X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกชอบเอาของเล่นชิ้นเล็กๆเข้าปาก ใส่หู ใส่จมูก พ่อแม่ต้องป้องกันยังไง

บทความ 5 นาที
ลูกชอบเอาของเล่นชิ้นเล็กๆเข้าปาก ใส่หู ใส่จมูก พ่อแม่ต้องป้องกันยังไง

ลูกชอบเอาของเล่นชิ้นเล็กเข้าปาก อมของเล่น ชอบหยิบของชิ้นเล็กๆ ใส่ปาก อันตรายที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ลูกเป็นแบบนี้ พ่อแม่ควรทำอย่างไร มาดูวิธีป้องกันอันตรายจากคุณหมอกันค่ะ

ลูกชอบเอาของเล่นชิ้นเล็กๆเข้าปาก ใส่หู ใส่จมูก พ่อแม่ต้องป้องกันยังไง    ลูกชอบเอาของเล่นชิ้นเล็กๆเข้าปาก ใส่หู ใส่จมูก พ่อแม่ต้องป้องกันยังไง

ลูกชอบเอาของเล่นชิ้นเล็กๆเข้าปาก ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ เนื่องจากสิ่งแปลกปลอมที่เกิดจากลูกน้อยวัยซนเอาของชิ้นเล็กๆ ยัดเข้าไปในหู จมูก หรือเอาเข้าปากและมีโอกาสหลุดเข้าไปในคอ พบได้ค่อนข้างบ่อย ซึ่งมักเกิดจากความซุกซนและอยากรู้อยากเห็นตามวัยของเด็ก บางครั้งแม้เด็กอยู่คลาดสายตาผู้ใหญ่เพียงแค่ไม่กี่นาทีก็อาจเกิดขึ้นได้ และในช่วงแรกอาจไม่มีอาการผิดปกติใด รวมถึงลูกก็ไม่ได้แจ้งให้คุณพ่อคุณแม่ทราบ เพราะอาจยังอยู่ในวัยที่พูดและสื่อสารได้ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ จนเกิดอันตรายได้ คุณพ่อคุณแม่ผู้ดูแลเด็ก จึงควรทราบถึงหลักในการดูแลเบื้องต้นเพื่อความปลอดภัยของเด็ก ดังนี้ค่ะ

1. สิ่งแปลกปลอมในหู

สิ่งแปลกปลอมที่พบบ่อยในหู สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี ได้แก่ ลูกปัด เม็ดพลาสติก เม็ดถั่ว เศษก้อนยางลบ และอาจพบสิ่งแปลกปลอมที่เป็นแมลงได้บ่อยในเด็กอายุมากกว่า 10 ปี

อาการ:

สิ่งแปลกปลอมในหูช่วงแรกอาจไม่มีอาการใด แต่หากปล่อยทิ้งไว้นานอาจเกิดอาการปวดหู หูอักเสบ เยื่อแก้วหูทะลุ

การดูแลเบื้องต้น:

  • หากพบเห็นสิ่งแปลกปลอมในหูด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน คุณพ่อคุณแม่อาจลองใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นปากคีบ คีบสิ่งนั้นออกมาอย่างช้าๆ และเบามือ
  • เอียงหน้าให้หูข้างที่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ต่ำกว่าอีกข้างหนึ่งแล้วโยกศีรษะในแนวดิ่งเบาๆเพื่อให้หลุดออกมาได้เอง
  • หากเป็นแมลง อาจหยอดยาหยอดหู หรือน้ำมันพืชเข้าไปในรูหู โดยดึงใบหูไปทางด้านหลังเพื่อให้รูหูอยู่ในแนวตรง หลังจากหยอดของเหลวเข้าไป แมลงจะลอยขึ้นมาทำให้สามารถเอาออกได้อย่างง่ายดาย

ข้อควรระวัง:

  • ห้ามใช้น้ำหรือน้ำมันหรือของเหลวอื่นๆใส่เข้าไปในรูหูในกรณีที่สิ่งแปลกปลอมไม่ใช่แมลง หรือสงสัยว่ามีภาวะแก้วหูทะลุ เช่น มีน้ำ หนอง หรือมีเลือด ไหลออกมา
  • หากมองไม่เห็นชัดเจนจากภายนอก หรือไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่น่าจะเอาออกได้อย่างง่ายดาย ก็ไม่ควรใช้วัสดุใดเขี่ยสิ่งแปลกปลอมนั้นออกมาเอง เพราะอาจยิ่งทำให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปลึกมากขึ้นและเกิดอันตรายต่อหูได้ ควรไปพบคุณหมอดีกว่าค่ะ
ลูกชอบเอาของเล่นชิ้นเล็กเข้าปาก

ความไร้เดียงสาของเด็กน้อย ก็จะหยิบจับสิ่งเล็กๆ ใส่ปากบ้าง หูบ้าง จมูกบ้าง

2. สิ่งแปลกปลอมในจมูก

สิ่งแปลกปลอมในจมูกที่พบบ่อยในเด็ก เช่น ลูกปัด กระดุม เม็ดพลาสติก เม็ดถั่ว ชิ้นส่วนของเล่น เศษดินน้ำมัน ถ่านก้อนกระดุม เป็นต้น

อาการ:

ผู้ป่วยเด็กมักจะมาด้วยอาการ มีน้ำมูกกลิ่นเหม็นจากโพรงจมูกข้างเดียว หรือมีน้ำมูกเรื้อรังเป็นเวลานาน บางครั้งคุณพ่อคุณแม่คิดว่าเป็นไซนัสอักเสบหรือเป็นหวัดไม่หายสักที และมีอาการเจ็บในโพรงจมูก คัดจมูกมากผิดปกติข้างเดียว มีน้ำมูกปนเลือดออกมา

การดูแลเบื้องต้น:

หากพบเห็นสิ่งแปลกปลอมในโพรงจมูกเด็ก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรพยายามดึงหรือคีบออกมาด้วยตนเอง แต่ควรรีบไปพบคุณหมอ เพราะสิ่งแปลกปลอมนั้นอาจหลุดลึกเข้าไปมากขึ้นในโพรงจมูกและอาจหล่นลงไปในหลอดลมได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายจากภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ หากมีอาการรุนแรงอาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ข้อควรระวัง:

หากสิ่งแปลกปลอมเป็นถ่านก้อนกระดุม คุณพ่อคุณแม่ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อเอาออกให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดอันตรายร้ายแรงต่อเนื้อเยื่อในโพรงจมูก

ลูกชอบเอาของเล่นชิ้นเล็กๆเข้าปาก ใส่หู ใส่จมูก พ่อแม่ต้องป้องกันยังไง

คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องตรวจดูของเล่นอยู่บ่อยๆ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

3. สิ่งแปลกปลอมในช่องปากและคอ

สิ่งแปลกปลอมในช่องปากและคอ มีทั้งลักษณะไม่แหลมคม เช่น เหรียญ ถ่านก้อนกระดุม เม็ดถั่ว หรือสิ่งแปลกปลอมที่มีลักษณะแหลม เช่น ก้างปลา ไม้จิ้มฟัน เข็มกลัด เป็นต้น

อาการ:

สิ่งแปลกปลอมในช่องปากที่หล่นเข้าไปในทางเดินอาหารหรือหลอดลมในเด็กมักจะมีอาการขณะที่ทานอาหารหรืออมสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ในปาก แล้วมีอาการสำลัก ไอ มีเสียงแหบ หายใจเสียงดัง หายใจผิดปกติ หอบเหนื่อย ปากเขียว กลืนลำบาก เจ็บขณะกลืน อาเจียน ซึ่งอาการอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการอุดกั้นของสิ่งแปลกปลอมนั้นว่าอยู่ในระบบทางเดินหายใจหรือทางเดินอาหาร และอยู่ที่ตําแหน่งใด

การดูแลเบื้องต้น:

  • หากพบว่าเด็กกำลังอมหรือเอาวัสดุสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปาก ผู้ปกครองควรจะตักเตือนอย่างนุ่มนวล และให้นำสิ่งนั้นออกมาอย่างช้าๆ โดยไม่ควรทักเสียงดังหรือทำให้ตกใจ เพราะเด็กอาจสำลักและทำให้สิ่งแปลกปลอมนั้นหลุดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจหรือทางเดินอาหารจนเกิดอันตรายได้
  • หากทราบชัดเจนว่าสิ่งแปลกปลอมติดคอเด็กเล็กวัยทารก เช่น มีอาการหายใจไม่ออก ริมฝีปากเขียว สามารถช่วยเหลือเบื้องต้นโดยให้เด็กนอนคว่ำพาดที่ตักศีรษะต่ำ โดยให้อกของเด็กอยู่บนมือและท้องแขนของผู้ปกครอง แล้วใช้สันฝ่ามืออีกข้างหนึ่งตบที่กลางหลังตรงบริเวณระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้างแรงๆจนสิ่งแปลกปลอมกระเด็นหลุดออกมา หรือเด็กไอเอาสิ่งแปลกปลอมออกมา
  • หากเป็นเด็กโต ผู้ปกครองควรช่วยโดยยืนหรือคุกเข่าจากด้านหลังเด็ก แล้วใช้มือทั้งสองของโอบจากด้านหลัง มือด้านหนึ่งกำเป็นกำปั้นอยู่ใต้ลิ้นปี่เหนือสะดือ แล้ววางมืออีกด้านทับบนกำปั้น ออกแรงกดมือทั้งสองเข้าไปในท้อง โดยดันมือขึ้นมาด้านบนเหนือลิ้นปี่ กดซ้ำๆ จนสิ่งแปลกปลอมหยุดออกมาจากปาก
  • หากทำการช่วยเหลือเบื้องต้นดังกล่าวแล้ว สิ่งแปลกปลอมยังไม่ออก หรือเด็กเริ่มมีอาการหายใจติดขัด ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

ข้อควรระวัง:

บทความจากพันธมิตร
ผลวิจัยล่าสุด MFGM  สุดยอดสารอาหาร เพื่อ IQ /EQ ที่เหนือกว่าของลูกน้อยในวัย 5 ขวบ
ผลวิจัยล่าสุด MFGM สุดยอดสารอาหาร เพื่อ IQ /EQ ที่เหนือกว่าของลูกน้อยในวัย 5 ขวบ
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
ผ้าห่อตัวทารก มีกี่ประเภท การเลือกซื้อผ้าห่อตัวให้ลูกต้องเลือกอย่างไร ?
ผ้าห่อตัวทารก มีกี่ประเภท การเลือกซื้อผ้าห่อตัวให้ลูกต้องเลือกอย่างไร ?
  • ผู้ปกครองไม่เอามือล้วงช่องปากของเด็ก โดยที่ยังมองไม่เห็นสิ่งแปลกปลอม หรือเห็นไม่ชัดเจน หรือจับเด็กห้อยศีรษะและตบหลัง เพราะจะทำให้สิ่งแปลกปลอมมีโอกาสที่จะลงไปได้ลึกขึ้นเกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจได้มากขึ้น ควรรีบมาไปคุณหมอดีกว่า
ลูกชอบเอาของเล่นชิ้นเล็กเข้าปาก

ของเล่นบางชนิด ชิ้นส่วนอาจจะหลุดหรือสึกจากการกัดของลูกน้อยได้ง่าย ฉะนั้น พ่อแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด หรือตรวจดูของเล่นว่า มีส่วนไหนที่อาจจะหลุดเข้าปากของลูกได้หรือไม่

หากเด็กมีสิ่งแปลกปลอมในบริเวณอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งดังที่กล่าวมา ผู้ปกครองควรร่วมมือกับคุณหมอในการที่จะช่วยสังเกตว่ามีสิ่งแปลกปลอมในอวัยวะหรือไม่ เช่น ในบางครั้งเด็กเอาสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็ก เช่น ลูกปัดยัดเข้าไปในหู ก็อาจจะแอบยัดเข้าไปในโพรงจมูกด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และความซุกซน นอกจากนี้ควรป้องกันการเกิดสิ่งแปลกปลอมในอวัยวะต่างๆของเด็ก โดยระมัดระวังในการเลี้ยงดูเด็กเล็ก ไม่ให้คลาดสายตา ควรเก็บเศษของชิ้นเล็กๆ ทิ้ง เพื่อไม่ให้เด็กสามารถหยิบออกมาเล่นได้นะคะ

ลูกชอบเอาของเล่นชิ้นเล็กๆเข้าปาก ใส่หู ใส่จมูก พ่อแม่ต้องป้องกันยังไง

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และ พร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่ และ เด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และ กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย


source หรือ บทความอ้างอิง : parenting.firstcry.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ทำไมลูกถึงชอบกัด เดี๋ยวกัดแม่ กัดของเล่น เป็นเพราะอะไร โตไปลูกจะก้าวร้าวไหม

สิ่งของ ของเล่นอันตราย ถ้าไม่อยากเสียใจ อย่าปล่อยให้ลูกเล่นลำพัง

เทคนิคเลือกของเล่นให้สมกับวัย เลือกแบบไหนให้ลูกฉลาด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • ลูกชอบเอาของเล่นชิ้นเล็กๆเข้าปาก ใส่หู ใส่จมูก พ่อแม่ต้องป้องกันยังไง
แชร์ :
  • ลูกชอบแคะขี้มูกเข้าปาก ลูกชอบกินขี้มูก ทำอย่างไรดี มีวิธีแก้ไขไหม?

    ลูกชอบแคะขี้มูกเข้าปาก ลูกชอบกินขี้มูก ทำอย่างไรดี มีวิธีแก้ไขไหม?

  • พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร ถ้าไม่อยากเป็นพ่อแม่ที่พาลูกล้มเหลว ควรทำแบบนี้!

    พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร ถ้าไม่อยากเป็นพ่อแม่ที่พาลูกล้มเหลว ควรทำแบบนี้!

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกชอบแคะขี้มูกเข้าปาก ลูกชอบกินขี้มูก ทำอย่างไรดี มีวิธีแก้ไขไหม?

    ลูกชอบแคะขี้มูกเข้าปาก ลูกชอบกินขี้มูก ทำอย่างไรดี มีวิธีแก้ไขไหม?

  • พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร ถ้าไม่อยากเป็นพ่อแม่ที่พาลูกล้มเหลว ควรทำแบบนี้!

    พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร ถ้าไม่อยากเป็นพ่อแม่ที่พาลูกล้มเหลว ควรทำแบบนี้!

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว