ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อาการเป็นอย่างไร แม้แต่แม่ชมพู่ก็ต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
แม่ชมพู่เผชิญภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
เป็นแม่คนแล้ว แต่หุ่นยังเช้งไม่เปลี่ยนไปเลย สำหรับคุณแม่ลูกแฝด ชมพู่ อารยา ที่มาอวดหุ่นแซ่บขึ้นปกนิตยสารแพรว ในลุคสุดเปรี้ยว สวมวิกผมสั้นสุดชิค ถ่ายแฟชั่นเก๋ ๆ
นอกจากจะมีเซ็ตแฟชั่นสวย ๆ ให้ได้ดูกันแล้ว นิตยสารแพรวปกแม่ชม (นิตยสารแพรว ธ.ค. 61) ยังมีบทสัมภาษณ์พิเศษ ที่เจ้าตัวเปิดเผยเรื่องที่ใครหลายคนไม่เคยรู้มาก่อนว่า คุณแม่ชมพู่คนเก่ง ต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ภาวะที่แม่หลังคลอดหลายคนเคยผ่านกันมาแล้ว
“หมอเตือนเรื่องภาวะซึมเศร้าหลังคลอดว่า ชมอาจต้องเผชิญ แต่ชมมั่นใจตัวเองไปหน่อยว่า ร่างกายฉันฟิต จิตใจแข็งแรง ไม่น่าเจอปัญหานี้ แต่สุดท้ายเจอจริง ๆ บางวันชมร้องไห้เหมือนคนบ้า ทั้งโมโหและอะไรหลายอย่าง นอนน้ำตาไหลอยู่คนเดียว พร้อมตั้งคำถามว่า เราเป็นอะไรเนี่ย”
แม่ชมพู่เป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Baby Blues)
Baby Blues เป็นปรากฏการณ์ปกติหลังคลอดบุตร ซึ่งพบได้บ่อยถึง 50-85 เปอร์เซ็นต์ อาการมักเริ่มเกิดในช่วงหลังคลอดไม่กี่วัน โดยมีอาการมากที่สุดประมาณวันที่ 4-5 และมักหายภายในวันที่ 10 ในบางรายอาจมีอาการอยู่นานถึง 2 สัปดาห์ ผู้เชี่ยวชาญถือว่า ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นหลังคลอด บวกกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการดำเนินชีวิตประจำวันของแม่ รวมไปถึงการอดนอนของแม่มือใหม่ด้วย
คุณแม่อาจพบว่าอยู่ดีๆ ตัวเองก็ร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุ อารมณ์ขึ้นลง และจะหายไปเอง ในขณะที่โรคซึมเศร้าหลังคลอด และความผิดปกติทางอารมณ์อื่นๆ นั้นเป็นอาการที่ต้องได้รับการรักษา
โรคซึมเศร้าหลังคลอด ไม่เหมือนกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Baby Blues)
โรคซึมเศร้าหลังคลอด เป็นความผิดปกติทางอารมณ์หลังคลอด แบ่งเป็น 4 ชนิด
- ซึมเศร้า
- วิตกกังวลแบบซึมเศร้าและวิตกกังลแบบไม่ซึมเศร้า
- ตื่นตระหนก
- ย้ำคิดย้ำทำ
ขอบเขตของโรคซึมเศร้าหลังคลอดนี้กว้างกว่าที่คิด แม่บางคนมีความวิตกกังวลมากโดยที่ไม่มีอาการซึมเศร้า แต่คุณอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังเผชิญอยู่กับโรคซึมเศร้าหลังคลอดในรูปแบบหนึ่งนั่นเองค่ะ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้หญิงบางคนเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด
แม่ที่มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย หรือแม่เคยมีประวัติความผิดปกติทางอารมณ์มาก่อนมีแนวโน้มที่จะเป็นกับโรคซึมเศร้าหลังคลอดได้ แต่ตามข้อมูลของสมาคมกุมารแพทย์อเมริกัน ระบุว่า ครึ่งหนึ่งของแม่หลังคลอดที่ได้รับการวินิจฉัยเพิ่งเกิดอาการเช่นนี้เป็นครั้งแรกในชีวิต
ยังมีปัจจัยอื่นๆ อาทิ แม่ที่เคยสูญเสียลูก หรือ มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาสุขภาพ ทารกคลอดก่อนกำหนดและต้องอยู่ใน NICU รวมถึง แม่ที่ดื่มแอลกอฮอล์หรือยาเสพติดยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะมีอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเป็นอีกปัจจัยสำคัญ เนื่องจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอรโรนและเอสโตรเจนเพิ่มสูงขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ และลดต่ำลงอย่างมากในช่วง 2-3 วันหลังคลอด จึงส่งผลต่ออารมณ์ของแม่หลังคลอด
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นสิ่งที่แม่หลังคลอด หลาย ๆ คน ต้องเผชิญ แม่ต้องคอยสังเกตตัวเองให้ดีนะคะ ถ้ารู้สึกว่า ร้องไห้บ่อย เครียด หงุดหงิด ให้ปรึกษาคุณหมอ เพื่อวินิจฉัยอาการอย่างละเอียดว่าเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอดหรือไม่
ดูภาพจาก A Beautiful Body Project
ร่างกายคุณแม่หลังคลอด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!