X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะตายคลอด คืออะไร ทำไมทารกตายคลอด สาเหตุของภาวะตายคลอด

บทความ 3 นาที
ภาวะตายคลอด คืออะไร ทำไมทารกตายคลอด สาเหตุของภาวะตายคลอด

เด็กทารกตายคลอด หรือภาวะตายคลอด (Stillbirth) คือการที่ทารกในครรภ์เสียชีวิตเป็นภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ที่พบไม่บ่อย แต่เป็นสิ่งที่น่ากลัวมากสำหรับคุณแม่เอง และแพทย์ผู้ดูแลรักษา เนื่องด้วยความคาดหวังของคุณแม่ และครอบครัว เมื่อตั้งครรภ์แล้ว ก็อยากให้เป็นการตั้งครรภ์ที่ปกติ ลูกคลอดออกมา น่ารัก มีสุขภาพแข็งแรง เป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัว แต่การตั้งครรภ์นั้น ไม่เพียงแต่แม่เท่านั้น ที่มีความวิตก แต่แพทย์เองก็มีความกังวลในการดูแลรักษาเช่นกัน เนื่องจากภาวะตายคลอด หรือ Stillbirth นั้น เป็นเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจนำไปสู่การร้องเรียน หรือฟ้องร้องได้

 

เด็กทารกตายคลอด ภาวะตายคลอด (Stillbirth)

แท้งบุตร หรือ ตายคลอด ต่างกันอย่างไร เด็กทารกตายคลอด คืออะไร

ภาวะตายคลอด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขณะตั้งครรภ์ หรือคลอดบุตร มีการให้คำจำกัดความที่หลากหลาย และมีความคาบเกี่ยวกับภาวะแท้งบุตร ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละประเทศ กล่าวคือ มักพบในคุณแม่ที่มีอายุครรภ์น้อย ถ้าหากภาวะแทรกซ้อนนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ทารกยังมีพัฒนาการไม่สมบูรณ์ ยังไม่เป็นตัว ไม่สามารถคลอดออกมาได้ จะเรียกอาการนี้ว่าแท้งบุตร แต่หากอายุครรภ์มากขึ้น ทารกเติบโตเป็นตัวแล้ว หากคลอดออกมาจะสามารถเลี้ยงดูให้รอดได้ การเสียชีวิตของทารกในช่วงเวลานี้เรียก การตายคลอด ในอเมริกา หรือยุโรปจึงกำหนดจุดตัดอายุครรภ์ไว้น้อยที่ 20 – 24 สัปดาห์ ส่วนในประเทศไทยกำหนดไว้ที่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ทั้งนี้ ขึ้นกับบริบท และความสามารถในการดูแลทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย ๆ ซึ่งในแต่ละโรงพยาบาลจะมีศักยภาพในส่วนนี้ต่างกันไป

 

เด็กทารกตายคลอด

สาเหตุของภาวะตายคลอด

ส่วนมากการตายคลอดนั้นไม่อาจหาสาเหตุที่แท้จริงได้ แต่ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะตายคลอด มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก ความผิดปกติของรก ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 30 และยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้อีก ได้แก่

  • ทารกมีโครโมโซมผิดปกติ
  • สายสะดือผิดปกติ
  • แม่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ (เช่น ปากมดลูกสั้น ครรภ์เป็นพิษ ภาวะน้ำคร่ำน้อยผิดปกติ ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เกินกำหนด)
  • แม่มีโรคที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด มีการติดเชื้อในครรภ์ (เช่น เชื้อซิฟิลิส เชื้อไวรัสบางชนิด) เป็นต้น

 

การหาสาเหตุภาวะตายคลอด

การหาสาเหตุของภาวะตายคลอดมีความจำเป็น เพื่อการวางแผนดูแลในครรภ์ถัดไป โดยแพทย์จะตรวจเลือดของมารดา ตรวจหาเชื้อโรคจากช่องคลอด และปากมดลูก ตรวจรก และสายสะดือหาความผิดปกติต่าง ๆ และผ่าตรวจศพทารก ซึ่งมีความสำคัญมาก แต่ต้องได้รับคำยินยอมจากมารดาเสียก่อน

เมื่อตรวจศพทารกแล้ว ท่านสามารถขอรับศพกลับเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่อไป ในประเทศไทยยังไม่ค่อยมีการตรวจศพทารกกันมากนัก เนื่องจากผู้ป่วยต้องชำระค่าใช้จ่ายเอง และบางรายก็ไม่อยากให้ผ่าศพทารก จึงไม่อาจสรุปสาเหตุการตายที่ชัดเจนได้

 

เด็กทารกตายคลอด

แนวทางการป้องกันภาวะตายคลอด

ขึ้นอยู่กับสาเหตุเป็นหลัก หากเป็นกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ จะมีความยากลำบากในการป้องกัน เนื่องจากไม่มีวิธีการรักษาที่จำเพาะที่ได้ผลดี โดยหลักทั่วไป จึงแนะนำให้ฝากครรภ์เร็ว ฝากครรภ์สม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่สุก และสะอาดเท่านั้น ดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงสารพิษ หรือการรับประทานยาที่ไม่มีคำสั่งแพทย์ และเมื่ออายุครรภ์เกิน 28 สัปดาห์ แนะนำให้นับลูกดิ้นเป็นกิจวัตรประจำวัน หากทารกดิ้นน้อยผิดสังเกตให้รีบไปพบแพทย์ทันที

ในกรณีที่พบภาวะตายคลอด จึงมีความจำเป็นที่ต้องดูแลด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีการตรวจพิเศษเพิ่มเติมหลายอย่าง เพื่อหาสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ ก่อนที่จะยุติการตั้งครรภ์ด้วยการเร่งคลอดนั่นเอง จึงแนะนำให้คุณแม่ไปดูแลรักษาในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม ทั้งนี้เพื่อที่จะสามารถวางแผนการดูแลในครรภ์ถัดไปได้อย่างเหมาะสม และทันท่วงที เป็นการป้องกันการเกิดซ้ำในการตั้งครรภ์ครั้งหน้าด้วย

 

เด็กทารกตายคลอด

การหยุดน้ำนม

ท่านจะได้รับคำแนะนำเรื่องการดูแลเต้านม เพือไม่ให้มีน้ำนมไหลหลังคลอด และอาจจำเป็นต้องใช้ยาหยุดการสร้างน้ำนม
สรุป ภาวะตายคลอดเป็นเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว มารดาส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความเสี่ยงนี้

จึงเป็นหน้าที่ของบุคคลากรทางการแพทย์ที่จะช่วยให้ความรู้ที่ถูกต้องอย่างทั่วถึงแก่ประชากรกลุ่มนี้ แล้วติดตามผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ต่อไป ภายในปี ค.ศ. 2030 องค์การอนามัยโลกได้ตั้งเป้าหมายไว้ ให้ลดอัตราการตายคลอดให้น้อยกว่า 12 ต่อ 1000 ของการคลอดบุตรทั้งหมด ซึ่งประเทศไทยจึงเป็นประเทศแรกๆที่ประสบความสำเร็จในการลดอัตราตายคลอด

ภาวะตายคลอดเป็นภาวะ ที่คนอาจจะไม่ค่อยได้ยินมากเท่าไหร่นัก เพราะคนไทยเมื่อเสียลูกไป อาจจะนึกถึงคำว่า แท้ง มากกว่าคำอื่น แต่จริงๆแล้วภาวะตายคลอด ก็เกิดขึ้นในไทยด้วยเช่นกัน ยิ่งคุณแม่ได้มีความรู้เรื่องนี้เพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้คุณแม่ รู้จักดูแลตัวเอง และ ป้องกันไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้นได้

 

อ้างอิง : www.webmd.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ภาวะตายคลอด (Stillbirth) เกิดขึ้นเพราะอะไร? สาเหตุของภาวะตายคลอด

ฟีเจอร์ นับลูกดิ้น กับ theAsianparent เว็บไซต์แม่และเด็กที่ดีอันดับหนึ่ง

การคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงอันตรายแค่ไหน แม่ท้องต้องรู้

ภาวะโลกร้อนทำให้ทารกเกิด ภาวะตายคลอด จริงหรือไม่!?

บทความจากพันธมิตร
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ภาวะตายคลอด คืออะไร ทำไมทารกตายคลอด สาเหตุของภาวะตายคลอด
แชร์ :
  • ภาวะตายคลอด (Stillbirth) เกิดขึ้นเพราะอะไร? สาเหตุของภาวะตายคลอด

    ภาวะตายคลอด (Stillbirth) เกิดขึ้นเพราะอะไร? สาเหตุของภาวะตายคลอด

  • 6 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตายคลอด บางอย่างคุณอาจไม่รู้

    6 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตายคลอด บางอย่างคุณอาจไม่รู้

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ภาวะตายคลอด (Stillbirth) เกิดขึ้นเพราะอะไร? สาเหตุของภาวะตายคลอด

    ภาวะตายคลอด (Stillbirth) เกิดขึ้นเพราะอะไร? สาเหตุของภาวะตายคลอด

  • 6 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตายคลอด บางอย่างคุณอาจไม่รู้

    6 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตายคลอด บางอย่างคุณอาจไม่รู้

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว