ร่างกายหลังคลอดลูก เป็นอย่างไร?
ร่างกายหลังคลอดลูก ของคุณแม่
คุณจะรู้ได้เลยว่า เวลาให้นมจะมาถึงเมื่อไร เพราะ หน้าอกคุณจะเต็ม แน่น และหนักขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คุณจะมี อาการเต้านมคัด
หลาย ๆ คนคาดกันว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องที่มากันเองตามธรรมชาติ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไรที่อาจมีอุปสรรคกันบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงแรก ๆ แม้ว่าคุณได้รับการอบรมโดยที่ปรึกษาด้านการให้นมลูก หรือ พยาบาลที่โรงพยาบาลมาแล้วก็ตาม คุณอาจต้องการความช่วยเหลือ หลังจากคุณกลับถึงบ้านแล้วอยู่ดี
ที่ปรึกษาด้านการให้นม หรือกลุ่มคุณแม่ที่ให้นมบุตรต่าง ๆ สามารถเป็นผู้ช่วยแก้ปัญหา หรือ ให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นในช่วงวันแรก ๆ ได้ดี หากได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมแล้ว คุณก็จะเริ่มเรียนรู้การให้นมได้อย่างดียิ่งขึ้น ตั้งแต่การให้ลูกอมหัวนมอย่างถูกต้องไปจนถึงการหาท่าอุ้มลูกขณะให้นม
การให้นมลูกทำให้คุณเจ็บหัวนมได้มาก ลองให้นมลูกด้วยท่าทางที่แตกต่างกัน เพื่อป้องกันอาการเจ็บ และ หัวนมแตก ล้างหัวนมด้วยน้ำเปล่า ทาครีมลาโนลินบริสุทธิ์หลังการให้นม (ไม่ต้องเช็ดครีมออกก่อนให้นม) ให้หยดนม ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นกับหัวนมของคุณ หรือ การใช้น้ำแข็งอังไว้ที่หัวนมก็ช่วยได้เช่นกัน
หากคุณไม่แน่ใจว่าลูกหิวนมรึไม่ คุณควรสังเกตว่าลูกกลืนนม เมื่อคุณให้ลูกดูดนมรึเปล่า หากลูกแค่อยากเล่นมากกว่าอยากดูดนม คุณอาจลองให้ลูกดูดนิ้วโป้งตัวเอง เพื่อให้หัวนมได้พักบ้าง
หากคุณคลอดลูก ผ่านช่องคลอด
คุณอาจมี อาการเจ็บปวด หากคุณมีแผล หรือ มีแผลฝีเย็บ คุณจะยิ่งเจ็บปวดมากขึ้นไปอีก เอาผ้าห่อน้ำแข็งอังไว้ ที่บริเวณที่ปวด เพื่อลดอาการบวม คุณผู้หญิงบางคนใช้แผ่นแปะ ที่มีสารสกัดของต้นวิทช์ฮาเซล หรือ สมุนไพรอื่น ๆ เพื่อลดการอักเสบอีกด้วย
เมื่อคุณเข้าห้องน้ำ คุณควรใช้น้ำฉีดเบา ๆ แทนการใช้กระดาษชำระเช็ด เพราะ จะทำให้เจ็บปวดมาก
มีผู้หญิงหลายคน ที่ท้องผูกหลังคลอด การใช้ยาระบาย หรือ ยาที่ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม ก็ช่วยได้
หลังจากคลอดลูก คุณอาจอยากใส่ผ้าอนามัยแบบเต็ม เพื่อรองรับเลือด และ สารคัดหลั่ง ที่เรียกว่า น้ำคาวปลา ซึ่งจะมีสีต่างกันตั้งแต่แดง เหลือง ไปจนถึงขาว
การผ่าคลอด
การผ่าคลอด เป็นการผ่าตัดหน้าท้อง ที่ใหญ่มาก และ ถ้าคุณคลอดด้วยการผ่าคลอด คุณต้องมีใครสักคน คอยช่วยคนทำโน่นทำนี่ไปเกือบทุกอย่างไปอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ ตั้งแต่การทำงานบ้านพื้นฐาน ไปจนถึงการอุ้มลูก การให้นมลูก และ การเปลี่ยนผ้าอ้อมลูก อันที่จริงแล้ว คุณหมอหลายคนแนะนำ คนไข้ไม่ให้ถือ หรือ ยกของอะไร ที่หนักเกินกว่าเด็กทารก จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากคุณหมอ เมื่อได้รับการตรวจสุขภาพหลังคลอดแล้ว
คุณจะออกจากโรงพยาบาล พร้อมยาแก้ปวด นับเป็นความคิดที่ดีที่คุณจะจดบันทึกยา และ เวลาที่คุณกินยาแต่ละชนิด คุณแม่ผู้มีประสบการณ์แนะนำว่า ยาอะไรที่จำเป็นต้องกินก็กินเข้าไปเลย อย่าคิดว่าจะทน ๆ เอาได้แล้วไม่กินยา
ติดต่อคุณหมอ หากคุณสังเกตเห็นเลือด หรือ หนองซึมออกมาจากแผล ซึ่งเป็นสัญญาณของ การติดเชื้อ หรือกระทั่งสังเกตเห็นลิ่มเลือด ส่วนคุณแม่ที่คลอดผ่านช่องคลอด คุณอาจอยากกินยาระบาย หรือ ยา ที่ทำให้อุจจาระนุ่มลงอย่างน้อย ก็สำหรับการขับถ่ายครั้งแรกหรือสองครั้งแรกเพื่อหลีกเลี่ยงการเบ่งมาก ๆ
สิ่งที่น่าตกใจมากที่สุดเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องร่างกายของคุณหลังคลอด อาจเป็นร่างกายของคุณที่ยังดูเหมือนว่า คุณยังอุ้มท้องอยู่ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็อย่าได้กังวลไป โดยทั่วไปแล้วร่างกาย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนหน้าท้อง) ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ หรือ หลายเดือนเพื่อฟื้นตัว ระหว่างนี้ เป็นเรื่องปกติมาก ที่คุณจะใส่เสื้อผ้าเหมือนช่วงที่คุณกำลังอุ้มท้องอยู่นะ
ร่างกายหลังคลอดลูก
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่ และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เทคนิค การซื้อเสื้อผ้า สำหรับทารกแรกเกิด สำหรับคุณแม่มือใหม่ เลือกเสื้อผ้าแบบไหน ให้เจ้าตัวเล็กใส่สบาย ไม่ระคายผิว
วิธีสอนลูกให้คิดเป็น แม่เก่ง คุณแม่ที่ไปเรียนมาหลายศาสตร์ เพื่อสอนวิธิคิดให้ลูก
แชร์ประสบการณ์ ติวลูกเข้าสาธิตเอง จากแม่ฝน โรงเรียนสาธิตเกษตร (School Hit)
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!