะ-ปวดหูให้ลูก

 

ยาหยอดหู

ยาหยอดหู

2. หูชั้นนอกอักเสบ (Otitis External) เกิดจากหูได้รับการรบกวนจากการกระทำต่าง ๆ เช่น การแคะหู น้ำเข้าหูบ่อย ๆ ทำให้เกิดความชื้นขึ้นในหู  หรือจากผื่นแพ้ในช่องหู  ทำให้เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราเจริญเติบโต  ลูกมักจะมีอาการปวดหู  หากเป็นมากอาจมีน้ำหนองไหลออกจากหูได้

 

การรักษา

ต้องทำให้ช่องหูแห้งเสียก่อน โดยการใช้สำลีพันก้านเช็ดบริเวณรอบ ๆ หู และในช่องหูอย่าเช็ดเข้าไปลึกมากนะคะ  การเช็ดเช่นนี้จุดประสงค์ เพื่อทำให้หูของลูกแห้ง  ใช้ยาหยอดหูที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ และต้านการอักเสบที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์  หากมีอาการมากจำเป็นการรับประทานยาเพื่อต้านเชื้อที่เกิดขึ้น

"วิธีใช้ยาหยอดหูทารกให้ถูกต้อง

3. หูชั้นกลางอักเสบ (Otitis media) เป็นการอักเสบบริเวณระหว่างแก้วหูกับหูชั้นใน มักเกิดจากหลังเป็นหวัด ทำให้เกิดของเหลวขึ้นที่หูชั้นกลาง ซึ่งปกติจะเป็นโพรงอากาศ แต่เมื่อลูกจามหรือสั่งน้ำมูกรุนแรง  เชื้อโรคจะแพร่เข้าไปและเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสในหูชั้นกลางได้  มักจะเกิดในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี เพราะความลาดชันในช่องหูของเด็กยังมีน้อย  ดังนั้น  เชื้อจึงแพร่กระจายขึ้นไปได้ง่าย  ลูกจะมีอาการปวดหู  หูอื้อ  มีไข้  ร้องโยเย  และไม่ค่อยได้ยินเสียง

บทความแนะนำ  อันตราย!! ลูกหูชั้นกลางอักเสบหากปล่อยไว้เสี่ยงหูหนวก

 

การรักษา

อาการเช่นนี้ ต้องพาลูกไปพบคุณหมอเท่านั้น  เพื่อรับยาต้านเชื้อโรคมารับประทาน  ยาแก้ปวด และยาหยอดหู หรือทานยาลดอาการหูอื้อ

 

วิธีการใช้ยาหยอดหู

 

  • ทำความสะอาดบริเวณใบหู ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำและเช็ดใบหูให้แห้ง
  • กำขวดยาไว้ในอุ้งมือ 2 – 3 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิยาให้ใกล้เคียงกับร่างกาย
  • หากยาที่ใช้หยอดหูมีลักษณะเป็นน้ำแขวนตะกอน ให้เขย่าขวดก่อนใช้ประมาณ 10 วินาที
  • ให้ลูกนอนตะแคงหรือเอียงหูให้ด้านที่จะหยอดยาอยู่ด้านบน
  • เวลาหยอดยา คุณแม่ควรจับใบหูของลูกดึงเบา ๆ ลงด้านล่างและเยื้องไปข้างหน้าเล็กน้อย
  • ใช้มืออีกข้างหนึ่งค่อย ๆ หยอดยา ตามจำนวนที่กำหนด ดูที่ฉลากยา ควรระวังไม่ให้ปลายหลอดหยดสัมผัสกับหู
  • เอียงหูข้างนั้นไว้ 2 – 3 นาที ให้น้ำยาไหลลงไปถึงแก้วหู อาจใช้สำลีอุดไว้
  • ปิดขวดยาให้เรียบร้อย คุณแม่ล้างมือให้สะอาดอีกครั้งค่ะ

บทความแนะนำ แพทย์เตือน!! อย่าใช้คอตตอนบัดปั่นหูลูก

 

ยาหยอดหู และยาหยอดตา  ใช้แทนกันได้หรือไม่

ปัจจุบันยาหยอดหูและยาหยอดตามีมากมายในท้องตลาด  โดยยาทั้ง 2 อาจทำมาจากตัวยาเดียวกันเพื่อต้องการผลการรักษาทำนองเดียวกัน  เช่น  มีตัวยาปฏิชีวนะที่ฆ่าแบคทีเรียชนิดเดียวกัน หรือมียาลดบวม ลดอักเสบพวกยาสเตียรอยด์   อีกทั้งรูปลักษณ์ขวดยาที่คล้ายกัน   ทำให้เกิดความสับสนในการใช้   แต่ไม่สามารถใช้แทนกันได้ทุกกรณี   เนื่องจากคุณลักษณะของยาแตกต่างกัน  เช่น

  • ยาหยอดหูมีความเข้มข้นของตัวยา  และความหนืด มากกว่ายาหยอดตา
  • มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH ) แตกต่างกัน  โดย pH ของยาตาต้องเหมาะสมกับสารน้ำในลูกตา
  • ยาหยอดตาผลิตภายใต้สภาวะสะอาดปราศจากเชื้อ

คุณแม่ได้ทราบถึง อาการผิดปกติของหูลูกน้อยแล้วนะคะว่า หลัก ๆ จะมี 3 อาการ ได้แก่  ขี้หูอุดตัน  หูชั้นกลางอักเสบและหูชั้นนอกอักเสบ  รวมถึงวิธีใช้ยาหยอดหูทารกให้ถูกต้องแล้วนะคะ  สามารถนำไปปฏิบัติตามได้ค่ะ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

 

คลิปการใช้ยาหยอดหูทารก

https://www.youtube.com/watch?v=p-Tkd83nsrQ

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://rcot.org

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ดูแลสุขภาพหูลูกน้อยอย่างไรให้ถูกวิธี

โรคหูติดเชื้อในเด็ก

ลูกชอบเอาของเล่นชิ้นเล็กๆเข้าปาก ใส่หู ใส่จมูก พ่อแม่ต้องป้องกันยังไง

TAP mobile app

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • วิธีใช้ ยาหยอดหู หยอดอย่างไรให้ถูกต้อง พร้อมวิธีสังเกตความผิดปกติของหู
แชร์ :
  • วิธีเคาะปอดที่ถูกต้อง ระบายเสมหะ ทำได้ตอนกี่เดือน

    วิธีเคาะปอดที่ถูกต้อง ระบายเสมหะ ทำได้ตอนกี่เดือน

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • วิธีเคาะปอดที่ถูกต้อง ระบายเสมหะ ทำได้ตอนกี่เดือน

    วิธีเคาะปอดที่ถูกต้อง ระบายเสมหะ ทำได้ตอนกี่เดือน

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ