X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อันตรายมาก ลูกหูชั้นกลางอักเสบหากปล่อยไว้เสี่ยงหูหนวก

บทความ 5 นาที
อันตรายมาก ลูกหูชั้นกลางอักเสบหากปล่อยไว้เสี่ยงหูหนวก

เมื่อลูกน้อยไม่สบายโดยเฉพาะเป็นไข้หวัด ลูกมักจะเป็นหวัดมาก่อนประมาณ 3 – 4 วัน ต่อมาจะเริ่มมีอาการอักเสบของหูตามมา คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้ว่า ลูกน้อยมักจะร้องไห้โยเย ลูกจะมีไข้ ปวดหู ซึ่งอาจจะพบว่าแก้วหูบวมแดง เพราะมีหนองขังอยู่ในหูชั้นกลาง หากมีอาการเช่นนี้ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะหูชั้นกลางอักเสบอาจส่งผลให้ลูกเสี่ยงหูหนวกได้ ติดตามอ่าน

อันตรายมาก ลูกหูชั้นกลางอักเสบหากปล่อยไว้เสี่ยงหูหนวก

 อันตรายมาก ลูกหูชั้นกลางอักเสบหากปล่อยไว้เสี่ยงหูหนวก

อันตรายมาก ลูกหูชั้นกลางอักเสบหากปล่อยไว้เสี่ยงหูหนวก หากเด็กเป็นไข้หวัด 3-4 วัน ยังงไม่หายและมีอาการปวดหูร่วมด้วยควรพาไปพบคุณหมอ

หูชั้นกลางอักเสบ

อันตรายมาก ลูกหูชั้นกลางอักเสบหากปล่อยไว้เสี่ยงหูหนวก

ผศ.พญ.นันทิการ์ สันสุวรรณ ภาควิชา โสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงโรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก สรุปได้ ดังนี้

1. หูชั้นกลางอักเสบพบได้ในเด็กอายุระหว่าง 3 เดือนถึง 11 ปี และพบมากในเด็กอายุระหว่าง 6 ถึง 11 เดือน

2. โรคหูชั้นกลางอักเสบสามารถเกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย

3. หากเกิดจากเชื้อไวรัส ร่างกายสามารถรักษาให้หายเองได้

4. หากเกิดจากเชื้อแบคทีเรียจะทำให้หายช้า และสามารถเป็นซ้ำได้อีก หรือเป็นพร้อมกันทั้งสองข้าง และใช้เวลาในการรักษานาน

5. เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบที่พบบ่อย คือ เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส และเชื้อเอ็นทีเอชไอ ซึ่งเป็นเชื้อที่พบในลำคอและโพรงจมูกของเด็กเล็ก เป็นเชื้อที่มีความรุนแรง แฝงตัวมากับเชื้อหวัดและปอดบวม

อาการ

อันตรายมาก ลูกหูชั้นกลางอักเสบหากปล่อยไว้เสี่ยงหูหนวก

อาการของเด็กที่ป่วยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ คือ

1. เด็กมักมีไข้สูง ร้องกวน งอแง บางรายอาจมีอาการของไข้หวัด และภูมิแพ้ร่วมด้วย

2. เด็กอาจแสดงอาการว่าปวดหูมาก โดยใช้มือจับบริเวณหู หรือดึงใบหูของตัวเอง

3. เด็กที่ป่วยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบจะตรวจพบเยื่อแก้วหูแดง อาจพบน้ำ หรือหนองอยู่ในหูชั้นกลาง

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบ

ดนตรีและภาษาสำหรับเด็ก

1. อายุ  เด็กที่อายุน้อยกว่า 7 ปี ท่อยูสเตเชี่ยนจะมีขนาดเล็ก สั้น และวางตัวในแนวราบกว่าผู้ใหญ่ จึงทำให้เกิดการติดเชื้อจากจมูกและคอได้ง่าย

2. เพศ  มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

3. กรรมพันธุ์  หากมีพ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นหูอักเสบบ่อย ๆ พบว่าเด็กมีโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อนมากขึ้น

4. บุหรี่ ถ้ามีคนในบ้านสูบบุหรี่จะทำให้เด็กมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และการติดเชื้อในหูชั้นกลาง

5. การดูดขวดนม โดยเฉพาะการนอนดูดนม จะทำให้เกิดการอุดตันและสำลักนมเข้าท่อยูสเตเชี่ยน ดังนั้นหากจำเป็นต้องให้นม ควรให้ในท่าที่ศีรษะเด็กสูงกว่าลำตัว

6. เด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรืออ่อนแอ เช่น เด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ เด็กที่ติดเชื้อ HIV เป็นต้น

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

7. เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูในสถานรับเลี้ยงเด็ก พบการเกิดหูชั้นกลางอักเสบมากขึ้น

8. เด็กที่มีโครงสร้างใบหน้าผิดปกติ เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ ดาวน์ซินโดรม เป็นต้น

 

อันตราย!! ลูกหูชั้นกลางอักเสบหากปล่อยไว้เสี่ยงหูหนวก
อันตรายมาก ลูกหูชั้นกลางอักเสบหากปล่อยไว้เสี่ยงหูหนวก

ผศ.พญ.นันทิการ์ สันสุวรรณ   ได้กล่าวถึง  อันตรายที่เกิดจากหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก ไว้ว่า  โรคหูชั้นกลางอักเสบ มักมาพร้อมกับโรคหวัด พ่อแม่และกุมารแพทย์มักมุ่งไปที่การรักษาอาการไข้หวัด  และมองว่าอาการเจ็บหูเป็นเพียงอาการข้างเคียง และเมื่อเด็กหายจากโรคหวัดแล้ว  พ่อแม่ก็มักลืมติดตามรักษาโรคหูอักเสบของเด็ก ซึ่งอันตรายมาก เพราะหากเด็กไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีและอย่างจริงจัง โรคนี้จะมีโอกาสพัฒนาไปสู่โรคหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือโรคหูชั้นกลางอักเสบชนิดมีของเหลวขัง และโรคหูหนวกได้ในอนาคต

ข้อควรสังเกต

พ่อแม่ควรสังเกต หากลูกเล็ก โยเย ร้องกวน หรือไม่ยอมดูดนม บางครั้งอาจมีไข้ตัวร้อนร่วมด้วย หรือมีน้ำหนองไหลออกมาให้เห็น ขอให้สงสัยว่า ลูกน้อยของท่านอาจเป็นโรคนี้และควรพาไปพบคุณหมอทางด้านหู คอ จมูก หรือกุมารแพทย์ เพื่อตรวจดูว่าในรูหูมีการอักเสบ บวมแดง หรือมีน้ำหนองขังอยู่ภายในหรือไม่ จะได้รักษาอย่างทันท่วงที และถูกต้อง

 

การป้องกันไม่ให้ลูกเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ

นัก วิจัยมีคำตอบ ให้ ทำ ไมเด็ก ชอบเล่น ตุ๊กตาหมี เล่นตุ๊กตา หมีมี ประโยชน์ยังไง?

นัก วิจัยมีคำตอบ ให้ ทำ ไมเด็ก ชอบเล่น ตุ๊กตาหมี เล่นตุ๊กตา หมีมี ประโยชน์ยังไง?

พญ.ศิริเพ็ญ มุขบัณฑิตพงษ์ กุมารแพทย์ ให้คำแนะนำในการป้องกันไม่ให้ลูกเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบนั้นทำได้โดย

1.  ควบคุมภาวะภูมิแพ้ โดยการกำจักสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ขนสัตว์ ดอกไม้ เป็นต้น

2.  ควรให้ทารกกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน นักวิจัยพบว่า เด็กที่กินนมแม่ในช่วง 4 เดือนแรก จะมีภาวะการติดเชื้อของหูชั้นกลาง ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ เพราะในนมแม่มีภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อได้

3. เวลาเด็กกินนมและอาหาร พยายามให้ลูกอยู่ในท่านั่งหรือศีรษะสูงกว่าลำตัว อย่าให้เด็กหลับขณะที่ขวดนมยังคาอยู่ในช่องปาก

4. งดสูบบุหรี่ภายในบ้านหรือสถานที่เลี้ยงเด็ก

5. เปลี่ยนสถานบริการรับเลี้ยงเด็กจากขนาดใหญ่ที่มีเด็กจำนวนมาก มาเป็นขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนเด็กที่น้อยกว่า

6. การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมค็อกคัส ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคหูชั้นกลางอักเสบและปอดอักเสบ พบรายงานการลดลงของการเกิดหูชั้นกลางอักเสบได้ประมาณ 32%

 

เรื่องน่ารู้

การอ่านอีบุ๊คเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่สำหรับเด็ก?

การอ่านอีบุ๊คเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่สำหรับเด็ก?

90 % ของเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี มีโอกาสเกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบอย่างน้อย 1 ครั้ง และเนื่องจากหูชั้นกลางอยู่ใกล้กับฐานสมอง และมีช่องทางเชื่อมปอดได้  ดังนั้น หากลูกเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ  เชื้อโรคจะสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ได้

โรคหูชั้นกลางอักเสบเป็นโรคที่ป้องกันได้  เวลาที่ลูกเป็นหวัดและมีไข้  คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น  ลูกมีอาการปวดหู  เด็กเล็ก ๆ มักจะเอานิ้วแหย่เข้าไปในหู ดึงใบหูตนเอง หรืออาจมีหนองไหลออกจากหู  เป็นต้น  ควรรีบพาเด็กไปพบคุณหมอโดยด่วน  เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานเกินไปเสี่ยงเป็นหูหนวกได้นะคะ

ที่มา : 1

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

https://www.rcot.org/2016/People/Detail/221

ลักษณะใบหู บอกได้ว่าพ่อแม่จะมีวาสนาหรือไม่ อนาคตลูกจะเป็นเช่นไร

ลูกไม่ได้เป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา จากโรคหวัดที่พ่อแม่คิดว่าจะหาย ลูกกลับเป็นโรคร้ายแรงกว่านั้น หูลูกติดเชื้อ

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • อันตรายมาก ลูกหูชั้นกลางอักเสบหากปล่อยไว้เสี่ยงหูหนวก
แชร์ :
  • หูชั้นกลางอักเสบ โรคที่พบบ่อยในเด็ก

    หูชั้นกลางอักเสบ โรคที่พบบ่อยในเด็ก

  • ระวัง! หวัดขึ้นหู เสี่ยงลูกหูหนวก โรคอันตรายจากหน้าฝน

    ระวัง! หวัดขึ้นหู เสี่ยงลูกหูหนวก โรคอันตรายจากหน้าฝน

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • หูชั้นกลางอักเสบ โรคที่พบบ่อยในเด็ก

    หูชั้นกลางอักเสบ โรคที่พบบ่อยในเด็ก

  • ระวัง! หวัดขึ้นหู เสี่ยงลูกหูหนวก โรคอันตรายจากหน้าฝน

    ระวัง! หวัดขึ้นหู เสี่ยงลูกหูหนวก โรคอันตรายจากหน้าฝน

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ