X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ยาเร่งคลอด ส่งผลต่อทารกอย่างไร ฉีดยาเร่งคลอด อันตรายกับแม่ท้องมากไหม

บทความ 5 นาที
ยาเร่งคลอด ส่งผลต่อทารกอย่างไร ฉีดยาเร่งคลอด อันตรายกับแม่ท้องมากไหม

ในขณะที่คุณแม่ครบกำหนดคลอดแต่ยังไม่มีการเจ็บครรภ์คลอดเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่แล้วข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ จำเป็นต้องให้มีการเร่งคลอดเกิดขึ้นเพื่อช่วยชีวิตคุณแม่และทารกในครรภ์เอาไว้ ซึ่งการคลอดหรือการยุติการตั้งครรภ์นั้นจะส่งผลดีมากกว่าให้ดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไป

ยาเร่งคลอด เป็นยาที่ช่วยให้มดลูกบีบตัว ทำให้การคลอดดำเนินไปตามปกติ ไม่ใช้เวลานานในการคลอด โดยมักจะใช้ก่อต่อเมื่อมีสาเหตุที่จำเป็นต้องเร่งคลอด เช่น การฉีดยาเร่งคลอด

  • คุณแม่ตั้งครรภ์เกิน 40 สัปดาห์ ซึ่งในกรณีนี้จะพบได้บ่อยที่สุด
  • ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด ในกรณีนี้ หากปล่อยไว้นาน อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ หรือมีความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกเสี่ยงพิการแต่กำเนิดได้
  • รกผิดปกติ หรือการเจริญเติบโตของทารกผิดปกติ ทารกในครรภ์โตช้า หรือมีน้ำหนักน้อย เนื่องจากคุณแม่มีโรคประจำตัว เช่นโรคเลือด โรคติดเชื้อต่างๆ หรือมีสภาพมดลูกไม่สมบูรณ์
  • คุณแม่ทีสูบบุหรี่จัด
  • แม่ท้องมีความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือตกเลือดก่อนคลอด เป็นต้น

 

สาเหตุจำเป็นต้องเร่งคลอด การฉีดยาเร่งคลอด

  • คนท้องตั้งครรภ์เกิน 40 สัปดาห์
  • ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด หรือก่อนที่อายุครรภ์จะครบ 37 สัปดาห์ หากปล่อยไว้นานอาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรือทารกเสี่ยงพิการแต่กำเนิดได้
  • ภาวะที่การทำงานของรกหรือการเจริญเติบโตของทารกผิดปกติ ทารกในครรภ์เติบโตช้าหรือมีน้ำหนักตัวน้อย เนื่องจากคุณแม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเลือด โรคติดเชื้อต่าง ๆ หรือสภาพมดลูกไม่สมบูรณ์ คุณแม่ที่สูบบุหรี่จัดระหว่างตั้งครรภ์ หรือการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมในขณะตั้งครรภ์ กรณีเหล่านี้คุณหมออาจตัดสินใจเร่งคลอดเพื่อความปลอดภัยของทารก
  • เกิดได้จากภาวะที่แม่ตั้งครรภ์มีความดันโลหิตสูง ภาวะครรภ์เป็นพิษ เบาหวาน ตกเลือดก่อนคลอด
  • คุณแม่ที่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาล เดินทางไม่สะดวก เกรงว่าถ้ารอให้เจ็บครรภ์คลอดก่อนแล้วค่อยเดินทางมาจะไม่ทัน
  • คุณแม่ที่ต้องการคลอดลูกให้ตรงตามฤกษ์ยาม ซึ่งกรณีนี้ส่วนใหญ่มักจะทำการผ่าคลอดมากกว่า เพราะทารกที่เกิดจากการเร่งคลอดเร็วเกินไปก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับการหายใจได้

 

ยาเร่งคลอด

ยาเร่งคลอด

 

วิธีกระตุ้นคลอด ทำได้อย่างไรบ้าง

 

1. การเซาะแยกถุงน้ำคร่ำ หรือการกวาดปากมดลูก (Membrane stripping, Membrane sweeping)

วิธีนี้ ถือเป็นวิธีการเร่งคลอดที่ทำได้ง่าย มีความปลอดภัย และได้ผลดี โดยที่สูติแพทย์จะใช้นิ้วกวาดปากมดลูก เพื่อค่อยๆ  ขยายปากมดลูก และกระตุ้นให้เริ่มมีการเจ็บครรภ์คลอด

 

2. การเจาะถุงน้ำคร่ำ (Amniotomy)

ในกรณีที่ปากมดลูกขยายมากเพียงพอแล้ว แต่ถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก คุณหมอจะทำการเจาะถุงน้ำคร่ำเมื่อปากมดลูกเปิดได้ประมาณ 3 เซนติเมตร เพื่อให้มดลูกเกิดการหดตัว

 

3. ยาเร่งคลอด (ฮอร์โมนออกซีโตซิน – Oxytocin)

เป็นยาที่มีคุณสมบัติช่วยให้มดลูกบีบตัว ทำให้การคลอดดำเนินไปตามปกติไม่ใช้เวลานานมากนัก

 

4. การใช้ฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin)

นับเป็นวิธีล่าสุดที่ใช้ในการเร่งคลอด ยาที่ใช้มีทั้งรูปแบบของเจล และแบบที่เป็นยาเหน็บช่องคลอด โดยการสอดเข้าไปในช่องคลอด ซึ่งตัวยาจะฤทธิ์ทำให้ปากมดลูกอ่อนนุ่มลง และเปิดขยาย รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้มีการหดรัดตัวของมดลูกดีขึ้น

บทความที่น่าสนใจ : 8 วิธีลดความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ทำอย่างไรได้บ้าง? ให้ลูกปลอดภัย

 

เมื่อไหร่ที่ห้ามเร่งคลอด

  • ทารกในครรภ์ไม่แข็งแรง หรืออาจอยู่ในท่าที่ไม่สามารถเร่งคลอดได้ เช่น ทารกท่าก้น หรือท่าขวาง
  • มีรกเกาะต่ำ (Placenta previa) เพราะรกจะไปกีดขวางการคลอดได้
  • มีภาวะสายสะดือพาดผ่านปากมดลูกและติดกับถุงน้ำคร่ำ (Vasa previa)
  • มีภาวะสายสะดือย้อย (Umbilical cord prolapse)
  • คุณแม่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ตัวโตเกินไป ในกรณีนี้คุณหมอจะไม่เร่งคลอดให้ เนื่องจากจะคลอดได้ยากและอาจทำให้ทารกบอบช้ำจากการเร่งคลอดได้
  • คุณแม่ที่เป็นมะเร็งปากมดลูก เพราะการเร่งคลอดจะทำให้มดลูกบีบตัวแรง ปากมดลูกขยายตัว และอาจทำให้มะเร็งแพร่กระจายได้
  • คุณแม่เคยผ่าตัดคลอดในท้องแรกมาก่อน เพราะการเร่งคลอดจะทำให้มดลูกบีบตัวแรงและกล้ามเนื้อบริเวณแผลเป็นไม่แข็งแรงมากพอ ซึ่งอาจจะทำให้แผลปริหรือแตกได้
  • คุณแม่ที่เคยผ่าตัดมะเร็งปากมดลูก เพราะการผ่าตัดมะเร็งปากมดลูกจะทำให้มดลูกบาง ถ้าเร่งคลอดก็อาจทำให้แผลฉีกขาดได้

 

อาการปวดท้องคลอดลูกเป็นอย่างไร อาการใกล้คลอด เจ็บท้องจริง เจ็บท้องหลอก ปวดท้องแบบนี้ จะคลอดยังลูก? เจ็บจริงเจ็บหลอก งงไปหมด แบบไหนคือใกล้คลอด ระยะคลอดลูก

คลอดลูก ยาเร่งคลอด

 

วิธีเร่งคลอดทางการแพทย์แบบอื่นๆ

  1. การกวาดปากมดลูก เป็นวิธีเร่งคลอดที่ทำได้ง่าย มีความปลอดภัยและได้ผลดี โดยวิธีการนี้จะคล้ายๆ กับการตรวจภายใน โดยคุณหมอจะค่อยๆ ใช้นิ้วกวาดบริเวณปากมดลูก เพื่อกระตุ้นให้มีการเจ็บครรภ์คลอด และจากการศึกษาพบว่า หลังจากใช้วิธีนี้ แม่ท้อง 2 ใน 3 มีอาการเจ็บครรภ์คลอดตามมาภายใน 72 ชั่วโมง
  2. การใช้ฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน วิธีการนี้ คุณหมอจะใช้ฮอร์โมนในรูปของเจลหรือยา เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์ โดยเหน็บช่องคลอด โดยสอดเข้าไปที่บริเวณคอมดลูก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอด
  3. การเจาะถุงน้ำคร่ำ วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นให้มีการเจ็บครรภ์คลอดเกิดขึ้น เพราะเมื่อถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว ศีรษะของทารกจะเลื่อนต่ำลงมามากขึ้น และไปกดขยายปากมดลูกให้เปิด

ในปัจจุบันมีสถิติการเร่งคลอดเพิ่มมากขึ้นด้วยหลาย ๆ ปัจจัย รวมถึงสาเหตุที่กล่าว แต่ถ้าการตั้งครรภ์ของคุณแม่เป็นปกติดีทุกอย่าง หากตั้งใจคลอดลูกด้วยตัวเอง ควรรอให้มีการเจ็บครรภ์เกิดขึ้นตามธรรมชาติจะดีที่สุดนะคะ เพราะการใช้ยาเร่งคลอดนั้น เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการที่ลูกคลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด หรือมดลูกอาจแตกจากการเร่งคลอดที่รุนแรงเกินไปได้ และลงท้ายด้วยการผ่าคลอดสูงหากเร่งคลอดไม่สำเร็จ

 

ยาเร่งคลอด ส่งผลต่อทารกอย่างไร

การใช้ยากระตุ้นเพื่อเร่งคลอดนั้น จะช่วยให้กล้ามเนื้อมดลูกมีการบีบตัว ส่งผลให้รูปากมดลูกค่อยๆ เปิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และในขณะที่มดลูกบีบตัว หลอดเลือดต่างๆ ในมดลูก จะมีการไหลเวียดเลือดจากมดลูกแระรก ไปยังทารกในครรภ์น้อยลง ซึ่งอาจจะส่งผลให้ทารกเกิดอาการของภาวะขาดเลือด ขาดสารอาหาร หรือขาดออกซิเจนในช่วงนั้นได้ อาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้นกับทารกนั้น จะสังเกตได้จากกราฟ หรือจากการฟังเสียงหัวใจของทารกในครรภ์ ซึ่งก็จะพบว่า หัวใจของทารกเต้นช้าลง โดยแพทย์จะรีบทำการช่วยเหลือโดยรีบด่วน หากพบอาการผิดปกติกับทารกดังกล่าว

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : เด็กเล็กใช้ยาเพนนิซิลลินเสี่ยงแพ้ยาได้

 

ยาเร่งคลอดส่งผลต่อแม่ท้องหรือไม่

ผลกระทบต่อคุณแม่ ในการใช้ยาเร่งคลอดนั้น จะทำให้เกิดการเจ็บท้องมาก เพราะการหดรัดตัวมีมากขึ้น และอาจส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม หากการหดรัดตัวของมดลูกมีมาก ก็อาจทำให้เกิดการติดขัดในกระบวนการคลอดได้ เช่น ทารกคลอดลำบากเพราะไม่ได้สัดส่วนกับเชิงกรานของแม่ท้อง ซึ่งในกรณีเช่นนี้คุณหมออาจทำการผ่าคลอดแทน

 

ยาเร่งคลอด

ยาเร่งคลอด

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

 

ข้อห้ามการใช้ยาเร่งคลอด

กรณีที่เป็นข้อห้ามในการใช้ยาเร่งคลอดที่ต้องระวังมีดังนี้

  1. เคยผ่าคลอดมาก่อน หรือมีแผลบริเวณมดลูก เพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะมดลูกแตกได้
  2. มีสภาวะรกเกาะต่ำ กรณีนี้ คุณหมออาจให้ทำการผ่าคลอดแทน
  3. ทารกตัวใหญ่กว่าอุ้งเชิงกรานของคุณแม่
  4. ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง ท่าก้น เป็นต้น

หากแม่ท้องมีการตั้งครรภ์ที่เป็นปกติ ก็ควรรอให้มีการเจ็บครรภ์คลอดตามธรรมชาติจะดีที่สุด เพราะการใช้ยาเร่งคลอดอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งจากการที่ทารกคลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด หรืออาจทำให้มดลูกแตกได้ หากการเร่งคลอดรุนแรงเกินไป และหากเร่งคลอดไม่สำเร็จ ยังอาจจะต้องทำการผ่าตัดคลอดอีกด้วย

 

ยาเร่งคลอด9

ยาเร่งคลอด

 

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ท้องไม่ควรเป็นกังวลใจมากเกินไป เพราะทุกอย่างอยู่ในดุลพินิจของคุณหมอ ซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยของแม่ท้องเป็นหลักอยู่แล้ว ซึ่งก็จะไม่ได้ใช้กับแม่ท้องที่ตั้งครรภ์ปกติทั่วไปนะครับ ในระหว่างนี้ แม่ท้องก็ควรดูแลสุขภาพของตัวเองตามปกติ และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างเช่นมีเลือดออก หรือมีอาการปวดท้องคลอดก่อนกำหนด หากพบว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ก็ให้รีบพบคุณหมอโดยด่วน เพื่อความปลอดภัยต่อทั้งคุณแม่ และลูกในท้องครับ

 

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

วิธีเร่งคลอดธรรมชาติ ทำอย่างไรให้ปากมดลูกเปิด

แม่ตั้งครรภ์มีเซ็กส์ตอนท้อง ถึงจุดสุดยอดจะเร่งคลอดหรือเปล่า

วิธีขมิบ ขมิบช่องคลอด ทําอย่างไร การขมิบช่องคลอดหลังคลอด ออกกำลังกายน้องสาว ขมิบน้องสาวให้ฟิต

ที่มา: 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • ยาเร่งคลอด ส่งผลต่อทารกอย่างไร ฉีดยาเร่งคลอด อันตรายกับแม่ท้องมากไหม
แชร์ :
  • ฉีดยาเร่งคลอด ส่งผลต่อทารกอย่างไร ฉีดยาเร่งคลอด อันตรายกับแม่ท้องมากไหม

    ฉีดยาเร่งคลอด ส่งผลต่อทารกอย่างไร ฉีดยาเร่งคลอด อันตรายกับแม่ท้องมากไหม

  • ถ่ายเอกสารตอนตั้งครรภ์ เป็นอันตรายต่อลูกในท้องหรือเปล่า?

    ถ่ายเอกสารตอนตั้งครรภ์ เป็นอันตรายต่อลูกในท้องหรือเปล่า?

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ฉีดยาเร่งคลอด ส่งผลต่อทารกอย่างไร ฉีดยาเร่งคลอด อันตรายกับแม่ท้องมากไหม

    ฉีดยาเร่งคลอด ส่งผลต่อทารกอย่างไร ฉีดยาเร่งคลอด อันตรายกับแม่ท้องมากไหม

  • ถ่ายเอกสารตอนตั้งครรภ์ เป็นอันตรายต่อลูกในท้องหรือเปล่า?

    ถ่ายเอกสารตอนตั้งครรภ์ เป็นอันตรายต่อลูกในท้องหรือเปล่า?

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ