คางทูม เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ ที่สามารถติดเชื่อไวรัสได้จากคนสู่คน โดยที่สัมผัสกับละอองของน้ำลายผู้ที่ติดเชื้อ จากการ ไอ จาม ไวรัสจะเคลื่อนตัวจากระบบทางเดินหายใจ ไปยังต่อมของน้ำลายบริเวณข้างหู เมื่อต่อมนั้นเกิดอาการอักเสบจะทำให้เกิดอาการเจ็บ ปวด และบวม แดง นอกจากนี้แล้ว ถ้าไวรัสแพร่กระจายแล้วสู้สมองและไขสันหลังแล้ว ก็อาจจะแพร่ไปยังส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในร่างกายได้ สงผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาทีหลังได้ เราไปดูกันว่า อาการของโรคคางทูม เป็นอย่างไร? สาเหตุที่เป็นเพราะสิ่งใด?
ขอขอบคุณวีดีโอจาก : nuradio , https://www.youtube.com
คางทูม อาการ เป็นอย่างไร?
คางทูม อาการ โรคคางทูมมักจะมีอาการที่ผิดปกติที่สามารถสังเกตได้นั้นก็คือ ต่อมน้ำลายที่อยู่บริเวณข้างหูมีอาการเจ็บ ปวด บวม แดง อย่างเห็นได้ชัด และจะมีอาการตามข้างต้นนี้ คือ
- ปวดศีรษะ
- มีไข้สูงกว่า 38 องศสเซลเซียส
- เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
- ปากแห้ง
- มีอาการเบื่ออาหาร
- ปวดตามเนื้อตัว และข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย
บทความที่เกี่ยวข้อง : ป้องกันโควิด เมื่อออกจากบ้าน ป้องกันอย่างไรให้ห่างไกลโควิด – 19
คางทูม อาการ คางทูม เป็นอย่างไร? คางทูมอาการเป็นแบบไหน
สาเหตุของโรคคางทูมคืออะไร?
สาเหตุของ โรคคางทูม เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัส เป็นวัยรัสที่อยู่ในอากาศสามารถแพร่กระจายได้โดยการ ไอ จาม เหมือนโรคหวัดธรรมดา หรือสัมผัสเข้ากับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย จากผู้ป่วยที่อาจจะแฝงอยู่ตามวัตถุต่าง ๆ เช่น โต๊ะ ลูกบิดประตู เก้าอี้ หรือแม้แต่งสิ่งของส่วนตัวที่ให้ร่วมกัน ผู้ป่วยในส่วนใหญ่แล้วมักจะแพร่เชื้อก่อรที่จะมีอาการบวมของต่อมน้ำลายบริเวณข้างหู 2-3 วัน โดยที่เชื้อไวรัสนี้จะเคลื่อนตัวออกจากระบบทางเดินหายใจตั้งแต่ ปาก จมูก ลำคอ ไปยังต่อมน้ำลายที่อยู่บริเวณข้างหูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง โดยปกติแล้วโรคนี้จะใช้ระยะเวลาในการฟักตัวประมาณ 16-18 วัน แล้วจะพบมากในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นหนักในเด็กช่วงอายุ 5-9 ปี จะมีอัตราการป่วยที่สุด หรือกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนนั้นเอง
การวินิจฉัยของ โรคคางทูม?
โรคคางทูม ในปกติแล้วจะรักษาตามอาการหากว่ายังไม่ได้มีอาการอะไรที่รุนแรง หรือพบอาการแทรกซ้อน โดยแพทย์ก็อาจจะวินิจฉัย คางทูม อาการ ดังนี้
- ตรวจสารก่อภูมิต้านทานของ (Antigen) ในเลือด
- ตรวจอาการ บวม ของต่อมน้ำลายที่อยู่บริเวณข้างหู และต่อม ทอนซิล ในปาก
- ตรวจวัดอุณหภูมิ ของผู้ป่วยดูว่าอยู่ในระดับที่สูงผิดปกติอยู่หรือไม่
- ตรวจเช็คประวัติการ อาการเจ็บป่วยของตัวผู้ป่วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : ภูมิแพ้ ลูกเป็นภูมิแพ้ รับมือได้ยังไงบ้าง รักษาได้หรือเปล่า?
คางทูม อาการคางทูม ไวรัส คางทูมอาการเป็นยังไง
การรักษา โรคคางทูม เป็นอย่างไร?
การรักษาของโรคคางทูมในปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาได้โดยเฉพาะ แต่ก็มีวิธีที่สามารถช่วยลดอาการ ปวด และทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้น ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จนกว่าอุณหภูมิในร่างกายจะเป็นปกติ
- รับประทานยาลดไข้จำพวกพาราเซตามอลหรือ ไอบูโปรเฟน และไม่ควรใช้ยา แอสไพริน กับเด็กน้อย และบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เพราะอาจเกิดกลุ่มอาการ ไรย์ซินโดรม ซึ่งจะทำให้ตับ และสมองมีอาการ บวม อาเจียน อ่อนเพลีย ชัก และหมดสติลงได้
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว เพราะกรดในน้ำผลไม้จะทำให้ต่อมน้ำลายเกิดการระคายเคืองมากขึ้น และทำให้ปวดบวมมากขึ้นได้
- การประคบร้อน หรือการประคบเย็นเพื่อช่วยลดอาการปวดบวมที่บริเวณต่อมน้ำลายได้
- รับประทานอาหารอ่อน หรืออาหารเหลว เช่น โจ๊ก ซุป เพื่อลดการเคี้ยว และการกระแทกในบริเวณที่มีอาการ ปวด บวม
โดนส่วยใหญ่แล้วผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น และหายได้ในเวลาประมาณ 7-10 วัน แต่เมื่อได้รับการรักษาตามอาการแล้วไม่ดีขึ้น ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วย เพราะอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคที่มากับหน้าฝน มีอะไรบ้าง มาดูวิธีรับมือและป้องกันลูกน้อยจากโรคเหล่านี้กัน!!
วิธีการป้องกัน โรค คางทูม
การป้องกันของโรคคางทูมสามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีน MMR (Measles Mumps Rubella Vaccine) เป็นการฉีดเข้าไปใต้ผิวหนัง ขนาด 0.5 มิลลิลิตร บริเวณกึ่งกลางต้นขาด้านหน้า ในเด็กหรือต้นแขนใน ผู้ใหญ่ ซึ่งจะสามารถป้องกันได้ถึง 95% การรับวัคซีนจะเกิดขึ้นทั้งหมด 2 ครั้ง คือ
- ครั้งแรกในเด็วัยอายุ 9-12 เดือน
- ครั้งที่ 2 ในเด็กอายุประมาณ 2 ขวบ หรือ 4-6 ขวบ
เมื่อปี พ.ศ. 2556 กระทรวงสาธารณะสุข ของประเทศไทย มีการแนะนำให้เปลี่ยนการฉีดวัคซีน MMR ครั้งที่ 2 จากเด็กอายุ 4-6 ขวบ เลื่อนเข้ามาเป็นอายุ 2 ขวบครึ่ง เพื่อเร่งการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กที่ได้รับวัคซีนครั้งแรกในอายุ 9 เดือน แล้วไม่ได้ผล
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
สถานการณ์เสี่ยงติดโควิด ที่คุณแม่และเด็ก ๆ ต้องหลีกเลี่ยง !!
เลี้ยงลูกแบบนี้ไง ลูกถึงเป็น โรคพฤติกรรมเกเรก้าวร้าว เด็กเกเร ไม่ใช่เรื่องเล็ก
โรคซางในเด็กเล็ก คืออะไร รักษาอย่างไร ยาซาง คืออะไร
แหล่งที่มา : (pobpad)
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!