X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

Top 10 ปัญหาช่องปากเจ้าตัวน้อย

บทความ 5 นาที
Top 10 ปัญหาช่องปากเจ้าตัวน้อย

ปากเล็ก ๆของเจ้าตัวน้อย ไม่ใช่จะไม่มีปัญหานะคะ แถมปัญหานั้นมีไม่น้อยเลยด้วย มาดูกันว่า 10 อันดับปัญหาช่องปากของเจ้าหนูคืออะไร และมีวิธีการจัดการปัญหาอย่างไร ติดตามอ่าน

Top 10 ปัญหาช่องปากเจ้าตัวน้อย

1. เชื้อราในช่องปาก

ปัญหาช่องปากเด็ก, วิธีการดูแลช่องปาก

โรคเชื้อราในช่องปากสามารถพบได้บ่อย มีสาเหตุมาจากเชื้อรา เห็นเป็นจุดหรือปื้นสีขาวในช่องปากทารก ได้รับมาจากการสัมผัสจากผู้ใหญ่ ของเล่น จุกนมที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อหรือขาดการทำความสะอาด การรักษาอนามัยช่องปากที่ดีและการทำความสะอาดของเล่นจะช่วยป้องกันเชื้อราในช่องปากได้

วิธีการดูแล: หลังจากดื่มนมทุกครั้งให้คุณแม่ใช้ผ้าสะอาดพันที่นิ้วเช็ดที่บริเวณลิ้นและเพดานปากลูก ที่สำคัญความเชื่อแบบโบราณโดยใช้ฉี่ของเด็กเช็ดลิ้น เป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องและอาจทำให้เจ้าตัวเล็กติดเชื้อจากฉี่ได้นะคะ

บทความแนะนำ หยุดกังวล…ลิ้นเป็นฝ้าขาวในเด็กเล็ก

2. ฟันน้ำนมขึ้นไม่ครบ20ซี่

ปัญหาช่องปากเด็ก, วิธีการดูแลช่องปาก

Advertisement

ฟันน้ำนมมีพัฒนาการตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์ตอน 6 สัปดาห์ โดยการรวมตัวเป็นกระดูกขากรรไกรบน 10 หน่อ ก็จะทำให้จำนวนฟันน้ำนมผิดปกติไป เด็กบางคนมีฟันน้ำนมไม่ครบ 20 ซี่ หรือมีฟันแฝดคือ ฟัน 2 ซี่เชื่อมติดกัน

วิธีการดูแล : ฟันน้ำนมขึ้นไม่ครบ 20 ซี่ ไม่ต้องแก้ไขหรือรักษาค่ะ จำนวนฟันที่ไม่เท่ากันอาจมีผลต่อพื้นที่ที่กว้างไม่พอเพียงต่อขนาดของฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้ ทำให้ฟันแท้ขึ้นซ้อนหรือเกได้

3. ฟันน้ำนมผุตั้งแต่อายุไม่ถึง1ปี

ปัญหาช่องปากเด็ก, วิธีการดูแลช่องปาก

ฟันน้ำนมผุเกิดจากชั้นเคลือบฟันนมหนาเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของฟันแท้ ทำให้ฟันน้ำนมผุง่ายกว่าฟันแท้ ฟันน้ำนมผุตั้งแต่อายุไม่ถึง 1 ปี เรียกว่าผุตั้งแต่ฟันซี่ โดยเฉพาะการปล่อยให้ทารกเผลอหลับพร้อมกับขวด นมในปาก ในขณะที่ทารกเผลอหลับ ของเหลวที่มีน้ำตาลจะเคลือบอยู่รอบฟันและ สามารถทำให้เกิดฟันผุได้ แม้แต่น้ำนมแม่ และนมสูตรที่มีน้ำตาล ฟันน้ำนมมีแร่ธาตุแคลเซียมฟอสเฟสน้อยกว่าฟันแท้ บริเวณโพรงประสาทฟันน้ำนมมีชั้นของเคลือบฟันและเนื้อฟันปกคลุมอยู่บางๆ ทำให้เมื่อฟันน้ำนมผุจึงลุกลามสู่โพรงประสาทฟันได้อย่างรวดเร็ว

วิธีการดูแล : การที่ฟันผุตั้งแต่อายุน้อยๆ จะส่งผลให้รักษายาก คุณพ่อคุณแม่จึงควรป้องกันด้วยการตรวจและดูแลรักษาความสะอาดฟันของลูกตั้งแต่ลูกอายุก่อน 1 ปี โดยเฉพาะการตรวจคราบจุลินทรีย์หรือที่เรียกว่า ขี้ฟัน ที่ติดอยู่บริเวณคอฟันของฟันหน้าบน ฟันน้ำนมที่ผุระยะเริ่มต้นจะลุกลามไปเป็นรูผุได้ในเวลา 6-18 เดือน

บทความแนะนำ อันตรายจากการปล่อยให้ลูกฟันน้ำนมผุ

หมอฟันฝากบอก : วิธีป้องกันฟันผุของเด็กเล็ก

1. สร้างนิสัยการเอาลูกเข้านอนโดยไม่มีขวดนม

2. ไม่นำทารกเข้านอนพร้อมขวดนมที่เต็มไป ด้วยนม น้ำผลไม้ น้ำดื่มผสมน้ำตาล หรือน้ำโซดา หากลูกน้อยของคุณติดขวดนมเข้านอนด้วย ให้เติมน้ำลงในขวด

3. เริ่มสอนให้ลูกน้อยใช้แก้วน้ำระหว่าง 6 – 12 เดือน ยื่นข้อแลกเปลี่ยนขวดนมของลูกน้อยกับ ถ้วยฝึกหัดเมื่ออายุได้ 1 ขวบ

บทความแนะนำ 5 เคล็ดลับชวนเจ้าตัวเล็กมาแปรงฟัน

4. ฟันบนผุง่ายกว่าฟันล่าง

ปัญหาช่องปากเด็ก, วิธีการดูแลช่องปาก

ตามปกติแล้วฟันน้ำนมด้านบนจะผุง่ายกว่าด้านล่าง เพราะบริเวณคอฟันที่อยู่ติดกับเหงือก เวลาที่เจ้าหนูดูดนม และเป็นบริเวณที่มีน้ำลายไหลผ่านน้อยการชะล้างของน้ำลายตามธรรมชาติจึงทำได้ไม่ดี ขณะที่ฟันด้านล่าง อยู่ใกล้รูเปิดของต่อมน้ำลายใต้ลิ้น น้ำลายจึงหลั่งออกมาชะล้างฟันได้มาก อีกจุดก็คือ กรามด้านบนเคี้ยวมีหลุมและร่องฟันสึก บริเวณซอกฟันระหว่างฟัน 2 ซี่ ก็เป็นตำแหน่งที่ผุได้ง่าย เพราะปลายขนแปรงสีฟันเข้าไปทำความสะอาดได้ยาก โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ดูดนมจากขวด ทำให้ฟันแช่อยู่ในนมนาน ยิ่งเป็นนมหวานฟันก็จะผุได้ง่าย

วิธีการดูแล : เด็กควรเลิกดื่มนมจากขวดเมื่ออายุ 12-18 เดือน ควรฝึกให้เด็กดื่มนมจากถ้วย เพราะเวลาที่นมตกค้างในช่องปากจึงน้อยกว่า และหลีกเลี่ยงนมรสหวาน

5. เสียวฟัน

ปัญหาช่องปากเด็ก, วิธีการดูแลช่องปาก

ฟันผุในระยะเริ่มแรกที่ชั้นเคลือบฟันจะไม่มีอาการใดๆ เมื่ออาการผุลุกลามไปสู่ชั้นเนื้อฟันจึงเริ่มรู้สึกเสียวฟันหรือปวดฟันเวลารับประทานอาหารหรือดื่มน้ำเย็น ถ้าไม่อุดฟันจะผุเข้าสู่ชั้นโพรงประสาทฟัน อาจเกิดการติดเชื้อบวมและมีตุ่มหนองบริเวณเหงือกเหนือฟันซี่ดังกล่าว เด็กจะมีอาการปวดฟันตลอดเวลา ไม่อยากทานอะไร งอแง และอาจมีไข้ร่วมด้วย

วิธีการดูแล : เมื่อพบว่าลูกเริ่มเสียวฟันควรรีบไปพบหมอฟันเพื่อตรวจดูว่า ต้องอุดฟันหรือไม่

อ่าน Top 10 ปัญหาช่องปากเจ้าตัวน้อย ข้อ 6 – 10 คลิกหน้าถัดไป

6. ปัญหากลิ่นปาก

ปัญหาช่องปากเด็ก, วิธีการดูแลช่องปาก

นมแม่มีคุณสมบัติ คือ ไม่ข้นมากและไม่เกาะติดฟัน เป็นสารอาหารที่มาจากธรรมชาติ ทำให้ไม่เกิดการสะสมของคราบฟันและแบคทีเรียได้มากเท่านมผสม ในขณะที่นมผสมมีคุณสมบัติที่เกาะติดฟัน ประกอบกับการรับประทานแบบไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น การดูดนมขวดแช่ ดูดนมคาปากจนหลับ พฤติกรรมเหล่านี้ ส่งผลต่อฟัน ทำให้ฟันผุและเกิดกลิ่นปากได้ง่าย หากเลี้ยงลูกด้วยนมผสมก็ควรมีวิธีให้นมลูกในลักษณะที่ถูกต้องด้วย

วิธีการดูแล : หลังจากดื่มนมทุกครั้งให้คุณแม่ใช้ผ้าสะอาดพันที่นิ้วเช็ดที่บริเวณลิ้นและเพดานปากลูก และเริ่มสอนให้ลูกน้อยใช้แก้วน้ำระหว่าง 6 – 12 เดือน

7. ร่องหลุมฟันดำ ใช่ฟันผุหรือไม่?

ปัญหาช่องปากเด็ก, วิธีการดูแลช่องปาก

ถ้าในฟันกราม น้ำนมที่ชั้นเคลือบฟันมีการเปลี่ยนเป็นสีดำบริเวณหลุมร่องฟัน แต่ยังไม่เป็นรูนั้นยังไม่ต้องรักษา แต่ต้องดูแลแปรงฟันให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อยับยั้งไม่ให้ลุกลามเป็นรูและคอยตรวจดูเป็นระยะ

วิธีการดูแล : หากฟันผุลุกลามจนเกิดเป็นรู แต่ไม่ลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน คุณหมอจะรักษาด้วยการอุดฟัน ส่วนการผุที่ลุกลามถึงโพรงประสาทฟันต้องรักษารากฟัน พร้อมทั้งรักษาให้ฟันน้ำนมให้อยู่สภาพเดิมโดยการใส่ครอบฟันซึ่งเป็นเหล็กไร้สนิมเพื่อให้เด็กใช้ฟันเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ

8. แผลร้อนใน

ปัญหาช่องปากเด็ก, วิธีการดูแลช่องปาก

ลักษณะของแผลในปากเด็ก จะมีลักษณะเป็นแผลขาวๆ สามารถเกิดได้ที่ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ลิ้น หรือแม้กระทั่งเหงือก หากมีแผลเพียง 1 แผล และไม่มีอาการเป็นไข้ร่วมด้วย แต่ถ้ามีไข้ควรพาไปพบคุณหมอนะคะเพราะอาจเกิดการติดเชื้อได้

วิธีการดูแล : ล้างมือให้สะอาด เช็ดหรือทำความสะอาดช่องปาก สำหรับลูกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ ไม่ควรใช้น้ำเพื่อล้างคราบนมออก เนื่องจากน้ำนมแม่มีสารต้านการเติบโตของเชื้อรา ส่วนเด็กที่ดื่มนมผสมควรให้ดื่มน้ำตามมาก ๆ เพื่อล้างคราบนมออก เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยดูแลรักษาความสะอาดในช่องปาก

บทความแนะนำ ลูกร้อนใน แม่ร้อนใจ

9. ฟันบิ่น-ฟันหัก

ปัญหาช่องปากเด็ก, วิธีการดูแลช่องปาก

ถ้าความซนของลูกทำให้ฟันของลูกไปกระแทกกับสิ่งของแข็งๆ จนฟันแตกหักหรือบิ่น หลังจากรักษาแผลและห้ามเลือดแล้ว ควรทำอย่างไรกับฟันที่บิ่นและหัก

วิธีการดูแล : ส่วนใหญ่ฟันที่ได้รับการกระแทกมักเป็นฟันหน้า ถ้าฟันที่ถูกกระแทกนั้นบิ่นไปเพียงเล็กน้อย เลือดไม่ออกที่ฟันแสดงว่าฟันยังไม่หักจนทะลุโพรงประสาทที่อยู่ในฟัน กรณีนี้ให้พาลูกไปพบหมอฟัน โดยพยายามหาเศษฟันที่แตก เพราะอาจทำฟันขึ้นมาใหม่ได้ แต่ถ้าฟันบิ่นมาก มีจุดเลือดออกที่บนฟัน นั่นแสดงว่าฟันหักจนทะลุโพรงประสาท ต้องรีบไปพบหมอฟันทันที

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

10. แง ๆๆ หนูกลัวหมอฟัน!!!!

ปัญหาช่องปากเด็ก, วิธีการดูแลช่องปาก

เด็กๆ ส่วนใหญ่จะกลัวหมอฟัน เนื่องจากเด็กจะจินตนาการว่า หมอฟันน่ากลัว รวมไปถึงการทำฟันจะทำให้เด็กเจ็บปวดได้

วิธีการดูแล : ควรเริ่มต้นพาลูกไปพบหมอฟันตั้งแต่ลูกยังไม่มีฟันผุ เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับหมอฟัน เก้าอี้ทำฟัน และเครื่องมือชนิดต่างๆ ของคุณหมอ ในการตรวจครั้งแรกลูกจะได้นั่งเก้าอี้ของหมอฟัน หมอจะเปิดไฟส่องดูฟัน และใช้กระจกเล็ก ๆ ช่วยเข้าไปส่องดู และคุณหมอจะขัดฟันให้เด็กด้วยหัวขัดยางกับผงขัด เพื่อให้เด็กเริ่มรู้จักเครื่องมือที่หมุน ๆ มีเสียง และการใส่เครื่องมือเข้าไปในช่องปาก เมื่อคุ้นเคยและไม่ได้เจ็บตัวตั้งแต่พบกันครั้งแรก ก็จะช่วยทำให้อาการกลัวหมอฟันไม่เกิดขึ้นได้ เพียงใส่ใจดูแลกันสักนิดลูกตัวน้อยของคุณก็จะเป็นเจ้าของฟันแข็งแรง ยิ้มสวยมั่นใจแล้วล่ะค่ะ

บทความแนะนำ ลูกฟันผุ ลูกไม่แปรงฟัน ทำไงดี? อ่านคำตอบจากทันตแพทย์ได้ที่นี่

ปัญหาช่องปากของเจ้าหนูแม้จะมีเรื่องจุกจิกมากมาย แต่สิ่งสำคัญที่สามารถป้องกันได้ตั้งแต่เริ่มต้น คือ การรักษาความสะอาดของช่องปาก ที่สำคัญไม่ควรให้เด็กหลับคาขวดนม เด็กควรเลิกดื่มนมจากขวดเมื่ออายุ 12-18 เดือน และพาเจ้าหนูไปพบหมอฟันตั้งแต่เนิ่น ๆแม้ว่าฟันยังไม่ผุก็ตาม จะได้ป้องกันปัญหาการกลัวหมอฟันได้นะคะ

 

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

mkho.moph.go.th

colgate.co.th

baby.kapook.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การดูแลช่องปากและฟันสำหรับเด็ก

ประโยชน์ของฟันน้ำนมที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • Top 10 ปัญหาช่องปากเจ้าตัวน้อย
แชร์ :
  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว