X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงอันตรายแค่ไหน แม่ท้องต้องรู้

บทความ 5 นาที
การคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงอันตรายแค่ไหน แม่ท้องต้องรู้

ภาวะคลอดก่อนกำหนดของคุณแม่ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงระยะเวลาตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากคุณแม่หรือทารกที่ไม่ปกติหรือมีอาการแทรกซ้อนที่เสี่ยงต่ออันตาย ดังนั้น แพทย์อาจจะทำการคลอดก่อนกำหนดให้เพื่อความปลอดภัยของแม่และทารก

การคลอดก่อนกำหนด ในคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่านต่างกังวลใจ ไม่ว่าจะคุณแม่มือใหม่หรือผ่านการคลอดบุตรมาแล้วก็ตาม ยิ่งอายุครรภ์ยังไม่ถึงเกณฑ์ในระยะปลอดภัยด้วยแล้ว การรอดชีวิตของทารกถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่ไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้เกิดขึ้นกับครอบครัวตนเอง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า แม่ท้องกำลังเสี่ยงในภาวะอันตรายเช่นนี้

 

การคลอดก่อนกำหนด

 

คลอดก่อนกำหนด ในคุณแม่ตั้งครรภ์คืออะไร

การคลอดก่อนกำหนด (Preterm Labor) คือ ภาวะของผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ปากมดลูกเปิด เนื่องมากจากมดลูกขยายและหดตัวก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์หรือประมาณ 9 เดือน ทั้งนี้อายุครรภ์ที่สมบูรณ์เตรียมคลอดได้จะอยู่ที่ 37-40 สัปดาห์ เรียกว่าระยะปลอดภัย แต่หากเกิดอาการดังกล่าวขึ้นก่อน ถือเป็นการคลอดก่อนกำหนดซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์และสุขภาพของคุณแม่ได้

 

การคลอดก่อนกำหนด ที่มีสาเหตุมาจากสุขภาพของแม่

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คุณแม่ตั้งครรภ์แต่ละท่านนั้นห่วงสุขภาพตัวเองและทารกน้อยแค่ไหน ทั้งทางโภชนาการและการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันเพื่อให้ลูกที่เกิดมานั้นปลอดภัยที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม สุขภาพของคุณแม่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด

 

1. โรคประจำตัวที่เป็นมาก่อนตั้งครรภ์

โรคประจำตัวอย่างโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เหล่านี้ ทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ เนื่องจากระหว่างที่อุ้มท้อง ร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนตลอดเวลา อีกทั้งโรคเรื้อรัง ยังทำให้คุณแม่ต้องรับประทานยารักษาอาการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

 

2. ภาวะเครียดและกดดัน

ยิ่งคุณแม่มือใหม่ยิ่งเครียดค่ะ เครียดว่าจะดูแลตัวเองอย่างไร เครียดเรื่องลูกในท้อง อีกทั้งระดับฮอร์โมนที่ทำให้สภาวะอารมณ์แปรปรวน คุณแม่บางท่านประสบปัญหาโรคซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์เลยก็มี ยิ่งไตรมาสที่ 3 ช่วงตั้งครรภ์ 6 เดือนท้องจะเริ่มใหญ่ขึ้น ร่างกายก็อึดอัด เหนื่อยง่าย ฮอร์โมนขึ้น ๆ ลง ๆ เผชิญกับภาวะทางร่างกายต่าง ๆ เช่น ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก ยิ่งสร้างความเครียดให้คุณแม่มากขึ้น

 

3. คุณแม่เคยคลอดก่อนกำหนดมาก่อน

ความกังวลของคุณแม่ที่เคยคลอดก่อนกำหนดมาก่อน ยิ่งมีความกังวลอย่างมาก เพราะคุณแม่อาจเคยเผชิญช่วงเวลาที่ยากลำบากในยามที่ต้องคลอดทารกก่อนเวลาอันควร ซึ่งท้องที่สองนี้ อาจทำให้คุณแม่ต้องประสบกับปัญหาต่าง ๆ อีกก็เป็นได้

 

4. ภาวะติดเชื้อขณะตั้งครรภ์

สิ่งที่ต้องระวังมากที่สุดคือ ภาวะติดเชื้อภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบขับถ่าย ทั้งทางปัสสาวะ อุจจาระที่คุณแม่หลายท่านกังวล และติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โรคไข้เลือดออก ยิ่งตอนนี้ โลกเราต้องเผชิญกับเชื้อไวรัส Covid – 19 ยิ่งเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนดมากขึ้น บางรายต้องเลือกว่า จะรักษาชีวิตแม่หรือชีวิตเด็กไว้

 

5. ไม่ระวังตนเองในการทำกิจกรรมต่างๆ

คุณแม่หลายท่านยังคงติดกับชีวิตประจำวันก่อนตั้งครรภ์ เช่น การเดินเร็ว การยกของหนัก ออกกำลังกายหนัก ๆ ซึ่งการที่ยังติดความเคยชินเหล่านี้ อาจทำให้คลอดก่อนกำหนดได้ โดยไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อน ถ้าจะออกกำลังกาย คุณแม่สามารถว่ายน้ำ โยคะ ได้ถึงไตรมาส 2 หรือ 28 สัปดาห์ หากเกินกว่านี้ ทำได้แค่เดินเบาๆ นิดหน่อยค่ะ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: เจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด อันตรายต่อโอกาสรอดของลูก

 

การคลอดก่อนกำหนด

การคลอดก่อนกำหนดที่มีสาเหตุจากความผิดปกติภายใน

นั่นคือ “มดลูก” ค่ะ อวัยวะสำคัญในการโอบอุ้มดูแลทารกตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงวันที่เขาออกมาลืมตาดูโลก มดลูกจึงเหมือนบ้านที่ทารกอยู่อาศัยในครรภ์ เติบโตและรับสารอาหารในนั้น หากมีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ เกิดขึ้น ย่อมเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดแน่นอน

 

1. ภาวะปากมดลูกสั้น

ให้เรานึกถึงถุงที่มีปากหูรูดสั้นๆ เสี่ยงต่อการแตกปริได้ง่าย แต่หากมดลูกมีหูรูดยาว จะมีความยืดหยุ่น หด ยืด ขยายได้ดี ตรงนี้เรียกว่าปากมดลูกยาว หากคุณแม่มีปากมดลูกสั้นแค่ 2 เซนติเมตร ต้องระวังการคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากเมื่อทารกน้อยค่อย ๆ เจริญเติบโตขึ้น มดลูกขยายใหญ่ขึ้น จนปากมดลูกปริ นั่นถือเป็นความเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งคุณแม่จะทราบว่าปากมดลูกของตนเองสั้นหรือยาวนั้นก็ต่อเมื่อมีการอัลตร้าซาวนด์ในช่วงไตรมาสที่ 2 หรือเดือนที่ 4 เป็นต้นไปค่ะ

 

2. มีเนื้องอก และมดลูกมีรูปร่างผิดปกติ

หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีเนื้องอกหรือซีสต์ในมดลูก ก้อนเนื้อจะไปเบียดกับทารกทำให้มดลูกบีบรัดผิดปกติ อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ รูปร่างของมดลูกที่ผิดรูปผิดร่าง หรือมีมดลูก 2 ข้าง ทั้ง 2 สาเหตุนี้ทำให้คุณแม่มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดได้

 

3. ถุงน้ำคร่ำเกิดการติดเชื้อ

เกิดภาวะแทรกซ้อนในถุงน้ำคร่ำเช่น อาการอักเสบ จากการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งส่วนใหญ่ จะมาจากช่องคลอดผ่านเข้าไปถึงมดลูกและถุงน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มทารก

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: น้ำคร่ำ คืออะไร? มีหน้าที่สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร

 

การคลอดก่อนกำหนดที่มีสาเหตุมาทารกในครรภ์

นอกจากสุขภาพของคุณแม่แล้ว สุขภาพของทารกเองก็สำคัญ เพราะไม่ว่าคุณแม่จะดูแลครรภ์ของตนเองดีอย่างไร แต่หากทารกไม่สมบูรณ์ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คลอดก่อนกำหนดได้

 

1. ทารกหยุดหายใจ

หลายเหตุผลเหลือเกินที่ต้องสูญเสียทารกไปก่อนที่พวกเขาจะออกมาพบกับคุณแม่ ไม่ว่าจะเหตุผลใด ๆ ก็ตาม การที่ทารกเสียชีวิตในครรภ์สามารถเกิดได้ทุกช่วงอายุครรภ์ค่ะ

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

 

2. ความผิดปกติทางร่างกาย

ทารกจะมีกำหนดคลอดโดยปกติอยู่ที่อายุครรภ์ 37-40 สัปดาห์ แต่ระหว่างนั้น การอัลตร้าซาวนด์ใด ๆ หากแพทย์พบว่ามีความผิดปกติทางร่างกาย หรือพิการ แพทย์จะทำการผ่าคลอดก่อนกำหนด เพื่อรักษาชีวิตของทารกเอาไว้ จากนั้นนำมาดูแลในตู้อบกับอุณหภูมิที่เหมาะสมจนกว่าเขาจะสามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง

 

3. คุณแม่มีลูกฝาแฝด

ในทางการแพทย์แล้ว การตั้งครรภ์ลูกแฝด คือ การตั้งครรภ์ไม่ปกติ เนื่องจากกว่า 50 % จะมีภาวะคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากมดลูกของคุณแม่จะบีบตัวเร็ว อาจทำให้คุณแม่มีภาวะน้ำท่วมปอดจนเสียชีวิต ดังนั้นแพทย์จึงมักทำการคลอดก่อนกำหนดเพื่อความปลอดภัยทั้งลูกแฝดและคุณแม่

 

 

สัญญาณอันตรายบอกว่า คุณแม่ท้องกำลังจะคลอดก่อนกำหนด

  • คุณแม่มีอาการเจ็บท้อง คล้ายการบีบรัดของมดลูกประมาณ 4-5 ครั้งภายในเวลา 20 นาที
  • บั้นเอว และ หลังล่างมีอาการปวดอย่างต่อเนื่อง
  • มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด
  • มีน้ำใสออกมาจากช่องคลอด หรือที่เรารู้จักในภาวะ “น้ำเดิน”
  • คุณแม่ตัวบวม ซึ่งเกิดจากความดันโลหิตที่สูงขึ้น ต้องรีบพบแพทย์ด่วน
  • รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง นั่นแสดงว่าเขากำลังขาดออกซิเจน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: มูกเลือด ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม? สัญญาณใกล้คลอดหรือเปล่า?

 

การคลอดก่อนกำหนด

 

คุณแม่ท้องควรดูแลตัวเองอย่างไร

  • คุณแม่ต้องฝากครรภ์ เพื่อวางแผนกับคุณหมอในการเช็คร่างกาย และจดบันทึกความเปลี่ยนของตัวเองทุกสัปดาห์
  • ตรวจเลือด ตรวจโรคประจำตัว ถ้าจะให้ดี ควรตรวจร่างกายเพื่อวางแผนมีบุตรเสียก่อน
  • ดูแลตัวเองเรื่องโภชนาการทางสุขภาพร่างกาย รับประทานอาหารปรุงสุก จดบันทึกในสิ่งที่รับประทานในแต่ละวันยิ่งดี
  • ดูแลสุขภาพใจ อย่าเครียด อย่าให้ความแปรปรวนทางอารมณ์มาทำร้ายร่างกาย
  • พยายามอยู่ในบรรยากาศที่ถ่ายเท ฝึกการหายใจ เข้า-ออก ยาวๆ เพื่อฝึกสมาธิ
  • หมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของตัวเอง จดบันทึกไว้ เพื่อเวลาไปพบคุณหมอจะได้ปรึกษาทันที

 

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีความผิดปกติดังนี้

  • ทางด้านหัวใจนั้น เส้นเลือดที่เชื่อมต่อจากเส้นเลือดแดงใหญ่ไปหล่อเลี้ยงร่างกาย กับเส้นเลือดที่เชื่อมไปสู่ปอด อาจเปิดอยู่ ทำให้เลือดผ่านเข้าสู่ปอดมากกว่าปกติ จนทำให้ทารกหอบ
  • ในส่วนของปอด อาจขาดสารลดแรงตึงของผิวปอด ทำให้ถุงลมแฟบ จนมีอาการหายใจหอบ ซึ่งต้องใช้เครื่องช่วยหายใจไปสักระยะ
  • สมองเล็กกว่าปกติ หากทารกหนักไม่ถึง 1,500 กรัมก็เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในสมองได้
  • กระเพาะ ลำไส้ มีความบอบบาง ระบบการทำงานไม่ปกติ เช่น การย่อยและดูดซึมสารอาหารได้ยาก ทารกอาจต้องได้รับอาหารผ่านทางสายยางผ่านหลอดเลือดดำ
  • จอประสาทตาไม่สมบูรณ์ อาจส่งผลต่อการมองเห็นของทารกได้ ส่วนหู อาจเสี่ยงต่อความบกพร่องทางการได้ยิน
  • เนื่องจากทารกคลอดก่อนกำหนดจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเกิดโรคต่าง ๆ ตามมาง่ายมาก

 

การคลอดก่อนกำหนดสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุครรภ์ค่ะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของคุณแม่และทารกแต่ละกรณีไป ซึ่งไม่สามารถกำหนดได้ว่า การคลอดก่อนกำหนดช่วงกี่เดือนจึงจะปลอดภัย คุณแม่ท้องบางท่าน มีทารกอายุ 7 เดือนก็สามารถคลอดออกมาอย่างปลอดภัย แต่สำหรับบางท่าน ต้องสูญเสียทารกอันเป็นที่รักไปทั้งจะครบกำหนดคลอดอยู่ไม่กี่วัน

 

ดังนั้น ฝากให้คุณแม่วางแผนก่อนการตั้งครรภ์โดยการ ฝากครรภ์ ทำการอัลตร้าซาวนด์ และตรวจสุขภาพ เช็คครรภ์ทุกระยะ ระวังเรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน การรับประทานอาหาร การทำกิจกรรม และต้องสังเกตุตัวเองเสมอเพื่อลดความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดค่ะ

 

บทความที่น่าสนใจ

แอโรบิกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ปลอดภัยหรือไม่ มีข้อควรระวังอย่างไร

คนท้องเป็นริดสีดวง รักษาอย่างไร มีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง?

แม่ติดโควิดหลังคลอด ให้นมบุตรได้หรือไม่? ควรปฏิบัติตนอย่างไร?

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการคลอดก่อนกำหนด ได้ที่นี่!

คลอดก่อนกำหนด สาเหตุมาจากอะไรคะ แล้วมีอาการอะไรบ้างคะ

ที่มา  1 ,  2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • การคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงอันตรายแค่ไหน แม่ท้องต้องรู้
แชร์ :
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

  • คนท้องเป็นตะคริวที่ขา เป็นตะคริวบ่อยตอนท้องปกติไหม อันตรายหรือเปล่า?

    คนท้องเป็นตะคริวที่ขา เป็นตะคริวบ่อยตอนท้องปกติไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • คนท้องเล่นเกมได้ไหม แม่ติดเกม เล่นแบบไหนให้ปลอดภัยตอนท้อง

    คนท้องเล่นเกมได้ไหม แม่ติดเกม เล่นแบบไหนให้ปลอดภัยตอนท้อง

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

  • คนท้องเป็นตะคริวที่ขา เป็นตะคริวบ่อยตอนท้องปกติไหม อันตรายหรือเปล่า?

    คนท้องเป็นตะคริวที่ขา เป็นตะคริวบ่อยตอนท้องปกติไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • คนท้องเล่นเกมได้ไหม แม่ติดเกม เล่นแบบไหนให้ปลอดภัยตอนท้อง

    คนท้องเล่นเกมได้ไหม แม่ติดเกม เล่นแบบไหนให้ปลอดภัยตอนท้อง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ