X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แผลบาดทะยัก เป็นแบบไหน จะรู้ได้ยังไงว่าลูกเป็นโรคบาดทะยัก

บทความ 5 นาที
แผลบาดทะยัก เป็นแบบไหน จะรู้ได้ยังไงว่าลูกเป็นโรคบาดทะยัก

แผลบาดทะยัก เป็นแบบไหน เด็กที่เป็นบาดทะยักมีอาการยังไง มาดูกัน (ภาพโดย shutterstock.com)

แผลบาดทะยัก อาจเกิดขึ้นได้ตอนที่เด็กวิ่งเล่น ซุกซน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูก ๆ เป็นบาดทะยักหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบมาให้คุณแม่

 

บาดทะยัก คืออะไร

บาดทะยักเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ชื่อคลอสทริเดียม เททานี (Clostridium Tetani) ซึ่งอยู่ในดินและอุจจาระของสัตว์ โดยมักจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนัง และผ่านเส้นประสาทไปยังสมองหรือไขสันหลังทำให้ระบบประสาทของกล้ามเนื้อทำงานไม่ปกติ ความจริงแล้ว บาดทะยักไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ก็เป็นโรคที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยมักจะระบาดในช่วงหน้าร้อน หรือในช่วงที่อากาศอบอ้าว

กลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นบาดทะยักนั้น อาจมีดังนี้

  • เด็กที่อาศัยอยู่ในประเทศด้อยพัฒนา จึงไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
  • เด็กที่ไม่ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักตั้งแต่เด็ก
  • เด็กที่แม่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักตอนตั้งครรภ์
  • เด็กที่สะดือไม่สะอาด หรือไม่มีคนทำความสะอาดสะดือให้หลังจากคลอด
  • เด็กที่กระดูกหัก และมีกระดูกแทงทะลุผิวหนัง
  • เด็กที่โดนสัตว์ทำร้าย หรือแมลงกัดต่อย
  • เด็กที่เข้ารับการผ่าตัด หรือเข้ารับการรักษาทางทันตกรรม
  • เด็กที่มีแผลไฟไหม้ หรือแผลที่เกิดจากของมีคม
  • เด็กที่ชอบเจาะหรือสักตามร่างกาย
  • เด็กที่ใช้เข็มฉีดยาที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ

ซึ่งหลังจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายเด็กผ่านทางแผลแล้ว เด็กจะเริ่มมีอาการภายใน 3-21 วัน สำหรับเด็กทารก อาจจะต้องใช้เวลา 3-14 วัน กว่าคุณแม่จะสังเกตเห็นความผิดปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง : วัคซีนโรคบาดทะยัก 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

 

แผลบาดทะยัก

แผลบาดทะยัก เกิดได้จากแผลไฟไหม้ แผลจากของมีคม หรือแผลสุนัขกัด (ภาพโดย pixabay.com)

แผลบาดทะยัก เป็นแบบไหน

โดยทั่วไป บาดทะยักมักจะเกิดจากแผลลึก แผลผิวหนังไหม้ ผิวหนังที่ตายแล้ว แผลน้ำเหลือง แผลที่เกิดจากแรงกระแทก แผลสุนัขกัดหรือแมวข่วน รวมถึงแผลที่เปื้อนดิน น้ำลาย หรืออุจจาระของสัตว์ รวมทั้งยังเกิดได้จากการสักหรือเจาะตามร่างกาย ซึ่งเด็กที่เป็นบาดทะยัก มักมีอาการต่อไปนี้

  • กรามค้าง กรามกระตุก
  • กล้ามเนื้อหน้าท้อง หลัง แขน และขาตึง
  • มีปัญหาในการดูดนม และร้องไห้ตลอดเวลา
  • ปวดกล้ามเนื้อคอ ไหล่ และหลัง
  • กล้ามเนื้อใบหน้ายึดตึง
  • มีปัญหาในการปัสสาวะ
  • กระสับกระส่าย หงุดหงิด
  • มีเหงื่อออก
  • กลืนอาหารได้ลำบาก
  • ปวดศีรษะ
  • มีอาการชัก
  • ชีพจรเต้นไว
  • มีไข้

นอกจากนี้ เด็กบางคนที่เป็นบาดทะยัก อาจมีอาการแทรกซ้อน เช่น หายใจลำบาก เนื่องจากเส้นเสียงทำงานผิดปกติ กล้ามเนื้อชักเกร็งจนกระดูกหัก ติดเชื้อในปอด ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเส้นเลือดอุดตันในปอด เป็นต้น แต่เด็กบางคน ก็อาจมีอาการเหมือนกับโรคทั่วไปอย่างไข้หวัด จนคุณแม่ไม่สังเกตเห็นความผิดปกติ

แม้ว่าบางครั้ง อาจเป็นเรื่องยากที่จะสังเกตเห็นอาการได้ แต่หากเด็ก ๆ มีแผลลึก แผลไฟไหม้ แผลขนาดใหญ่ที่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ โดนสุนัขหรือแมวกัด หรือมีสิ่งสกปรกปะปนอยู่ในแผลและล้างไม่ออก คุณแม่ควรรีบปฐมพยาบาลแผลเบื้องต้นให้เด็ก จากนั้นควรรีบพาเด็กไปพบหมอ เพื่อรับการรักษาและป้องกันโดยด่วน ซึ่งเมื่อเข้าพบแพทย์ แพทย์อาจทำการซักประวัติ และสอบถามเกี่ยวกับอาการบาดเจ็บที่ผิวหนังของเด็ก รวมถึงทำการตรวจผิวหนังบริเวณที่เกิดแผล ซึ่งวิธีการรักษา จะขึ้นอยู่กับอายุ อาการ และโรคประจำตัวของเด็ก โดยคุณหมออาจฉีดยาต้านบาดทะยัก และให้รับประทานยาปฏิชีวนะ แต่หากเด็กคนไหนมีอาการรุนแรง ก็อาจจะต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อรักษาตัว รวมทั้งหากหายใจลำบาก ก็อาจจะต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ และให้รับประทานยาแก้อาการชัก

บทความที่เกี่ยวข้อง : วัคซีนป้องกันบาดทะยักสำคัญอย่างไรเมื่อตั้งครรภ์

 

แผลบาดทะยัก 2

หากเด็กมีแผลบริเวณขา ให้ติดพลาสเตอร์เอาไว้ เพื่อไม่ให้แผลปนเปื้อนดิน (ภาพโดย shutterstock.com)

ป้องกันแผลบาดทะยักในเด็กยังไงดี

มีวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยป้องกันเด็กจากโรคบาดทะยักได้ วิธีที่ว่านี้ ก็คือการฉีดวัคซีนให้กับเด็ก ซึ่งโดยปกติเด็ก ๆ ควรเข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคหลัก ๆ 3 โรคอย่างโรคบาดทะยัก โรคคอตีบ โรคไอกรน โดยควรเริ่มฉีดครั้งแรกเมื่ออายุ 2 เดือน และฉีดครั้งสุดท้ายตอนอายุไม่เกิน 6 ปี นอกจากนี้ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ก็ยังควรเข้ารับการฉีดวัคซีนดังกล่าว เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากโรคเหล่านี้ ที่อาจเกิดในระหว่างการตั้งครรภ์

และนอกจากการฉีดวัคซีนกันบาดทะยักแล้ว คุณแม่ยังสามารถปกป้องน้อง ๆ ไม่ให้เกิดบาดแผลได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • ไม่ปล่อยให้เด็ก ๆ เล่นตามลำพัง คอยสอดส่องอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ป้องกันได้ทัน หากกำลังจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับเด็ก
  • ไม่ให้เด็กเล่นอยู่บริเวณที่จอดรถ เพราะคนใช้รถอาจมองไม่เห็นเด็ก
  • ให้เด็กสวมหมวกกันน็อกทุกครั้งที่ปั่นจักรยาน
  • ไม่ให้เด็กอยู่ใกล้อาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อน เพราะเด็กอาจโดนความร้อนจนทำให้เป็นแผลได้
  • ไม่ให้เด็กเข้าใกล้สัตว์ตอนที่สัตว์กำลังนอน หรือกำลังกินอาหารอยู่
  • ไม่ให้เด็กเข้าใกล้สุนัข หรือแมวของคนอื่น เพราะสัตว์อาจจะไม่คุ้นเคยกับเด็กมากพอ
  • ตรวจดูเครื่องเล่นที่สนามเด็กเล่นให้เรียบร้อยก่อนที่เด็กจะเล่นเครื่องเล่น
  • ไม่วางเก้าอี้หรือโซฟาไว้ใกล้หน้าต่าง เพราะเด็กอาจปีนขึ้นไปและกระโดดออกทางหน้าต่างได้
  • ไม่วางสิ่งของมีคมหรือวัตถุที่อาจทำอันตรายต่อเด็กไว้ในที่ ๆ เด็กเอื้อมถึง

บทความที่เกี่ยวข้อง :  การห้ามเลือดหากลูกบาดเจ็บ หรือเป็นแผลต้องทำอย่างไร

 

วิธีปฐมพยาบาลเด็ก เมื่อเด็กเป็นแผล

หากเด็กเป็นแผล คุณแม่ยังสามารถปฐมพยาบาลให้เด็กเบื้องต้นได้ดังนี้

  1. สวมถุงมือก่อนเริ่มปฐมพยาบาลทุก ๆ ครั้ง
  2. ใช้น้ำสะอาดล้างแผลเด็กให้สะอาด เพื่อล้างดินและสิ่งสกปรกออกจากแผล
  3. ไม่ควรล้างแผลด้วยแอลกอฮอล์ล้างแผล
  4. ทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ แผลด้วยสบู่
  5. ใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าก็อซกดแผล เพื่อห้ามเลือด
  6. หากเลือดซึมผ่านผ้าก็อซ ให้นำผ้าก็อซแผ่นอื่นมากดทับไปเรื่อย ๆ
  7. เมื่อเลือดหยุดไหล ให้กดแผลต่ออีกประมาณ 1-2 นาที
  8. ยกบริเวณที่เกิดแผลให้อยู่สูง เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลได้อีกครั้ง
  9. เมื่อเลือดหยุดไหล ให้ทายาฆ่าเชื้อชนิดครีม
  10. หากแผลอยู่บริเวณต่ำ และเสี่ยงที่จะปนเปื้อนดิน ให้ติดพลาสเตอร์ที่แผล หรือใช้ผ้าพันแผลเอาไว้
  11. หมั่นเช็คดูว่าแผลมีอาการอักเสบ หรือรุนแรงขึ้นหรือเปล่า

เป็นเรื่องยาก ที่จะห้ามไม่ให้เด็กเล่นสนุก เพราะเขาอยู่ในวัยที่ชอบสำรวจ ชอบทดลอง และขี้สงสัย สิ่งที่คุณแม่สามารถทำได้ ก็คือคอยดูแลเขาอย่างใกล้ชิดเมื่อเขากำลังเล่นอยู่ เพื่อไม่ให้เขาได้รับบาดเจ็บได้ง่าย ๆ แต่ถ้าหากเขาหกล้มจนเป็นแผล คุณแม่ก็ควรดูแลรักษาแผลให้ดี ไม่ให้เกิดอาการอักเสบหรือรุนแรงจนเกิดเป็นบาดทะยัก

บทความที่เกี่ยวข้อง : แผล ลูกมีแผลทำไงดี วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นง่าย ๆ ที่คุณแม่ก็ทำได้

 

ที่มา : 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • แผลบาดทะยัก เป็นแบบไหน จะรู้ได้ยังไงว่าลูกเป็นโรคบาดทะยัก
แชร์ :
  • 5 สัญญาณเริ่มต้นในการสังเกต ลูกเป็นออทิสติก

    5 สัญญาณเริ่มต้นในการสังเกต ลูกเป็นออทิสติก

  • ลูก ๆ กลัวความสูง จะดูแลลูกยังไงดี โรคความกลัวนี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตเด็กหรือไม่

    ลูก ๆ กลัวความสูง จะดูแลลูกยังไงดี โรคความกลัวนี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตเด็กหรือไม่

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 5 สัญญาณเริ่มต้นในการสังเกต ลูกเป็นออทิสติก

    5 สัญญาณเริ่มต้นในการสังเกต ลูกเป็นออทิสติก

  • ลูก ๆ กลัวความสูง จะดูแลลูกยังไงดี โรคความกลัวนี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตเด็กหรือไม่

    ลูก ๆ กลัวความสูง จะดูแลลูกยังไงดี โรคความกลัวนี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตเด็กหรือไม่

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ