ค่าฝากครรภ์ค่าคลอด ลดภาษี
ราชกิจจานุเบกษา ประกาศใช้ ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ค่าฝากครรภ์ค่าคลอด ลดภาษี สูงสุด 60,000 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
แม่ท้องนำค่า ฝากครรภ์
กฎกระทรวงฉบับที่ 338 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
แม่ท้องนำค่าฝ ากครรภ์
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (99) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
“(99) เงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสได้จ่ายเป็นค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรของตน ตามจํานวนที่จ่ายจริงสําหรับการตั้งครรภ์แต่ละคราวแต่ไม่เกินหกหมื่นบาท หากการจ่ายค่าฝากครรภ์ และค่าคลอดบุตรสําหรับการตั้งครรภ์แต่ละคราวมิได้จ่ายในปีภาษีเดียวกัน ให้ได้รับยกเว้นภาษี ตามจํานวนที่จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหกหมื่นบาท ทั้งนี้ สําหรับเงินได้ พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด”
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยมีอัตราการเกิดของประชากรลดลง ทําให้มีประชากรวัยแรงงานลดลงและอัตราส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้มีเงินได้มีบุตรเพิ่มมากขึ้น อันจะส่งผลให้โครงสร้างประชากรของประเทศมีความเหมาะสมกับการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต สมควรกําหนดให้เงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสได้จ่ายเป็นค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรของตนตามจํานวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหกหมื่นบาท เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ จึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
แม่ท้องนำค่าฝาก ครรภ์
ใจความสำคัญของค่าฝากครรภ์ค่าคลอด ลดภาษี สูงสุด 60,000 บาท คือ
- ค่าใช้จ่ายต้องเป็นค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร
- ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรสําหรับการตั้งครรภ์แต่ละคราว มิได้จ่ายในปีภาษีเดียวกัน ให้ได้รับยกเว้นภาษี ตามจํานวนที่จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหกหมื่นบาท หมายถึง หากมีค่าฝากครรภ์ในปีภาษีหนึ่ง เช่น ตั้งครรภ์ตั้งแต่ปีนี้ กำหนดคลอดลูกปีหน้า
- สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกับค่าใช้จ่ายที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป หรือเบิกย้อนหลังได้
แม่ท้องนำค่าฝากครรภ์
อย่างไรก็ตาม ข่าวจากเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ มีรายละเอียดว่า สิทธิการหักลดหย่อนดังกล่าวให้เฉพาะผู้ที่ไม่ได้มีการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ หรือคลอดบุตรจากแหล่งอื่น ๆ เช่น สิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ เป็นต้น
ที่มา : prachachat.net และ ratchakitcha.soc.go.th
แม่เตรียมเฮ! มีลูกคนที่ 2 ได้ลดหย่อนภาษีเพิ่ม หักค่าคลอด 3 หมื่นบาทต่อลูกหนึ่งคน
ค่าคลอดประกันสังคม เบิกอย่างไร เบิกได้เท่าไหร่ เบิกที่ไหน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
33 คำถาม : เงินประกันสังคมกรณีคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรยื่นอย่างไรให้ได้เงิน
เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดเข้าเมื่อไหร่ ลงทะเบียนที่ไหน ถ้าเงินไม่เข้าทำอย่างไร
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!