X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกเป็นโรต้า ท้องเสีย มีไข้ เชื้อโรคร้ายที่รุนแรง โรต้าไวรัส (Rotavirus) มีอะไรบ้าง

บทความ 5 นาที
ลูกเป็นโรต้า ท้องเสีย มีไข้ เชื้อโรคร้ายที่รุนแรง โรต้าไวรัส (Rotavirus) มีอะไรบ้าง

ลูกเป็นโรต้าไวรัสหรือติดเชื้อไวรัสตัวอื่นกันแน่! ถ้าลูกมีอาการท้องเสีย มีไข้ ต้องรีบไปตรวจอย่างละเอียด

หนาวนี้เด็กป่วยมาก! ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย มีไข้ จนต้องแอดมิท ลูกเป็นโรต้า ติดเชื้อ โรต้าไวรัส หรือเจอเชื้อไวรัสตัวอื่นกันแน่ อาการป่วยสำคัญของทารกและเด็กเล็ก ที่คุณหมออยากเตือน

ลูกท้องเสีย มีไข้ หมอเตือน อาจติดเชื้อ โรต้าไวรัส ทำให้ ลูกเป็นโรต้า

ในช่วงฤดูหนาวนี้ มีเด็ก ๆ ที่มีอาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย และมีไข้ กันหลายคน บางคนก็มีอาการรุนแรงจนต้องมารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลกันเลยทีเดียว เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้เพื่อการดูแล และป้องกันอย่างถูกต้องกันนะคะ

 

สาเหตุการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินอาหารเกิดขึ้นได้อย่างไร?

โรคนี้ เกิดจากการสัมผัสกับเชื้อไวรัส ที่ทำให้เกิดอาการจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร โดยเชื้อไวรัสที่พบบ่อยในเด็กเล็กโดยเฉพาะทารกและวัยน้อยกว่า 5 ขวบปี คือ Rotavirus ที่พบเป็นลำดับรองลงมา ได้แก่ Adenovirus, Astrovirus นอกจากนี้ ยังพบว่าการติดเชื้อ Adenovirus และ Sapovirus เป็นสาเหตุของการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อยในเด็กโตและผู้ใหญ่อีกด้วยค่ะ

ลูกเป็นโรต้า โรต้าไวรัส

 

การติดต่อกับเชื้อไวรัส

สำหรับการติดต่อกับเชื้อไวรัสเหล่านี้เกิดขึ้นได้จาก

  • การสัมผัสกับอุจจาระ น้ำมูก น้ำลาย ที่อาจอยู่ตามของเล่นหรือสิ่งของที่เด็กเล็กใช้ร่วมกัน
  • เชื้อไวรัสปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม
  • ไวรัสบางชนิดก็สามารถติดต่อในระบบทางเดินหายใจ และส่งผลให้มีอาการในระบบทางเดินอาหารได้

เด็กเล็กนั้นมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรต้าไวรัสมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขายังพัฒนาไม่สมบูรณ์ เมื่อเด็ก ๆ มาใกล้ชิดกันใน โรงเรียน หรือ nursery หรือสถานที่เล่นของเล่นต่าง ๆ จึงมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคผ่านของเล่น ของใช้ ที่ปนเปื้อนเชื้อโรคไปโดยไม่รู้ตัว อีกทั้งเด็กในวัยทารกและวัยเตาะแตะชอบเอามือเข้าปาก ทำให้มีการติดเชื้อได้ง่าย ที่สำคัญไวรัสโรต้ามีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม สามารถมีชีวิตรอดอยู่นอกร่างกายได้หลายชั่วโมง  ซึ่งเพิ่มโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อทำให้เกิดการระบาดอย่างรวดเร็ว

 

อาการของการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินอาหารเป็นอย่างไร?

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินอาหารไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ สามารถมีอาการรุนแรงที่แตกต่างกันได้ตั้งแต่มีการติดเชื้อไม่มีอาการเลย จนถึงมีการขาดน้ำรุนแรงและเสียชีวิตได้ โดยอาการที่พบบ่อยคือมีไข้ต่ำ ๆ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และอาจตามมาด้วยการถ่ายเหลวเป็นน้ำโดยไม่มีเลือดปน เบื่ออาหาร อาการต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่เกิน 7 วัน แต่ส่วนใหญ่มักจะหายเองภายในเวลาไม่เกิน 3 วัน หากได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องและไม่มีภาวะแทรกซ้อน

ทั้งนี้ อาการปวดท้องมักจะไม่รุนแรง และอาการท้องเสียมักจะไม่มากกว่า 6 ครั้งใน 24 ชั่วโมง

หากมีอาการไข้สูง ปวดท้องรุนแรงมาก และความถี่ในการถ่ายอุจจาระมากกว่า 10 ครั้งใน 24 ชั่วโมง อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารแทรกซ้อนได้ และหากผู้ป่วยมีอาการซึมลง ปากแห้ง ตาลึกโหล กระหม่อมบุ๋มในทารก ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ปัสสาวะเลยใน 6 ชั่วโมง แสดงว่ามีอาการรุนแรงจากการสูญเสียน้ำมาก

ลูกเป็นโรต้า โรต้าไวรัส

 

การวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินอาหารทำได้อย่างไร?

การวินิจฉัยโรคนี้โดยปกติจะใช้การวินิจฉัยโรคจากอาการของผู้ป่วยที่กล่าวมาข้างต้นเป็นหลัก โดยไม่จำเป็นต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม

ในปัจจุบันมีการตรวจที่สามารถ screen หาเชื้อ Rotavirus, Norovirus, Adenovirus พบว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย ๆ ได้ รวมทั้งมีการตรวจวินิจฉัยด้วย PCR ต่อเชื้อไวรัสในอุจจาระทั้ง 5 ชนิดที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ Rotavirus, Astrovirus, Norovirus, Adenovirus และ Sapovirus โดยจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า

ทั้งนี้ ไวรัสในระบบทางเดินอาหารเหล่านี้ อาจทำให้เกิดอาการที่คล้ายกัน โดยมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เช่น ในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีหรือทารกมักเกิดจากเชื้อไวรัส Rotavirus, Astrovirus, และ Adenovirus โดย Rotavirus มักจะทำให้เกิดอาการขาดน้ำที่รุนแรงได้มากที่สุด หากไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน การติดเชื้อ Norovirus และ Sapovirus มักจะมีไข้ได้น้อยกว่า Rotavirus และ Adenovirus

หากต้องการจะทราบว่าการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินอาหารของผู้ป่วยเกิดจากเชื้อโรคชนิดใด ให้แน่ชัดจะต้องส่งตรวจเชื้อไวรัสในอุจจาระเท่านั้น ซึ่งเป็นประโยชน์ในแง่ของระบาดวิทยาและการควบคุมโรค นอกจากนี้ หากผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรงหรือสงสัยการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนในระบบทางเดินอาหารคุณหมอก็จะพิจารณาส่งตรวจอุจจาระดูเม็ดเลือดขาวเม็ดเลือดแดงและเพาะเชื้อในอุจจาระเพิ่มเติม ตรวจเลือดเพื่อดูการติดเชื้อแทรกซ้อน และเพาะเชื้อในเลือด รวมทั้งตรวจเกลือแร่ในเลือดและดูค่าการทำงานของไตหากสงสัยภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง

ลูกเป็นโรต้า โรต้าไวรัส

หากสงสัยว่าลูกมีการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารควรทำอย่างไร?

หากพ่อแม่สงสัยว่าลูกมีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารโดยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือถ่ายเหลวปริมาณไม่มาก ทานน้ำและอาหารได้ ไม่ซึม ปัสสาวะปกติ คุณพ่อคุณแม่สามารถให้การดูแลเบื้องต้นได้โดยให้ลูกจิบน้ำเกลือแร่ในปริมาณใกล้เคียงกับที่สูญเสียไป โดยค่อย ๆ จิบทีละน้อยจากแก้ว หรือใส่ช้อนตักป้อน ทานนมแม่เป็นหลัก ทานอาหารที่ย่อยง่าย โดยเฉพาะ ข้าวต้ม หรือโจ๊ก

ถ้าลูกมีอาการรุนแรง เช่น ซึม มีไข้สูง อาเจียนหรือถ่ายปริมาณมาก มีมูกเลือดปน ทานได้น้อย ไม่มีปัสสาวะเลยใน 6 ชั่วโมง ก็ควรพาลูกไปพบคุณหมอโดยด่วนนะคะ

 

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินอาหาร ทำได้อย่างไร?

การดูแลสุขภาพอนามัยพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการป้องกันโรคนี้ โดยเน้นที่การล้างมือให้สะอาด ทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ ไม่ใช้มือหยิบจับอาหารเข้าปาก ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เด็กเล็กและทารกควรทานนมแม่เพื่อจะได้มีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อ

ในกรณีที่ผู้ปกครองต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมให้กับลูก ควรล้างมือหลังเปลี่ยนทุกครั้ง และหมั่นทำความสะอาดของเล่นของลูกน้อยอยู่เสมอ

 

วัคซีนป้องกัน เมื่อ ลูกเป็นโรต้า โรต้าไวรัส

สำหรับวัคซีนที่ใช้ป้องกันไวรัสอันเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารมีเพียงชนิดเดียว คือ วัคซีนชนิดหยอด Rotavirus ซึ่งสามารถให้ได้ในวัยทารกเท่านั้นค่ะ

โดยตัววัคซีนจะมีส่วนช่วยในการลดความรุนแรงของโรค โดยสามารถเริ่มหยอดครั้งแรกได้ตั้งแต่ อายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป และหยอดห่างจากครั้งแรกประมาณ 1 เดือน โดยจะหยอดจากทางปาก 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีนค่ะ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยเข้าพบกุมารแพทย์เพื่อรับวัคซีนและคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมค่ะ

 

ติดตามเราได้ที่ Facebook: theAsianparent Thailand

ที่มา: Bangkok Hospital

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทารกร้องเวลาถ่าย ไขข้อข้องใจเรื่องการขับถ่ายของทารก ทำไมลูกชอบร้องตอนอึ ท้องผูกหรือท้องเสีย

ลูกมีไข้สูง ตัวร้อน จะชักหรือไม่ ทำอย่างไรดี

วัคซีนโรต้าฟรี ทารก 2 เดือน ต้องหยอดวัคซีนโรต้า ป้องกันโรต้าไวรัส Rotavirus เชื้ออันตราย

อาเจียน ท้องเสีย เสี่ยงติดเชื้อโนโรไวรัส ที่กำลังระบาดหนัก

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ลูกเป็นโรต้า ท้องเสีย มีไข้ เชื้อโรคร้ายที่รุนแรง โรต้าไวรัส (Rotavirus) มีอะไรบ้าง
แชร์ :
  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

  • แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

    แผลปลูกฝีเป็นหนอง ต้องดูแลยังไง? ลูกมีไข้ งอแงหลังปลูกฝี ปกติไหม?

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

    หมอเตือน! โรคครูป ระบาดหน้าฝน สังเกตเสียงไอ-รับมือก่อนลูกแย่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว