X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วัคซีนเด็ก ตารางวัคซีน​ 2566 มีอะไรบ้าง ต้องฉีดตอนไหน พ่อแม่เช็กด่วน!!

บทความ 8 นาที
วัคซีนเด็ก ตารางวัคซีน​ 2566 มีอะไรบ้าง ต้องฉีดตอนไหน พ่อแม่เช็กด่วน!!

อัปเดต วัคซีนเด็ก ตารางวัคซีน​ 2566 สำหรับคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายมาเช็กได้เลย ตารางวัคซีน​ 2566 กำหนดการให้วัคซีนตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2023 ได้ถูกปล่อยออกมาแล้ว มาอัปเดตกันได้ว่า วัคซีนพื้นฐานของเด็กแรกเกิด ไปจนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีอะไรบ้าง ตัวไหนต้องฉีดตอนอายุเท่าไหร่ การพาลูกไปฉีดวัคซีนเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย โดยเฉพาะสำหรับเด็กแรกเกิด ไปจนถึงเด็กประถมศึกษาปีที่ 6 หรืออายุประมาณ 12 ปี เพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันโรคร้ายแรงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้

 

 

วัคซีนเด็ก มีอะไรบ้าง

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำแผนงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค หรือตารางการให้วัคซีน เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เด็กฉีดวัคซีนพื้นฐานฟรี โดยในปัจจุบันวัคซีนพื้นฐานของเด็ก สามารถควบคุมโรคร้ายต่าง ๆ ได้มากกว่าสิบโรค ได้แก่

  • วัคซีนวัณโรค หรือวัคซีนบีซีจี
  • วัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี
  • วัคซีนโรคคอตีบ
  • วัคซีนโรคไอกรน
  • วัคซีนโรคบาดทะยัก
  • วัคซีนโรคโปลิโอที่มีทั้งแบบชนิดรับประทานและชนิดฉีด
  • วัคซีนโรคหัด
  • วัคซีนโรคหัดเยอรมัน
  • วัคซีนโรคคางทูม
  • วัคซีนโรคไข้สมองอักเสบเจอี
  • วัคซีนโรคเอชพีวี
  • วัคซีนโรคฮิบ
  • วัคซีนโรต้า

 

วัคซีนเด็ก

กำหนดการฉีดวัคซีนให้เด็กตามอายุ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี

วัคซีนที่ให้เด็กแรกเกิด

  • HB1 วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (ควรให้เร็วที่สุดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด)
  • BCG วัคซีนป้องกันวัณโรค (ฉีดให้เด็กก่อนออกจากโรงพยาบาล)

 

วัคซีนเด็ก อายุ 1 เดือน

  • HB2 วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (เฉพาะรายที่คลอดจากแม่ที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี)

 

วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 2 เดือน

  • DTP-HB-Hib1 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ
  • OPV1 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
  • Rota1 วัคซีนโรต้า (ห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งที่ 1 ในเด็กอายุมากกว่า 15 สัปดาห์)

วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 4 เดือน

  • DTP-HB-Hib2 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ
  • OPV2 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
  • IPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (ให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด 1 เข็ม พร้อมกับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน 1 ครั้ง)
  • Rota2 วัคซีนโรต้า (ห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งสุดท้าย ในเด็กอายุมากกว่า 32 สัปดาห์)

 

วัคซีนเด็ก 1

 

วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 6 เดือน

  • DTP-HB-Hib3 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ
  • OPV3 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
  • Rota3 วัคซีนโรต้า

 

วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 9 เดือน

  • MMR1 วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (หากไม่ได้ฉีดเมื่ออายุ 9 เดือน ให้รีบติดตามฉีดโดยเร็วที่สุด)

 

วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 1 ปี

  • LAJE1 วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์

 

วัคซีนเด็ก เด็กอายุ 1 ปี 6 เดือน

  • DTP4 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
  • OPV4 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน

 

วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 2 ปี 6 เดือน

  • LAJE2 วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์
  • MMR2 วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน

 

วัคซีนเด็ก เด็กอายุ 4 ปี

  • DTP5 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
  • OPV5 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน

 

ตารางวัคซีน​ 2020

 

วัคซีนที่ให้เด็กประถมศึกษาปีที่ 1 (ตรวจสอบประวัติและเก็บตกวัคซีน)

  • MMR วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน
  • HB วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี
  • LAJE วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์
  • IPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด
  • dT วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก
  • OPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
  • BCG วัคซีนป้องกันวัณโรค

 

วัคซีนที่ให้เด็กประถมศึกษาปีที่ 5 (เฉพาะผู้หญิง)

  • HPV1 และ HPV2 วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อเอชพีวี

 

วัคซีนที่ให้เด็กประถมศึกษาปีที่ 6

  • dT วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัด

บทความที่น่าสนใจ : แผลบาดทะยัก เป็นแบบไหน จะรู้ได้ยังไงว่าลูกเป็นโรคบาดทะยัก

 

เด็กที่มารับวัคซีนล่าช้า ควรทำอย่างไร

  • วัคซีนทุกชนิด ถ้าไม่สามารถเริ่มให้ตามกำหนดได้ ก็เริ่มให้ทันทีที่พบครั้งแรก
  • สำหรับวัคซีนที่ต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง หากเด็กมารับวัคซีนครั้งต่อไปล่าช้า สามารถให้วัคซีนครั้งต่อไปได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นครั้งที่ 1 ใหม่
  • กรณีให้วัคซีนแก่ผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วนหรือล่าช้า เด็กจะได้รับวัคซีนตามกำหนดครบภายในระยะเวลา 1 ปี จากนั้นให้วัคซีนต่อเนื่องตามที่กำหนดในกำหนดการให้วัคซีนปกติ

 

วัคซีนเด็ก

โรคที่ต้องมีการรับวัคซีนเพิ่มเติม

คุณพ่อคุณแม่สามารถพาเด็กไปรับวัคซีนได้ตามคลินิกทั่วไป เทศบาลท้องถิ่น รวมไปถึงโรงพยาบาล โดยควรนำสมุดบันทึกการฉีดวัคซีนของเด็กไปด้วยทุกครั้ง และไม่ควรรับวัคซีนถ้าหากเด็กมีไข้ขึ้นสูงค่ะ

 

วัคซีนโรต้า (Rota)

สิ่งที่คุณแม่จะต้องอัปเดตกันหน่อย ก็คือวัคซีนโรต้า (Rota) ที่ตอนนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้บรรจุไว้ในวัคซีนพื้นฐานของเด็กแล้ว คุณแม่สามารถขอรับวัคซีนหลักได้ฟรี โดยสำหรับวัคซีนโรต้านั้น ให้หยอดตามตารางวัคซีนเด็ก ที่ช่วงอายุ 2, 4 และ 6 เดือน หยอดครั้งแรกอายุ 6-15 สัปดาห์ ส่วนครั้งสุดท้าย ให้หยอดในช่วงที่ไม่เกิน 8 เดือน แต่ละครั้งต้องห่างกันมากกว่า 1 เดือน สำหรับการรับวัคซีนล่าช้า สามารถทำได้ แต่องค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำว่า อายุไม่ควรเกิน 2 ปีค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีนเด็กควรพาลูกไปฉีดเมื่อไหร่ ทำไมคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปรับวัคซีนให้ตรงเวลา
วัคซีนเด็กควรพาลูกไปฉีดเมื่อไหร่ ทำไมคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปรับวัคซีนให้ตรงเวลา
ไขข้อข้องใจ เด็กเล็กไม่ได้รับวัคซีนตามนัด มีผลเสียอย่างไร ? แม่อยาก เลื่อนนัดรับวัคซีน ในช่วง New Normal ได้ไหม ?
ไขข้อข้องใจ เด็กเล็กไม่ได้รับวัคซีนตามนัด มีผลเสียอย่างไร ? แม่อยาก เลื่อนนัดรับวัคซีน ในช่วง New Normal ได้ไหม ?
แม่รู้ไหม ทำไมควร กระตุ้นภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง ด้วย วัคซีนรวม 6 โรค
แม่รู้ไหม ทำไมควร กระตุ้นภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง ด้วย วัคซีนรวม 6 โรค

วัคซีนอีสุกอีใส (Varicella Vaccine / Chickenpox Vaccine)

วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ถือเป็นวัคซีนเสริม สามารถให้ได้ที่อายุน้อยสุด 1 ปี แนะนำว่าควรได้รับวัคซีนเข็มแรกในช่วง 12-18 เดือน จะดีที่สุด ส่วนเข็มที่ 2 ควรให้เมื่ออายุ 2-4 ปี อาจจะฉีดก่อน 4 ปีได้ ถ้าหากช่วงนั้นโรคอีสุกอีใสกำลังระบาด สำหรับเด็กอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป ไปจนถึงผู้ใหญ่ ถ้าหากไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน ให้ฉีด 2 เข็ม โดยเว้นระยะห่างกัน 1 เดือน

 

วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก

วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก CYD-TDV (Chimeric Yellow Fever Dengue Tetravalent Dengue Vaccine) ถือเป็นอีกวัคซีนเสริม สามารถฉีดได้ช่วงอายุ 9-45 ปี จำนวนทั้งหมด 3 เข็ม สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน ให้ฉีดตอน 0, 6 และ 12 เดือน ส่วนสำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาก่อน ควรตรวจเลือดก่อนให้วัคซีน

 

วัคซีนโควิด 19

  • วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 วัคซีนไฟเซอร์ สําหรับเด็กอายุ 5 – 11 ปี บรรจุในขวดแก้ว “ฝาขวดและฉลากสีส้ม”
  • วิธีการฉีด: เข้าชั้นกล้ามเนื้อ (Intramuscular injection)
  • กําหนดการให้วัคซีน : ตามคําแนะนําของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ให้ฉีดวัคซีนขนาด 10 ไมโครกรัม ปริมาณ 0.2 มิลลิลิตร เข้ากล้ามเน้ือ 2 ครั้ง ห่างกัน 3 – 12 สัปดาห์ โดยระยะห่าง 8-12 สัปดาห์ จะดีกว่า 3-4 สัปดาห์ เพราะได้ระดับภูมิคุ้มกันที่สูงกว่า
  • อายุที่สามารถฉีดวัคซีนได้: ตั้งแต่อายุ 5 ปี ถึง 11 ปี 11 เดือน 29 วัน

ข้อห้าม

  1. ห้ามใช้ในผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงจากการฉีดวัคซีนโควิด 19 ครั้งก่อน หรือแพ้อย่าง รุนแรงต่อ ส่วนประกอบของวัคซีน
  2. ห้ามนำวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ (ฝาขวดสีม่วง) มาใช้ในเด็กอายุ 5 – 11 ปี เพื่อป้องกัน การให้วัคซีนผิดพลาด (Administration errors, including dosing errors)

 

วัคซีนเด็ก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เริ่มจองได้แล้ว! ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เปิดให้จองคิวฉีดไฟเซอร์สำหรับเด็ก

ทำความรู้จัก 6 โรคอันตรายในเด็ก ที่ป้องกันได้ด้วย วัคซีนรวม เพียงเข็มเดียว

ฉีดวัคซีนแล้ว ทำไมลูกถึงไม่สบาย อาการต่าง ๆ หลังการรับวัคซีน มีอะไรบ้าง

แพ็คเกจวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ราคาฉีดวัคซีนโรงพยาบาลชั้นนำ กรุงเทพฯ

ที่มา : 1 , 2 , 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

PP.

  • หน้าแรก
  • /
  • วัคซีน
  • /
  • วัคซีนเด็ก ตารางวัคซีน​ 2566 มีอะไรบ้าง ต้องฉีดตอนไหน พ่อแม่เช็กด่วน!!
แชร์ :
  • ตารางวัคซีน ปี 2561 จากกระทรวงสาธารณสุขมาแล้ว เช็คเลย!

    ตารางวัคซีน ปี 2561 จากกระทรวงสาธารณสุขมาแล้ว เช็คเลย!

  • ตารางวัคซีน และการเลือกวัคซีนรวมให้ลูกเจ็บตัวน้อยลง

    ตารางวัคซีน และการเลือกวัคซีนรวมให้ลูกเจ็บตัวน้อยลง

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ตารางวัคซีน ปี 2561 จากกระทรวงสาธารณสุขมาแล้ว เช็คเลย!

    ตารางวัคซีน ปี 2561 จากกระทรวงสาธารณสุขมาแล้ว เช็คเลย!

  • ตารางวัคซีน และการเลือกวัคซีนรวมให้ลูกเจ็บตัวน้อยลง

    ตารางวัคซีน และการเลือกวัคซีนรวมให้ลูกเจ็บตัวน้อยลง

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ